วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (5)

ตอนที่ 5 : ข้อพิสูจน์ที่ 2 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช (ตอนจบ)
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 药食同源型医用食品 (完)



        ยังมีผู้คนอีกจำนวนมาก นักวิชาการบางส่วนที่เพียงให้ความสนใจสารบางชนิดในใบชา แล้วกล่าวสรุปโดยรวม กล่าวเกินจริงอย่างไม่ลืมหูลืมตา ผู้คนจำนวนมากเมื่อเอ่ยถึงชาแล้ว จะต้องเป็นสารทีโพลิฟีนอลส์มีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบอยู่เท่าไร เชื่อแน่ว่าชาที่มีทีโพลิฟีนอลส์เป็นองค์ประกอบในปริมาณมากจึงจะเป็นชาดี ผู้เชี่ยวชาญในวงการชาจำนวนมากก็เพราะอันเนื่องจากความรู้แบบนี้ จึงเชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ไม่ว่าจะเป็นชาสุกจากการหมักประดิษฐ์ หรือเป็นชาเก่าผูเอ๋อร์ซึ่งมีปริมาณของทีโพลิฟีนอลส์ล้วนต่ำกว่าชาเขียวและชาอูหลง คุณภาพจึงไม่สามารถเทียบเท่ากับชาเขียวและชาอูหลง นี่ก็เป็นการบ่งชี้ถึงอีกหนึ่งความเข้าใจผิด กล่าวได้ว่า ทีโพลิฟีนอลส์เป็นสารประกอบพื้นฐานที่ชาทุกประเภทจะต้องมี แต่ไม่ใช่มาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของใบชา มีผู้คนจำนวนมากนำทีโพลิฟีนอลส์จัดเป็นสาร “เทวดา”(神化) กล่าวว่ามัน ไม่เพียงเฉพาะสามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายมนุษย์แล้ว ยังสามารถรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจ ต่อต้านมะเร็ง ฯลฯ นี่ก็เป็นเพราะริเริ่มจาก “รายงานผลการวิจัย” เกี่ยวกับทีโพลิฟีนอลส์ในวงการชาเขียวตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ศตวรรษที่แล้ว ตราบจนถึงทศวรรษที่ 90 ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเทิดทูนทีโพลิฟีนอลส์เป็น “ยาหม้อ”(良药) ที่สามารถรักษาสารพัดโรคได้ และโดยการใช้สิ่งนี้มาผูกมัดกับชาเขียว แล้วประโคมข่าวว่าชาเขียวมีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาหลายสิบโรคได้

        แต่คำกล่าวเหล่านี้ภายหลังได้ถูกองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่นานาชาติ---ไม่รับรอง อย่างเช่นองค์การอาหารและยา(Food and Drug Administration : FDA)แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศบนเว็บเพจหน้าแรกเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2006 ว่า : "FDA ได้ข้อสรุปโดยเชื่อได้ว่าไม่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนว่าชาเขียวหรือสารที่สกัดจากชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจได้" และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมิน 105 บทความและสิ่งตีพิมพ์อื่นๆที่นำมาเสนอ ยังไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการดื่มชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน สิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งก็คือ ซึ่งก่อนหน้านี้ FDA ได้เคยประกาศแล้วว่า ชาเขียวไม่อาจที่จะเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งชนิดอื่นๆได้ ซึ่งก็คือเป็นการปฏิเสธโดยตรงต่อการนำเสนอต่างๆนานาทางการต่อต้านมะเร็งของชาเขียว



        บางที พวกเราไม่จำเป็นต้องไปหลงเชื่อข้อสรุปของ FDA แห่งสหรัฐอเมริกา กระทั่งก็ไม่ต้องให้ความสนใจต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ของนานาชาติ แต่ทว่า ตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเราก็ยังไม่พบเห็นบทความเชิงหักล้างมาท้าทายกับข้อสรุปลักษณะแบบนี้ มีข้อเท็จจริงหนึ่ง ที่พวกเราจำต้องเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ เมื่อหลังจากสารทีโพลิฟีนอลส์ได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว โดยเฉพาะเข้าสู่ที่ลำใส้แล้ว จะมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ประจำพื้นที่และระบบเมตาโบลิซึมของร่างกาย แม้ว่าตราบจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ปัจจุบันทางนานาชาติได้จัดทีโพลิฟีนอลส์เป็นเพียงสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสารปรุงแต่งอาหาร ไม่ถือเป็นสารทางโภชนาหารเข้มข้นสูง ยิ่งไม่ถือเป็นวัตถุดิบยาในสารบัญยา คุณค่าของทีโพลิฟีนอลส์นอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติแล้ว สิ่งที่เป็นคุณค่ามากกว่าก็คือสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากหมักภายหลัง

        พูดอีกนัยหนึ่ง ทีโพลิฟีนอลส์และสารประกอบเชิงสารัตถประโยชน์อื่นๆและสารประกอบทางโภชนาการภายใต้การเตรียมการ(กรรมวิธี)ก่อนหน้านี้ ในท่ามกลางเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์และเอนไซม์ชนิดต่างๆ แปรสภาพเป็นสารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าของคุณสมบัติทางยา จึงเป็นการบรรลุความเป็นไปได้ของ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช¹

        เพราะฉะนั้น การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีความเป็นฤทธิ์ในพืชจากธรรมชาติ คือแก่นแท้ของชาผูเอ๋อร์ที่เพียบพร้อมทาง “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” ดำรงอยู่ ถ้าหากปราศจาก "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" หรือไม่เพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขของ "การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพ" แล้ว ก็แค่เป็นแนวความคิดที่ปั่นขึ้นมา หรือเป็นการ "จับจันทร์ใต้น้ำ" ที่ไม่มีความหมายแท้จริงอันใด

        ปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ต้องการของการแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีคุณสมบัติทางยาในพืชจากธรรมชาติ ชาผูเอ๋อร์ล้วนเพียบพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งใบชาไม้ต้นพันธุ์ใหญ่ของหยินหนานโดยตัวมันเองก็เป็นพรรณพืชจากธรรมชาติ และพรรณพืชจากธรรมชาติชนิดนี้ในตัวมันเองก็ประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติทางยา ประกอบกับจุลินทรีย์ที่มีเฉพาะและเอนไซม์ชีวภาพกับกรรมวิธีการเตรียมการภายใต้สภาวะที่ไม่ใช่อุณหภูมิสูง ทำให้สารที่มีคุณสมบัติทางยาที่อยู่ในพรรณพืชเหล่านี้ภายใต้การหมักในสถานะของแข็งเกิดการแปรสภาพที่สุดยอด ปรากฏสารประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาเชิงเล็งเป้า(针对性)มากยิ่งขึ้น(ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นิยมใช้คำว่า “เป้าหมาย”(靶向)) ก่อให้เกิดกลไกทางเภสัชวิทยาที่มีสารัตถประโยชน์มากมาย

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 5---เขียนโดย เฉินเจี๋ย



วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (4)

ตอนที่ 4 : ข้อพิสูจน์ที่ 2 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช (ตอนต้น)
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 药食同源型医用食品 (上)



        ถ้าจะกล่าวกันว่าสารอาหารในพืชที่อยู่ในใบชาหนักไปทางสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)แล้ว ถ้าเช่นนั่นชาผูเอ๋อร์หลังการหมักก็จะหนักไปทางสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)เป็นหลัก ตัวแรกล้วนดำรงอยู่ในใบชาทั้งหลายทั้งปวง ก็เพียงแต่มีปริมาณขององค์ประกอบแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ส่วนตัวหลังเป็นเฉพาะตัว และเป็นตัวพิเศษเฉพาะ ชาสุกผูเอ๋อร์มีกระบวนการหมักที่เร่งให้เร็วขึ้น ชาดิบผูเอ๋อร์ก็มีกระบวนการหมักภายหลัง การหมักเช่นนี้ ทำให้สารอาหารในพืชส่วนใหญ่ถูกสลาย ควบแน่น แปรสภาพ ดัชนีชี้วัดของสารอาหารในพืชที่มีอยู่เดิมลดต่ำลง ก่อเกิดสารชนิดใหม่เป็นจำนวนมาก พวกเราขนานนามมันว่าสารประกอบทุติยภูมิ พวกมันเป็นนิคมกลุ่มที่ใหญ่มหึมา มีมากมายถึงกว่า 2000 ชนิด และขนาดของโมเลกุลทุกๆตัวจะเล็กมาก แต่จะมีความเป็นฤทธิ์แรง สารโมเลกุลเล็กเหล่านี้ มีบางส่วนที่พวกเรารู้จักกันแล้ว มีบางส่วนที่พวกเรายังไม่รู้จักมาก่อน พวกมันเกือบทั้งหมดดำรงอยู่ในสภาวะโมเลกุลขนาดเล็ก พวกมันอาศัยหรือแอบซ่อนอยู่ภายนอกวงแม่ของสารประกอบทางเคมีจำนวนมาก ปริมณฑล “หน้าที่” ของมัน หรือพูดได้ว่าการมีคุณประโยขน์ต่อระบบสรีระของมนุษย์ หลักใหญ่ใจความจะปราฏกออกมาหลายด้านดังข้างล่างนี้ :

        เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค การกระตุ้นระบบน้ำเหลือง  เป็นต้น
        ป้องกันความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการท้องผูกและเนื้องอก เป็นต้น
        ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง ควบคุมคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกาะติดของเกล็ดเลือด สรรพคุณทางปรับการสร้างเลือดให้สมดุล เป็นต้น
        ปรับสภาวะร่างกายให้สมดุล รวมทั้งระบบประสาทส่วนกลาง ปลายประสาท ความสามารถทางการรับและสั่งการ เป็นต้น 
        ชะลอความแก่ เป็นต้น



        ดังนั้น พวกเรานำชาสุก ชาแก่ของชาผูเอ๋อร์ที่ผ่านการหมักภายหลังซึ่งหนักไปทางสารประกอบทุติยภูมิจัดอยู่ในบริบทของ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” คือชาผูเอ๋อร์ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทาง “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ที่ระดับสูงที่สุด และกระนั่น มันยังมีข้อพิเศษอีกจุดหนึ่ง คือเมื่อทานเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว จะไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับตับไต ฉะนั่น “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” เป็นทิศทางการพัฒนาของอาหารเฉพาะพันธกิจ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวการแพทย์สมัยใหม่ คืออาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ที่เพียบพร้อมด้วยสารัตถประโยชน์ทางโภชนาการ สารัตถประโยชน์ทางความรู้สึกและสารัตถประโยชน์ทางปรับสรีระร่างกายให้สมดุล การศึกษาวิจัยและการพัฒนาอาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เฉพาะพันธกิจในบ้านเราถือเป็นวิทยาศาสตร์และปริมณฑลที่เพิ่งเริ่มขึ้นมาใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์จาการนำหลักวิชาการมากมายและขอบเขตต่างๆมาบรรจบและผสมผสานกันอย่างไม่หยุดยั้ง เกี่ยวโยงถึงโภชนาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ชีววิทยา ชีววิศวกรรม วิทยาศาสตร์การอาหาร

        ในนี้ พวกเราจำต้องทำความชัดเจนถึงความรู้ที่ยังเบลอๆเรื่องหนึ่ง

        เป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้ว ผู้คนจำนวนมากได้นำสารประกอบทางโภชนาการและสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในใบชาล้วนจัดเป็น “เครื่องดื่มวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เฉพาะพันธกิจ” เป็นเพราะว่าในใบชาไม่พียงแค่ประกอบด้วยโปรตีน น้ำตาล ไขมัน วิตามิน เพคทินและแร่ธาตุ เป็นต้นที่เป็นสารประกอบทางโภขนาการ ขณะเดียวกันก็มีทีโพลิฟีนอลส์ ทีโพลิแซคคาไรด์ คาแฟอิน ธีอะนีน(Theanine) สารสีชา(Tea Pigments) เป็นต้นที่เป็นสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจ แต่ทว่า สารประกอบทางโภชนาการและสารประกอบทางเฉพาะพันธกิจล้วนถือเป็นสารัตถประโยชน์ขั้นพื้นฐาน ตัวหลังถือเป็นสารอาหารในพืช คือส่วนใหญ่แล้วเป็นสารประกอบปฐมภูมิในใบชา กับ “อาหารวัตถุประสงค์ทางการแพทย์รูปแบบโภชนเภสัช” ที่พวกเรากล่าวถึง ยังมีระยะห่างอีกไกลพอสมควร



