วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แจกันที่ชุบชีวิตเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน



        เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2005 บริษัทจัดประมูลคริสตีส์(Christie’s)ในกรุงลอนดอน จัดการประมูลเครื่องเคลือบเมืองจีนชิ้นหนึ่ง「กระถางเครื่องลายครามกุ่ยกู่จื่อลงเขาสมัยราชวงศ์หยวน」ถูกประมูลไปในราคา 14 ล้านปอนด์ เมื่อบวกค่าคอมมิชชั่นแล้วรวมเป็นเงิน 15.69 ล้านปอนด์ สร้างสถิติสำหรับผลงานศิลปกรรมของเมืองจีนที่ราคาประมูลแพงที่สุดในโลกในช่วงเวลานั้น

元青花鬼谷子下山大罐 กระถางเครื่องลายครามภาพกุ่ยกู่จื่อลงเขาสมัยราชวงศ์หยวน---เครื่องลายครามนี้หนัก 10 กก. แต่คุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณค่าทางศิลปะมีมูลค่าเทียบเท่ากับทองคำหนัก 2 ต้น (ราคา ณ ปี 2005)

        ปลายราชวงศ์หยวน ได้มีการส่งออกเครื่องลายครามไปขายยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นต้น และแล้ว ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง เมื่อเกิดการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ หลังราชวงศ์หยวนล่มสลาย เครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนแทบไม่ได้ถูกบันทึกเรื่องราวบนบันทึกประวัติศาสตร์ของเมืองจีนเลย จึงค่อยๆถูกโลกลืมเลือน เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 600 ปีที่ผู้คนมีความเชื่อว่ามาตลอดว่า “เครื่องลายครามก่อเกิดขึ้นในยุคสมัยหมิง

忽必烈 กุไลข่าน---ในจักรวรรดิมองโกล (ปี1206-1635) มหาข่านกุไลข่านตั้งตนเป็นจักรพรรดิจีน สถาปนาราชวงศ์หยวน (大元国 : ปี1271-1368) 

伊爾汗國 แคว้นอิลข่าน (ปี1256-1335)---1 ใน 4 อาณาจักรของจักรวรรดิมองโกล ครอบคลุมพื้นที่ในแถบเปอร์เซียบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่

苏麻离青 Mohammedan Blue---แร่โคบอลท์ออกไซด์ที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กสูงธาตุแมงกานีสต่ำ จากแหล่งเปอร์เซียผ่านเส้นทางสายไหมเข้าสู่จีนในปลายราชวงศ์หยวน ใช้เป็นรงควัตถุสีน้ำเงินในการเผาผลิตเครื่องลายครามที่จิ่งเต๋อเจิ้น

        ชาวมองโกลใช้ชีวิตร่อนเร่ไปทั่วดินแดนแห่งทุ่งหญ้า ใต้ผืนฟ้าสีครามอันเป็นนิรันดร์ ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอิสลาม ซึมซับคำสอนทางศาสนาอิสลามที่แสวงหาความสงบแห่งสีคราม (清静蓝) ราชสำนักราชวงศ์หยวนได้ก่อตั้งสำนักเครื่องเคลือบฝูเหลียง (浮梁瓷局) ที่จิ่งเต๋อเจิ้น ทำการเผาผลิตเครื่องลายครามเป็นจำนวนมากแล้วลำเลียงไปยังดินแดนทางแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้โดยผ่านเส้นทางสายไหม

元青花八宝凤纹菱口沿大盘 จานปากกระจับเครื่องลายครามภาพนกฟินิกซ์และ8สิ่งเชิดชูบูชาสมัยราชวงศ์หยวน---ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 57.30 ซม. ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิหร่าน

元青花八宝凤纹菱口沿大盘(局部) จานปากกระจับเครื่องลายครามภาพนกฟินิกซ์และ8สิ่งเชิดชูบูชาสมัยราชวงศ์หยวน---องค์ประกอบภาพเสมือนจุลจิตรกรรมของเปอร์เซีย(Persian Miniature)ที่มีเอกลักษณ์แบบตาบริซ(Tabriz) เป็นผลงานที่มีรูปแบบการวาดผสมผสานทางวัฒนธรรมของเมืองจีนและแคว้นอิลข่าน ตกแต่งด้วยลวดลายอาหรับอย่างหนาแน่นซับซ้อนไม่ให้มีพื้นที่สีขาวไว้ เป็นการสะท้อนถึงวัฒนธรรมอิสลามทาง “หวาดกลัวว่างเปล่า” (恐惧空白) และ “ชั่วนิจนิรันดร์” (生生不息

        ก่อนยุคปี 1930 ในวงการวิชาการยังไม่มีแนวความคิดของเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน วงการนักเล่นวัตถุโบราณเมืองจีนมีความเห็นพ้องต้องกันว่า—“ยุคสมัยหยวนไม่มีเครื่องลายคราม” คงคิดว่าชนเผ่าเร่ร่อนแห่งทุ่งหญ้ามองโกลเป็นนักรบป่าเถื่อนบนหลังม้า ไม่มีความศิวิไลซ์ทางศิลปะเครื่องปั้นดินเผา และราชวงศ์หยวนปกครองเมืองจีนในช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียง 98 ปี จึงมีความเชื่อว่า “ก่อนยุคสมัยหมิงไม่มีเครื่องลายคราม” เครื่องลายครามที่น่าสงสัยว่าผลิตในสมัยราชวงศ์หยวนล้วนถูกปฏิเสธ ถือว่าเป็นของปลอม นี่อาจเป็นเหตุผลที่วัตถุโบราณชุดเก่าที่เก็บรักษาไว้ในกู้กงกรุงปักกิ่งและไทเปไม่มีสักชิ้นที่เป็นเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน

 ▲青花云龙紋象耳瓶 แจกันเครื่องลายครามลวดลายมังกรเมฆหูหัวช้าง---ซ้าย(B613)สูง 63.6 ซม. ขวา(B614)สูง 63.3 ซม. เมื่อต้นยุคสาธารณรัฐ แจกันคู่นี้ถูกขโมยไปจากวัดจื่อฮวา(智化寺)กรุงปักกิ่ง แล้วถูกนำไปขายในย่านดังที่ซื้อขายของเก่ากลางกรุงปักกิ่ง เนื่องจากความเชื่อ “ยุคสมัยหยวนไม่มีเครื่องลายคราม” แม้ว่าบนคอแจกันมีคำจารึกปีรัชศกของราชวงศ์หยวน แต่ถูกปฏิเสธเพราะถือเป็นของปลอม จึงตกหล่นไปยังประเทศอังกฤษ สุดท้าย Sir Percival David เป็นคนได้ครอบครองแจกันทั้ง 2 ใบ โดยใบ B614 เป็นการซื้อโดยตรงในปี 1927 ใบ B613 ซื้อโดยการประมูลในปี 1931 จึงเรียกขานกันว่า「แจกันเดวิด」(大维德瓶) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ

        ตราบจนถึงทศวรรษ 1920s ถึง 1950s ผู้ที่แก้ไขความเข้าใจผิดที่ว่า “ยุคสมัยหยวนไม่มีเครื่องลายคราม” ให้ถูกต้องนั่น ไม่ใช่คนจีน แต่เป็นชาวต่างชาติ 2 คน คนหนึ่งเป็นนักเครื่องเคลือบโบราณเมืองจีนชาวอังกฤษ คนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเคลือบโบราณเมืองจีนชาวสหรัฐ

        การค้นพบโดยฮอบซัน

        ต้นปี 1929 นักค้นคว้าวิจัยเครื่องเคลือบดินเผาของพิพิธภัณฑ์อังกฤษ Robert Lockhart Hobson (ฮอบซัน) ได้เขียนบทความ《Blue and White before The Ming Dynasty : A pair of Dated Yuan Vases》เผยแพร่ในวารสาร【The Old Furniture】ถือเป็นการกู่ร้องให้ก้องโลกครั้งแรกว่ามีเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนดำรงอยู่ 

▲Robert Lockhart Hobson (ปี1872-1941)---เข้าทำงานที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษเมื่ออายุ 25 ปี เริ่มแรกทำการศึกษาวิจัยเครื่องเคลือบดินเผาอังกฤษ ต่อมาเปลี่ยนเป็นการค้นคว้าวิจัยเครื่องเคลือบดินเผาเมืองจีน ได้เขียนหนังสือ《เครื่องเคลือบดินเผาเมืองจีน》ในปี 1915 ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของฮอบซันด้านการค้นคว้าวิจัยเครื่องเคลือบดินเผาเมืองจีน เป็นเอกสารเฉพาะเรื่องประวัติของเครื่องเคลือบดินเผาเมืองจีนเล่มแรกของโลก

        บทความ《เครื่องลายครามก่อนสมัยราชวงศ์หมิง》ของฮอบซันได้นำเสนอ「แจกันเดวิด」คู่นี้ โดยบนแจกันมีการเขียนตัวอักษร「จื้อเจิ้นปีที่11」ซึ่ง “จื้อเจิ้น” นี้เป็นชื่อปีรัชสมัยของจักรพรรดิซุ่นตี้(ปี1333-1370)แห่งราชวงศ์หยวน จื่อเจิ้นปีที่ 11 ตรงกับปี 1351 นี่เป็นการชี้ชัดว่า : อย่างช้าจนถึงจื้อเจิ้นปีที่ 11 แห่งราชวงศ์หยวน เครื่องลายครามก็ได้เผยโฉมออกมาแล้ว

至正十一年 จื้อเจิ้นปีที่ 11  

        ฮอบซันยังได้ตัดสินชี้ขาดอย่างถูกต้องว่า แหล่งผลิตแจกันเครื่องลายครามคู่นี้คือจิ่งเต๋อเจิ้นเมืองจีน จากคำจารึกที่เขียนบันทึกไว้ ผู้ครอบครองแจกันเครื่องลายครามนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลจากจิ่งเต๋อเจิ้น ฮอบซันจึงได้นำเสนอว่า : เริ่มตั้งแต่ปลายราชวงศ์หยวน จิ่งเต๋อเจิ้นได้เริ่มต้นเผาผลิตเครื่องลายครามแล้ว

青花云龙紋象耳瓶銘文 คำจารึกบนคอแจกันเครื่องลายครามลวดลายมังกรเมฆหูหัวช้าง---จางเหวินจิ้น(张文进) ผู้เลื่อมใสทางศาสนาพุทธ เพื่อบนบานศาลกล่าวให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ได้สั่งเผาผลิตแจกันคู่นี้เป็นกาลเฉพาะในวันที่ 8 เดือน 4 จื้อเจิ้นปีที่ 11 ถวายเป็นเครื่องบวงสรวงเทพเจ้าที่วัดหลิงซุ่น(灵顺庙) เมืองวู่เหยียนมณฑลเจียงซี ซึ่งอยู่ห่างจากจิ่งเต๋อเจิ้นประมาณ 68 กม.

        บนประวัติศาสตร์ของเดิมไม่มีเอกสารที่บันทึกเกี่ยวกับเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน การค้นพบและการศึกษาค้นคว้าแจกันเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนของฮอบซัน ทำให้วงการเครื่องเคลือบดินเผาและวงการวัฒนธรรมสั่นสะเทือน แจกันเครื่องลายครามลวดลายมังกรเมฆหูหัวช้างคู่นี้ ได้กลายเป็นบรรทัดฐานแห่งกาลสมัยของเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนในยุคเดียวกัน

        ตามหลักการทางวิชาการ ไม่สามารถยอมรับในสิ่งที่มีหลักฐานยังไม่หนักแน่นพอ แจกันเครื่องลายครามเพียงคู่เดียวก็สามารถยืนยันการดำรงอยู่ของเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนได้แล้วหรือ ?

        การพิสูจน์โดยโปป

        นักวิชาการชาวสหรัฐ John Alexander Pope (โปป) ได้ตั้งสมมุติฐานว่า : ถ้าหากสามารถค้นหาเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนจำนวนมากขึ้น การประดิษฐ์และสีสันล้วนคล้ายคลึงกับแจกัน 2 ชิ้นที่ค้นพบโดยฮอบซัน นั่นก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าการค้นพบของฮอบซันมิใช่ของโดดเดี่ยว

▲ชีวประวัติของ John Alexander Pope (ปี1906-1982)

        ในปี 1950 โปปได้เดินทางไกลไปยังกรุงเตหะรานประเทศอิหร่านและกรุงอิสตันบูลประเทศตุรกี เริ่มต้นเส้นทางแห่งการค้นพบใหม่ของการศึกษาค้นคว้าเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน

        โปปได้ทำการตรวจสอบเครื่องเคลือบเมืองจีนจำนวนกว่าพันชิ้นที่ถ่ายโอนจากมัสยิดแอร์แดบีลมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิหร่าน แยกแยะออกมาได้ 32 ชิ้น และเครื่องเคลือบจำนวนกว่าหมื่นชิ้นที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังทอปกาปิในอิสตันบูลประเทศตุรกี สามารถจำแนกออกมาได้ 40 ชิ้น

托普卡比宫 (Topkapi Palace)---พระราชวังทอปกาปิในอิสตันบูลประเทศตุรกี เคยเป็นที่พำนักอาศัยของราชวงศ์และสำนักงานบริหารของสุลต่านออตโตมันตลอดในช่วงศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่ได้เก็บรวบรวมเครื่องเคลือบเมืองจีนกว่าหมื่นชิ้น  รวมเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 40 ชิ้น นับเป็นสถานที่เก็บเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนที่สภาพสมบูรณ์มากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก

伊朗国家博物馆 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอิหร่าน---เครื่องเคลือบเมืองจีนกว่าพันชิ้นที่เก็บรักษาไว้ส่วนใหญ่มาจากมัสยิดแอร์แดบีล (Ardebil Shrine) ปัจจุบันเก็บรักษาเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 32 ชิ้น นับเป็นสถานที่เก็บเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนที่สภาพสมบูรณ์มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

        หลังจากได้ทำการตรวจสอบและศึกษาค้นคว้าเครื่องเคลือบเมืองจีนที่พิพิธภัณฑ์ 2 แห่งทั้งที่อิหร่านและตุรกีแล้ว โปปได้เขียนหนังสือวิทยานิพนธ์ 2 เล่มคือ《เครื่องลายครามศตวรรษที่ 14 : กลุ่มหนึ่งในเครื่องเคลือบเมืองจีนที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังทอปกาปิในอิสตันบูล》ในปี 1952 และ《เครื่องเคลือบเมืองจีนจากมัสยิดแอร์แดบีล》ในปี 1956 ได้สรุปว่า : เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องลายครามอื่นๆแล้ว เครื่องลายครามที่คัดเลือกออกมา 72 ชิ้นนี้ไม่ว่าด้านรูปทรง คุณลักษณะของเนื้อดิน สีสัน การตกแต่งลวดลาย เป็นต้น มีส่วนที่เหมือนกัน เชื่อมต่อกัน ใกล้เคียงกัน คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก เทียบกับเครื่องลายครามศตวรรษที่ 15 ในยุครัชสมัยหย่งเล่อและเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิงแล้วจะแตกต่างกันมาก จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 2 ชิ้นที่ฮอบซันได้รายงานไว้ ได้ตั้งชื่อเครื่องเคลือบกลุ่มนี้ว่าเครื่องลายคราม「รูปแบบศตวรรษที่14」ต่อมาภายหลังเรียกขานกันว่า「รูปแบบจื้อเจิ้น」(至正型)

▲Fourteenth-century blue-and-white: A group of Chinese porcelains in the Topkapu Sarayi Müzesi, Istanbul (Washington, DC, 1952)---สนใจคลิกลิงค์   https://drive.google.com/file/d/1nb_PxssGPyzSTYOaVzfTj88L0RDvOhGO/view?usp=drivesdk  

▲Chinese Porcelains from the Ardebil Shrine (Washington, DC, 1956)---สนใจคลิกลิงค์

        โปปได้พิสูจน์แล้วว่า การค้นพบของฮอบซันไม่ใช่ของโดดเดี่ยว ซึ่งแจกันเครื่องลายครามลวดลายมังกรเมฆหูหัวช้างที่มีรูปลักษณะขนาดใหญ่เป็นตัวแทนทั้งหมดของเครื่องลายครามกลุ่ม「รูปแบบจื้อเจิ้น」 โปปได้พิสูจน์ก้าวหน้าอีกขั้นว่า ศตวรรษที่ 14 มิใช่ยุคเปื้องต้นของเครื่องลายคราม และก็ไม่ใช่ยุคเสื่อมของเครื่องลายคราม แต่เป็นยุคที่กำลังพัฒนาของเครื่องลายคราม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 การเผาผลิตเครื่องลายครามเมืองจีนก็ได้บรรลุถึงระดับมาตรฐานที่สูงพอสมควรแล้ว การรับรู้ว่า “ก่อนยุคสมัยหมิงไม่มีเครื่องลายคราม” ต้องแก้ไขเขียนใหม่ ยุคเฟื่องฟูของเครื่องลายครามต้องถอยร่นอีกหนึ่งราชวงศ์

土耳其,伊朗馆藏元青花考察亲历记  หนังสือบันทึกการสำรวจเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์อิหร่านและตุรกี---สนใจคลิกลิงค์

        การขุดพบโดยบังเอิญเมื่อ39ปีที่แล้ว

        ณ วันที่ 29 พ.ย. 1980 บนพื้นที่ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโรงงานเครื่องจักรกลไฟฟ้าโรงที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองเกาอันมณฑลเจียงซี คนงานก่อสร้าง 8 คนได้ขุดพบห้องใต้ดินที่เก็บโบราณวัตถุทั้งหมด 245 ชิ้น ในนี้มีเครื่องเคลือบ 239 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 19 ชิ้น

高安市博物館  พิพิธภัณฑ์เมืองเกาอัน---การปรากฏของเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 19 ชิ้น ทำให้เป็นสถานที่เก็บเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนจำนวนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก  

元代窖藏复原场景 ห้องเก็บใต้ดินยุคสมัยหยวนที่ฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม---ขุดพบโดยบังเอิญที่เมืองเกาอันมณฑลเจียงซีเมื่อปี 1980

        เครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวนจำนวน 19 ชิ้น ประกอบด้วย : เหมยผิงพร้อมฝา 6 ชิ้น จอกขาสูง 9 ชิ้น โอ่งฝาใบบัว 2 ชิ้น ไหฝาครอบ 1 ชิ้น แก้วเหล้า 1 ชิ้น

窖藏出土的6件元青花梅瓶 เหมยผิงเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 6 ชิ้นที่ขุดพบในห้องใต้ดิน---ใต้ฝาและใต้ก้นของเหมยผิงแต่ละใบแยกเขียนอักษร 6 ตัว「」(พิธีกรรม)「」(ดนตรี)「」(คัดลายมือ)「」(คณิตศาตร์)「」(ยิงธนู)「」(การขี่ม้า) ซึ่งก็คือ【六藝】(ศิลปะ 6 แขนง) ของปรัชญาขงจื่อ

窖藏出土的9件元青花高足杯 จอกขาสูงเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน 9 ชิ้นที่ขุดพบในห้องใต้ดิน 

▲「人生百年長在醉 , 算來三萬六千場」---บทกวี「ชั่วชีวิตเมาได้ร้อยปี นับได้สามหมื่นหกพันครั้ง」ที่คัดลายมือลงบนจอกขาสูงใบหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตที่เสพสุข สำมะเลเทเมาของเหล่าขุนนางและสังคมชนชั้นสูงในช่วงปลายราชวงศ์หยวนก่อนล่มสลาย 

        ชาวอาหรับ ชาวฮั่น ชาวมองโกลในสมัยราชวงศ์หยวน ได้เคยร่วมมือกันสร้างสรรค์ปาฏิหาริย์ 「Porcelain Angels」 ---เครื่องลายครามสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องเคลือบสีพื้นไปสู่เครื่องเคลือบเขียนสี งามสง่าอย่างทรงพลัง รูปแบบการวาดไร้ขีดจำกัด ลวดลายเขียนตกแต่งมากชั้น ถือเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ในประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบดินเผาของเมืองจีน

▲Victoria’s Secret Fashion Show 2017 : Porcelain Angels





เอกสารอ้างอิง :
1. 青花瓷诞生于明代吗?https://kknews.cc/culture/box823n.html
2. 我國青花瓷發展的歷史背景與概況https://kknews.cc/culture/33omno.html
3. 怎么炼成亿元瓷器神话?https://kknews.cc/collect/jqv8zql.html
4. 中国的古董,中国人却自己不认,这是为什么?https://kknews.cc/news/nb8x9y3.html
5. 这个小城挖出19件元青花https://kknews.cc/collect/ez8ova4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น