วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

การต้มน้ำด้วยกาทองคำ กาเงิน กาเหล็กหล่อ กาแก้วที่แท้มีความแตกต่างอย่างไร?



        คำถาม : ที่แท้จะต้องใช้ภาชนะอะไรมาต้มน้ำ จึงทำให้น้ำชาที่ชงออกมาดื่มได้ดีที่สุด?

        คำตอบ : เพื่อตอบโจทย์ปัญหานี้ ก่อนอื่นพวกเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า

1. น้ำอะไรที่ชงชาออกมาดื่มได้อร่อย

2. ภาชนะต้มน้ำที่แท้มีผลต่อน้ำที่ใช้ชงชาอย่างไร


        เป้าหมายของการชงชาก็คือการทำให้สารประกอบในใบชาละลายออกมา ซึ่งคุณสมบัติของน้ำและอุณหภูมิของน้ำที่แตกต่างกันจะมีผลต่อระดับการละลาย


        ด้านคุณสมบัติของน้ำ น้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีสารแปลกปลอมเจือปนมีผลดีที่สุดที่ทำให้สารประกอบในใบชาละลายออกมามาก ส่วนน้ำที่มีสารแปลกปลอมเจือปนมามาก จะทำให้สารประกอบในใบชาละลายออกมาน้อย

        ด้านอุณหภูมิของน้ำ อุณหภูมิน้ำยิ่งสูง สารประกอบก็จะละลายออกจากใบชายิ่งมาก น้ำชาก็จะยิ่งเข้มข้น


        ข้อควรสังเกต : ปริมาณสารประกอบในใบชาที่ละลายออกมามากหรือน้อย จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรสชาติของน้ำชา สารประกอบในตัวใบชาที่เพียบพร้อมและสมดุล เมื่อละลายออกมาอย่างเต็มที่ก็ทำให้รสชาติกลมกล่อมดีอย่างแน่นอน แต่ถ้าสารประกอบในตัวใบชาขาดความสมดุล ค่อนไปทางฝาด การลดปริมาณสารประกอบที่ละลายออกมากลับมีผลที่ดีกว่า 


        แล้วภาชนะต้มน้ำมีผลต่อน้ำที่ต้มแล้วอย่างไร?


        ในที่นี้ขอกล่าวถึง กาทองคำ กาเงิน กาทองแดง กาเหล็กหล่อ กาแก้วและกาเครื่องเคลือบดินเผา


        จาก “ตารางธาตุ Reactivity Series” ธาตุทองแดง(Copper/Cu) เงิน(Silver/Ag) ทองคำ(Gold/Au) ตามลำดับจะไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกับน้ำ ถึงแม้จะเป็นธาตุเหล็ก จะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับไอน้ำภายใต้สภาวะที่อุณหภูมิสูงอย่างยิ่งยวด อุณหภูมิการต้มน้ำทั่วไปในชีวิตประจำวันยังสูงไม่ถึงระดับทางอุตสาหกรรม

        องค์ประกอบหลักของแก้วและเครื่องเคลือบดินเผาคือซิลิกา(SiO2) ที่เป็นสารประกอบเคมีที่มีความเสถียรและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ


        ถ้าเช่นนั้น คุณสมบัติของน้ำที่เปลี่ยนไปหลังต้ม เกิดจากสาเหตุอันใด?


        เกิดขึ้นโดยปริมาณของอิออนแคลเซียมและอิออนแมกนีเซียมในน้ำลดน้อยลง

Ca(HCO3)2 + ความร้อน = CaCO3↓+ H2O + CO2↑

Mg(HCO3)2 + ความร้อน = MgCO3↓+ H2O + CO2↑

MgCO3 + H2O + ความร้อน = Mg(OH)2↓+ CO2↑

        จะเห็นว่า ขอเพียงมีพลังงานความร้อน ปฏิกิริยาการสลายตัวจะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และหินปูน ซึ่งไม่ละลายน้ำและตกตะกอนเป็นตะกรัน ความกระด้างในน้ำก็จะหายไป (การต้มน้ำเดือดนานๆ คุณภาพน้ำจะเปลี่ยนมากระด้างขึ้นได้) 


        ดังนั้น ไม่ว่าเป็นภาชนะต้มน้ำอะไร ขอเพียงให้ความร้อนอย่างเพียงพอ ล้วนมีฟังค์ชั่นในการทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้น

        แต่ทว่า การชงชาโดยใช้ภาชนะต้มน้ำที่ไม่เหมือนกัน เมื่อดื่มขึ้นมาจริงๆจะไม่เหมือนกัน(จากมโนคติ)? ถ้าหากไม่เป็นเพราะความสามารถในการทำน้ำให้บริสุทธิ์แล้วไซร์ งั้นเป็นเพราะสาเหตุใด?


        ความแตกต่างอยู่ที่อุณหภูมิของน้ำ


        เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพของกาเหล็กหล่อและกาเครื่องเคลือบดินเผา สามารถเก็บความร้อนได้ดีกว่าวัสดุอื่นๆ ดังนั้น ภายใต้สภาวะการชงชาที่ต้องการอุณหภูมิสูง จะแสดงตนออกมาได้ดีกว่า

        กลับกัน เนื่องจากกาทองคำกาเงินระบายความร้อนได้เร็วกว่า ภายใต้สภาวะการชงชาที่ต้องการอุณหภูมิที่ลดต่ำมา การแสดงตนออกมาจะยิ่งดี


เอกสารอ้างอิง :

金壶 , 铁壶 , 老铁壶 , 玻璃壶煮水究竟有什么不同?https://m.puercn.com/show-60-148371.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น