        ผู้คนจำนวนมากค่อนไปทางการวิเคราะห์เชิงอพลวัต(Static Analysis)ของสารประกอบทางเคมีของใบชา มองข้ามการวิเคราะห์เชิงพลวัต(Dynamic Analysis) เนื่องจากใบชาประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งวิธีการดำเนินการ(กรรมวิธี)ที่ไม่เหมือนกันทำให้สารประกอบทางเคมีที่ประกอบอยู่ในใบชาเกิดการแปรสภาพอย่างรวดเร็ว รายงานผลการศึกษาวิจัยคุณภาพของใบชาจำนวนมากที่พวกเราได้พบเห็นในปัจจุบัน  ซึ่งดัชนีชี้วัดที่เปิดเผยออกมาเป็นทางเชิงอพลวัต มีน้อยมากที่นำดัชนีชี้วัดเชิงพลวัตมาเผยแพร่เส้นทางของคุณภาพใบชา  พูดอีกนัยหนึ่ง มีเพียงการปรากฏของดัชนีชี้วัดเชิงพลวัตจึงจะสามารถวาดเขียน “โรดแม็พ”(Road Map) ของวิวัฒนาการทางคุณภาพใบชาออกมาได้ และกระนั่น ใบชาของเขตพื้นที่ต่างกันอันเนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่เหมือนกันและกรรมวิธีที่แตกต่างกัน รูปแบบเชิงพลวัต(คือ “โรดแม็พ”)ก็จะไม่เหมือนกัน ถ้าหากพวกเรามีรูปแบบพลวัตเชิงอนุกรมของผลิตภัณฑ์ชาแล้ว ก็จะสามารถนำชาประเภทต่างกันที่มีรูปแบบเชิงพลวัตเฉพาะมาทำการตรวจสอบทางเคมีและเปรียบเทียบ แยกแยะเชิงดีเลวและเชิงมาตรฐานของวัตถุดิบใบชาและกรรมวิธีของพื้นที่ผลิตที่ไม่เหมือนกัน จะได้ข้อสรุป “ระยะเวลาชิมดื่มที่ดีที่สุด” และ “ช่าวเวลาชิมดื่มที่ดีที่สุด” ของผลิตภัณฑ์ชา

        รูปแบบเชิงพลวัตเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีแบบนี้ถูกหลักทางวิทยสศาสตร์มากกว่าการทดสอบประเมินโดยอวัยวะสัมผัส เช่นเมื่อกล่าวถึงใบชาของเมืองจีนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาอูหลง หรือเป็นชาผูเอ่อร์ ล้วนขาดซึ่งรูปแบบเชิงพลวัตแบบนี้ ซึ่งการโต้แย้งทางคุณภาพที่ก่อเกิดจากประเภทชาที่ไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปการถกเถียงเกิดขึ้นเนื่องจากด้าน “ประสบการณ์” ก็ยังขาดซึ่งหลักฐานของการวิเคราะห์ทางเคมีมาอ้างอิง อย่างเช่นการโต้แย้ง “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากอาศัยพื้นฐานทางประสบการณ์ของชาเขียวและชาอูหลง ไม่ยอมรับโดยตรงกับแนวความคิด “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ของชาผูเอ๋อร์ เป็นเพราะว่าชาเขียวและชาอูหลงเป็นไปตามกาลเวลาที่ล่วงผ่าน คุณภาพก็จะค่อยๆลดต่ำลง แล้วสุดท้ายนำไปสู่ “เชื้อรา” อ้างอิงตาม “ประสบการณ์” แบบนี้แล้ว ชาผูเอ๋อร์ก็ควรจะมีแนวโน้มในการเกิด “เชื้อรา” แล้วทำไมสามารถ “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ได้เล่า? การโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ได้นำรายงานผลการตรวจวัดของการวิเคราะห์ทางเคมีมาเป็นหลักฐานอ้างอิง ซี่งยังคงดำรงอยู่บนเกมหมาหรุกแบบ “ประสบการณ์” ปะทะ “ประสบการณ์”

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (3)

ตอนที่ 3 : ข้อพิสูจน์ที่ 1 ใน “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ของชาผูเอ๋อร์ : สารอาหารในพืช
普洱茶 “功能性食品” 论据之一 : 植物营养素



        โภชนาการคือกระบวนการทั้งหมดที่ร่างกายมนุษย์ไม่หยุดที่ดูดซับอาหารจากภายนอก ผ่านระบบย่อยอาหาร ดูดซึม เผาผลาญและการนำสารในอาหาร(ธาตุอาหารหรืออาหารบำรง)ที่ร่างกานต้องการมาดำเนินกิจกรรมทางการดำรงชีวิต มันเป็นกระบวนการทางชีวภาพทั้งหมดกระบวนการหนึ่ง ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าสารอาหาร(营养素) พวกมันเป็นสารพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต ปราศจากสารอาหารเหล่านี้แล้วไซร์ ชีวิตก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ สารอาหารพื้นฐานที่ร่างกายต้องการมีอยู่ประมาณ 50 ชนิด สรุปรวบยอดออกมาเป็น 6 ประเภทใหญ่ คือ โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, เกลือแร่, แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย, วิตามินและน้ำ。หลายปีที่ผ่านมาได้ค้นพบว่าเส้นใยอาหารก็เป็นสารที่ขาดไม่ได้เพื่อบำรุงสุขภาพร่างกาย สามารถนับเป็นสารอาหารประเภทที่ 7

        สารอาหารในพืชคือการบ่งชี้ถึงไม่ใช่สารอาหารพื้นฐานที่มีอยู่ในพรรณพืชธรรมชาติที่มีประโยขน์ต่อร่างกาย เหตุที่เรียกขานมันว่าไม่ใช่สารอาหารพื้นฐาน คือกับสารอาหารพื้นฐานมีข้อแตกต่างกัน เพราะพรรณพืชทุกชนิดนอกจากประกอบด้วยสารอาหารพื้นฐานแล้ว ยังมีสารอาหารชนิดอื่นๆที่มีเฉพาะ สารอาหารที่พิเศษเฉพาะเหล่านี้ถูกขนานนามว่าสารอาหารในพืช(植物营养素) เช่น ทีโพลิฟีนอลส์(Tea Polyphenols) แอลคาลอยด์(Alkaloid) ธีซาโบนิน(Theasaponin) ที่มีอยู่ในใบชาจัดอยู่ในสารประเภทนี้ ยังมีสารไลโคพีน(Lycopene)ในมะเขือเทศ สารคอร์ดิซิปิน(Cordycepin)ในเห็ดถั่งเช่า สารอัลลิซิน(Allicin)ในกระเทียม ฯลฯ สารอาหารในพืชที่ประกอบอยู่ในพรรณพืชทุกชนิดล้วนไม่เหมือนกัน พวกมันล้วนมีจุดเด่นที่ร่วมกัน ล้วนเป็นสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ในพืช เป็นสารที่ล้ำค่าที่สุดของพืชที่ทานได้ และก็ถูกขนานนามว่า “ทองคำแห่งพืช



        ปัจจุบัน เนื่องจากปัจจัยของข้อจำกัดของการพัฒนามาตรฐานทางวิทยสศาสตร์และเทคโนโลยี สารอาหารในพืชที่ถูกค้นพบอย่างเป็นทางการยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย ภายใต้ลำดับแรกในการยกระดับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้นในอนาคตจึงจะสามารถค้นพบสารอาหารในพืชเป็นจำนวนที่มากขึ้น

        ในตระกูลใหญ่ของใบชา ชาผูเอ๋อร์เป็นประเภทที่มีสารอาหารในพืชมากชนิดที่สุด ปริมาณที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุด นี่เป็นเพาระว่า :

        สารกลุ่มโพลิฟีนอลส์ในชาพันธุ์ใบใหญ่มีค่อนข้างมาก เป็นส่วนประกอบประมาณ 1 ใน 3 ของใบชาแห้ง ภายใต้รายการของทีโพลิฟีนอลส์(ตามโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกัน)ก็สามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ : ① คาเทชิน(Catechin) ② ฟลาโวนและกลุ่มฟลาโวนอลส์(Flavone & Flavanols) ③ ลูโคแอนโทไซยานิดินและแอนโทไซยานิน(Leucoanthocyanidin & Anthocyanin) ④ กลุ่มกรดฟีโนลิคและกลุ่มเดพไซด์(Phenilic Acids & Depside) ทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในบริบทของสารอาหารในพืช พร้อมกระนั่น แผ่นใบของชาพันธุ์ใบใหญ่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อ(Erectile Tissue)หนาท้วม เป็นตัวกำหนดลักษณะพิเศษที่มีสารอาหารในพืชเป็นองค์ประกอบในมาตรฐานที่ค่อนข้างสูงแบบนี้ พวกเราเคยนำชาเขียวที่ผลิตจากพันธุ์ใบเล็กของเจียงเจ้อ(เจียงซูและเจ้อเจียง)กับชาเขียวที่ผลิตจากพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานภายใต้สภาวะกรรมวิธีการผลิตที่เหมือนกันมาดำเนินการเปรียบเทียบ ปริมาณของสารอาหารในพืชที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานสูงกว่าในชาเขียวของเจียงเจ้อมาก อันที่จริงประเด็นนี้ สถาบันการศึกษาวิจัยใบชาแห่งเมืองจีนที่ได้ทำการสำรวจทั่วไปเขตพื้นที่ชาทั่วประเทศในปี 1964 ก็ได้ข้อสรุปลักษณะเช่นนี้แล้ว ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์โลกได้ยอมรับ EGCG คาเทชินในใบชาเป็นสารต่อต้านมะเร็ง EGCG นี้ก็คือสารอาหารในพืชชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในใบชา ซึ่งพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุด แล้วยังมีอย่างเช่นทีโพลิแซคคาไรด์(Tea Polysaccharide) ใบใหญ่ของชาพันธุ์ใหญ่หยินหนาน กระทั่งใบแก่ ล้วนมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบสูงกว่าใบอ่อนหรือกระทั่งยอดตูม ยังมีกรดอะมิโน(เกือบ 30 ชนิด) แอลคาลอยด์(10 กว่าชนิด) ฯลฯ ล้วนถือเป็นสารอาหารในพืชที่มีอยู่ในใบชา และก็ล้วนมีปริมาณที่เป็นองค์ประกอบที่สูงที่สุด นี่กล่าวเฉพาะทางด้านนี้ ชาผูเอ๋อร์ที่ใช้ชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยิยหนานมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพียบพร้อมด้วยลักษณะเด่นของสปีชีส์ทางธรรมชาติ



        สารอาหารในพืชมีปัญหาหนึ่งที่ใหญ่ที่สุด คือสารจำนวนมากมีคุณลักษณะละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ แต่พื้นฐานการชงชาของพวกเราคือใช้น้ำ(คือรูปแบบการสกัดด้วยน้ำ)มาดำเนินการ ในกรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์มีกรรมวิธีหนึ่งที่พิเศษเฉพาะมาก ก็คือกรรมวิธีการผลิตที่ใช้การนวดและตากเขียวเป็นหัวใจสำคัญ นำสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมัน(ไม่ละลายในน้ำ)แปรสภาพเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในน้ำ(อันที่จริงชาต้าหงผาวของแท้ฝูเจี๋ยนก็มีขั้นตอนตากเขียว) ชาเขียวจะไม่ชงทน นอกจากมีองค์ประกอบที่เป็นสารละลายในปริมาณน้อยแล้ว ยังเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมันเป็นส่วนใหญ่ นี่คือการกำหนดโดยกรรมวิธีการผลิตของชาเขียว ชาผูเอ๋อร์ ไม่ว่าจะเป็นชาดิบ ชาสุก ชาแก่ล้วนเพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะพิเศษการชงทน ซึ่งแก่นแท้หนึ่งของกรรมวิธีการผลิตก็คือการนำสารที่มีคุณลักษณะละลายในไขมันในพืชมาแปรสภาพเป็นสารที่มีคุณลักษณะละลายในน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ชาดิบในชาผูเอ๋อร์ ยังมีชนิด “แย่กวงบ๋าย”(月光白) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารอาหารในพืชเป็นองค์ประกอบที่สูงที่สุด รองลงมาคือชาสุกผูเอ๋อร์ ถัดมาคือชาแก่ผูเอ๋อร์

        พวกเราภูมิใจเสนอสารอาหารในพืช หรือเสนอแนะให้ดื่มผลิตภัณฑ์ชาในปริมาณหนึ่งทุกวัน เหตุผลสำคัญคือสารอาหารในพืชเหล่านี้เป็นสารประกอบที่ไม่สามารถประกอบขึ้นมาโดยร่างกายตัวมันเองของพวกเราได้ มันทำให้สภาพร่างกายของพวกเราแข็งแรง โภชนาการที่สมดุลจะมีประโยขน์อย่างใหญ่หลวง อย่างเช่นในการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเราทำอย่างไรในการป้องกันปรากฏการณ์การตายอย่างกะทันหัน(Sudden Death : 猝死现象) ต่อต้านกลไกออกซิเดชั่น(氧化机理) เพื่อความงามและลดความอ้วน การตกค้างของแคลเซียม(ผลจากการเสริมแคลเซียม) ฯลฯ ล้วนเชื่อมโยงในระดับหนึ่งกับสารอาหารในพืชที่พวกเราดูดซับเข้าไป (จะทำการอธิบายละเอียดอย่างต่อเนื่องในบทความตอนหลัง)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเชิงสารัตถประโยชน์” ?》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (2)

ตอนที่ 2 : ชาผูเอ๋อร์ --- “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ยา
普洱茶 ---  “功能性食品” 不是药品



        ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำหน้ามากที่สุดที่ทางนานาชาตินำมาทำการศึกษาวิจัย “อาหารเฉพาะพันธกิจ” แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน : 1. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ของวัตถุยาธรรมชาติ 2. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยเอนไซม์ของวัตถุยาธรรมชาติ 3. คือการแปรสภาพทางชีวภาพโดยเซลล์พืชของวัตถุยาธรรมชาติ

        ชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์จากการหมักทางชีวภาพ แม้ว่าการผลิตและพัฒนาการจะมีองค์ประกอบที่ดั้งเดิมและล้าสมัย แต่ล้วนสามารถสืบค้นหาร่องรอยที่ดั้งเดิมของเทคโนโลยี 3 ด้านนี้ได้ เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะเด่นในบรรดาใบชาประเภทต่างๆที่เพียบพร้อมเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” มากที่สุดในปัจจุบัน

        เป็นไปได้ ก็เป็นเพราะเหตุตรงจุดนี้ ผู้คนจำนวนมากยืนหยัดที่เชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ที่มีองค์ประกอบซึ่งมีคุณสมบัติทางยาและมีกลไกทางยาสามารถที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดได้ นี่ก็เป็นการบ่งชี้ถึงความเข้าใจผิดแบบหนึ่ง สิ่งที่ต้องพูดให้ชัดแจ้งก็คือ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” และ “ผลิตภัณฑ์ยา” มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน “เป้าหมาย”(靶向) ของ “ผลิตภัณฑ์ยา” จะชัดเจนมาก ยาลดความดันโลหิตก็ใช้กับคนป่วยด้วยความดันโลหิตสูง ยาลดน้ำตาลในเลือดก็ใช้กับคนที่มีโรคเบาหวาน ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะกับกลุ่มคนอย่างเคร่งครัด “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ไม่มี “เป้าหมาย” ของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หลักใหญ่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาหาร บำรุงสุขภาพและช่วยปรับกลไกชีวภาพให้สมดุล พวกเรายอมรับว่าในชาผูเอ๋อร์ซึ่งดำรงองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาจำนวนมาก เฉกเช่นเดียวกับอาหารอีกจำนวนมากที่พวกเรายืนยันแล้วว่ามีองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาในปริมาณหนึ่ง เช่น กระเทียม พริก มันเทศ มะเขือเทศ...พวกมันประกอบด้วยสารบางชนิดที่ล้วนอาจเป็น “แหล่งยา”(药源) ชนิดหนึ่ง แต่เมื่อทานพวกมันเข้าไปแล้ว ซึ่งจะไม่สามารถเทียบเท่ากับการ “ทานยา” ชาผูเอ๋อร์ก็ทำนองเดียวกัน



        แนวความคิดของชาผูเอ๋อร์ที่จัดเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” มิใช่ค้นพบโดยวิทยาศาสตร์ของทุกวันนี้ อันที่จริง ในยุคโบราณกาลของเมืองจีน เกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์ที่มีสรรพคุณพิเศษก็ได้ถูกบันทึกเข้าไปในสารบัญยาแล้ว แม้ว่าในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ขึ้นมา แต่เนื้อหาการอธิบายเช่นเดียวกับ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” เช่นนักเภสัชวิทยายุคสมัยชิง จ้าวเสวียหมิ่น(赵学敏) ได้นำชาผูเอ๋อร์จัดเข้าไปอยู่ในหนังสือ《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》

        สิ่งที่มีคุณค่าควรแก่ความสนใจคือ เมื่อตอนที่คุณจ้าวเสวียหมิ่นประเมินค่าของชาผูเอ๋อร์ เป็นการนำจุดความสนใจที่สำคัญรวบรวมอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่พิเศษชนิดหนึ่งของชาผูเอ๋อร์---“ผูเอ๋อร์ฉาเกา” การอธิบายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสรรพคุณของชาผูเอ๋อร์หลักใหญ่ใจความดำเนินการแวดล้อม “ผูเอ๋อร์ฉาเกา” เช่น “ผูเอ๋อร์ฉาเกาดำดั่งเคลือบสี สร่างเมาที่หนึ่ง ; สีออกเขียวจะเด่นกว่า ช่วยย่อยขับเสมหะ ล้างกระเพาะกระตุ้นน้ำลาย สรรพคุณเหลือล้น” ฯลฯ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ไม่แม้เพียงผูเอ๋อร์ฉาเกาเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษชนิดหนึ่งของชาผูเอ๋อร์ การปรากฏตัวก็อยู่ในรูปเป็นเครื่องราชบรรณาการเสมอมา ; อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญกว่าคือผูเอ๋อร์ฉาเกาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านดำเนินการผลิตเชิงลึกของชาผูเอ๋อร์ ซึ่งมีสรรพคุณในทิศทางที่เด่นชัดมากกว่า ผลลัพธ์ของ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ก็ปรากฏออกมายิ่งเด่นชัดมากขึ้น



        แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่ง และเป็นประเด็นที่พวกเราควรทำให้กระจ่างชัด แม้ว่าจะมีความคิดเห็นมากมายต่อ “เชิงสรุป” ของชาผูเอ๋อร์ในประวัติศาสตร์ แต่ไม่มีการบ่งชี้ถึงหลักฐานอ้างอิงของข้อสรุป แม้กระทั่งตราบจนถึงทุกวันนี้ พวกเราสามารถรู้สึกได้ถึงสรรพคุณมากมายทางบำรุงสุขภาพของชาผูเอ๋อร์โดยตรง แต่ในด้านต่างๆมากมายยังนำหลักฐานออกมาอ้างอิงไม่ได้ ก่อให้เกิด “ปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ” พูดให้ตรงประเด็นมากขึ้น การศึกษาวิจัยของชาผูเอ๋อร์ทำให้พวกเราอยู่ในสภาวะการณ์ที่กระอักกระอ่วนอยู่เสมอ นั่นก็คือ “ข้อสรุปมาก่อน หลักฐานมาหลัง” กวาดไปมองที่การศึกษาวิจัยของชาผูเอ๋อร์ที่พวกเราได้ทำการในหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นประเด็นข้อสรุปใหม่ที่นำเสนอจากการคิดสร้างสรรค์ใหม่ขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วเป็นการศึกษาวิจัยผ่านทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมายืนยันความถูกต้องของมุมมองคนโบราณ

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารอ้างอิง” ?》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ? (1)

ตอนที่ 1 : เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?
普洱茶为什么属于 “功能性食品” ?



        การชิมดื่มชาผูเอ๋อร์อันที่จริงประกอบด้วยเนื้อหา 2 ด้าน หนึ่งคือ “ชิม”() จากใบชาถึงเครื่องมือการชง จนถึงน้ำที่ใช้ในการชงใบชา เพื่อการให้ได้มาซึ่งดีเลิศและวิจิตรเท่าที่จะเป็นไปได้ กระบวนการของ “ชิม” ค่อนข้างหนักไปทางการทดสอบประเมินทางอวัยวะประสาทสัมผัส ชาดีตัวหนึ่งแน่นอนจะต้องมีความหมายโดยนัยทางวัฒนธรรม มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และก็มีศิลปะ รวมทั้งมีสีสันแห่งความสุนทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆมากมาย แต่ “ดื่ม”() จะไม่เหมือนกัน คือชาผูเอ๋อร์ในรูปแบบของน้ำชาหลังจากเข้าไปในโพรงปากของพวกเราแล้ว เกิดปฏิกิริยาตอบสนองมากมายภายในร่างกายของมนุษย์ นำมาซึ่งเป็นประโยขน์อย่างมีนัยสำคัญต่อร่างกายของพวกเรา พวกเราจึงเรียกขานมันว่า : ลักษณะเฉพาะเชิงสารัตถประโยขน์(功能性的特征)

        บทความนี้ของพวกเราเมื่อทำการค้นหามูลเหตุของการชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ หลักใหญ่ใจความไม่ใช่อยู่บน “ชิม” แต่เป็นการนำ “ดื่ม” มาเป็นประเด็นหลักของการศึกษาวิจัย

        ที่ผ่านมา พวกเรามักคุ้นเคยกับการนำใบชาโดยการอ้างอิงตามสีที่อวัยวะสัมผัสได้มาทำการแยกแยะประเภทอย่างง่ายๆ เช่นการนำใบชามาจัดแยกเป็นชาเขียว ชาแดง ชาอูหลง ชาดำ ชาเหลือง ชาขาว ออกเป็นชา 6 ประเภทใหญ่ ต่อมา วงการชารู้สึกว่าการใช้สีมาแบ่งแยกดูจะธรรมดาเกินไป จึงได้นำเสนอวิธีการใหม่มาเพิ่มเติม โดยการนำใบชาอ้างอิงตามระดับของการหมักแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท : คือชาที่ไม่เกิดการหมัก(ชาเขียว) ชาที่ระดับการหมักต่ำ(ประเภทชาอูหลง) ชาที่ระดับการหมักเต็มที่(ชาแดง) ชาที่เกิดการหมักภายหลัง(ประเภทชาดำ รวมทั้งชาผูเอ๋อร์) การแบ่งแยกลักษณะแบบนี้มองดูผิวเผินแล้วเสมือนกับมีหลักการทางวิทยาศาสตร์มากกว่าแต่ก่อนเล็กน้อย ซึ่งก่อเกิดความเชื่อมโยงกับกรรมวิธีการผลิตในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังดำรงความเป็นรอยฟกช้ำที่กว้างมากเกินไป ชาวบ้านก็เสมือนกับไม่ยอมรับการแบ่งแยกตามลักษณะเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตใบชาหรือเป็นผู้บริโภคต่างก็ยังคงยืนหยัดรูปแบบวิธีการจัดแบ่งประเภทตามแบบดั้งเดิม และเมื่อเป็นไปตามความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและวิทยาศาสตร์ ผู้คนก็ได้เข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยของการจัดแยกประเภทโดยตัวเขาเอง ทราบถึงคุณลักษณะที่แตกต่างกัน จากประเภทชากลุ่มใหญ่เปลี่ยนแปลงไปทางชาที่มีลักษณะเฉพาะ อย่างเช่นซีหูหลงจิ่งและไท้ผิงโหวขวุยแม้จัดอยู่ในประเภทชาเขียวเดียวกัน แต่มาตรฐานการเด็ดเก็บจนถึงกรรมวิธีการผลิตมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทเดียวกันได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคุณภาพของใครจะเด่นกว่ากัน ทำนองเดียวกัน ชาผูเอ๋อร์แม้จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทชาดำ แต่ลักษณะเฉพาะของมันมีเหตุผลเพียงพอที่จะอิสระอยู่นอกกลุ่มชา 6 ประเภทใหญ่นี้ได้ ผู้คนจำนวนมากได้เสนอแนะให้นำชาผูเอ๋อร์จัดอยู่ในชาประเภทที่ 7 แน่นอน นี่คือป้ญหาของการจัดแบ่งแยกใบชาที่ทางวงการใบชาจะต้องแก้ไขในอนาคต ไม่ใช่เป็นประเด็นหลักของการพิจารณาครั้งนี้ จากมุมมองทางชีววิทยาพวกเราจะมาให้ความสนใจการจัดแบ่งอีกแบบหนึ่งมากกว่า ก็คือการจัดแบ่งใบชาเชิงสารัตถประโยขน์



        ใบชาจัดอยู่ในบริบทของผลิตภัณฑ์อาหาร การศึกษาวิจัยอาหารที่ล้ำหน้าที่สุดของนานาชาติในปัจจุบัน โดยให้น้ำหนักด้านเชิงสารัตถประโยขน์ของอาหาร ซึ่งได้นำผลิตภัณฑ์อาหารจัดแบ่งออกเป็น 3 สารัตถประโยขน์ :

        1. สารัตถประโยชน์ด้านโภชนาการ---คือมีสารอาหารพื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกาย เพียงพอต่อการดำรงชีวิตตามที่ร่างกายต้องการ
        2. สารัตถประโยชน์ทางความรู้สึก---คือนามธรรมทาง สี กลิ่น รส รูปของอาหารที่ผู้คนชื่นชอบ สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้คนทางความรู้สึกที่สุนทรีย์และสดชื่นเมื่อได้เสพดื่มทาน
        3. สารัตถประโยชน์พิเศษเฉพาะ---คือนอกจากจะได้ความพึงพอใจด้านโภชนาการ และก็ความพึงพอใจทางความรู้สึกแล้ว ผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถปรับกลไกชีวภาพของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ก็เรียกขานกันว่า “อาหารเฉพาะพันธกิจ”(Functional Foods : 功能性食品)

        “อาหารเฉพาะพันธกิจ” [ก็เรียกขานกันว่า "สารัตถประโยชน์ที่ 3"(第三功能)] ) แรกเริ่มทางญี่ปุ่นได้นำเสนอขึ้นมาในปี 1962 พอปี 1989 กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นได้ดำเนินความคืบหน้าโดยได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนขึ้น : “ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านดำเนินการที่มีสรรพคุณในการปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งมีองค์ประกอบที่มีสรรพคุณทางการป้องกันร่างกายอย่างเต็มเปี่ยมเด่นชัด ปรับจังหวะทางชีวภาพกับภูมิคุ้มกันโรคและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

        ต่อมา ทางสหรัฐอเมริกาได้นำผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนี้เรียกขานเป็น “อาหารเพื่อสุขภาพ”(健康食品 : Health Foods) หรือ “อาหารทางโภชนาการ”(营养食品 : Nutritional Foods) ทางเยอรมันได้เรียกผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนี้ว่า “อาหารปรับปรุง”(改良食品 : Reform Foods) การปรากฏแนวความคิดของ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” มีเหตุผล 2 ประการ : 1. คือเป็นไปตามความเจริญก้าวหน้าของสังคม การพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณภาพชีวิตของผู้คนได้ยกระดับให้สูงขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้มนุษย์จำต้องหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพและการแสวงหาสิ่งที่ทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น ; 2. คือในยุคอุตสาหกรรมทันสมัยและยุคสังคมในเมืองสมัยใหม่ ทำให้สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของมนุษย์เต็มไปด้วยมลภาวะเป็นพิษที่รุนแรง เช่น อากาศ แหล่งน้ำ อาหาร เป็นต้น ทำให้ภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บและโรคติดต่อมีสูงมากขึ้น เชิงบังคับโดยสัญชาตญาณให้ผู้คนต้องขวนขวายอาหารที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าพิเศษและประโยขน์ที่ไม่แม้เพียงมีสารัตถประโยชน์สามารถสร้างความพึงพอใจทางโภชนาการและความรู้สึก แล้วก็เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ปรับจังหวะทางสรีรวิทยา ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บหรือฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งก็คืออาหารที่เพียบพร้อมด้วยสารัตถประโยชน์พิเศษเฉพาะ



        อ้างอิงตามการศึกษาวิจัยอาหารเฉพาะพันธกิจของนานาชาติในปัจจุบัน สามารถที่จะนำผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนี้สรุปรวบยอดไว้ใน 4 ด้านด้วยกัน :

        1. เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค มีสรรพคุณทำให้ภูมิคุ้มกันมีฤทธิ์ ลดภูมิแพ้ให้ต่ำลง
        2. ปรับจังหวะระบบสรีระ ปรับระบบประสาท มีสรรพคุณทางปรับระบบการย่อย
        3. ป้องกันความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ป้องกันมะเร็ง เป็นต้น
        4. ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ เพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย

        นับจากนี้ไป พวกเราจะพบเห็นได้ไม่ยาก ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของ "อาหารเฉพาะพันธกิจ" (Functional Foods) คือ การแปรเปลี่ยนทางชีวภาพของสารที่มีฤทธิ์ในพืชพรรณจากธรรมชาติ ซึ่งแก่นแท้คือสารองค์ประกอบที่ “มีฤทธิ์”(活性) ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีผลต่อร่างกายก่อให้เกิดการปรับกลไกชีวภาพมากมาย และองค์ประกอบที่ "มีฤทธิ์" ชนิดนี้ก็มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับทางสรีรวิทยาและชีวเคมี ดังนั้น  เมื่อนำองค์ประกอบที่ "มีฤทธิ์" ผ่านวิธีการทดลองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และได้ทำการวิเคราะห์ทางชีวโมเลกุลตั้งแต่ โมเลกุล เซลล์ อวัยวะ เป็นต้น ก็จะค้นพบองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติทางยาและมีกลไกทางยาจำนวนมากมายอยู่ในอาหารเฉพาะพันธกิจ ดังนั้น ประเทศที่เจริญแล้วได้นำผลิตภัณฑ์อาหารที่เชื่อมโยงกับการหมักหรือเทคโนโลยีชีวภาพจัดอยู่ในขอบเขตของการศึกษาวิจัยที่สำคัญของ “อาหารเฉพาะพันธกิจ” แม้กระทั่งในเมืองจีน หลายปีที่ผ่านมา ก็ได้เพิ่มความเข้มข้นทางการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารที่เพียบพร้อมด้วย “สารัตถประโยขน์ที่ 3” พร้อมได้นำเสนอทิศทางของอุตสาหกรรมด้าน “ผลิตภัณฑ์อาหารเชิงชีววิศวกรรมทางโภชนาการและบำรุงสุขภาพในรูปแบบใหม่ที่พัฒนาได้โดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ


........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《เพราะเหตุใดชาผูเอ๋อร์จึงถือเป็น “อาหารเฉพาะพันธกิจ” ?》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

เส้นทางใบชา (3) : เสียงกระดิ่งอูฐนอกกำแพงเมืองจีน

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (3) : เสียงกระดิ่งอูฐนอกกำแพงเมืองจีน
《茶叶之路》第三集 : 塞外驼铃



        ปลายหมิงต้นชิง สืบเนื่องจากสงครามที่ทอดยาวมาเป็นปีๆและภัยทางธรรมชาติที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกษตรกรจำนวนมากของซานซีและส่านซี ต้องจากบ้านเกิดข้ามกำแพงเมืองจีนผ่านทางด่านซาหู่เข่า(杀虎口) เพื่อไปยังชีพที่ด่านนอก นี่ก็คือเหตุการณ์การอพยพครั้งยิ่งใหญ่ “มุ่งด่านตะวันตก”(走西口) ที่ลือลั่นในประวัติศาสตร์ของเมืองจีน ผู้คนใส่บ่าแบกหามเดินไปบนเส้นทางมุ่งด่านตะวันตกที่แสนไกล ท่ามกลางผู้คนที่หลั่งไหลมุ่งด่านตะวันตก มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่มาจากเมืองไท้กู่(太谷县) ซานซีนามว่า หวังเซียงชิง(王相卿) พ่อแม่ได้ตายจากไปตั้งแต่ยังเด็ก อาศัยอยู่กับพี่สาวตลอดมา เมื่อโตเป็นหนุ่มไม่อยากที่จะเป็นภาระของใคร สุดท้ายเลือกเส้นทางมุ่งด่านตะวันตก เมื่อได้เดินทางมาถึงซาหู่เข่า ทรัพย์สมบัติทั้งตัวมีเพียงไม้คานบนบ่า

        ซาหู่เข่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญทางการทหาร หวังเซียงชิงตัดสินใจปักหลักที่นี้เพื่อแสวงหาโอกาส ไม่นานได้รู้จักเพื่อนจากซานซีด้วยกัน 2 คนคือ จางเจี๋ย(张杰) และ สื่อต้าเสวีย(史大学) เมื่อต่างมีสถานะและพื้นเพเหมือนกันทำให้พวกเขาสาบานตนเป็นพี่น้องต่างแซ่กันทันที อีกไม่นาน เกิดศึกสงครามเขตแดนขนาดใหญ่ นำมาซึ่งเป็นโอกาสที่พลิกผันชีวิตของพวกเขา

        ปลายศตวรรษที่ 17 Galdan(噶尔丹) หัวหน้าชนเผ่ามองโกล ได้นำทหารบุกโจมตีกองทัพชิงเพื่อข่มขู่พระราชวังชิง จักรพรรดิคังซีตัดสินพระหฤทัยทรงนำทัพด้วยพระองค์เอง เนื่องจากไปปราบการก่อความไม่สงบของ Galdan ต้องเดินทัพเป็นระยะทางไกล จึงต้องให้เขตพื้นที่ที่อยู่รอบนอกมองโกเลียภายในรัศมีพันลี้ทำการลำเลียงป้อนส่งเสบียงอาหารยุทธปัจจัย คังซีได้ดำเนินการเกณฑ์พ่อค้าและแรงงานชาวบ้านจำนวนมากที่อยู่ด่านในตามกองทัพออกนอกกำแพงเมืองจีน พวกหวังเซียงชิง 3 คนถูกเรียกเข้าไปอยู่ในกองทัพที่ตั้งค่ายอยู่ในซาหู่เข่า เพื่อช่วยกองทัพหาซื้อวัวแพะเป็นอาหาร เนื่องจากพวกเขาต้องติดต่อกับคนเลี้ยงปศุสัตว์ชนเผ่ามองโกล ดังนั้น จึงค่อยๆได้เรียนรู้ภาษามองโกลอย่างง่ายๆ ความซื่อตรง ความขยัน และความเป็นมิตรของพวกเขา ทำให้แม่ทัพของกองทัพชิงเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก หลังการปราบปราม Galdan ให้ราบคาบแล้ว แม่ทัพได้มอบปศุสัตว์วัวแพะที่ต้อนกลับเข้าด่านในไม่ทันให้แก่พวกเขา ด้วยทรัพย์สมบัติที่ได้มาอย่างปัจจุบันทันด่วนเหล่านี้ พวกเขาจึงหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง คิดหาวิธีนำวัวแพะฝูงนี้กลับไปขายที่ซาหู่เข่า นี่จึงกลายเป็นถุงทองแรกในชีวิตของพวกหวังเซียงชิง

        หลังการปราบปราม Galdan จนราบคาบแล้ว กองทัพใหญ่ชิงเคลื่อนทัพไปที่เทือกเขาต้าชิง(大青山) เพื่อวางกองกำลังเป็นแนวป้องกัน ซาหู่เข่าจึงกลายเป็นท่าเปลี่ยนถ่ายที่สำคัญของฝ่ายสนับสนุนแนวหลัง พวกหวังเซียงชิงได้เห็นโอกาสทางการค้าครั้งนี้ จึงร่วมมือกับเพื่อนจากบ้านเดียวกันที่อยู่ในซาหู่เข่าเปิดห้างค้าขาย “จี๋เซิ้นถัง”(吉盛堂) เพื่อทำการจัดป้อนยาสูบ เหล้า ใบชาและของใช้เบ็ดเตล็ดให้กองทัพชิงโดยเฉพาะ          



        จากการร่วมลงนามในสนธิสัญญา《Treaty of Nerchinsk》และ《Treaty of Kyakhta》การค้าใบชาระหว่างจีนรัสเซียค่อยๆก่อร่างเป็นระบบขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่นี้ จักรพรรดิคังซีได้ทรงลงพระนามาภิไธยก่อตั้งสมาคมที่ดำเนินการค้าแนวใหม่ชื่อว่า “พ่อค้าเดินทางมองโกเลีย”(旅蒙商) ก็คือทางพระราชวังชิงห้ามพ่อค้าพำนักอย่างถาวรที่มองโกเลีย เพียงอนุญาตให้พวกพ่อค้าไปมาค้าขายเท่านั้น โดยทางรัฐบาลชิงจะออกตั๋วนำ(票引 : ก็คือใบอนุญาตการค้า การมีตั๋วนำ 1 ใบสามารถขนใบชา 100 ชั่งจากพื้นที่ ก. ขนไปที่พื้นที่ ข.)  ให้สมาคมพ่อค้าเดินทางมองโกเลีย อนุญาตพวกพ่อค้าเข้าออกเขตพื้นที่มองโกเลียเพื่อกิจกรรมการค้า ตามกฏระเบียบ พ่อค้าที่ได้รับตั๋วนำจะต้องทำการค้าตามเส้นทางที่กำหนดเท่านั้น และต้องยอมรับการตรวจตราจากเจ้าพนักงานราชวงศ์ชิงที่ประจำอยู่มองโกเลีย

        ช่วงเวลานั้น คิดที่จะได้ตั๋วนำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย หวังเซียงชิงอาศัยความสัมพันธ์โดยส่วนตัวกับกองทัพชิงในหลายปีที่ผ่านมา ได้ตั๋วนำที่ให้ดำเนินการค้าในแหล่งที่เลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนบนที่ราบสูงมองโกเลีย กาลครั้งนี้ พวกหวังเซียงชิงได้เปลี่ยนชื่อห้างการค้าจากจี๋เซิ้นถัง มาเป็น “ต้าเซิ้นขวุย”(大盛魁)

        บนที่ราบสูงมองโกเลียมีคำพังเพยที่นิยมอย่างแพร่หลายกล่าวไว้ว่า : พ่อค้า “ลิ้น 1 แฉก” หาเงินได้จำกัด พ่อค้า “ลิ้น 2 แฉก” หาเงินได้พอดี พ่อค้า “ลิ้น 3 แฉก” หาเงินได้ไม่จำกัด ; เพียงพูดจีนได้ภาษาเดียว คุณก็เพียงสามารถหาเงินได้แค่เท่ากับที่ใช้ไปในการดำรงชีพ ถ้าพูดภาษามองโกลได้อีก คุณก็จะหาเงินได้มากขึ้น ยิ่งถ้าหากพูดจีน มองโกล รัสเซีย 3 ภาษานี้แล้ว คุณก็จะสามารถหาเงินได้มากขึ้นและมากขึ้น นั่นก็คือหาเงินได้ไม่จำกัด

        เนื่องจากพวกหวังเซียงชิงได้เคยติดต่อกับคนมองโกล จึงไม่มีอุปสรรคด้านภาษาการติดต่อ และพวกเขาคุ้นเคยกับประเพณีความเป็นอยู่ของชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน จึงหยิบโฉยโอกาสในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างสินค้าที่ผลิตได้และสินค้าที่ขาดแคลนของชนเผ่าเร่ร่อน นั่นก็คือการเดินสะพัดและแลกเปลี่ยน นำสินค้าใบชา ผ้าพับ ยาที่ซื้อจากในเมือง ขนส่งไปถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ ขณะเดียวกันก็รับซื้อปศุสัตว์นำไปขายในเมืองหรือค่ายทหาร เนื่องจากสินค้าที่ “ต้าเซิ้นขวุย” ทำการค้ามีคุณภาพดีที่สุด และที่ “ต้าเซิ้นขวุย” สามารถทำการค้าเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ยังมีอีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ นั่นก็คือ พวกเขาได้จับสิ่งที่เป็นพื้นฐานและเป็นสิ่งสำคัญที่ชนเผ่ามองโกลต้องการอย่างยิ่งยวดแบบกัดไม่ปล่อยก็คือ “ชา

        ประเพณีการดื่มชาของคนมองโกลได้ก่อตัวขึ้นในยุคสมัยเหยียน เป็นไปตามที่ศาสนาพุทธในธิเบต(喇嘛教) เผยแพร่เข้าในมองโกเลีย การดื่มชากลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคนมองโกลที่ขาดไม่ได้ ซึ่งกิจวัตรนี้ได้อนุรักษ์ตลอดมาจวบจนถึงทุกวันนี้



        เป็นไปตามการเติบโตอย่างคึกคักของเส้นทางใบชา ธุรกิจการค้าของ “ต้าเซิ้นขวุย” ก็ยิ่งดังระเบิดขึ้นมา ในรัชสมัยต้าวกวง “ต้าเซิ้นขวุย” ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่เมืองกุยหว้า(归化城) ซึ่งก็คือเมืองฮูฮอต(呼和浩特) และได้จัดตั้งสาขาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำการจัดซื้อครบวงจรตามจุดต่างๆทั่วประเทศ ชื่อของสาขาล้วนลงท้ายด้วย “ชวน”() ซึ่งมีความหมายนัยว่าเงินทองไหลมาเทมาไม่ขาดสาย ในบรรดาธุรกิจการค้าที่ “ต้าเซิ้นขวุย” จะให้น้ำหนักมากที่สุดก็คือการค้าใบชา การค้าใบชาจีนรัสเซียในภาวะที่ร้อนแรง “ต้าเซิ้นขวุย” ได้ทำการเปิดห้างชา 2 สาขาที่สำคัญคือ ซานยี่ชวน(山玉川) และ จี้เซิ้นชวน(巨盛川) ซึ่งห้างชา 2 สาขานี้มีผลต่อการขยายทางการค้าของ “ต้าเซิ้นขวุย” เป็นอย่างมาก เพื่อให้เป็นไปตามอุปนิสัยการดื่มชาของคนเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนชนเผ่ามองโกล “ต้าเซิ้นขวุย” ได้ทำการเด็ดเก็บและผลิตชาแผ่นเหลี่ยม(茶砖)ชนิดต่างๆด้วยตัวเองจากแหล่งอานหว้า(安化)หูหนานและหยางเหลาต้ง(羊楼洞)หูเบ่ย

        ในยุครุ่งเรืองของ “ต้าเซิ้นขวุย” ห้างการค้าอันยิ่งใหญ่เจ้านี้ได้รับการยกย่องให้เป็น “ครึ่งของเมืองกุยหว้า”(半个归化城) พวกเขาได้พึ่งพาอาศัยเส้นทางใบชา ดำเนินกิจกรรมการค้าแทรกซึมเข้าไปทั่วที่ราบสูงมองโกเลีย ตะวันตกไปถึงซินเจียง เหนือขึ้นไปถึงมอสโก ใต้ลงไปในเขตที่ห่างไกลแห่งจงเหยียน(ที่ราบภาคกลาง) พวกเขาเป็นคนจุดชนวนเชื่อมจุดต่างๆ แทบจะเป็นการผูกขาดการค้าใบชาในที่ราบทุ่งหญ้าทางแถบเหนือ เป็นระยะเวลาอันยาวนานที่ได้ควบคุมเส้นเลือดทางเศรษฐกิจของเขตมองโกเลีย ธุรกิจการค้าที่เจริญเติบโตเป็นทวีคูณตามเส้นทางใบชา “ต้าเซิ้นขวุย” มีกองคาราวานอูฐที่ใหญ่มหึมาเป็นของตัวเอง เมืองกุยหว้าก็เป็นเพราะมีอูฐถึง 1.6 แสนตัวจึงกลายเป็น “เมืองแห่งอูฐ”(骆驼城) ที่สำคัญที่สุดในที่ราบทุ่งหญ้าทางแถบเหนือ



        เดือนสิงหาคม 1841 ริมชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองจีนกำลังถูกผนึกท่ามกลางควันของพลังระเบิด กองทัพเรือของจักรวรรดิอังกฤษ กำลังระดมยิงปืนใหญ่ถล่มเซี่ยเหมิน(厦门) อย่างหนัก ผลักดันสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ให้ถึงสุดขีด ในเวลาเดียวกันเมืองกุยหว้า ที่อยู่ไกลถึงที่ราบสูงมองโกเลีย ซึ่งก็คือเมืองฮูออต ในปัจจุบัน แต่เป็นภาพเหตุการณ์อีกฉากหนึ่ง 

        เสียงอึกทึกคึกโครมหน้าห้าง “ต้าเซิ้นขวุย” กองคาราวานการค้าที่ประกอบด้วยอูฐเกินร้อยตัวที่หลังโหนกบรรทุกเต็มไปด้วยสินค้าเช่นใบชาและฝูงสนัขคุ้มกันเริ่มจะออกเดินทาง พวกเขาจะทะลุข้ามเทือกเขาต้าชิง มุ่งไปทางเหนือนำใบชาลำเลียงไปที่คู่หลุน  ซึ่งก็คืออูลานบาตอร์(乌兰巴托 : เมืองหลวงของมองโกเลีย) ในปัจจุบัน และ Kyakhta อันเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของการค้าชายแดนจีนรัสเซีย เส้นทางใบชาที่ลากยาวต่อเนื่องเป็นหมื่นลี้เริ่มจากเมืองกุยหว้า เครื่องมือการคมนาคมเปลี่ยนจากเรือขนส่งหรือเกวียนล่อม้ามาเป็นกองคาราวานอูฐ เป็นเพราะว่า มีเพียงกองคาราวานอูฐจึงจะสามารถก้าวข้ามทะเลทรายโกบีอันเวิ้งว้างบนที่ราบสูงมองโกเลียได้

        กองคาราวานอูฐจะเรียงกันเป็นแถวยาวบนที่ราบทุ่งหญ้าสีเขียว อูฐข้างหน้าได้เดินลับสายตาพ้นจากสันเขาในระยะที่ไม่ไกลนักไปแล้ว อูฐข้างหลังยังทยอยเคลื่อนที่มุ่งไปข้างหน้า เสียงพูดคุยของเหล่าคนดูแลอูฐและนายห้าง เสียงกระดิ่งของอูฐและเสียงเห่าของสนัข ผสมปนเปกันขึ้นมา เป็นไปตามลักษณะโดดเด่นของอูฐคือสู้ความหนาวเน็บ ทนความแห้งแล้ง โดยทั่วไปกองคาราวานการค้าจะไปกลับในช่วงฤดูหนาวจากเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนของปีถัดไป เหตุที่เลือกเดินทางในช่วงฤดูหนาว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ณ ช่วงเวลานี้ที่ราบสูงมองโกเลียถูกปกคลุมด้วนหิมะน้ำแข็ง บริเวณที่น้ำท่วมจากน้ำลำธารในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนหลังการเย็นแข็งตัวทำให้การเดินทางผ่านง่ายยิ่งขึ้น ปกติกองคาราวารการค้าอูฐจะเดินทางวันละ 10 ถึง 16 ชม. ทุกชั่วโมงสามารถเดินทางได้ประมาณ 3-5 กม. ในกองคาราวานการค้าอูฐที่มาตรฐานทั่วไปจะประกอบด้วย “แคมป์ไฟ”(营火) “กลุ่ม”(把子) และ “เต็นท์”(房子)



        กองคาราวานอูฐจะมีผู้นำต็นท์ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลและนำทาง เพราะอาศัยหน้าที่ขนส่งลำเลียงของกองคาราวานอูฐและผู้นำเต็นท์อันเป็นภาระที่หนักอึ้งบนเส้นทางใบชาผ่านเมืองคู่หลุน และ Kyakhta เป็นต้น เหล่าผู้นำเต็นท์ที่มีประสบการณ์ ก็คือต้องรับประกันนำกองคาราวานอูฐเดินทางท่ามกลางทะเลทรายโกบีที่สุดสายตาสามารถถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย  กองคาราวานอูฐและผู้นำเต็นท์คือพระเอกตัวจริงของเส้นทางการค้านี้ พวกเขาต้องผจญกับพายุหิมะ ภยันตรายต่างๆ ภายใต้อุญหภูมิติดลบ -30ºC ถึง -40ºC  กองคาราวานอูฐก็ยังต้องเดินทางบนที่ราบทุ่งหญ้าที่เป็นน้ำแข็งตามปกติ เรื่องที่น่ากลัวมากก็คือ เมื่อคนดูแลอูฐก่อนจะตาย เขาจะไหว้วานคู่หูหรือนายห้างช่วยนำศพของเขากลับบ้านเกิด ซึ่งจะต้องใชวิธีการที่พิเศษเฉพาะมากที่เรียกว่า “ทับถมศพ”(叠尸) ก็คือก่อนที่คนๆนั้นกำลังจะสิ้นใจแต่ยังไม่สิ้นลมหายใจ พวกกองคาราวานจะนำร่างของเขาพับขึ้นมาเป็น 3 ทบ หลังจากนั้นนำไปบรรจุในตระกร้าสินค้าเพื่อนำกลับไป

        นี่คือเส้นทางการค้าที่โปรยด้วยเลือดและน้ำตา กองเต็มไปด้วยโครงกระดูก เต็มไปด้วยขวากหนาม ซึ่งนี่ก็คือความกล้าหาญเกินมนุษย์และจิตวิญญาณของการเสียสละของเหล่าผู้นำทางและกองคาราวานอูฐ ทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนรัสเซียสนิทชิดเชื้อมากยิ่งขึ้น เพื่อใบชาที่มาจากทางแถบตอนใต้ของเมืองจีน ถูกลำเลียงขนส่งไปยังท้องถิ่นห่างไกลของรัสเซียอย่างไม่หยุดหย่อน

        นักเดินทางที่ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศร้อนอ้าวและหนาวเน็บ พายุทราย และต้องเดินทางเช้ายันเย็น ตรากตรำยากเข็ญ สิ่งที่พวกเขาได้ทานคือบะหมี่ข้าวโอ๊ตและขนมปังข้าวโพด และพัดบะหมี่ผักดอง สิ่งที่ได้ดื่มคือน้ำหิมะที่ต้มด้วยมูลสัตว์ ระหว่างทางยังต้องต่อสู้กับโจรปล้นสดมภ์ ในทะเลทรายโกบีอันกว้างใหญ่ การเดินทางอย่างช้าๆด้วยความลำบากบนเส้นทางทรายที่สุดลูกหูลูกตา ภายใต้อุณหภูมิที่แตกต่างกันมากของกลางวันและกลางคืนราวกับการดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมของฤดูร้อนและฤดูหนาวในขณะเดียวกัน เป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่ต่อจิตตานุภาพของมนุษย์



        หลังยุคปีที่ 80 ศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์ชิงก็เข้าสู่ความตกต่ำทุกด้าน ในขณะที่รัสเซียได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการเชิงอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเดินเรือมหาสมุทร อุตสาหกรรมการต่อเรือ การพัฒนาทุกด้านทำให้พ่อค้ารัสเซียได้รับโอกาสอันหาได้ยากยิ่ง เป็นไปตามการกำหนดเส้นทางทะเลระหว่างจีนรัสเซีย เส้นทางการค้าชาบนบกทางแถบตอนเหนือก็ค่อยๆเลือนหายไป 

        ปี 1891 เริ่มก่อสร้างเส้นทางรถไฟไซบีเรีย การวางสายเคเบิลจากกรุงมอสโกถึงเซี่ยงไฮ้ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว ในช่วงเวลานั้น บนที่ราบสูงมองโกเลียอันกว้างใหญ่ไพศาล กองคาราวานอูฐของ “ต้าเซิ้นขวุย” ต้องเล่นเกมหมากรุกกระดานสุดท้ายที่ฝีมือคนละชั้นกับพลังเชิงเครื่องจักรของคนรัสเซีย  ใบชาทางแถบตอนใต้ของเมืองจีนไม่ต้องลำเลียงขนส่งผ่านกองคาราวานอูฐอีกแล้ว แต่เป็นการขนส่งไปรัสเซียโดยรถไฟ ภาพเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่เมื่อวันวานของ “เส้นทางใบชา” และ “ต้าเซิ้นขวุย” เริ่มเลือนหายไปจากสายตาของผู้คน 

        เมื่อแสงรุ่งอรุณของศตวรรษที่ 20 เริ่มสาดส่อง ส่องไปที่ราบสูงมองโกเลีย กองคาราวานอูฐที่ใหญ่มหึมาเหล่านี้ สุดท้ายต้องมอดไหม้ภายใต้กระแสเวลาที่เชี่ยวกราก เสียงกระดิ่งอูฐบนทะเลทรายโกบีค่อยๆกลายเป็นเสียงสะท้อนอันไกลโพ้นของประวัติศาสตร์

        เส้นทางใบชาจากจุดเริ่มต้นหวู่หยีซานของฝูเจี๋ยน ทะลุผ่านพื้นที่ห่างไกลของเมืองจีนมุ่งสู่ที่ราบทุ่งหญ้ามองโกเลียและรัสเซียที่อยู่อันไกลโพ้น เป็นเส้นทางการค้าทางบกที่ยาวที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้นถึงสองหมื่นกว่ากิโลเมตรตลอดเส้นทาง ได้บ่มเพาะรูปแบบการดื่มชาที่ไม่เหมือนกันออกมามากมาย และการตระหนักรู้ของชีวิตที่เชื่อมโยงกับชาอย่างใกล้ชิด ทำให้ชาในเขตพื้นที่ต่างกันตกตะกอนเป็นวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน และทำให้ชาเป็นพาหะของความทรงจำและอารมณ์ร่วมกัน

        ต้นศตวรรษที่ 20 ท่างกลางเสียงหวูดของรถไฟและเรือยนต์ เส้นทางมหากาพย์เส้นนี้ถูกวิธีการขนส่งและระบบกาค้ายุคใหม่เข้ามาแทนที่โดยสิ้นเชิง ยถากรรมต่างๆล้วนไปตามช่วงประวัติศาสตร์ที่อลังการแล้วหายเข้าไปในพายุทรายและพงหญ้า และแล้ว ใบชาก็ได้แทรกเข้าไปในวิถีชีวิตของผู้คนอย่างสมบูรณ์ เป็นไปได้ว่าในอนาคตอันไกล้นี้ เส้นทางอันยิ่งใหญ่ที่เคยรุ่งโรจน์ช่วงระยะเวลาหนึ่งเส้นนี้กลับมาโชติช่วงชัชวาลอีกครั้ง บนเส้นทางใบชาโบราณ ชาและใต้ฟ้า ผสมผสานรสชาติเป็นร้อยเป็นพัน นำเสนอชีวิตที่สุกใส........

........จบ《เส้นทางใบชา (3) : เสียงกระดิ่งอูฐนอกกำแพงเมืองจีน》........


สารคดีโทรทัศน์มินิซีรีส์ 6 ตอน《茶叶之路》ตอนที่ 3 :《塞外驼铃

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

เส้นทางใบชา (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม
《茶叶之路》 第二集 : 风起下梅




        หมู่บ้านเซี่ยเหมย(下梅村)ตั้งอยู่ทางแถบตะวันออกของเมืองหวู่หยีซานมณฑลฝูเจี๋ยนเมืองจีน เนื่องจากอยู่ตรงปลายน้ำของลำธารเหมย(梅溪) จึงตั้งชื่อว่า “เซี่ยเหมย” ช่วงปลายหมิงต้นชิง ที่นี้เคยเป็นจุดศูนย์กลางการส่งออกชาหวู่หยี ต่อมากลายเป็นจุดตั้งต้นของ “เส้นทางใบชา” ช่วงเวลานั้น บรรดาพ่อค้าชาเซี่ยเหมย “ตระกูลแซ่โจว”(邹氏家族)เป็นพ่อค้าชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตราบเท่าถึงทุกวันนี้แซ่โจวยังเป็นแซ่ใหญ่ของหมู่บ้านเซี่ยเหมย คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ล้วนเป็นชนรุ่นหลังของตระกูลโจว

        300 กว่าปีก่อน พื้นเพเดิมของบรรพบุรุษตระกูลโจวก็คือทำการค้าขายใบชา ในยุคที่เส้นทางใบชาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ตระกูลแซ่โจวอาศัยธุรกิจใบชากลายเป็นตระกูลร่ำรวยของท้องถิ่น พื้นเพตระกูลโจวไม่ใช่คนท้องถิ่นหวู่หยีซาน ช่วงรัชสมัยซุ่นจื้อราชวงศ์ชิง คนเจียงซีที่มีนามว่า โจวเหยียนเหล่า(邹元老) ได้พาครอบครัวอพยพมาถึงหวู่หยีซาน แล้วตั้งรกรากที่เซี่ยเหมย สิ่งที่ดึงดูดพวกเขาให้มาปักหลักก็คือชาของที่นี้

        เขตพื้นที่หวู่หยีซานตั้งอยู่ทางแถบเหนือของมณฑลฝูเจี๋ยน มีประวัติการผลิตชาสามารถย้อนหลังไปถึงยุคราชวงศ์ถัง ในช่วงสมัยนั้น ผู้คนจำนวนมากนำชามาเป็นวัตถุยาชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นเครื่องดื่มเพื่อดับกระหาย ดังนั้น ทุกๆบ้านจึงต้องมีการตระเตรียมไว้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อใช้ทางคุณค่าของยา จวบจนปัจจุบัน หวู่หยีซานยังมีคำกล่าวที่ว่า : “ชาใหม่ดื่มกลิ่นหอม ชาเก่าดื่มฤทธิ์ยา

        จาก《บันทึกเมืองฉงอาน》ฉบับท้องถิ่นได้บันทึกไว้ว่า : “ชาหวู่หยีเริ่มในถัง รุ่งเรืองในซ่งเหยียน ตกต่ำในหมิง แล้วฟื้นฟูในชิง” สิ่งที่ทำการบ่มเพาะต้นชาในหวู่หยีซานมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก็คือสภาพทางภูมิศาสตร์และเงื่อนไขทางธรรมชาติที่พระเจ้าสร้างให้มาของที่นี้เทือกเขาหวู่หยีซาน เหนือต้านกระแสลมหนาว ใต้รับลมไออุ่นจากมหาสมุทร ทำให้สภาพภูมิอากาศที่นี้อบอุ่น ปริมาณน้ำฝนสมบูรณ์ตลอดปี สภาพแวดล้อมภายใต้ภูมิอากาศลักษณะเช่นนี้ ทำให้หวู่หยีซานกลายเป็นสวนสนุกที่พรรณพืชเจริญเติบโต เป็นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นชา



        เขตพื้นที่หวู่หยีซานมีร่องหุบเขาลึก(坑涧)หลายสาย ต้นชาก็ปลูกอยู่ในร่องหุบเขาลึกเหล่านี้ ภูผา(岩石)ทั้งหมดเสมือนเป็นฉากกำบัง ไม่ไห้ได้รับภยันตรายจากลม และสวนไร่ชาที่ปลูกอยู่ภายใต้ฉากกำบังเหล่านี้ ระยะเวลาที่กระทบแสงแดดจะสั้น โดยเฉพาะในหน้าหนาว พื้นที่นี้จะมีแมลงศัตรูพืชน้อยมาก อุณหภูมิในหน้าหนาวจะลดต่ำลงมาก พวกแมลงต่างๆในร่องหุบเขาลึกเช่นนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้

        #เนื้อดิน ของหวู่หยีซานถือเป็นแบบฉบับของดินกรวดทรายแดง(丹霞地貌) และหินดินดาน ซึ่งเป็นดินที่ต้นชาชอบ พันธุ์ชาอันหลากหลายและเทคโนโลยีการผลิตชาที่ชำนาญทำให้หวู่หยีซานกลายเป็นเขตพื้นที่ผลิตชาที่สำคัญของเมืองจีน

        เมื่อถึงช่วงปลายหมิงต้นชิง หวู่หยีซานก็กลายเป็นต้นทางที่สำคัญของชาเมืองจีนที่แพร่ออกไปสู่โลกตะวันตก

        ยุคแห่งการเดินเรือมหาสมุทร(大航海时代)ในศตวรรษที่ 15 ถึง 17 ได้ย่นระยะห่างของโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน นักเดินเรือที่มาจากยุโรปได้พบเห็น “ชา” เครื่องดื่มวิเศษเป็นครั้งแรกบนชายฝั่งทางตอนใต้ของเมืองจีน รัชสมัยคังซีราชวงศ์ชิง ชาหวู่หยีก็มีชื่อเสียงในยุโรปที่อยู่อันไกลโพ้นแล้ว พ่อค้ามากมายมารับซื้อใบชาที่หวู่หยีซาน ใน《บันทึกเมืองฉงอานสมัยยุงเจิ้น》ได้บันทึกว่าการซื้อขายชาหวู่หยีถือเป็นสินค้าอันดับหนึ่งในบรรดาสินค้าทั้งหมดของหวู่หยีซาน 

        ช่วงเวลานั้น คนตระกูลโจวซึ่งได้ปักหลักที่เซี่ยหมย แล้ว พวกเขาได้เห็นโอกาสการค้าในการส่งออกชาหวู่หยี เพื่อให้เซี่ยเหมยอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบเป็นศูนย์กลางการค้าใบชาของหวู่หยีซาน ตระกูลโจวจึงลงทุนทำการขยาย “ลำธารตังซี”(当溪) เดิมซึ่งเป็นคลองชลประทานเส้นเล็กคับแคบที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านเซี่ยเหมย สร้างท่าเรือเป็นตอนๆบนลำธารตังซี ทำให้แพไม้ไผ่เข้าออกเทียบท่าขนถ่ายได้สะดวก แล้วต่อมาห้างร้านมากมายก็เปิดเต็มสองฝั่งคลอง พ่อค้าชาเต็มไปหมด ลำธารตังซีก็กลายเป็น #คลองลำเลียงเส้นเล็ก ในการหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายสินค้า 



        เมื่อคมนาคมเส้นทางน้ำสะดวก ทำให้เซี่ยเหมยค่อยๆพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายทางเรือของชาหวู่หยี ช่วงรัชสมัยเฉียนหลง #เซี่ยเหมย ได้กลายเป็นตลาดชาที่ใหญ่ที่สุดของเมืองฉงอาน(崇安) ห้างชา “จิ่งหลงห้าว”(景隆号) ของตระกูลโจว การค้ายิ่งมายิ่งเจริญก้าวหน้า

        ปี 1727 สนธิสัญญา《Treaty of Kyakhta》ได้ลงนามร่วมกันระหว่างจีนรัสเซีย ทำให้พ่อค้าจีนจำนวนมากเดินทางไปขายใบชาที่ Kyakhta ซึ่งเป็นการค้าที่ได้ผลกำไรสูงมาก จากบันทึกประวัติศาสตร์ ใบชา 1 ตาน(50 กก.) ตอนนั้น ซื้อจากทางแถบตอนใต้ของเมืองจีนแล้วขนส่งไปขายที่ Kyakhta จะได้ราคาเป็น 4 เท่าหรือมากกว่านั้น

        ฉางว้านต๋า(常万达)พ่อค้าซานซีต้องการควบคุมคุณภาพของใบชาเพื่อให้ได้ผลกำไรมากขึ้น จึงคิดจัดซื้อ ผลิต ขนถ่าย โดยเป็นรูปแบบจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ นำการค้าขายใบชาจากเขตผลิตใบชาหวู่หยีซานดำเนินการจนถึง  Kyakhta โดยตรง ดังนั้น เขาและเพื่อนร่วมเดินทางจากเมืองหยีเช่อ(榆次) มณฑลซานซีมาถึงตีนเขาหวู่หยีซาน หวังว่าจะสามารถหาแหล่งที่ปลูกชาเป็นพื้นที่ใหญ่และทำการขนส่งสะดวก 

        เมื่อล่องตามสายน้ำลงมาถึงเซี่ยเหมย ฉางว้านต๋าเห็นการค้าใบชาที่นี้ยุ่งวุ่นวาย ทำให้ต้องหยุดชงักเพื่อหาคู่ค้าในเซี่ยเหมย พ่อค้าชาตระกูลแซ่โจวที่มีชื่อเสียงที่สุดของท้องที่ได้เข้ามาอยู่สายตาของเขาทันที และคนตระกูลโจวก็รู้สึกเลื่อมใสพ่อค้าซานซีคนนี้ที่ยึดมั่นหาผลประโยชน์โดยคุณธรรม #ถูกที่ถูกเวลา พวกเขาก็เริ่มร่วมมือทางการค้าอย่างทันท่วงที ต่อจากตระกูลฉาง พ่อค้าจิ้น(晋商)ก็มาเซี่ยเหมยยิ่งมายิ่งมากเพื่อมารับซื้อใบชา แล้วว่าจ้างอาจารย์ชาท้องถิ่นทำการผลิต แล้วขนส่งขึ้นไปขายทางเหนือ 

        เส้นทางใบชาที่ตั้งต้นจากที่นี้มุ่งไปทางแถบเหนืออันไกลโพ้น นับจากนี้ไป 2 ฝั่งลำธารตังซีก็ยุ่งวุ่นวายมากยิ่งขึ้น เรือเล็กที่บรรทุกเต็มไปด้วยใบชา ค่อยๆขยับออกจากท่าเรือตังซี แล่นไปทางเหนือเข้าสายธารเหมย ใบชาที่ล้ำค่าเหล่านี้ไปตามเส้นทางชาหมื่นลี้ มุ่งสู่จุดหมายปลายทางเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย ช่วงเวลานั้น เส้นทางหลัก 2 เส้นที่ขนชาหวู่หยีส่งไปยุโรปล้วนตั้งต้นที่ #เซี่ยเหมยหวู่หยีซาน เส้นหนึ่งขึ้นไปทางเหนือ จากหวู่หยีซานโดยทางบกทะลุผ่านเขตพื้นที่มองโกเลียและไซบีเรีย ถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กรัสเซียและแผ่นดินยุโรป อีกเส้นหนึ่งลงไปทางใต้ จากท่าเรือการค้าทางใต้ของเมืองจีน ไปตามเส้นทางทะเลแล่นไปทางยุโรป



        หลังจากนั้น จากปลายรัชสมัยเจียชิ่งถึงช่วงรัชสมัยเสียนฟง ตลาดชาเซี่ยเหมยที่เคยเจริญรุ่งเรืองต้อง ค่อยๆถูกทอดทิ้งไปแล้ว ด้านหนึ่ง เป็นเพราะว่าได้เกิดความไม่สงบจากกบฏไท้ผิง(太平天国) ได้ตัดขาดเส้นทางขนส่งใบชาทางแม่น้ำฉางเจียง พ่อค้าจิ้นที่ไปฝูเจี๋ยนทำการค้าใบชาถูกบังคับให้ต้องหยุดกิจการ จุดตั้งต้นของเส้นทางใบชาก็เปลี่ยนมาที่หยางเหลาต้ง(羊楼洞)ของหูเบ่ยและอานหว้า(安化)ของหูหนาน อีกด้านหนึ่ง หลังจากห้าเมืองท่าเพื่อการค้า(五口通商) ท่าชาฝูโจว ก็ได้เปิดดำเนินการ หมู่บ้านชื่อสือ(赤石村)ที่ตั้งอยู่ฝั่งลำธารฉงหยาง อาศัยการคมนาคมที่สะดวกกว่า สุดท้ายได้กลายเป็นศูนย์กลางตลาดชาของเขตพื้นที่หวู่หยีซานแทนที่เซี่ยเหมย  

        ช่วงรัชสมัยคังซี ชาแดงเจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่ผลิตจากด่านถงมู่หวู่หยีซานได้กลายเป็นสินค้าชื่อดังที่สังคมชั้นสูงยุโรปถวิลหา บนต้นน้ำลำธารจิ่วชีซี(九曲溪)เหนือสุดของสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของหวู่หยีซาน หมู่บ้านถงมู่ที่อยู่ห่างจากเซี่ยเหมยประมาณ 70 กม. เป็นพื้นที่ที่ผลิตชาแดงเจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่ยังใช้กรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมโดยผลิตด้วยมืออย่างประณีต เจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่คนยุโรปถือเป็นชาที่เป็นสัญลักษณ์ทางคุณภาพ เป็นชาแดงที่มีประวัติศาสตร์ 400 ปีที่ถูกยกย่องให้เป็นบรรพรุษของชาแดงทั้งหลาย

        ชา ในการดำรงชีวิตของคนหวู่หยีซาน ได้แสดงบทบาทที่ไม่สามารถหาตัวแทนกันได้ มันไม่เพียงเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของพวกเขา ยังเป็นเสาหลักที่พวกเกษตรกรชาวชาต้องอาศัยในการยังชีพ หลายร้อยปีก่อน นี่ก็คือเกษตรกรชาวชาธรรมดาด้วยสองมือของตนเองทำการผลิต ชาหวู่หยีที่มีเอกลักษณ์พิเศษ  ทำให้คนยุโรปจำนวนมากต้องหลงรักรสชาติของชาหวู่หยี พ่อค้าชาท้องถิ่นของหวู่หยีซานและเหล่าพ่อค้าจิ้นร่วมด้วยช่วยกัน ผ่านความยากลำบาก ใช้เรือไม้ ใช้อูฐ นำชาหวู่หยีที่หนานุ่มละมุ่น ไปตามเส้นทางชาหมื่นลี้ขนส่งไปถึงแถบเหนืออันหนาวเน็บที่อยู่อันไกลโพ้น นำกลิ่นหอมชาที่ทำให้ผู้คนที่นั่นรู้สึกอบอุ่น ระยะเวลาหลายร้อยปี “เส้นทางใบชา” ที่ผ่านความรุ่งโรจน์และความเสื่อมสลาย ขึ้นๆลงๆ ในเรื่องเล่าน่าพิศวงอันสลับซับซ้อน ลมย่อมต้องพัดผ่านภูเขาเขียวหุบเขาหยกของสวนไร่ชา เรื่องราวใบชาที่เริ่มต้นจากหมู่บ้านเซี่ยเหมยยังไม่ถึงจุดจบ

........จบ《เส้นทางใบชา (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม》........


สารคดีโทรทัศน์มินิซีรีส์ 6 ตอน《茶叶之路》ตอนที่ 2 :《下梅

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ
《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (3) : เสียงกระดิ่งอูฐนอกกำแพงเมืองจีน

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

เส้นทางใบชา (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ
《茶叶之路》 第一集 : 帝国之门



        เมืองจีนคือถิ่นกำเนิดของชา จากบันทึกประวัติศาสตร์ ในยุคราชวงศ์โจว(周朝) ประมาณ 3000 กว่าปีก่อน ชนเผ่าบา(巴人)ในมณฑลซื่อชวนก็ได้ริเริ่มใช้ชากันแล้ว หลังยุคสมัยถัง(唐代) การดื่มชาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป ใบชาจากการเป็นของหรูหราล้ำค่ากลายเป็นเครื่องดื่มธรรมดาของสามัญชนทั่วไป การชิมดื่มชาของคนจีนไม่แม้เพียงเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง ยังเป็นภูมิปัญญาสะสมอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์วัฒนธรรม วัฒนธรรมแบบนี้ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาหลายพันปีแล้ว

        เขตพื้นที่หวู่หยีซานตั้งอยู่ทางแถบเหนือของมณฑลฝูเจี๋ยน ภูมิอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ภูมิประเทศภูเขาเขียวหุบเขาหยก เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยถังก็เป็นพื้นที่ผลิตชาที่สำคัญของเมืองจีน เกษตรกรชาวชาของหวู่หยีซานที่ทรงภูมิปัญญาและขยันขันแข็ง ไม่เพียงช่วยเพาะขยายพันธุ์ต้นชาที่มีชื่อเสียงหลากหลายชนิด และยังไม่ลดละในการค้นคว้าหากรรมวิธีการผลิตชาแบบใหม่ๆ สร้างสรรค์ “ชาแดง” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก และชา “หวู่หยีเหยียนฉา” ที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน

        เมื่อมาถึงยุคปลายสมัยหมิงต้นสมัยชิง หวู่หยีซานก็กลายเป็นต้นทางที่สำคัญของชาเมืองจีน แพร่ออกไปสู่ตะวันตก จวบจนปัจจุบัน ที่นี้ก็ยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตใบชาแบบดั้งเดิม

        ทุกๆปี พวกพ่อค้าชาจะลำเลียงขนส่งใบชาที่ผลิตจากหวู่หยีซาน เริ่มต้นการเดินทางจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “เซี่ยเหมย”(下梅) มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านแม่น้ำลำธารและเทือกเขาของเมืองจีนครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่านทะเลทรายโกบี(戈壁) เข้าสู่ที่ราบสูงมองโกเลีย จนไปถึงเมือง “Kyakhta”(恰克图) บนเขตแดนของรัสเซีย หลังจากนั้นต่อเนื่องไปทางเหนือ ต่อจากนั้นมุ่งไปทางตะวันตกผ่านดินแดนไกลปืนเที่ยงของรัสเซีย จนถึงมอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กริมฝั่งทะเลบอลติก เป็นเส้นทางอันเลี้ยวลดคดเคี้ยวต่อเนื่องกันถึง 20000 กิโลเมตร เป็นที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ซึ่งก็คือ “เส้นทางใบชา”(The Tea Road : 茶叶之路)



        ก่อนที่จะปรากฏเป็น “เส้นทางใบชา” ของจีน-รัสเซีย ใบชาเมืองจีนได้แพร่เข้าไปในยุโรปแล้ว ชาวยุโรปเริ่มที่ได้สัมผัสใบชาเมืองจีนคือเหตุการณ์ในกลางศตวรรษที่ 16 ปี 1550 ชาวยุโรปได้ยินเป็นครั้งแรกแล้วว่า เมืองจีนอันไกลโพ้นมีใบต้นไม้ที่วิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาชงดื่มได้ ซึ่งเรียกกันว่า “ชา”()

        ปี 1612 บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลอลนด์ได้นำใบชาจำนวนเพียงเล็กน้อยกลับไปยังประเทศ นี่เป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปไห้พบเห็นใบชา หลังจากนั้น ปี 1662 พระราชินีแคทเธอรินได้แนะนำชาเข้าไปในพระราชวังอังกฤษ ทันทีทันใด การดื่มชาในพระราชวังอังกฤษกลายเป็นแฟชั่นทันสมัย บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสอันดี จึงตั้งใจที่จะแย่งการค้าใบชาจากมือคนฮอลแลนด์หรือจัดซื้อนำเข้าใบชาจากเมืองจีนโดยตรง

        หลังศตวรรษที่ 16 ประเทศทางยุโรปเช่น ฮอลแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น เริ่มเจริญรุ่งเรือง ช่วงเวลานั้น เนื่องจาก “ยุคแห่งการค้นพบ”(Age of Discovery) เส้นทางเดินเรือมหาสมุทรที่เดินทางสู่อินเดียและเมืองจีนได้เปิดทางแล้ว อังกฤษและฮอลแลนด์ล้วนคิดจะไปค้าขายทางตะวันออก แต่เนื่องจากเส้นทางที่ต้องผ่านมหาสมุทรอินเดียมุ่งสู่เอเชียใต้และเมืองจีนถูกสเปนและโปรตุเกส ควบคุมไว้หมดแล้ว คนอังกฤษในภาวะการณ์ที่เส้นทางเดินเรือไม่เปิด ถูกบังคับต้องหันมาทางเหนือ โดยขอให้รัสเซียอนุญาตพวกเขาผ่านแคว้นไซบีเรียเพื่อค้นหาเส้นทางไปอินเดียและเมืองจีน พระเจ้าอีวานที่ 4 แห่งรัสเซียทรงเป็นพระประมุขในช่วงเวลานั้นได้ปฏิเสธคำขอของอังกฤษ แต่ได้ตัดสินใจทำการส่งคนไปค้นหาเส้นทางที่ทะลุผ่านเข้าไปเมืองจีนก่อน

        ปี 1608 Volynskyi ผู้บัญชาการทหารของรัฐ Tomsk ได้ส่งคนมุ่งหน้าไปค้นหาเมืองจีน นี่คือการค้นหาของรัสเซียโดยลำพัง ได้ลิ้มรสในเส้นทางมุ่งสู่เมืองจีนเป็นครั้งแรก 32 ปีต่อมา Starkov ทูตของรัสเซียได้เดินทางมาถึง Kalmyks ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ยึดครองของมองโกเลีย เมื่ออยู่ที่นี้ คนรัสเซียไม่เพียงได้รับฟังข่าวสารจำนวนมากเกี่ยวกับเมืองจีน พวกเขายังได้พบเห็นชา ในงานเลี้ยงรับรองมื้อค่ำท่านข่านมองโกลได้สั่งให้คนยกเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ไม่รู้จักชื่อให้คนรัสเซีย เมื่อคนรัสเซียได้พินิจพิเคราะห์เครื่องดื่มชนิดนี้แล้ว แรงเข้มข้นแต่ขมฝาด สีออกเขียว แต่รสกลิ่นหอมรัญจวน เครื่องดื่มชนิดนี้ก็คือ “ใบชา



        เป็นที่น่าเสียดายในตอนนั้นก็คือทูต Starkov ไม่ได้ให้ความสนใจ “ใบชา” แต่แสดงออกอย่างชัดเจนโดยคาดหวังว่าของที่ระลึกที่ท่านข่านมองโกลจะมอบให้ดีที่สุดคือหนังสัตว์ Sable(黑貂皮) จำนวนมาก ไม่ใช่ใบชาที่ไม่มีราคาในรัสเซียในช่วงเวลานั้น ท่านข่านได้ปฏิเสธการขอของ Starkov เมื่อเป็นเช่นนี้ Starkov จำต้องนำใบชา 200 หีบกลับไปรัสเซียอย่างไม่เต็มใจ แล้วนำไปถวายพระเจ้าซาร์

        เป็นที่ประจักษ์ว่าคนรัสเซียแรกเริ่มเดิมทีมีทีท่าเฉยๆต่อใบชา แต่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 17 สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป ในยุคต้นราชวงศ์ชิง อิทธิพลของรัสเซียได้คืบเข้าไปในบริเวณลุ่มแม่น้ำไฮหลงเจียง(黑龙江) ได้ไปตั้งรกรากใน Transbaikalia(外贝加尔) แล้ว พระเจ้าซาร์ได้ริเริ่มส่งคณะทูตไปเบ่ยจิงโดยตรง เพื่อต้องการหาทางทำการค้ากับจีน เหล่านักการทูตที่มาเมืองจีนได้นำใบชาที่เป็นเครื่องพระราชทานกลับไปรัสเซีย แต่ทว่า ณ เวลานั้นจีนและรัสเซียยังไม่มีการค้าต่อกัน การบริโภคใบชาในรัสเซียยังมีปริมาณน้อยมาก เพียงจำกัดอยู่ในชนชั้นสูงและผู้มีฐานะร่ำรวย

        ช่วงปลายๆของศตวรรษที่ 17 ระหว่างจักรวรรดิรัสเซียราชวงศ์ซาร์และจักรวรรดิจีนราชวงศ์ชิงล้วนมีนัยสำคัญพิเศษ สองประเทศที่มีขนาดใหญ่ต่างเผชิญกับทางเลือกที่ไม่เหมือนกัน พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 เป็นจักรพรรดิที่ทรงเชี่ยวชาญการรบ ทรงครองราชย์ 43 ปี ได้ทำศึกสงครามภายนอก 53 ครั้ง เป็นเหตุให้ท้องพระคลังของประเทศว่างเปล่า และจากการสำรวจของคณะทูตที่ไปเมืองจีนที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า พื้นที่เมืองจีนกว้างใหญ่ไพศาล ผลิตธาตุเงินธาตุทองและสินค้ามูลค่าสูง จะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพของรัสเซีย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 ได้เขียนจดหมายให้สภาองคมนตรีว่า ต้องพยายามรวบรวมเงินทองไว้ เนื่องจากเงินทองเป็นเส้นเลือดของสงคราม เพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ทรงรับสั่งให้ติดต่อกับเมืองจีนอย่างแข็งขัน เจรจาทำสัญญาการค้า ประจวบตรงกันข้ามกับเมืองจีน จักรพรรดิคังซีที่มีอายุมากกว่าพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 ถึง 20 ปี ไม่มีความสนใจที่จะทำการค้ากับรัสเซีย สิ่งที่พระองค์ทรงเป็นห่วงมากกว่าคือความขัดแย้งในลุ่มแม่น้ำไฮหลงเจียง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาพิพากทางชายแดนของสองประเทศ



        ปี 1685-1686 เกิดสงราม Sino-Russian Border Conflicts (雅克萨之战) ถึง 2 ครั้ง ทำให้รัสเซียประจักษ์ชัดได้ทันทีว่า สิ่งที่ต้องผจัญอยู่ซึ่งหน้าคือประเทศใหญ่ที่ทรงพลัง ต้องการรบให้ชนะจะเป็นการยากมาก ประกอบกับแทบจะในเวลาเดียวกัน ทางรัสเซียก็ได้เปิดศึกสงครามกับตุรกี ค่าใช้จ่ายสงครามที่มากมายมหาศาล ได้ล้างผลาญทรัพยากรภายในของรัสเซีย สงบศึกแล้วทำการค้ากับเมืองจีนกลายเป็นทางเลือกลำดับต้น ด้านราชวงศ์ชิง ก็เพิ่งสงบจากศึกสงคราม Revott of the Three Feudation (三藩之乱 : ปราบ 3 อ๋อง) ประเทศชาติจำเป็นต้องหยุดพักเพื่อซ่อมบำรุงอย่างยิ่ง จักรพรรดิคังซีจึงใช้วิธีการที่เฉียบแหลมโดยตกลงรูปแบบการเซ็นสัญญา

        วันที่ 9 กรกฎาคม 1689 ทูตของสองประเทศจีนและรัสเซียได้ร่วมลงนามใน《Treaty of Nerchinsk》(尼布楚条约) สนธิสัญญานี้นอกจากว่าด้วยการปักปันเขตแดนระหว่างจีน-รัสเซียแล้ว ยังบรรจุข้อตกลงทางการค้าที่รัสเซียร้องขอเขียนเข้าไปในสนธิสัญญานี้ด้วย ซึ่งระบุว่า ต่อจากนี้ไปการดินทางไปมาหาสู่กัน ไม่ว่าบุคคลใดที่มีตั๋วเดินทาง สามารถข้ามเขตแดนไปมาได้ และทำการค้าตามแนวชายแดนได้ สนธิสัญญานี้ทำให้รัสเซียนอกจากได้ดินแดนผืนใหญ่จากจีนแล้ว สุดท้ายยังได้รับสิทธิทำการค้ากับจีนตามที่ใฝ่ฝันถึง เหตุที่จักรวรรดิชิงยินยอมให้รัสเซียมาทำการค้าที่เมืองจีน หลักใหญ่ใจความเป็นเพราะผลของแรงกดดันที่รัสเซียรุกล้ำดินแดนแมนจูเรีย

        หลังการลงนามในสนธิสัญญา《Treaty of Nerchinsk》รัสเซียกลายเป็นประเทศแรกของยุโรปที่ได้สิทธิมาทำการค้าที่เมืองจีน ในช่วงเวลานั้น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้นเข้ามาทำการค้าที่กว่างโจวเมืองท่าของจีนโดยการเดินเรือมหาสมุทร ต้องประสบกับภาวะการณ์ต่างๆที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ รัสเซียอาศัยสนธิสัญญาฯนี้กลายเป็นประเทศหนึ่งเดียวเฉพาะของประเทศทางยุโรปที่เข้ามาทำการค้ากับจีนโดยทางบก

        เมื่อ 300 ปีก่อน “ประตูแห่งจักวรรดิ” ได้ถูกกะเทาะออกเป็นรอยบิ แม้ผู้ปกครองของทั้งสองประเทศต่างก็มีความในใจ แต่ทั้งสองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ก็ได้เริ่มย่างก้าวทางการค้าที่ต่างเสริมข้อได้เปรียบซึ่งกันและกัน มีผลประโยขน์ร่วมกัน ตามการขับเคลื่อนของการค้าจีนรัสเซีย โดยการเชื่อมต่อ “เส้นทางใบชา” ของสองประเทศ เริ่มต้นกระบวนการฟูมฟักต่อเนื่องเป็นระยะเวลาถึง 250 ปี



        ปี 1693 จักรพรรดิคังซีได้กำหนดไว้ว่า ทุกๆ 3 ปี อนุญาตให้พ่อค้ารัสเซียเข้ามาทำการค้าที่เบ่ยจิง 1 ครั้ง ทุกครั้งไม่เกิน 200 คน จำกัด 80 วันต้องกลับประเทศ นี่ก็คือการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ “การค้าเบ่ยจิง”(北京贸易) ของจีนรัสเซีย สินค้าที่พ่อค้ารัสเซียนำเข้ามาส่วนใหญ่คือหนังขนสัตว์ที่ทำจากไซบีเรีย สินค้าที่จัดซื้อจากเมืองจีนเช่น ทอง เงิน ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เป็นหลัก เนื่องจากภายในประเทศรัสเซีย กลุ่มคนที่บริโภคใบชามีเพียงผู้ที่อาศัยอยู่ในไซบีเรียและริมฝั่งทะเลดำ ดังนั้น คณะพ่อค้ารัสเซียที่มาเบ่ยจิงจึงไม่ได้จัดซื้อใบชาเป็นจำนวนมาก อันเนื่องจากกระบวนการแลกเปลี่ยนการค้าทุกครั้ง ล้วนมีทหารราชวงศ์ชิงคอยมาสังเกตการณ์อย่างเข้มงวด พ่อค้ารัสเซียมักจะบ่นเสมอว่าการแลกเปลี่ยนการค้าไม่อิสระเสรี ดังนั้น ทางรัสเซียจึงได้ค้นพบช่องทางการค้าที่มีผลประโยขน์มากกว่าสำหรับพวกเขา

        ปี 1725 จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคต จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระประมุขของรัสเซีย พระองค์ได้ทรงแจ้งให้ทางพระราชวังราชวงศ์ชิงว่า จะส่งคณะทูตไปเบ่ยจิงในไม่ช้านี้ เพื่อเจราจาปัญหาการปักปันเขตแดนระหว่างจีน-รัสเซีย สิ่งสำคัญคือความไม่พอใจของพระเจ้าซาร์ที่มีต่อข้อจำกัดต่างๆนานาของ “การค้าเบ่ยจิง” เป็นอย่างยิ่ง หวังผ่านการเจราจาสามารถจัดตั้งรูปแบบและสถานที่การค้าที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

        วันที่ 18 มิถุนายน 1725 Savoy Earl ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม มาร่วมแสดงความยินดีที่จักรพรรดิยุงเจิ้นขึ้นครองราชย์และมาเจราจา ในระหว่างการเดินทางมาเมืองจีน ได้ผ่านชายแดนจีนรัสเซียในช่วงเวลานั้น มีสถานที่หนึ่งชื่อว่า Kyakhta(恰克图) หลังผ่านการสำรวจช่วงสั้นๆ เขามีความมั่นใจว่าที่นี้จะเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการค้าจีนรัสเซียในอนาคต ที่นี้ไม่เพียงเป็นสถานที่ที่เส้นทางจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปเบ่ยจิงที่สั้นที่สุดที่ต้องผ่าน และยังเป็นเขตแดนของชนเผ่ามองโกล ที่ถูกรัฐบาลชิงยึดครองไปแล้ว จีนรัสเซีย 2 ฝ่ายหลังผ่านการเจราจาอันยุ่งยากทั้งที่เบ่ยจิงและที่เขตแดนนี้ พร้อมใจตกลงกันว่านำการค้าของทั้ง 2 ประเทศย้ายไปดำเนินการที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ Kyakhta บนเขตแดนของรัสเซีย

        วันที่ 14 มิถุนายน 1728 ได้ทำการลงนามในสนธิสัญญา《Treaty of Kyakhta》(恰克图条约) นับจากนี้ไปการค้าจีนรัสเซียได้เข้าสู่ขั้นตอนใหม่



        Kyakhta เป็นภาษามองโกล ความหมายคือ “บริเวณที่วัชพืชขึ้นอย่างหนาแน่น” ตั้งอยู่ทางแถบตอนใต้ของทะเลสาบไบคาล(贝加尔湖) ช่วงเวลานั้นอยู่ทางฝั่งรัสเซียในเขตชายแดนจีนรัสเซีย 1 ปีก่อนการลงนาม《Treaty of Kyakhta》Savoy ก็ได้ตัดสินใจเลือกที่นี้ไว้แล้ว เพื่อเป็นสถานที่การค้าชายแดนจีนรัสเซียในอนาคต หลังผ่านการก่อสร้าง 1 ปี เมืองโฉมหน้าใหม่ก็ได้เกิดขึ้นมาบนหุบเขาแม่น้ำ Kyakhta เมืองใหม่นี้จะสร้างชื่อเสียงอันโด่งดังเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ในไม่ช้านี้ ในระยะเวลาประมาณ 200 ปีหลังจากนี้ ที่นี้ได้ครอบคลุมผลสำเร็จทางการค้าบรรดามีระหว่างจีนและรัสเซีย ที่นี้ก็ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนการค้าของ “เส้นทางใบชา

        ปี 1730 พ่อค้าจีนที่เข้ามาทำการค้าที่นี้เพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย พระราชวังชิงจึงได้ตัดสินใจก่อสร้าง “เมืองซื้อขาย”(买卖城) บนฝั่งจีนที่อยู่ติดกับ Kyakhta เพื่อเป็นที่พำนักของพ่อค้าจีน ส่วนพ่อค้ารัสเซียก็จะพักอาศัยที่ Kyakhta ฝั่งของรัสเซีย ระหว่างเมืองซื้อขายและ Kyakhta กั้นด้วยพื้นที่ว่างเปล่าผืนหนึ่ง ช่วงเวลาที่ดำเนินการค้า 2 ฝ่ายสามารถข้ามแดนไปมาหาสู่กันได้ แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของพ่อค้าจีนรัสเซีย 2 ประเทศแยกขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง เจ้าหน้าที่ดูแลจัดการที่ทางพระราชวังชิงส่งมาและเจ้าพนักงานควบคุมที่ทางรัสเซียส่งมาจะพบปะกันเสมอ เจราจาต่อรองถึงปัญหาทางการค้า

        การค้า Kyakhta หลังเปิดดำเนินการมา 30 ปี พระราชวังชิงได้จัดส่งเสนาบดีไปเพิ่มเติมที่เมืองคู่หลุน(库伦) เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมจัดการทางการค้าชายแดนจีนรัสเซีย ตั้งแต่หลังจากจีนรัสเซีย 2 ประเทศนำ Kyakhta เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษการค้าชายแดนแล้วใบชาที่มาจากเมืองจีน ค่อยๆกลายเป็นสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 ประเทศ

        ใบชาจำนวนมากเริ่มเข้าไปในรัสเซีย คนรัสเซียทั่วไปก็เริ่มที่จะยอมรับและชื่นชอบใบชาที่มาจากเมืองจีน ในหนังสือ《ประวัติศาสตร์โลกของชา》ของนักวิชาการชาวญี่ปุ่น Tsunoyama ได้อธิบายไว้ว่า การพึ่งพาชาของคนรัสเซียทั่วไป ทุกวันคนรัสเซียจะดื่มชา 5-6 ครั้ง โดยเฉพาะชุมชนชั้นล่างจะพึ่งพาชาและขนมปังประทังชีวิตไป 1 วันนั่นเป็นเรื่องปกติ มีคำพังเพยท้องถิ่นกล่าวไว้ว่า “ที่ที่มีคนรัสเซียอยู่ ล้วนขาดชาไม่ได้” ความต้องการชา ผลักดันให้การค้าชายแดน Kyakhta เจริญรุ่งเรืองขึ้นทุกวัน แล้วก็ดึงดูดพ่อค้ารัสเซียยิ่งมายิ่งมาก



        จากที่ซึ่งรกร้างว่างเปล่าบนเขตพื้นที่ Transbaikal ที่เงียบสงบ และ Kyakhta ชื่อที่ไม่เคยได้ยิน นำมาซึ่งภาพที่มีชีวิตชีวาที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ปริมาณการค้าที่กลืนคายอย่างมหาศาล ทำให้ Kyakhta ก้าวกระโดดเป็นท่าการค้านานาชาติในดินแดนไกลปืนเที่ยงของเอเชีย

        เส้นทางใบชาที่เคยลือลั่นของโลก หลังเส้นทางสายไหมเสื่อมสลายลง เส้นทางการค้านานาชาติเส้นใหม่ก็เกิดขึ้นบนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ของยูเรเชีย จากปลายศตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 20 เป็นระยะเวลา 200 กว่าปี ระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าในขนาดที่ใหญ่มหึมา มีผลขับเคลื่อนต่อความก้าวหน้าทางสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนรัสเซียอย่างใหญ่หลวง มันผลักดันให้วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมโดยใช้วัฒนธรรมชาเป็นตัวหลักเผยแพร่เข้าไปรัสเซียและยุโรปอย่างกว้างขวาง การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนของอารยธรรมจีนกับอารยธรรมโลก เกิดผลกระทบต่อเนื่องจวบจนถึงทุกวันนี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เส้นทางใบชาได้ทำการเปิดประตูบานใหญ่ที่เคยปิดมิดชิดของจักรวรรดิโบราณ ตกทอดให้ชนรุ่นหลังคือความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่ายิ่ง

........จบ《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ........


สารคดีโทรทัศน์มินิซีรีส์ 6 ตอน《茶叶之路》ตอนที่ (1) :《帝国之门

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม