วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

หมักกอง : การโผล่ออกมาจากฟากฟ้าของ “ชาสุก” (2)

หมักกอง : การโผล่ออกมาจากฟากฟ้าของ “ชาสุก” (2)
ตอน---ใครคิดประดิษฐ์กรรมวิธีการผลิตของ “ชาสุก”
渥堆 : “熟茶”的横空出世(二)--- 谁发明的“熟茶”工艺



        เดือน พ.ย. ปี 1974 หวูฉวี่ยิงได้นำคนงาน 3 คนมาดำเนินการทดลองอีกครั้ง พวกเขานำเหมาฉาตากเขียวพันธุ์ใบใหญ่ที่มีเฉพาะในหยินหนานมาทำให้เปียก ต่อจากนั้นทำการคนให้ทั่วแล้วสุ่มเป็นกอง แล้วทำการรักษาและควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้อุณหภูมิของกองชาได้ตามที่กำหนด และผ่านการพลิกกองตลอดเวลา อุณหภูมิและความชื้นของกองชาภายใต้การควบคุมโดยคน ทำการเร่งและควบคุมกระบวนการหมักภายหลังของใบชา ผ่านรอบระยะเวลาประมาณ 45 วัน ทำให้เหมาฉาตากเขียวเปลี่ยนแปลงเป็นชาผูเอ๋อร์โดยภายนอกเป็นสีน้ำตาลแดง ได้น้ำชาสีแดงเงา รสนุ่มละมุน เนื่องจาก “หมักกอง” เป็นห่วงโซ่ที่สำคัญที่สุดในกรรมวิธีการผลิตชาสุกผูเอ๋อร์ ต่อมาวงการชาผูเอ๋อร์ก็เกิดความคุ้นเคยจึงขนานนามกรรมวิธีแบบนี้ว่า “เทคโนโลยี่หมักกองชาสุกผูเอ๋อร์” คำว่า “หมักกอง” ก็กลายเป็นคำศัพท์เฉพาะของการหมักชาผูเอ๋อร์ ซึ่งเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับตัวของหวูฉวี่ยิง แล้วก็ในปี 1975 โรงงานชาคุนหมิงได้ใช้วิธีการนี้ในการผลิตชาสุกผูเอ๋อร์แบบงวดๆอย่างเป็นทางการ นี้เป็นการเริ่มต้นของการผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคสมัยใหม่ของหยินหนาน

        ตามข้อเท็จจริง การอุทิศตนต่อชาผูเอ๋อร์ของหวูฉวี่ยิงไม่เฉพาะเพียงด้านการประดิษฐ์กรรมวิธีการผลิตชาสุกผูเอ๋อร์ ภายหลังเธอยังได้ดำเนินการงานอีกจำนวนมากเพื่อมาตรฐานการผลิตและบรรทัดฐานของกรรมวิธีที่แวดล้อมชาสุกผูเอ๋อร์

        ฤดูใบไม้ผลิปี 1979 บริษัทใบชามณฑลหยินหนานได้จัดประชุมเพื่ออภิปรายชาผูเอ๋อร์ หวูฉวี่ยิงโดยการอ้างอิงตามกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ ได้ทำการเขียน “《วิธีการทดลองผลิต》ความต้องการในกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์มณฑลหยินหนาน”  โดยได้กำหนดกรรมวิธีการผลิตและมาตรฐานคุณภาพของการผลิตชาผูเอ๋อร์อย่างละเอียด นี้คือมาตรฐานคุณภาพเฉพาะของชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นในประเทศจีน ในมาตรฐานนี้ จะมีคำนิยามของรหัส(หมายเลขการค้า(唛号))ของแต่ละโรงงานผลิตที่พวกเรายังคุ้นเคยอยู่จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงปี 1975 ที่ชาผูเอ๋อร์ผลิตจากการหมักแบบเร่งรัดโดยมนุษย์ในหยินหนาน รหัสของชาผูเอ๋อร์หยินหนานสองตัวแรกคือ “75” ตัวกลางคือเกรดเนื้อผสม ตัวท้ายคือรหัสของโรงงาน---โรงงานชาคุนหมิงคือ 1 เมิ่งไห่คือ 2 เซี่ยกวนคือ 3 อย่าง 7581 ก็คือชาผูเอ๋อร์แผ่นเหลี่ยมที่ผลิตจากโรงงานชาคุนหมิง 7572 ก็คือชาผูเอ๋อร์แผ่นกลมที่ผลิตจากโรงงานชาเมิ่งไห่

