วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)
古茶树之谜 (一)



        ต้นชาโบราณเป็นสมญานามที่พิเศษเฉพาะที่ชาวบ้านใช้เรียกต้นชาไม้ใหญ่ที่มีอายุยืนต้นพอสมควร ตั้งแต่ต้นทศวรรตที่ 90 ศตวรรตที่แล้ว วงการชาผูเอ๋อร์ในหยินหนานคุ้นเคยที่จัดแบ่งไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่(乔木大叶种茶树)ออกเป็น ต้นชาโบราณ(古茶树) ต้นชาไม้ใหญ่(乔木大茶树) ต้นชาไร่(台地茶树) 3 ชนิด การแบ่งกลุ่มลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ผลจากการแบ่งกลุ่มตามพฤกษศาสตร์ เพียงเป็นผลสรุปจากประสบการณ์อันยาวนานของชาวบ้าน ถือเป็นประสบการณ์ทางพื้นบ้าน

        โดยเฉพาะหลังปี2000 เป็นไปตามที่ตลาดชาผูเอ๋อร์ได้เฟืองฟูตามลำดับ เกิดการแข่งขันที่ยิ่งมายิ่งรุนแรง นักธุรกิจชาผูเอ๋อร์ส่วนหนึ่งได้มาจัดแยกวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดขึ้น ผู้ผลิตชาหรือพ่อค้าจำนวนมากได้เรียกชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากวัตถุดิบจาก ”ต้นชาโบราณ” ว่า ”ชาต้นโบราณ(古树茶)” อาศัยที่ “ต้นชาโบราณ” เป็นทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด และเพื่อให้ตระหนักในการแยกคุณภาพที่แตกต่างจาก ”ต้นชาไม้ใหญ่” และ ”ต้นชาไร่” พฤติกรรมทางธุรกิจเช่นนี้โดยเหตุสุดวิสัยริเริ่มจากชาวบ้าน ไม่ใช่ได้รับการแนะนำหรือส่งเสริมจากทางราชการหรือทางวิชาการ ความต้องการที่กลายมาจากพฤติกรรมทางธุรกิจเช่นนี้ ก่อให้เกิดผู้คนจำนวนมากมาสนใจต้นชาโบราณ ความเป็นจริง ไม่ว่าเป็นต้นชาโบราณ ต้นชาไม้ใหญ่หรือต้นชาไร่ล้วนถือเป็นไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่

       หัวข้อของบทความนี้ตามหลักควรเป็น ”ปริศนาแห่งไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่” เพียงแต่ว่าในบรรดาไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ ต้นชาโบราณจะเป็นตัวแทนได้ดีที่สุด จึงขอยืนยันหัวข้อเป็น “ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ”

        ก่อนที่จะมาอภิปรายถึงปัญหานี้ ขอมาทำความเข้าใจถึง 2 กรอบความคิด :

        I. ต้นชาโบราณและชาต้นโบราณเป็นสองแนวความคิด
        ตัวแรกหมายถึงไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ที่อายุยืนต้น 100 ปีขึ้นไป ตัวหลังคือใบชาที่ผลิตจากใบชาสดของตัวแรก

        II. ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าก็เป็นสองแนวความคิด
        ต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าแม้จะเรียกเป็นต้นชา แต่ใบและผลของมันเป็นพันธุ์ป่า สัณฐานและองค์ประกอบภายในจะแตกต่างกันมากกับใบชาที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน มีคุณลักษณะความเป็นพิษ ไม่สามารถที่จะรับทานได้ ต้นชาพันธุ์ป่าหลังผ่านระยะของ ”ต้นชาชนิดแปรเปลี่ยน(过渡型茶树)” แล้วผ่านการ ”กลาย(化)” จึงวิวัฒนาการเป็นต้นชาที่สามารถทาน(ดื่ม)ได้ ต้นชาโบราณเป็นปรากฏการณ์ทางพืชที่พิเศษเฉพาะรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ถือเป็น ”ราก(根)” ของชาผูเอ๋อร์ เนื่องจากการปรากฏขึ้นทีหลังของต้นชาไม้ใหญ่ที่อายุต้นยังอ่อน ไม่ว่าจากการเพาะปลูกโดยมนุษย์ หรือที่ขึ้นอยู่ในป่าปล่อยตามธรรมชาติ แม้กระทั่งต้นชาไร่ที่เพาะปลูกและตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยโดยฝีมือมนุษย์ยุคสมัยนี้ พวกมันล้วนก่อกำเนิดจากต้นชาโบราณ มี ”สายเลือด” เดียวกัน

