วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 1)

普洱茶预防与降低血压的机理
ความดันโลหิตสูงคืออะไร ? โทษอันตรายต่อคนและแผนการรักษาสองวิธี
高血压是什么 ? 对人的危害及两种治疗路径



        ชนชาวจีนรวมทั้งฮ่องกง มาเก๊า ใต้หวันและแถบอาเซียน มีคำกล่าวพิเศษสำหรับชาผูเอ๋อร์ว่า : การดื่มชาผูเอ๋อร์เป็นระยะเวลายาวนานแล้วจะมีคุณประโยชน์ในการป้องกันกับการรักษาความดันโลหิตสูง การพูดเช่นนี้แม้ว่านำไปสู่การโต้แย้งไม่น้อย แต่มันก็มิใช่ไม่มีมูลความจริง เป็นข้อสรุปรวบยอดจากประสบการณ์ที่มาจากชาวบ้านดื่มชาผูเอ๋อร์มาเป็นแรมปี ประสบการณ์แบบนี้เป็นการรับรู้ทางกายของมวลชนแต่ละคนที่สะสมและได้ผลสรุปออกมา กลายเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของชาวบ้าน พวกเราก็จัดมันอยู่ในบริบทของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์

        แต่ทว่า สำหรับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์แล้ว เพียงแค่การมีประสบการณ์ชาวบ้านยากที่จะมีน้ำหนักที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งก็คือ “วิทยาศาสตร์การทดลอง” มาพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องและความเป็นเหตุเป็นผลของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์” อย่างกรณีถั่งเช่าที่พวกเรารู้จักกันดี ชาวบ้านก็ได้มอบเกียรติบัตรให้มันว่าต่อต้านโรคมะเร็ง แต่เมื่อผ่านวิธีการ “วิทยาศาสตร์การทดลอง” ตราบถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่พบส่วนประกอบที่เป็นยาต้านมะเร็งในถั่งเช่า การต้านมะเร็งดังกล่าวก็ต้องหยุดอยู่เพียงชั้นของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์” กลายเป็นคดีดำที่ค่อยการตัดสินต่อไป

        ทำนองเดียวกัน คุณประโยชน์ด้านลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ที่พวกเราต้องการรู้และเข้าใจไม่สามารถอาศัยเพียง “ประสบการณ์ชาวบ้าน” เท่านั้น ต้องรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องว่าความดันโลหิตสูงคืออะไร ? สองวิธีของการรักษาบำบัดความดันโลหิตสูง : วิธีการรักษาโดยใช้ยาและวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาเป็นประเด็นหลักที่พวกเราทำความเข้าใจเข้าถึง เพราะว่าชาผูเอ๋อร์ก็คือหนึ่งในนั่น ชาผูเอ๋อร์กลายเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หลักใหญ่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่เป็นยาลดความดันและกลไกการลดความดันที่เฉพาะตัวของมัน

        1. ความดันโลหิตสูงคืออะไร ? โทษอันตรายต่อคนและแผนการรักษาสองวิธี

        ความดันโลหิตสูง คืออาการของโรคที่ความดันขณะหัวใจบีบตัว(ค่าตัวบน)กับความดันขณะหัวใจคลายตัว(ค่าตัวล่าง)ในเส้นเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตของคนปกติมิใช่จะคงที่ตลอดแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงจะผันแปรระหว่างความดันค่าตัวบน 12.0-18.7 kPa(90-140 mmHg) ความดันค่าตัวล่าง 6.7-12.0 kPa(50.4-90.2 mmHg) ผู้เชี่ยวชาญทางความดันโลหิตสูงขององค์การอนามัยโลกสหประชาชาติได้กำหนดไว้ว่า ความดันค่าตัวบนและความดันค่าตัวล่างของผู้ใหญ่ปกติอยู่ที่ 18.7 kPa(140.6 mmHg) และ 12.0 kPa(90.2 mmHg) ลงมา ผู้ใหญ่ที่ความดันค่าตัวบนเกินกว่า 21.3 kPa(157 mmHg) หรือความดันค่าตัวล่างเกินกว่า  12.7 kPa(95.5  mmHg) ล้วนสามารถยืนยันเป็นความดันโลหิตสูง ลักษณะอาการทางคลีนิก(Clinical Manifestations)โดยมีความดันเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้นเป็นอาการหลัก เคียงข้างด้วยอาการปวดศรีษะ เวียนศรีษะ ศรีษะพองตัว(แพทย์แผนจีน) หูอื้อ นอนไม่หลับ ใจสั่น อ่อนเพลียง่าย ความจำเสื่อม เป็นต้น ความดันโลหิตสูงเป็นโรคชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในคน ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ(Primary Hypertension) และความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ(Secondary Hypertension : เช่นภาวะหลอดเลือดไตตีบตันนำไปสู่ความดันโลหิตสูงในเส้นเลือดแดงไต)

          ความดันโลหิตสูงหากไม่ทำการรักษา ความดันเลือดแดงจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันจะเกิดความเสียหายต่ออวัยวะเป้าหมาย(Target Organ) เช่น หัวใจ ไต สมองและหลอดเลือด เกิดภาวะแทรกซ้อน ประกอบด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล่มเหลว โรคหัวใจขาดเลือด โรคประสาทตาเสื่อมและไตวาย เป็นต้น
         ความดันโลหิตสูงจะทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจต้องรับภาระหนักขึ้น หัวใจพองโต แต่ประสิทธิภาพของการสูบฉีดลดต่ำลง ปราฏกสัญญาณของภาวะหัวใจล่มเหลว
        อันเนื่องจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือฉีกขาดเลือดออกจะไปกระตุ้นเร่งให้เรื่องที่คาดคิดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ ความดันโลหิตสูงจะไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคลมชัก สองกรณีนี้ล้วนไปทำลายเนื้อเยื่อของสมอง
        ความดันโลหิตสูงยังทำให้เส้นเลือดฝอยที่เยื่อบุตาปรากฏเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรือมีเลือดออก เป็นเหตุให้ตามัวถึงตาบอดได้ ตาเป็นระบบประสาทหนึ่งนอกจากสมองแล้วที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความดันโลหิตสูง
        ปกติทั่วไป ส่วนที่ได้รับโทษอันตรายมากที่สุดจากความดันโลหิตสูงคือหลอดเลือดไต ทำให้หลอดเลือดไตตีบหรือฉีกขาด ซึ่งผลสุดท้ายนำไปสู่ไตวาย
        อัตราการตายจากความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะจะไม่สูง ภายหลังของความดันโลหิตสูงที่เปลี่ยนมาเป็นโรคหลอดเลือดสมองและโรคลมชักแล้วเสียชีวิตเสมอ

        การรักษาความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นการรักษาโดยใช้ยาและการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา 2 วิธี :
        วิธีการรักษาโดยใช้ยา : ⑴ กลุ่มยาขับปัสสาวะ (ยาที่เป็นตัวแทนมี ไฮโดรคลอโรไทเอไซด์(Hydrochlorothiazide) อินดาพาไมด์(Indapamide) ฟูโรซีไมด์(Furosemide) ไตรเอมเทรีน(Triamterene) สไปโรโนเลคโทน(Spironolactone) เป็นต้น) ; ⑵ กลุ่มยาเบต้าบล็อคเกอร์ (ยาที่เป็นตัวแทนมี โพรพราโนลอล(Propranolol) อะทีโนลอล(Atenolol) เมโทโปรลอล(Metoprolol) ไบโซโปรลอล(Bisoprolol) เป็นต้น) ; ⑶ กลุ่มยาปิดกั้นแคลเซียม (ยาที่เป็นตัวแทนมี อาดาแลท(Adalat) ไนเทรนดิพีน(Nitrendjpine) นิคาร์ดิพีน(Nicardipine) นิซอลดิพีน(Nisoldipine) ฟีโลดิพีน(Ferodipine) ดิลไทอะแซม(Diltiazem) เวอราพามิล(Verapamil) เป็นต้น) ; ⑷ กลุ่มยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor : ยาที่เป็นตัวแทนมี แคปโตพริล(Captopril) อีนาลาพริล(Enalapril) เบนนาซีพริล(Benazeppril) ลิซิโนพริล(Lisinopril) รามิพริล(Ramipril) เพอรินโดพริล(Perindopril) เป็นต้น) ; ⑸ กลุ่มยา ARBs (ยาที่เป็นตัวแทนมี ลอซาร์แทน(Losatan) เออร์ซาบิแทน(Irbesartan) เป็นต้น) ; 6 กลุ่มยาสารประกอบดัดแปลง (ยาที่เป็นตัวแทนมี รีเซอร์พีน(Reserpine) อะโพไซนัม(Apocynum) เป็นต้น)
        วิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา จะมีผลหลักคือการป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงอุบัติขึ้นและเป็นตัวช่วยเสริมในการรักษาโดยใช้ยา ประกอบด้วยการลดน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหาร ลดการดื่มสุรา การออกกำลังกายที่พอดีและเหมาะสม ลดความเครียด งดการสูบบุหรี่ เป็นต้น แน่นอนยังรวมทั้งการดื่มชาผูเอ๋อร์

        ชาผูเอ๋อร์ไม่ถือเป็นยา เพียงเป็นเครื่องดื่มประจำวันของพวกเรา เมื่อต้องมาผจญกับความดันโลหิตสูงแล้ว สรรพคุณหลักของมันมีอยู่ ๓ ด้าน : ๑. คือป้องกันการอุบัติขึ้นของความดันโลหิตสูง ๒. คือมีผลอย่างเด่นชัดต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระยะเริ่มต้นในการใช้ทดแทนการรักษาโดยใช้ยา ๓. คือสำหรับผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแล้วกอปรมีประวัติการใช้ยามาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ชาผูเอ๋อร์สามารถใช้เป็นตัวช่วยเสริมทางการรักษาโดยใช้ยา

        บรรดาสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)หลากหลายชนิดที่อยู่ในชาผูเอ๋อร์ เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ทีโพลิแซคคาไรด์ ทีซาโปนิน คาเฟอีน ทีโอฟิลลีน ทีอะนีน เป็นต้นที่เป็นสสารพื้นฐานของ “แหล่งยา”(药源) เมื่อผ่านกระบวนการหมักที่พิเศษเฉพาะ ทำให้ “แหล่งยา” หลายชนิดแปรสภาพเป็นสารที่มีสมรรถภาพทาง “เป็นยา”(药用) ณ ขณะที่สารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)จำนวนมากก็เกิดขึ้นมาเคียงข้าง เช่นสารสีแดงชา GABA(Gramma AminoButyric Acid) โลวาสแตติน(Lovastatin) ซิมวาสแตติน(Simvastatin) เป็นต้น สารประกอบทุติยภูมิเหล่านี้พร้อมที่จะสนธิทำงานร่วมกันกับสารประกอบปฐมภูมิ ทำให้ส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ถูกยกระดับให้เป็นส่วนที่สำแดงสมรรถภาพทาง “ฤทธิ์ยา”(药性) กลายเป็นเส้นทาง “แหล่งยา---เป็นยา---ฤทธิ์ยา” ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง เมื่อหลังจาก “ฤทธิ์ยา” ได้ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว กลไกการออกฤทธิ์ทางยาก็ก่อตัวขึ้นต่อจากนั้นทันที

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนต้น)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน กันยายน ปี 2016
http://chuansong.me/n/1491175835134