วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ศิลปะการตกแต่งปั้นจื่อซา---การแกะสลัก


        “การแกะสลัก/陶刻” เป็นศิลปกรรมที่ใช้มีดแทนพู่กัน โดยดำเนินการแกะสลักแทนการวาดเขียน นำเสนอลายเส้นที่มีความหยาบละเอียดและพลังหนักเบาออกมาแทนเสน่ห์ดึงดูดของน้ำหมึก ดังนั้น นับแต่โบราณกาลเหล่าปัญญาชนมักชอบแต่งโครงวาดภาพลงบนปั้นจื่อซา แล้วใช้ใบมีดทำการแกะสลักดุจตราประทับเพื่อเป็นศิลปกรรมการตกแต่ง 


        “เฉินม่านเซิง/曼生壶” (ปี1768-1822) นักอักษรวิจิตรกรและนักถอดความหมายของตัวหนังสือจีนโบราณที่แกะสลักไว้ เป็นปัญญาชนที่ริเริ่มนำอักษรภาพ โคลงกลอนและการแกะสลักปั้นหลอมรวมเป็นหนึ่ง สร้างสรรค์ปั้นจื่อซาให้เป็นงานศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะ เป็นที่โจษขานและยกย่องเป็น “ปั้นม่านเซิง/曼生壶” พร้อมคำกล่าวอมตะ “ปั้นแพงเพราะตัวอักษร ตัวอักษรสืบทอดโดยปั้น/壶随字贵 字依壶传” 

▲“ปั้นสือเผียว/石瓢壶” หนึ่งในม่านเซิงสิบแปดแบบ ออกแบบและตัวอักษรสลักโดยเฉินม่านเซิง


        การแกะสลักดินจื่อซาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ「การแกะสลักดิบ/生刻」และ「การแกะสลักสุก/熟刻」  


        1.「การแกะสลักดิบ」บ่งชี้ถึงการแกะสลักบนดินดิบของตัวปั้นจื่อซาที่ยังไม่ผ่านการเผาผลิต พื้นฐานทั่วไปจะทำการแกะสลักด้วยมือ จำแนกย่อยออกได้ ๒ วิธีการ

          ๑. “การแกะสลักบนลายพิมพ์/印刻” คือการแกะสลักตามลายเส้นพู่กันที่วาดเขียนเป็นภาพร่างแล้วบนตัวปั้นจื่อซา 

▲การเขียนตัวหนังสือบนตัวปั้น

▲การแกะสลักตามลายเส้นตัวหนังสือ (วิธีการมีดคู่/双刀正入法)


          ๒. “การแกะสลักบนช่องว่าง/空刻” คือไม่มีการวาดเขียนโครงร่างใดๆ จะทำการแกะสลักตัวหนังสือภาพด้วยมือเปล่าโดยตรงแทนพู่กัน 

▲การแกะสลักบนช่องว่าง (วิธีการมีดเดียว/单刀侧入法)
 

        •  วิธีการใช้ใบมีดในการแกะสลักปั้นจื่อซา หลักใหญ่มีอยู่ 2 วิธีการคือ “มีดคู่/双刀” และ “มีดเดียว/单刀

        •  “วิธีการมีดคู่” คือการใช้มีดกรีดสองด้านของลายเส้นพู่กัน พื้นผิวที่แกะสลักออกมาเป็นฐานสามเหลี่ยม ฐานเรียบ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้ในการแกะสลักตัวหนังสือ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนตัวหนังสือจีนโบราณที่แกะสลักบนศิลาจารึก 

▲ฐานสามเหลี่ยมของตัวหนังสือโดยวิธีการมีดคู่

▲ฐานเรียบของตัวหนังสือโดยวิธีการมีดคู่

   

        •  “วิธีการมีดเดียว” จะยากกว่าวิธีการมีดคู่ น้ำหนักการกรีดสามารถผ่อนหนักผ่อนเบา ผสมผสานเสมือนจริง เป็นไปตามอารมณ์ศิลปิน ไหลลื่นดูธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้ในการแกะสลักภาพวาด 

▲การแกะสลักภาพวาดโดยวิธีการมีดเดียว

▲ความแตกต่างของวิธีการมีดคู่(ซ้าย)กับวิธีการมีดเดียว(ขวา)


        2.「การแกะสลักสุก」บ่งชี้ถึงการแกะสลักบนดินสุกของตัวปั้นจื่อซาที่ผ่านการเผาผนึกแล้ว เนื้อดินจึงค่อนข้างแข็งมาก จึงไม่ใช้ใบมีดในการแกะสลัก โดยทั่วๆไปจะแกะสลักด้วยเครื่องซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท

          I เครื่องแกะสลักระบบ CNC 

▲ตัวหนังสือจากเครื่องแกะสลักระบบ CNC


          II เครื่องเลเซอร์/เครื่องพ่นทราย ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 

▲ตัวหนังสือจากเครื่องเลเซอร์


          III เครื่องแกะสลักไฟฟ้า ควบคุมด้วยมือมนุษย์

▲การแกะสลักสุกโดยเครื่องแกะสลักไฟฟ้า


        กล่าวโดยสรุป การแกะสลักสุกถึงแม้จะได้ตัวหนังสือภาพออกมา แต่ดูมีลักษณะที่แข็งทื่อขาดซึ่งความมีชีวิตชีวา ได้สูญเสียความงามแห่งตัวหนังสือจีนโบราณที่แกะสลักบนศิลาจารึกและความงามแห่งบันยะบันยังของศิลปะการแกะสลักไปแล้ว


        ความแตกต่างของการแกะสลักด้วยมือกับการแกะสลักด้วยเครื่องก็โดยการดูที่ร่องรอยของการแกะสลัก 

        1. การแกะสลักด้วยมือมีรอยลึกตื้น การแกะสลักด้วยเครื่องเลเซอร์เป็นรอยราบเรียบ

        2. การแกะสลักด้วยมือมีรอยดุจหุบเขาลึก การแกะสลักด้วยเครื่องพ่นทรายเสมือนร่องสายน้ำ 

        3. การแกะสลักด้วยมือมีมิติของความตื้นลึก การแกะสลักด้วยเครื่องถึงยังไงก็เป็นเครื่องจักรวันยังค่ำ

▲ความแตกต่างของการแกะสลักด้วยมือ(บน)กับการแกะสลักด้วยเครื่อง(ล่าง)

       

ข้อแนะนำในการชื่นชมปั้นจื่อซาแกะสลัก :

        1. กระชับ : การแกะสลักเป็นวิธีการหนึ่งในการตกแต่งปั้นจื่อซา ซึ่งการตกแต่งนี้มิใช่เป็นการ “ตัวประกอบแย่งซีนพระเอก”  จุดประสงค์ของการตกแต่งก็คือ “วาดมังกรแต้มนัยน์ตา” มิใช่ “วาดงูเติมขา” ซึ่งก็คือไม่ตกตแต่งจนเกินไปทำให้เกิดผลในแง่ลบ

        2. กลมกลืน : ตัวหนังสือและภาพที่แกะสลักบนชิ้นงานจื่อซาโดยตัวมันเองจะต้องสะท้อนถึงความกลมกลืนเข้ากันได้ ทำให้เป็นงานศิลป์ที่ออกมาแม่นยำ สวยสมบูรณ์แบบ เต็มไปด้วยพลัง

        3. ไหลลื่น : การแกะสลักตัวหนังสือและภาพเป็นไปอย่างไหลลื่น เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นงานศิลป์ มีความรู้สึกที่เคร่งขรึม นิ่มนวล มีชีวิตชีวา  ชิ้นงานการแกะสลักจะต้องไม่หลากลาย ยุ่งเหยิง แข็งทื่อ ดูไม่เป็นธรรมชาติ 


▲ปั้นจื่อซา “สือเผียวใบใหญ่/大石瓢” ของกู้จิ่งโจวที่ทำขึ้นในปี 1948 ทำการประมูลเมื่อ 19 พ.ค. 2015 ที่กรุงปักกิ่ง ราคาที่ประมูลได้ 28.175 ล้านRMB

▲ปั้นจื่อซา “สือเผียวใบใหญ่/大石瓢” ปั้นโดย กู้จิ่งโจว/顾景舟 ตัวหนังสือแกะสลักโดย หวูหูฟาน/吴湖帆 ภาพวาดแกะสลักโดย เจียงหานทิง/江寒汀




เอกสารอ้างอิง :

1. 紫砂壶的装饰工艺---陶刻https://m.sohu.com/a/212836079_100031050/?pvid=000115_3w_a

2. 紫砂陶刻---单刀和双刀的区别https://news.taohuren.com/zishagongyi/2018-12-29/article-193343.html

3. 如何辨别紫砂壶是手工刻字还是电脑刻字?https://news.taohuren.com/zishagongyi/2017-08-22/article-173074.html