        คำนิยามของต้นชาโบราณ

        1. ต้นชาโบราณถือเป็นพืชประเภทไม้ต้น
        ตามการจัดกลุ่มทางพฤกษศาสตร์ โดยทั่วไปพรรณไม้เนื้อแข็งที่มีลำต้นสูง6ถึง10 เมตร เรียกว่าไม้ต้น มันมีลำต้นหลัก ลำต้นและบริเวณยอดที่แตกกิ่งก้านเห็นแยกออกได้ชัดเจน ทำนองเดียวกัน ใช้ความสูงแบ่งเป็นไม้ต้นใหญ่มาก(31 ม.ขึ้นไป) ไม้ต้นใหญ่(21-30 ม.) ไม้ต้นกลาง(11-20 ม.) ไม้ต้นเล็ก(6-10 ม.) เป็น4ระดับ ลักษณะภายนอกของต้นชาโบราณในหยินหนานถือเป็นสัณฐานไม้ต้น เป็นสัญลักษณ์แรกของต้นชาโบราณ ถ้ากล่าวทางด้านความสูงแล้ว มันครอบคลุมทั้งไม้ต้นใหญ่มาก ไม้ต้นใหญ่ ไม้ต้นกลาง ไม้ต้นเล็ก ส่วนที่แตกต่างคือไม้ต้นใหญ่มีน้อยมาก ไม้ต้นเล็กมีมาก นอกจากนี้ เนื่องจากต้นชามีการเจริญเติบโตช้า ความหนาแน่นของเนื้อไม้ลำต้นสูงกว่าไม้ต้นทั่วไป ทำให้ไม้ต้นที่อายุเท่ากัน ต้นชาจะเตี้ยกว่าไม้ต้นอื่นๆ สวนชาโบราณหมื่นหมู่(万亩古茶园)ในจิ่งม้าย-หยินหนาน ต้นชาโบราณจำนวนมากที่มีอายุยืนต้น300ปีขึ้นไปจะมีความสูง6เมตรลงมา ทั่วไปเราจะเรียกต้นชาชนิดนี้ว่าไม้ต้นทรงพุ่ม(亚乔木)

        2. อายุยืนต้นต้อง 100 ปีขึ้นไปจึงจะถือเป็นต้นชาโบราณ
        ที่พวกเราเสนอมูลค่าทางเวลาตัวเลขนี้เนื่องจาก ๒ เหตุผล : ๑. คือวิธีการบันทึกเวลาจะเทียบ100ปีเป็น1ศตวรรษ มนุษย์เรา รวมทั้งพืชพรรณและสัตว์ส่วนใหญ่ล้วนมีอายุภายใน100ปี สำหรับสปีชีส์ที่มีวงจรชีวิตเกิน100ปี พวกเราต่างต้องมองด้วยความชื่นชม จิตใจมนุษย์จะมีปมในการเชื่อ ”เครื่องราง” โดยกำเนิด ชนเผ่ากลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในภูเขาใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ พิธีกรรมการบวงสรวงส่วนมากของพวกเขาจะเกี่ยวโยงกับไม้ต้นใหญ่เกินร้อยปี ต้นชาโบราณในหยินหนานมีอายุยืนต้นเกินพันปี และมีเกินหลายร้อยปี ปรากฏการณ์ ”อายุยืน” ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ เป็นพันธุ์ชาชนิดเดียวในบรรดากลุ่มพันธุ์ชาทั้งหมดที่ ”อายุยืน” การใช้คำ ”โบราณ” เป็นสมญานามที่ชาวบ้านพร้อมใจกันเรียกขานต้นชาที่มีอายุยืนต้นเกิน100 ปี ; ๒. ใช้อายุของต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กเป็นค่าการอ้างอิง อายุเฉลี่ยของต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็กคือภายใน100ปี พวกมันหลังการเพาะปลูก3ถึง5ปีก็เก็บเกี่ยวได้ หลัง20ปีจะเข้าสู่ระยะของผลผลิตสูง หลัง70-80ปีก็จะร่วงโรยตามกาลเวลา ต้นชาที่มีอายุเกิน100ปีมีน้อยมาก

        3. ต้นชาโบราณมีเอกลักษณ์ที่เป็นประชาคม
        พวกเราเมื่ออยู่ในเขตผลิตชาในหยินหนานบังเอิญได้พบเห็นไม้ต้นชาใหญ่ต้นหนึ่งยืนต้นอยู่บริเวณรอบๆบ้านเก่าโบราณที่ชาวบ้านอาศัยหรือตามท้องทุ่งนา ดูสง่างามแฝงความโดดเดี่ยว แต่นี้เป็นปรากฏการณ์อย่างเอกเทศ ต้นชาโบราณที่พวกเราพบเห็นในปัจจุบันเป็นปรากฏการณืที่พิเศษเฉพาะ ต้นชาโบราณส่วนใหญ่ปรากฏเป็นลักษณะประชาคม ที่ที่มีต้นชาโบราณก็จะเคียงข้างด้วยสวนชาโบราณ(古茶园)ดำรงอยู่ สวนชาโบราณลักษณะนี้แตกต่างจากสวนชาที่เราหมายถึงในปัจจุบัน เมื่อคุณเยื้องกายเข้าไปในเขาจิ่งม้าย-หยินหนาน เมื่อประจัญกับสวนชาโบราณหมื่นหมู่ คุณจะพบเห็นว่า : พวกมันไม่ใช่ยืนเป็นแถวอนุกรมและใกล้ชิดกัน แต่จะขึ้นแบบกระจัดกระจายไปทั่ว ระยะห่างระหว่างต้นชาสองต้นจะห่างกันมาก ต้นเคียงข้างสองต้นอาจไม่ใช่ต้นชาทั้งหมด ระหว่างต้นชาสองต้นจะมีพรรณไม้ต้นชนิดอื่นสอดแทรกอยู่ สวนชาโบราณหรือเขาชาโบราณหลายพื้นที่ที่ดำรงอยู่ในหยินหนานปัจจุบัน เปรียบเทียบต้นชาและพืชพรรณอื่น อัตราส่วนเกือบจะ 1:1 นี้เป็นเหตุที่ทำให้เรามีความเข้าใจผิดเป็นประจำ เสมือนไม่ใช่สถิตอยู่ ณ สวนชาโบราณ แต่เป็น ”สวนพืชดอกไม้ลึกลับที่ไม่มีกำแพงกั้น” ปรากฏการณ์แบบกระจัดกระจายเช่นนี้มองผิวเผินทำให้การเด็ดเก็บไม่สะดวก แต่จะเป็นประโยขน์ด้านการผสมเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กันและการแผ่สยายออกทางแนวกว้างของการแตกกิ่งก้านบนยอดลำต้น ประกอบกับต้นชาแต่ละต้นได้ครอบครองพื้นที่ผิวดินที่กว้างขึ้นอย่างเด่นชัด มีผลอย่างมากต่อการเพิ่มคุณภาพของใบชา สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ต้นชาเหล่านี้กับพรรณไม้อื่นผสมข้ามพันธุ์กัน ก่อให้เกิดความหลากหลายของลักษณะทางชีวภาพที่เฉพาะ และเนื่องจากความหลากหลายของลักษณะทางชีวภาพก็ก่อให้เกิดนิเวศมณฑล(生态圈)ที่พิเศษเฉพาะของสวนชา ณ จนถึงทุกวันนี้ในขอบเขตทั่วโลก นี้เป็นสวนชาที่พบเห็นได้ที่ถือเป็นแม่แบบทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วางแผนพัฒนาให้เข้ากับระบบนิเวศธรรมชาติมากที่สุด

        พวกเรายังสามารถที่จะทำการประเมินได้ดังนี้ : สวนชาโบราณในหยินหนานที่แท้ก็คือสวนชาที่มีความหลากหลายทางพืชพรรณ เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่อันยิ่งใหญ่แห่งประวัติของการสร้างและการจัดการสวนชา การรักษาสวนชาโบราณให้ดำรงอยู่ได้หลายร้อยปีแม้กระทั่งกว่าพันปี ถือเป็นสิ่งมหัสจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทางอารยธรรมของมนุษย์ แม้ ณ วันนี้ ยังเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่พวกเราใช้อ้างอิงและเรียนรู้

        4. การกระจายของต้นชาโบราณ
        ส่วนใหญ่พวกมันกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ผลิตชาดั้งเดิมภายใต้การควบคุมดูแลของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เมืองผูเอ๋อร์และเมืองหลิงชางในหยินหนาน นอกจากสามเขตพื้นที่นี้แล้ว พื้นที่อื่นๆในหยินหนานส่วนใหญ่ถือเป็นต้นชาไม้ใหญ่ที่อายุต้นยังอ่อนและต้นชาไร่ ส่วนต้นชานอกเขตมณฑลหยินหนาน รวมทั้งใต้หวันและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าประเทศอินเดียได้เคยค้นพบต้นชาไม้ใหญ่พันธุ์ป่าในเขตพื้นที่รัฐอัสสัม แต่ต้นชาในเขตพื้นที่ผลิตชาของอินเดียยังเป็นต้นชาพันธุ์ใบกลางเล็ก ซึ่งอายุของต้นชาเฉลี่ยภายใน100ปี จะไม่พบต้นชาไม้ใหญ่ดำรงอยู่ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงต้นชาโบราณ ดังนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญประวัตศาสตร์ด้านชายุคนี้ยิ่งโน้มเอียงมาทางการรับรู้เช่นนี้ : หลังจากอังกฤษยึดครองอินเดียแล้ว บริษัทอินเดียตะวันออกภายใต้การนำของอังกฤษ อาศัยความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ได้นำพันธ์ชาจากฝูเจี้ยน(福建)และเจียงเจ้อ(江浙)เข้าไปในอินเดีย ข้อมูลบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางด้านนี้มีมากมาย ล้วนยืนยันคำกล่าวที่ว่าการเพาะปลูกชาและการผลิตชาในอินเดียและประเทศแถบเอเชียใต้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน...

แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/p/ef01FN.html

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย 
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/