วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น-3)

ตอนที่ 3 : หลักฐานอ้างอิงทางชีววิทยาต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์
普洱茶能降低猝死风险吗 ? (上)
普洱茶降低猝死风险的生物学依据 (三)



        การดื่มชาผูเอ๋อร์รูปแบบการทำให้เข้มข้นขึ้นในตอนเช้า บังเกิดผลในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน นี่เป็นเพราะว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ(Coronary Heart Disase) โรคสมองอุดตาย(Cerebral Infraction) โรคลมชัก(Apoplexy) เป็นต้นมักจะเกิดปะทุขึ้นในตอนเช้าช่วงเวลา 7:00-9:00 น. (แต่ไม่จริงแท้เสมอไป) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยคาแฟอิน(咖啡碱) ซึ่งคาแฟอินนี้คือสารแอลคาลอยด์(生物碱)ชนิดพิเศษ หน้าที่ทางสรีรวิทยาที่พื้นฐานที่สุดคือก่อให้เกิดการต้านฤทธิ์กัน(Antagonism)เชิงเข้าไปแข่งขันกับตัวรับอะดีโนซีน(Adenosine Receptor) ทางเภสัชวิทยา คือส่งผลถึงการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มปริมาณเลือดที่เข้าสู่ไต(Renal Blood Flow) การขับปัสสาวะ(Diuresis)และบำรุงหัวใจ(Cardiotonic) เป็นต้น ขณะเดียวกัน มันยังสามารถเพิ่มความดันโลหิตสูง เพิ่มปริมาณสารแคธีโคลามีน(Catecholamine)ในเลือด เพิ่มฤทธิ์ของโปรตีเอสความดันโลหิตสูง(Protease Hypertension)ในเลือด เพิ่มระดับอนุมูลอิสระของกรดไขมันในซีรั่ม(Serum)ให้สูงขึ้น เพิ่มการหลั่งของกรดกระเพาะ(Gastric Acid)

        ในการดำเนินการทดลองทางชีววิทยาของชาผูเอ๋อร์ต่อการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของพวกเรานั้น มีความตระหนักในการนำกาแฟวางไว้ในตำแหน่งของวัตถุอ้างอิง ด้านหนึ่งคือกาแฟมีเคสการทดลองและข้อมูลทางการป้องกันการตายอย่างกะทันหันอย่างมากมาย สามารถที่จะนำมาเป็นหลักฐานเทียบเคียงได้ ; อีกด้านหนึ่ง หลังจากผ่านการทดลองเชิงเปรียบเทียบแล้ว ทำให้ข้อพิสูจน์ของชาผูเอ๋อร์เป็นที่เชื่อใจได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องถึงชาผูเอ๋อร์และกาแฟในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของร่างกายมนุษย์ต่อจากนี้ไป ซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยออกมาของชาผูเอ๋อร์เป็นที่เหนือกว่ากาแฟ มิใช่เป็นการลดทอนและการทำให้ด้อยลงในคุณค่าการชิมดื่มของกาแฟเป็นอันขาด

        พวกเราได้พยายามทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบใน 4 ด้านด้วยกัน :

        1. ปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟในระดับเกือบ 1 เท่าหรือเกินกว่า 1 เท่า

        ปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของชาผูเอ๋อร์คือ 3-5 กรัม ส่วนปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของกาแฟ(เมล็ด ผง)มีเพียง 1.3-1.9 กรัม ภายใต้เบื้องต้นคาแฟอินที่ถูกละลายออกมา 80% ของของเหลวในปริมาณที่เท่ากันที่ทำให้เข้มข้นขึ้นจากวัตถุดิบในจำนวนเดียวกัน “ปริมาณการรับยา”(Administered) ของชาผูเอ๋อร์มีปริมาณมากกว่ากาแฟเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าอย่างเด่นชัด ดังนั้น ด้านการขยายหลอดเลือด เพิ่มปริมาณเลือดเข้าสู่ไต เป็นต้น “ผลปฏิบัติการสอดแทรก”(干预作用) ของคาแฟอินในชาผูเอ๋อร์เหนือกว่าการแฟอย่างเห็นได้ชัด ผลลัพธ์ก็ดีกว่ากาแฟ



        2. ในชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยสารแอลคาลอยด์ที่กาแฟไม่มี สารแอลคาลอยด์นี้จะมีสารธีโอฟิลลีน ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ(คล้ายคลึงกับยาบำรุงหัวใจ)

        ชาผูเอ๋อร์ไม่เพียงเฉพาะมีคาแฟอิน แต่สารแอลคาลอยด์(Alkaloid)ที่ก่อตัวขึ้นจากคาแฟอินอันเป็นสารหลัก ท่ามกลางนี้ แอลคาลอยด์บางชนิดที่ทั้งชาผูเอ๋อร์และกาแฟต่างมีร่วมกัน บางชนิดที่กาแฟไม่มี ในนี้ก็มีแอลคาลอยด์ชนิดหนึ่งที่สำคัญมาก----ธีโอฟิลลีน(茶碱) ซึ่งมีเฉพาะในใบชา ธีโอฟิลลีนถือเป็นวัตถุยากลุ่มเมทธิลพิวรีน(Methyl Purine) มีหน้าที่คล้ายคลึงกับยาบำรุงหัวใจ บังเกิดผลทางบำรุงหัวใจ การขับปัสสาวะ ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ การคลายหลอดลมกล้ามเนื้อเรียบและกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น แม้ว่าปริมาณที่เป็นองค์ประกอบของมันจะต่ำมาก มีเพียง 0.003% (พันธุ์ใบกลางเล็กมีเพียง 0.002%) แต่คุณค่าทางยาสูงมาก นี่ก็คือหลักฐานอ้างอิงหนึ่งที่สำคัญในผลสรุปของพวกเราที่ให้ปฏิบัติการบนการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์เหนือกว่ากาแฟ อันที่จริง แอลคาลอยด์ในชาผูเอ๋อร์หลักใหญ่แบ่งออกเป็นพิวรีนเบส(Purine Base)และไพริมิดีนเบส(Pyrimidine Base)สองประเภท ประเภทพิวรีนเบสประกอบด้วยคาแฟอิน(Caffeine) ธีโอโบรมีน(Theobromine) ธีโอฟิลลีน(Theophilline) แซนทีน(Xanthine) ไฮโพแซนทีน(Hypoxanthine) เลียนแบบแซนทีน(Imitae Xanthine) อะดีนีน(Adenine) อะไซโคลเวียร์(Acyclovir) เป็นต้นรวม 8 ชนิด ทั้งหมดนี้ชนิดที่มีปริมาณองค์ประกอบมากที่สุดคือคาแฟอิน คิดเป็น 3-5% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด รองลงมาคือธีโอโบรมีน คิดเป็น 0.05% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด รองลงมาอีกคือธีโอฟิลลีน คิดเป็น 0.003% ของปริมาณชาแห้งทั้งหมด ส่วยพิวรีนชนิดอื่นๆมีปริมาณองค์ประกอบยิ่งต่ำลงมาก ดังนั้น ในวงการทางวิชาการคุ้นเคยที่เรียกขานคาแฟอินเป็นตัวแทนของแอลคาลอยด์ในใบชา ประเภทไพริมิดีนเบสประกอบด้วยยูราซิล(Uracil : 2.4 Dihydroxypyrimidine) ไทมีน(Thymine : 5-Methyl-2.4-Dioxypyrimidine) ไซโทซีน(Cytosine : 2-Hydroxyl-4-Aminopyrimidine) รวมเป็น 3 ชนิด

        สิ่งที่ต้องการกล่าวให้ชัดแจ้งก็คือ ตัวของพิวรีนไม่สามารถดำรงอยู่โดยลำพังตัวของมันเองได้ในท่ามกลางธรรมชาติ มันประกอบด้วยวงแหวนตัวแม่ 2 ตัว-----ระบบเฮเทอโรไซคลิก(Heterocyclic System)ที่เกิดจากการควบแน่นของไพริมิดีนและอิมิดาโซล(Imidazole) แต่สารอนุพันธ์กลุ่ม ไฮดรอกซิล(Hydroxyl) อะมิโน(Amino) เมทธิล(Methyl) ของมันล้วนเป็นสสารทางธรรมชาติของต้นชาและใบชา เป็นสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ของพืช ซึ่งก็คือสารอาหารจากพืชชนิดหนึ่งที่พวกเรากล่าวถึงอยู่เสมอๆ สารประเภทพิวรีนเบสทั้ง 8 ชนิดในใบชาก็เป็นเพียงสารอยู่ในกลุ่มนี้



        3. กระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ปรากฏสารประกอบทุติยภูมิจำนวนมากที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางยา

        นี่คืออีกหลักฐานอ้างอิงหนึ่งที่สำคัญของชาผูเอ๋อร์ในการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันที่เหนือกว่ากาแฟ อย่างการหมักกองบวกกับการหมักภายหลังหลังการอัดขึ้นรูปของชาสุก การหมักภายหลังหลังการอัดขึ้นรูปของชาดิบ ล้วนเกี่ยวข้องกับการหมัก และกระนั้น การหมักของมันมีกระบวนการการหมักโดยแบคที่เรียที่ต้องการออกซิเจน(การหมักที่ต้องใช้ออกซิเจน) การหมักที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน การหมักกึ่งไม่ต้องใช้ออกซิเจน กระบวนการเหล่านี้จะปรากฏสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)ออกมาเป็นจำนวนมาก สารประกอบทุติยภูมิเหล่านี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติทางยา ล้วนช่วยในการเยียวยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น พิจารณาจากอีกมุมมองหนึ่ง คือเป็นการช่วยให้บังเกิดผลในการป้องกันการตายอย่างกะทันหันอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน สิ่งที่มีคุณค่าที่ต้องกล่าวถึงก็คือ พวกมันทุกตัวล้วนมีปริมาณส่วนประกอบน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสารโมเลกุลเล็ก ถือเป็นระดับไมโครและปริมาณอันน้อยนิด แทบจะตรวจวัดไม่เจอในสภาวะปกติ ยิ่งไม่ถึงระดับ “ปริมาณการรับยา” ตามที่ความต้องการ ดังนั้น จึงไม่สามารถนำพวกมันจัดเป็น “ยาเจาะจงเป้าหมาย”(Targeted Drug) อย่างง่ายๆได้ แต่ทว่า การออกฤทธิ์ของพวกมันสูงมาก จึงส่งผลทางสรีรวิทยาต่อร่างกายมนุษย์อย่างเด่นชัด ในการทดลองทางชีววิทยาของชาผูเอ๋อร์ ข้อมูลมากมายก็ได้บ่งชี้ออกมา ผลลัพธ์ของชาที่ผ่านการหมักมาแล้วดีกว่าชาที่ยังไม่เกิดการหมัก

        4. สารจำพวกไขมันจำนวนมากที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในกาแฟ คิดเป็นปริมาณของไขมันสูงถึง 16%

        สารจำพวกไขมันสูงของกาแฟคือที่มาที่สำคัญของกลิ่นหอมกาแฟที่เต็มเปี่ยม แต่ไขมันในใบชาเป็นศูนย์ ไม่มีกลิ่นหอมแรงอย่างกาแฟ แต่สำหรับการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น-----การดื่มกาแฟเป็นระยะเวลาอันยาวนาน มีโอกาสนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(Cardiovascular Disease) กล่าวทางด้านความปลอกภัยทางการดื่มแล้ว ใบชาจะปลอดภัยกว่ากาแฟ และกระนั้น การศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เปิดเผยออกมาว่า เครื่องดื่ม 3 ผู้ยิ่งใหญ่บนโลก : กาแฟ โกโก้ ใบชา ใบชาได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นเครื่องดื่มที่ปลอดภัยที่สุด

........ยังมีต่อ........
โปรดติดตาม《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ)》


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น)》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย

ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนจบ-1)