วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตามรอยประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชาจีน | (ตอนที่ 4/4)



     -๐๔-〖#การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดื่มชา〗

        เมืองจีนเป็นถิ่นกำเนิดของชา ชาเริ่มต้นจากการเป็นยาแก้พิษแล้วภายหลังพัฒนาเป็น「ศิลปะกรรมเครื่องดื่มใบไม้ของพรรณไม้ที่ธรรมดาๆกลับสามารถนำวัตถุและจิตวิญญาณของคนจีนหลอมรวมเป็นหนึ่ง

        ผู้ปกครองสูงสุดของแต่ละราชวงศ์ที่ต่อเนื่องกันมาของเมืองจีนแทบล้วนชื่นชอบชา ซึ่งรูปแบบการดื่มชาของพวกเขาแตกต่างกัน และนี่จึงสามารถถือเป็นตัวแทนได้มากที่สุดของวัฒนธรรมชาที่เป็นอยู่ในแต่ละยุคสมัย

     【กษัตริย์โบราณเสินหนงซื่อเหยียนตี้/上古神农氏炎帝】(5000 ปีก่อน)
       | เสาะหาสมุนไพรแก้พิษกินชา/寻药解毒干吃茶

        เสินหนงซื่อเป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีน ก็คือ “เหยียนตี้/炎帝” ใน “สามราชาห้าจักรพรรดิ/三皇五帝” เชื่อว่าเป็นผู้ที่ค้นพบชาเมืองจีนเป็นคนแรก บนประวัติศาสตร์มีการบันทึกว่า “เสินหนงซื่อชิมพืชนานาพรรณ เกิดการเป็นพิษขึ้นมา พบชาในการแก้พิษ” จะเห็นได้ว่า เหยียนตี้เริ่มแรกใช้การเคี้ยวใบชาโดยตรง นำใบชาใช้เป็นสมุนไพรในการแก้พิษ

“神农氏尝百草,日遇七十二毒,得荼而解之” | “เสินหนงซื่อชิมพืชนานาพรรณ เกิดการเป็นพิษขึ้นมา พบชาในการแก้พิษ”

     【พระเจ้าโจวอู่จีฟา/周武王姬发】(1087-1043 BC)
       | เครื่องเซ่นสำคัญต้มชาดิบ/重要祭品生煮茶

        ชาใช้ใน “พิธีการไหว้บูชา” สามารถย้อนเวลาเจาะอดีตในยุคโจว ในเอกสาร《ประเพณีโจว/周礼》บันทึกไว้ว่า “ชาเป็นเครื่องเซ่นที่ขาดมิได้ในพิธีฝังศพ

《周礼》说 : “掌荼,掌以时聚荼以供丧事” |《ประเพณีโจว》กล่าวว่า : “ชาเป็นเครื่องเซ่นที่ขาดมิได้ในพิธีฝังศพ”

        จากพระเจ้าโจวอู่ถึงอ๋องฉีอู่(齐武王/16 BC-ปี 23) ชาไม่เพียงใช้เป็นอาหาร ยังใช้เป็นเครื่องเซ่น จะเห็นได้ว่า ผู้คนต่างรับรู้ต่อจิตวิญญาณและเอกลักษณ์ของชามาช้านานแล้ว ยุคเว่ยจิ้นเหนือใต้(魏晋南北朝/ปี 220-589) ริเริ่ม “ใช้ชาในการต้อนรับแขก” และเป็นแบบแผนของความซื่อสัตย์และต่อต้านความฟุ้งเฟ้อ

▲ภาพวาดรูปแรกในประวัติศาสตร์ชา :《เซียวยี่ได้ภาพหลานถิง/萧翼赚兰亭图》ภาพวาดโดย เหยียนลี่เบิ่น(阎立本) ยุคถัง | เป็นภาพเล่าเรื่องทำนอง “งานเลี้ยงที่หงเหมิน/鸿门宴” ของชา ท้องเรื่องที่ดำเนินโดยเซียวยี่(萧翼)ซึ่งรับมอบหมายจากจักรพรรดิถังไท่จงให้มาเยี่ยมนักบวชเบี้ยนฉาย(辩才)เพื่อหลอกเอา《หลานถิงซวี่/兰亭序》ที่ถือเป็น “อัญมณีแห่งอักษรวิจิตร” ซึ่งเป็นภาพลายมือพู่กันจีนของหวังซีเจือ(王羲之) ที่มุมซ้ายล่างของภาพเป็นส่วนที่ถือเป็นตัวแทนของยุคถังได้ดีที่สุดก็คือ「การเคี่ยวชาผง/煎茶末」 

▲ภาพบางส่วนของ《เซียวยี่ได้ภาพหลานถิง》| ภาพนี้ไม่เพียงเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของนักบวชโบราณที่ “ใช้ชารับแขก/以茶待客” ยังแสดงให้เห็นภาพจริงของกระบวนการดื่มชาและภาชนะชาในการต้มชา เป็นภาพแรกที่สะท้อนชีวิตการดื่มชาในยุคถัง ตั้งแต่ยุคถังเป็นต้นมา การดื่มชาได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนแล้ว

     【จักรพรรดิถังใต้จงหลี่ยี่/唐代宗李豫】(ปี 762-779)
       | กำกับการผลิตชาบรรณาการวิธีการเคี่ยวชา/督造贡茶煎茶法

        ยุคถังเป็นยุคสมัยที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ชาได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการคมนาคมที่สะดวก การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจระหว่างเหนือใต้ และพื้นฐานของทั้งสังคมที่รุ่งเรืองเฟื่องฟู ยุคถังได้ริเริ่มจัดตั้งระบบ「ชาบรรณาการ/贡茶」ขึ้นมา

▲ภาพการกระจายสวนไร่ชาบรรณาการในยุคอดีตของเมืองจีน | เดิมในระบบ「ชาบรรณาการ」ยังไม่มีกฎข้อบังคับของปริมาณและคุณภาพที่กำหนด ยุคถังจึงริเริ่มนำระบบชาบรรณาการบรรจุเข้าไปในพระราชกฤษฎีกา เลยจึงเกิดมีผลิตภัณฑ์ชาที่โด่งดังให้เป็นทางเลือกในยุคต่อๆมา

        กรรมวิธีการผลิตและวิธีการดื่มชาในยุคถังจะค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ในการทำชามีทั้ง「ชาเส้น/散茶」และ「ชาแผ่น/饼茶」ยุคถังนอกจากได้สานต่อ『การต้มชา/煮茶法』เช่นในอดีต ยังใช้『การเคี่ยวชา/煎茶法』มันมีขั้นตอนของการต้ม ชาที่ใช้เป็นชาผง ผิวน้ำชาที่เคี่ยวเสร็จแล้วจะมีฟองมากมาย จึงกล่าวได้ว่า วิธีการเคี่ยวชาสืบทอดจากวิธีการต้มชา แล้วส่งต่อไปยัง『การตีชา/点茶法

▲《ภาพความบันเทิงในวัง/宫乐图》ยุคถัง | เป็นภาพวาดบรรยายการชุมนุมของเหล่านางสนมในวังที่นั่งล้อมโต๊ะยาวร่วมทำกิจกรรมบันเทิงและดื่มชา ในภาพมี 12 คน บนโต๊ะยาวมีชามชาใบใหญ่ตั้งอยู่ บนชามชามีที่ตักด้ามยาว นางสนมคนหนึ่งกำลังจะตักชาใส่ถ้วยตนเอง และมีบางนางกำลังซดดื่มชา บางนางดีดขิมเป่าแคน ลักษณะท่าทางดูมีชีวิตชีวา   

     【จักรพรรดิซ่งฮุยจงจ้าวจี๋/宋徽宗赵佶】(ปี 1100-1126)
       | ติดชางอมแงมวิธีการตีชา/嗜茶如命点茶法

        ยุคซ่งเป็นยุคสมัยที่ทำการพัฒนาวัฒนธรรมชาครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน การนิยมดื่มชาในยุคซ่งเฟื่องฟูกว่ายุคถัง จักรพรรดิราชวงศ์ซ่งตั้งแต่ปฐมจักรพรรดิซ่งไท่จู่จ้าวควางยิ้น(宋太祖赵匡胤) ก็นิยมชมชอบการดื่มชา ที่นับว่าขึ้นชื่อมากที่สุดก็คือจักรพรรดิซ่งฮุยจงจ้าวจี๋ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์《เรื่องราวชา/大观茶论》ที่บรรยายวิธี「การตีชา」อย่างละเอียด และเชื้อเชิญเหล่าขุนนางมาร่วม「งานเลี้ยงชา/茶宴」เป็นประจำ

▲《ภาพชุมนุมปัญญาชน/文会图》ภาพวาดโดย จ้าวจี๋(赵佶) ยุคซ่ง | ภาพวาดบรรยายถึงปัญญาชนและคนชั้นสูงในยุคซ่งมีสุนทรียะในการดื่มเหล้าชิมชา จักรพรรดิซ่งฮุยจงชื่นชอบชาเป็นชีวิตจิตใจ ติดชางอมแงม ทรงจัด「งานเลี้ยงชา」เป็นประจำโดยมีเหล่าขุนนางและปัญญาชาเป็นแขกรับเชิญ บางครั้งสนุกสนานจน「ตีชา」ด้วยตนเอง และละเล่น「ดวลชา」อย่างสำราญฤทัย ทำให้ยุคซ่งเกิดกระแสนิยมการชิมดื่มชาในหมู่คนทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นล่าง

▲ภาพบางส่วนของ《ภาพชุมนุมปัญญาชน》| ในรูปเป็นภาพเด็กรับใช้หลายคนกำลังตระเตรียมการตีชาที่ดูมีชีวิตชีวา บนโต๊ะวางเรียงด้วยจ่านชาเคลือบดำประกอบคู่กับจานรองจ่านชาสีดำเป็นคู่ๆ เด็กตรงกลางมือซ้ายถือจานรองจ่านชา มือขวากำลังใช้ช้อนตักชาผงที่บดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตักใส่ลงบนจ่านชาที่วางบนจานรอง ถ้าสังเกตให้ดีอีกนิด จะเห็นบนจ่านชามีลายเป็นเส้นๆดั่งขนกระต่าย แสดงว่านี่ก็คือ「เจี้ยนจ่านขนกระต่าย

      「การตีชา」มีความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ใช้คือ『ก้อนมังกรแผ่นหงษ์/龙团风饼』 ที่ขึ้นชื่อลือชา และทำให้กำเนิดภาชนะชาที่ลือลั่นบันลือโลก『เจี้ยนจ่าน/建盏』 และเป็นการเปิดศักราชกระแสนิยม「ดวลชา/斗茶」ในหมู่ประชาชน

▲《ภาพดวลชา/斗茶图》ภาพวาดโดย จ้าวเมิ้งฝู(赵孟頫) ยุคเหยียน | ในภาพมีคนหาบเร่ขายชา 4 คนอยู่ในร่มเงาใต้ต้นไม้ คนข้างหน้าทางซ้ายมือหนึ่งถือจอกชามือหนึ่งหิ้วถังชา ท่าทางสงบเสงี่ยม คนด้านหลังมือหนึ่งถือจอกชามือหนึ่งยกกาชาขึ้น ทำท่าทางรินน้ำชาในกาลงใส่ในจอก อีกสองคนยืนเฝ้ามองดูอยู่ข้างๆ ผู้ดวลชานำใบชาที่ทำมากับมือมาประลองกัน แสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์ของการซื้อขายใบชาและ「ดวลชา」ในมวลชนยุคซ่ง  

▲「ดวลชา」ที่แท้มีวิธีการ “ดวล” อย่างไร? | ใช่เซียง(蔡襄) ขุนนางขึ้นชื่อในยุคซ่งเหนือได้กล่าวไว้ใน《บันทึกชา/茶录》ว่า : 1.คือการดูที่สีสันของฟองชาบนผิวน้ำชาและระดับความส่ำเสมอ ภายใต้การตีคนอย่างต่อเนื่องด้วยแปรงไม้ไผ่ ทำให้เกิด “ฟองชา/汤花” อย่างต่อเนื่อง สีขาวบริสุทธิ์ถือว่าเยี่ยมยอดที่สุด รองมาคือขาวเขียว รองลงมาอีกขาวเทา ขาวเหลือง ; 2.มาให้ความสนใจในการ “เกาะจ่าน/咬盏” ฟองชาลอยบนผิวชาแล้วเกาะยึดติดขอบจ่านได้โดยไม่ยุบและนานที่สุดเป็นฝ่ายชนะ (จากรูป : คุณคิดว่า “จ่านซ้าย” หรือ “จ่านขวา” จ่านไหนเป็นฝ่ายชนะ?)

▲「เจี้ยนจ่านขนกระต่ายเคลือบดำ/建窑黑釉兔毫盏」ยุคซ่งใต้(ปี 1127-1279) คู่กับ「จานรองจ่านทรงดอกไม้เครื่องเขินสีเลือดหมู/朱漆花形盏托」ยุคศตวรรษที่ 13/14 | เมื่อ “สีของการตีชา โดยขาวบริสุทธิ์เหนือสุด/点茶之色,以纯白为上” ฟองชาที่ดีที่สุดต้องขาวดั่งหิมะ สิ่งที่คู่ควรที่สุดกับ “ขาว” ของชา ก็ต้อง “จ่านชาเคลือบดำ” โดยธรรมชาติ ; คนซ่งถือกันว่า “จ่านในใต้หล้า หนึ่งในปฐพีคือเจี้ยนจ่าน/天下之盏,首推建盏

     【จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูเหยียนจาง/明太祖朱元璋】(ปี 1368-1398)
       | เลิกก้อนเปลี่ยนเส้นชงชาเส้น/废团改散泡散茶

        มาถึงยุคหมิง คนในสมัยนั้นคิดว่ากระบวนการผลิตชาก้อนแผ่นแบบยุคซ่งที่ประดิดประดอยและฟุ่มเฟือยมากเกินไป สูญเสียแรงงานและสิ้นเปลืองเงินทอง รัชศกหงอู่ปีที่ 24 ราชวงศ์หมิง(明洪武二十四年/ปี 1391) จักรพรรดิหมิงไท่จู่จูเหยียนจางมีพระราชโองการให้ “ยกเลิกชาก้อน เปลี่ยนมาเป็นชาเส้น

▲ภาพบางส่วนของ《ภาพชิมดื่มชา/品茶图》ภาพวาดโดย เหวินเจินหมิง(文征明) ยุคหมิง | ห้องโถงกระท่อมไม้หลังคามุงจากในภาพ มีโต๊ะเตี้ยตั้งอยู่ เจ้าบ้านและแขกนั่งตรงข้ามกัน บนโต๊ะมีเพียงน้ำชาหนึ่งกาสองจอก ดูเหมือนคุยกันถูกปากถูกคอ ริมกระท่อมข้างๆมีเตาดินและ「ปั้นจื่อซา」เด็กชายกำลังขะมักเขม้นก่อไฟต้มน้ำ

        ณ เวลานั้น สมัยนิยม「การตีชา」ของยุคซ่งก็อันตรธานหายไป เป็นเพราะถูกแทนที่ด้วยชาเส้น วิธีการดื่มชาที่ต้องบดเป็นผงเพื่อดื่ม กลายมาเป็นวิธีการดื่มที่ใช้น้ำร้อนใน『การชงชาเส้น/泡散茶』ขณะเดียวกันอุปกรณ์ชาอย่าง『ปั้นชา/茶壶』ก็ปรากฏตัวขึ้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเปิดศักราชใหม่ของวิธีการชิมลิ้มรสชา คนยุคหมิงเชื่อว่า วิธีการชงชาเส้นสะดวกรวดเร็ว ภาวะอารมณ์ตามธรรมชาติ ได้รสแท้จริงของชามากที่สุด วิธีการชงลักษณะแบบนี้ก็กลายเป็นวิธีการดื่มชาที่นิยมทั่วไปมากที่สุด ณ ปัจจุบัน

▲「ปั้นจื่อซาของสือต้าปิง/时大彬制紫砂壶」ยุคหมิง | ขุดพบในสุสานของ หลูเหวยเจิน(卢维祯) ที่เมืองจางผู่ฝูเจี้ยน ฝังในรัชศกว่านลี่ปี 38 (ปี 1610) โดยการสกัดจับพวกโจรปล้นสุสานเมื่อเดือน ก.ค. 1987 ปั้นจื่อซาใบนี้ เนื่องจากเนื้อดินจื่อซาไม่บริสุทธิ์ หลังเผาผนึกจึงปรากฏจุดขาวเหลืองแบบผิวสาลี่ ผิวปั้นสากมือ ฝาปั้นเลียนแบบฝาปิดติ่งเครื่องสำริดที่นิยมในยุคชุนชิวจ้านกว๋อ หัวเม็ดดุมทำเป็นรูปแบบ 3 นิ้วหัวแม่เท้าแบน จึงวางฝาตั้งหงายได้ 

     【จักรพรรดิชิงกาวจงเฉียนหลง/清高宗乾隆】(ปี 1735-1796)
       | ผลักดันก่ายหว่านชงชาอย่างแรงกล้า/大力推行盖碗泡茶

        จากยุคหมิงเข้าสู่ยุคชิง วัฒนธรรมชาค่อยๆถลำลึกเข้าไปในท้องตลาด เข้าสู่ในชีวิตประจำวัน ยิ่งใช้รูปแบบการค้ายิ่งสั่นสะเทือนตลาดโลกอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองสูงสุดราชวงศ์ชิงในช่วงเวลานั้นจะชื่นชอบชาเป็นพิเศษ ฮ่องเต้เฉียนหลงจะไม่เป็นสองรองใคร

        รักแผ่นดินแต่ติดชาเสพติดยิ่งกว่า การเสด็จประพาสเจียงหนาน 7 หน ได้ตั้งชื่อชาดีของแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมร้านน้ำชาผลักดันก่ายหว่าน แล้วการใช้ก่ายหว่านในการชงชาก็แพร่หลายถึงในปัจจุบัน ภาชนะชา『ก่ายหว่าน/盖碗』ประกอบด้วย “ถ้วย/” “ฝา/” “จานรอง/” เป็นรูปแบบที่พิเศษเฉพาะ การทำละเอียดประณีต ถ้วยชาบนกว้างล่างแคบ ฝาปิดเข้าไปอยู่ในถ้วย จานรองทำเป็น “ฐานพยุง/底承托” เมื่อดื่มชาฝาจะเลื่อนตกได้ยาก มีจานรองใช้ประคองก็จะไม่ร้อนมือ

▲「ก่ายหว่าน/盖碗」| ประกอบด้วย  “ฝา/” “ถ้วย/” “จานรอง/

        ประวัติศาสตร์การปลูกชา การผลิตชา การดื่มชาของเมืองจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน ในเอกสารโบราณที่เกี่ยวกับชาจำนวนมาก ล้วนมีการบันทึกเป็นประวัติ ถึงแม้รูปลักษณ์ของชาเกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของการดื่มชาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ใจที่รักชาจะไม่เปลี่ยน ชาหนึ่งจอก นำคนโบราณและคนปัจจุบันมาเชื่อมโยงใยเข้าด้วยกัน

        คุณเป็นผู้รักการดื่มชา ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของชาสักประเดี๋ยว อาจทำให้เวลาที่คุณชิมลิ้มรสชามีอรรถรสและข้อมูลการสนทนามากยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้ !?





เอกสารอ้างอิง :
1. 从药用到品饮的茶界简史  |  https://www.ichanfeng.com/2018/10/10/10655.html
2. 饮茶 , 制茶发展史简述  |  https://www.jianshu.com/p/a794937f5368
3. 茶叶制造 : 我国制茶技术史及茶类出现的顺序  |  http://m.ishuocha.com/show-64-24574.html
4. 制茶史的上下四千年  |  https://zhuanlan.zhihu.com/p/27842715?utm_source=com.google.android.gm&utm_medium=social&utm_oi=1006583554779770880