        การพัฒนาเป็นผลสำเร็จของชาสุกผูเอ๋อร์ ก่อให้เกิดความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากต่างประเทศ ในปีนั้น เพื่อสนองตอบต่อการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทางการค้าส่งออก เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ ปี 1980 บริษัทใบชามณฑลหยินหนานตัดสินใจนำชาผูเอ๋อร์ทั่วทั้งมณฑล (ยกเว้น 2 โรงงาน เมิ่งไห่ เซี่ยกวน) เข้ารวมอยู่ในโรงงานชาคุนหมิงทำการผสมเพื่อการส่งออก ช่วงเวลานั้นโรงงานที่ถูกรวมเข้าไปในโรงงานชาคุนหมิงมี : ผูเอ๋อร์ จิ่งตง จิ๋งกู่ หลานชาง เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 1981 ชาผูเอ๋อร์จัดเป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบให้ถูกต้องตามกฏหมายอย่างเป็นทางการ ดังนั้น บริษัทใบชามณฑลหยินหนานได้กำหนด “มาตรฐานเทคโนโลยี่ทดลองของข้อกำหนดคุณภาพชาผูเอ๋อร์หยินหนาน” ส่งไปให้แก่โรงงานต่างๆ ชี้นำให้ทุกโรงงานยอมรับการอบรมด้านเทคโนโลยี่การตรวจสอบจากหน่วยงานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์

        ปี 1983 หวูฉวี่ยิงได้ร่วมมือกับหน่วยการศึกษาจุลินทรีย์มหาวิทยาลัยหยินหนาน ดำเนินการหัวข้อ “ศึกษาวิจัยหลักการของกรรมวิธีการหมักชาผูเอ๋อร์” และได้นำเสนอผลงานวิจัย “กลไกการหมักของชาผูเอ๋อร์คือผลจากการนำของจุลินทรีย์” ผลงานวิจัยนี้ได้รับเกียรติรางวัลลำดับที่ 4 จากผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ปี 1984 ของรัฐบาลมณฑลหยินหนาน ตราบจนถึงทุกวันนี้เป็นรางวัลหนึ่งเดียวของผลงานทางขอบเขตเทคโนโลยี่การผลิตชาผูเอ๋อร์ที่ได้รับจากผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่มณฑลหยินหนาน

        ใน《บันทึกการส่งออกของบริษัทใบชามณฑลหยินหนานปี 1938-1990》 พวกเราพบเห็นบันทึกลักษณะเช่นนี้ : “ปี 1973 โรงงานชาคุนหมิงทดลองผลิตชาผูเอ๋อร์สำเร็จ หลังจากนั้นมาขยายที่เมิ่งไห่เป็นลำดับตามมา กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาก........ถึงปี 1985 ชาผูเอ๋อร์ส่งออกไปที่ฮ่องกงมาเก๊าได้ถึง 1560 ตัน เป็นยอดเงิน 249.17 หมื่นเหรียญสหรัฐ ไม่กี่ปีให้หลังชาผูเอ๋อร์ส่งออกไปฮ่องกงมาเก๊าโดยรวมรักษาที่ 1000 ตันทุกปี คิดเป็น 80% ขึ้นไปของปริมาณการส่งออกของชาผูเอ๋อร์ทั่วทั้งมณฑล” ในนี้มีอยู่ 2 ปัญหาที่จำต้องพูดให้กระจ่าง : 1 คือเกี่ยวพันกับเวลาที่พัฒนาชาสุกผูเอ๋อร์สำเร็จ บันทึกจากเอกสารจำนวนมากที่บ่งชี้คือปี 1973 แต่อ้างอิงตามความทรงจำของหวูฉวี่ยิงผู้คิดประดิษฐ์กรรมวิธีการผลิตนี้คือปี 1975 ; 2 คือชาผูเอ๋อร์ที่เอกสารกล่าวถึงแท้จริงคือบ่งชี้ชาสุกผูเอ๋อร์ “คิดเป็น 80% ขึ้นไปของปริมาณการส่งออกของชาผูเอ๋อร์ทั่วทั้งมณฑล” ก็คือชาสุกผูเอ๋อร์

        มีอยู่จุดหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากอาจไม่ได้ให้ความสนใจ คือชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานผ่านการพัฒนามาระหว่างปี 1974-1984 เป็นระยะ 10 ปี จากความสำเร็จในการพัฒนาชาสุกผูเอ๋อร์และการผลักดันให้ขยายอย่างเต็มกำลังเป็นดัชนีชี้วัดรูปแบบการผลิตของชาผูเอ๋อร์จากสถานที่ทำงานเล็กๆก้าวเข้าสู่รูปแบบอุตสาหกรรมยุคสมัยใหม่ มิต้องสงสัย หวูฉวี่ยิงและ “เทคโนโลยี่การหมักกองชาสุกผูเอ๋อร์” ของเธอ ทำให้เกิดผลอย่างมีนัยสำคัญอย่างมาก

        แน่นอน พวกเรายังได้สังเกตเห็นว่า สิ่งที่สามารถผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่งหรือธุรกิจหนึ่งให้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าได้มิใช่เกิดจากพลังของคนเพียงคนเดียว ควรเป็นของกลุ่มหนึ่ง ความจริง กลุ่มนี้ยังมีอีกคนที่พิเศษเฉพาะมาก เขาก็คือโจวปิ่งเหลียง(邹炳良) เป็นบุคคลหนึ่งที่เมื่อคุณคิดคุยเรื่องชาผูเอ๋อร์แล้วยากที่จะอ้อมคนนี้ไปได้

        โจวปิ่งเหลียง ชนเผ่าฮั่น เกิดเมื่อปี 1939 เป็นคนเมืองเสียงหยินมณฑลหยินหนาน หลังจบการศึกษามัธยมกลางในปี 1957 ได้เดินทางมาถึงหมู่บ้านชาเมิ่งไห่ ตั้งแต่บัดนั้นเขาทำงานที่โรงงานชาเมิ่งไห่จนถึงปี 1996 เป็นระยะเวลา 40 กว่าปี เขาเริ่มจากการเป็นคนงาน คนนำทั่วไป หัวหน้าแผนก สุดท้ายได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการโรงงานของโรงงานชาเมิ่งไห่ในปี 1984 จากาการเป็นผู้จัดการโรงงานจนเกษียณในปี 1996 ในบรรดาอดีตผู้จัดการโรงงานของโรงงานชาเมิ่งไห่เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด

        สิ่งที่คู่ควรแก่ความสนใจคือ จุดกำเนิดเริ่มต้นของกรรมวิธีการผลิตชาสุกผูเอ๋อร์คือโรงงานชาคุนหมิง โดยมีหวูฉวี่ยิงเป็นแม่ทัพ แต่กรรมวิธีการผลิตนี้เข้าสู่ความชำนาญอย่างแท้จริง รวมทั้งการไม่หยุดที่ทำการแก้ไขและปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตนี้ให้ดีขึ้น ข้อเท็จจริงคือกระทำการเสร็จสมบูรณ์ที่โรงงานชาเมิ่งไห่ ในช่วงระยะ 12 ปีที่โจวปิ่งเหลียงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงงานของโรงงานชาเมิ่งไห่ “จุดสนใจ”(热点) ของชาผูเอ๋อร์ก็เริ่มเปลี่ยนย้ายจากโรงงานชาคุนหมิงไปที่โรงงานชาเมิ่งไห่ โจวปิ่งเหลียงและทีมงานของเขาได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจอย่างมากต่อ “หมักกอง” รูปแบบการหมักประดิษฐ์ พวกเขาได้ทำการสรุปรวบยอดเชิงประสบการณ์จำนวนมาก เช่น สภาพแวดล้อมการหมักและสถานที่ปฏิบัติงาน ผลของจุลินทรีย์ในกระบวนการหมัก รวมทั้งมาตรการรักษาอุณหภูมิ การควบคุมปริมาณน้ำ การควบคุมระดับการหมัก ฯลฯ ค่อยๆสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาที่มีรสเฉพาะจากการหมักที่มีเชิงสัญลักษณ์ “รสเมิ่งไห่”(勐海味) ก็คือเชิงสัญลักษณ์หนึ่งที่กล่าวถึง มันเป็นการสรุปรวบยอดของผู้บริโภค และก็เป็นการเห็นพ้องต้องกันต่อคุณค่าของผลิตภัณฑ์นี้ โรงงานชาเมิ่งไห่จากยุคกลางปี 80 ถึงยุคกลางปี 90 ศตวรรตที่แล้ว ได้ออกผลิตภัณฑ์คลาสสิคมากมาย ในนี้มีทั้งชาดิบและชาสุก ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังเป็น “ผลิตภัณฑ์ดารา”(明星产品) ที่ถูกตามไล่ล่าหาในท้องตลาดตราบจนถึงทุกวันนี้ ราคาไม่ต้องพูดถึง

        โจวปิ่งเหลียงยังดำรงความถ่มตัวอย่างที่เขาเคยเป็น เมื่ออยู่ต่อหน้าสื่อมวลชน เขาไม่ใช้คำพูดอันเลิศหรูมาหีบห่อตนเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้อาวุโสไม่กี่ท่านที่ยังดำรงอยู่ในวงการชาผูเอ๋อร์ขณะนี้ แต่รักษาความเงียบขรึมตลอดเวลาต่อความรุ่งโรจน์ที่ผ่านมา เขาเป็นคนที่มองไปข้างหน้า และหลังจากเกษียณเขาก็ได้ก่อตั้ง “โรงงานชาไห่วาน”(海湾茶厂)ขึ้นมาโรงหนึ่ง ซี่งยังคงรักษานิสัยที่ผลิตโดยเน้นจับคุณภาพ และยังคงนำเสนอผลงานชาผูเอ๋อร์ที่โดดเด่นจำนวนมากออกสู่ตลาด การที่พวกเราใช้คำขนานนามว่า “ผลงานชาผูเอ๋อร์”(普洱茶作品) ซึ่งไม่ใช้คำ “ผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์”( 普洱茶产品) เป็นเพราะว่าผลิตภัณฑ์ชาของเขาเป็นความมั่นใจที่เกิดจากความทุ่มเทของตนเองต่อความเข้าใจชาผูเอ๋อร์และความเข้าถึงกรรมวิธี ภายในใจของพวกเรา กระบวนการผลิตชาของเขาก้าวล้ำหน้าเกินกว่าความหมายทั่วไปของบริบทการผลิตชาแล้ว คือเป็นงานสร้างสรรค์แบบหนึ่ง เป็นขอบเขตการบรรลุรูปแบบหนึ่ง

        มีจุดที่ต้องการเพิ่มเติม ช่างเทคนิคที่เป็นหลักสำคัญจำนวนมากยุคปี 80 ศตวรรตที่แล้วที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากโจวปิ่งเหลียงและโรงงานชาเมิ่งไห่ในยุคนั้น ก็ได้ช่วย “บ่มเพาะ” ตระเตรียมผู้ชำนาญการจำนวนมากสำหรับชาผูเอ๋อร์ในยุคปี 90 ศตวรรตที่แล้ว เป็นที่ประจักษ์ โรงงานชาเมิ่งไห่ก็คือ “โรงเรียนนายร้อยหวางผู่”(黄埔军校) ของชาผูเอ๋อร์หยินหนาน ผลิตป้อนช่างเทคนิคที่เป็นหลักสำคัญออกมามากที่สุด จนถึงทุกวันนี้ ในองค์กรธุรกิจผลิตชาผูเอ๋อร์จำนวนมากพวกเรายังคงพบเห็นเงาร่างที่ทรงพลังของพวกเขาอยู่ พวกเขาจะปรับปรุงพัฒนากรรมวิธีการผลิตตลอดเวลา ความเอาการเอางานเป็นร่องรอยที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็น “เมิ่งไห่คนเก่า”(老勐海人) อาจเป็นเช่นนี้ มันก็คือจิตวิญญาณหนึ่งของชาผูเอ๋อร์

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《หมักกอง : การโผล่ออกมาจากฟากฟ้าของ “ชาสุก”》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย