วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เครื่องเคลือบราชสำนักฝาแฝดราชวงศ์หมิง



        เพื่อเป็นการต่อต้านการรุกรานของชนเผ่าทางเหนือ จักรพรรดิหย่งเล่อราชวงศ์หมิงได้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงมายังเป่ยจิง ในวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 11 เมื่อ 600 ปีก่อน(ปี 1420) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ป่าวประกาศต่อชาวโลกว่า “จื่อจิ้งเฉิง/紫禁城” (พระราชวังต้องห้าม) ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


        ตามกฎของสรรพสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง จื่อจิ้งเฉิงแทบจะไม่ใช่รูปแบบที่ได้พบเห็นในตอนแรกเริ่ม แต่มีวัตถุภาชนะชิ้นหนึ่งที่ได้ติดตามจักรพรรดิหย่งเล่อเข้าไปในจื่อจิ้งเฉิง แล้วได้เป็นประจักษ์พยานที่รู้เห็นประวัติศาสตร์อย่างครบถ้วนตลอดระยะ 600 ปี มันก็คือ《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》 


▲《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》


        ในเอกสารบันทึกยุคหมิงได้บันทึกไว้ว่า : ในช่วงเวลาที่เสด็จออกว่าราชการที่ฟ่งเทียนเหมิน(奉天门) หลังจักรพรรดิหย่งเล่อได้ประทับบนพระเก้าอี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้าราชสำนักก็จะยกกระถางธูปรูปภูเขาแม่น้ำมาวางไว้หน้าพระพักตร์ แล้วกราบบังคมทูลว่า “อันติ้ง(ติ่ง)เลอ/安定(鼎)了” (มั่นคงแล้ว) ซึ่งวัตถุภาชนะชิ้นนี้ทำให้เห็นอุดมคติของจักรพรรดิหย่งเล่อในการสร้างจื่อจิ้งเฉิงขึ้นมา 


▲พิธีการยกกระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาไปวางไว้หน้าพระพักตร์จักรพรรดิหย่งเล่อช่วงเสด็จออกว่าราชการที่ฟ่งเทียนเหมิน


      《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》เผาสร้างขึ้นในยุคที่สถาปนาจื่อจิ้งเฉิง เป็นกระถางธูปที่มีรูปลักษณะเหมือนติ่ง() เนื่องจากทำการเผาผลิตยากมาก กระถางธูปรูปแบบนี้ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีเพียง 3 ชิ้น บนผิวกระถางธูปเขียน “ลายคลื่นทะเลหน้าผา/海水江崖纹” นำรูปการม้วนตัวของคลื่นทะเลและภูเขามาประกอบกันในความหมาย “พสุธา/江山” ซึ่งมีความหมายโดยนัย “โชคลาภอายุขวัญยืน แผ่นดินมั่นคงนิรันดร์/福山寿海,江山永固” 


▲《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》สูง 57.8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางปาก 37.8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางขา 37.5 ซม.


▲“ลายคลื่นทะเลหน้าผา” บ่งบอกถึงอุดมคติ “แผ่นดินมั่นคงนิรันดร์”


        ในยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว ได้ค้นพบซากโบราณสถานโรงงานเตาเผาหลวงราชวงศ์หมิงที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้นโดยบังเอิญ เศษชิ้นส่วนเครื่องเคลือบจำนวนมากที่ขุดขึ้นมาหลังผ่านการจัดการแล้วล้วนสามารถทำให้คืนสู่สภาพเดิมได้ ซึ่งมีร่องรอยของการถูกทุบอย่างเด่นชัด นี่เป็นความจงใจที่ทำให้แตกเป็นชิ้นๆแล้วฝังลงดิน 


▲เศษชิ้นส่วนเครื่องเคลือบที่ขุดขึ้นมาจากซากโบราณสถานเตาเผาหลวงราชวงศ์หมิงที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น

▲การซ่อมคืนสู่สภาพเดิมจากเศษชิ้นส่วนเครื่องเคลือบในชั้นกองซากใต้ดิน
 

        ในชั้นที่ 5 ที่เป็นชั้นกองซากเศษแผ่นกระเบื้องของเตาเผาหลวงรัชสมัยหย่งเล่อ จะมีเศษชิ้นส่วนของ《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》หลังใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการซ่อมคืนสู่สภาพเดิมจึงเสร็จสมบูรณ์ มองจากรูปลักษณะภายนอก มันและ《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเลอราชวงศ์หมิง》ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานกู้กงและหนานจิง ล้วนกำเนิดขึ้นในยุคเดียวกัน 


▲ใต้ดินชั้นที่ 5 เป็นชั้นรัชสมัยหย่งเล่อที่เศษชิ้นส่วนของ《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》กองซากอยู่


▲《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》หลังการซ่อมคืนสู่สภาพเดิมจากเศษชิ้นส่วนเครื่องเคลือบที่ขุดขึ้นมาจากจิ่งเต๋อเจิ้น เหตุที่เป็นของเสียเนื่องจากเกิดการยุบตัวในช่วงเวลาเผา


▲《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》รูปลักษณะเหมือนกัน 3 ใบ เก็บรักษาไว้ที่ (ซ้าย) กู้กง (กลาง) จิ่งเต๋อเจิ้น (ขวา) หนานจิง

         ก็เป็นเพราะจากการขุดพบชิ้นงานชำรุดนี้ จึงได้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องจากเดิมที่สันนิษฐานว่าเผาผลิตขึ้นในยุครัชสมัยเซวียนเต๋อ ที่แท้เผาผลิตขึ้นในยุครัชสมัยหย่งเล่อ


        มีเครื่องเคลือบราชสำนัก “ฝาแฝด” จำนวนมาก เมื่อ 600 ปีก่อนพวกมันเกิดที่จิ่งเต๋อเจิ้นถิ่นกำเนิดเดียวกัน สาเหตุอันเนื่องจากโหงวเฮ้ง ทำให้ชะตาชีวิตแตกต่างกัน หนึ่งถูกส่งไปที่กู้กง หนึ่งถูกทุบแตกเป็นชิ้นๆแล้วฝังกลบที่ถิ่นกำเนิด แต่แล้ว “ฝาแฝด” มีโอกาสได้มาพบกันอีกครั้ง ก็หลังจากผ่านพ้นไป 600 ปี !


        ทำไมเครื่องเคลือบราชสำนักฝาแฝดจำนวนมากต้องพลักพรากจากกันถึง600ปี ? 


        นี่ต้องเริ่มต้นที่จิ่งเต๋อเจิ้น เริ่มจากรัชศกที่ 2 รัชสมัยหงหวู่ราชวงศ์หมิง(ปี 1369) ราชสำนักได้สร้าง “โรงงานเครื่องเคลือบดินเผาหลวง” (ราชวงศ์ชิงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “โรงงานเตาเผาหลวง”) ขึ้นที่จิ่งเต๋อเจิ้น เพื่อเผาผลิตเครื่องใช้ราชสำนักโดยเฉพาะ โดยจัดส่งขุนนางไปเป็นผู้กำกับดูแลการผลิต มีระบบการจัดการอย่างเข้มงวด จะเคร่งครัดมากต่อการจัดการผลิตภัณฑ์ที่เหลือเกินจำนวนจากการส่งมอบถวายเข้าวังและของเสียที่มีตำหนิ ซึ่งจะถูกรวบรวมไปทำการทุบแตกเป็นชิ้นๆแล้วนำไปฝังกลบบริเวณโรงงานเตาเผาหลวง เป็นการธำรงไว้ซึ่งพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของจักรพรรดิ และก็เป็นการรักษามาตรฐานของเครื่องเคลือบเตาเผาหลวง ระบบนี้ได้สืบสานต่อมาแทบทุกรัชสมัย ตราบจนถึงรัชสมัยเซวียนถ่งราชวงศ์ชิง(ปี 1911) ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลาย ก็เป็นอันสิ้นสุดภารกิจประวัติศาสตร์ของโรงงานเตาเผาหลวง 


        นับต่อแต่นี้ไปอีกหลายร้อยปี เหล่าช่างผู้ชำนาญการเครื่องเคลือบที่โดดเด่นที่สุดจากทั่วประเทศมารวมอยู่ในโรงงานนี้ เป็นไปตามความต้องการและการออกแบบของราชสำนัก ได้ใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุด ดำเนินการเผาผลิตเครื่องเคลือบเลอเลิศที่สวยงามอย่างไม่มีที่ติออกมาเป็นจำนวนมาก เบื้องหลังของชิ้นงานล้ำเลิศคือการสะสมและการทดลองที่นับครั้งไม่ถ้วน ความสลับซับซ้อนของเตาเผาสุดที่จะคาดเดาได้ การเปลี่ยนรูป รอยแตกร้าว สีเพี้ยน สีซีด...ชิ้นงานชั้นเลิศที่ค่อนข้างทำยากโดยทั่วไปจะมีโอกาสความสำเร็จเพียงหนึ่งในสิบ กระทั้งถึงหนึ่งในร้อย


        ชิ้นงานที่ถูกคัดเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่เผาผลิตเสร็จก็ต้องฝ่าเขาลุยน้ำถูกส่งไปยังเมืองหลวง แล้วถูกเก็บสะสมไว้ในพระราชวัง ส่วนของเสียที่ถูกคัดทิ้งก็จะถูกทุบให้แตก ณ จุดนั้นทันที รวบรวมเป็นกองซากฝังกลบชันใต้ดินที่โรงงานเตาเผาหลวง 


▲โบราณสถานโรงงานเตาเผาหลวงราชวงศ์หมิงที่เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น


        พิพิธภัณฑสถานกู้กงได้ทำการเก็บรักษาเครื่องเคลือบจากโรงงานเตาเผาหลวงยุคราชวงศ์หมิงและชิงไว้เป็นจำนวนไม่น้อย จิ่งเต๋อเจิ้นก็ได้ขุดพบส่วนที่หลงเหลืออยู่ใต้ดินในกองซากโบราณสถานโรงงานเตาเผาหลวงเป็นจำนวนมาก ได้ขุดเครื่องเคลือบของเตาเผาหลวงราชวงศ์หมิงในช่วงของรัชสมัยหงหวู่ หย่งเล่อ เซวียนเต๋อ เจิ้งถ่ง เฉิงฮว่า หงจื้อ เจิ้งเต๋อ ได้ออกมาเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเศษชิ้นส่วนของเครื่องเคลือบใช้ในราชสำนักที่ถูกทุบแตกได้จำนวนเป็นตัน นำมาทำการประกอบเชื่อมติดซ่อมคืนสู่สภาพเดิมได้ถึง 1400 กว่าชิ้น เป็นการกู่ร้องถึงเครื่องเคลือบราชสำนักราชวงศ์หมิงที่เก็บอยู่ในพระราชวังอันไกลพ้นว่าเราสามารถเทียบคู่กัน

หมายเหตุ : “ภาพเทียบคู่” (ซ้าย) ภาพเครื่องเคลือบราชสำนักที่สมบูรณ์เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานกู้กง (ขวา) ภาพเครื่องเคลือบที่ซ่อมคืนสู่สภาพเดิมที่ขุดขึ้นมาจากโบราณสถานโรงงานเตาเผาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น


▲《จานใหญ่ลายดอกโบตั๋นหินทะเลสาบเครื่องลายครามรัชสมัยหงหวู่ราชวงศ์หมิง》

▲จานใบทางขวาถูกคัดทิ้งเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนรูป

▲《ปั้นหมวกพระเคลือบเถียนไป่รัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》

▲บางส่วนของปั้นเกิดรอยแตกร้าว

▲《แจกันแบนน้ำเต้าหูสายริบบิ้นลายดอกกงจักรเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》สีเคลือบแตกต่างกัน

▲《จอกถนัดมือลายดอกเถาวัลย์เครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》สภาพทุกอย่างสมบูรณ์ อาจเป็นถ้วยที่เหลือเกิน เนื่องจากเป็นถ้วยใช้เฉพาะจักรพรรดิ บุคคลอื่นห้ามใช้(ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)

▲《จอกขาสูงลายปลาสามตัวเครื่องลายไฟรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิง》เนื่องจากการเผาผลิตเครื่องลายไฟจะยากมาก โอกาสเผาได้เป็นผลิตภัณฑ์จะต่ำมาก ลายปลาเขียนสีแดงจึงเกิดสีซีด

▲《กาแบนหูคู่ลายช่อดอกไม้เครื่องลายครามรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิง》สีลายครามแผ่ซ่านมากเกินไป

▲《เหมยผิงลายดอกเถาวัลย์เครื่องลายครามรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิง》

▲ผิวเคลือบแตกลายงา

▲《จานลายมังกรหงส์เครื่องลายครามรัชสมัยเฉิงฮว่าราชวงศ์หมิง》ในพิพิธภัณฑสถานกู้กงไม่มีจานรูปแบบนี้

▲สภาพทุกอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ทว่าลายมังกรเขียนเกินมา 1 เล็บ รวมเป็น 6 เล็บ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์ถึงขั้นประหารชีวิต จึงจำเป็นต้องรีบทำลายหลักฐานทิ้ง

▲《ถ้วยลายดอกบัวมงคลแปดแบบเครื่องเคลือบโต่ไฉ่รัชสมัยเฉิงฮว่าราชวงศ์หมิง》ถ้วยรูปแบบนี้ในพิพิธภัณฑสถานกู้กงก็ไม่มี

▲ตราประทับตัวอักษร “” ขาดไปหนึ่งจุด

▲《จานลายช่อดอกผลไม้เครื่องลายครามพื้นเคลือบเหลืองรัชสมัยหงจื้อราชวงศ์หมิง》ลายครามสีซีดอมเทา

▲《ถ้วยเคลือบสีเขียวนกยูงรัชสมัยเจิ้งเต๋อราชวงศ์หมิง》สีเคลือบไม่สม่ำเสมอ

▲《กระโถนลายมังกรดั้นดอกไม้เครื่องลายครามรัชสมัยเจิ้งเต๋อราชวงศ์หมิง》ลายครามสีซีด

▲《จานลายมังกรคลื่นทะเลเครื่องลายครามผสมฝานหงไฉ่รัชสมัยเจิ้งถ่งราชวงศ์หมิง》เนื่องจากไม่มีตราประทับ ที่ผ่านมาวงการเครื่องเคลือบระบุเป็นของยุครัชสมัยเซวียนเต๋อ เมื่อจานใบขวามือที่ขุดได้จากใต้ดินชั้นรัชสมัยเจิ้งถ่ง มีรูปลักษณะเหมือนกัน จึงทำให้ทราบแน่ชัดว่าใบทางซ้ายควรจะเป็นของยุครัชสมัยเจิ้งถ่ง

▲《ถ้วยลายการละเล่นเด็กเครื่องลายครามรัชสมัยเจิ้งถ่งราชวงศ์หมิง》ใบทางซ้ายโดยทั่วไปจะมองเป็นของเตาเผาหลวงเฉิงฮว่า และก็มีคนคิดเห็นว่าเป็นของยุครัชสมัยเจิ้งเต๋อ เนื่องจากถ้วยมีรูปลักษณะคล้ายถ้วยยุครัชสมัยเจิ้งเต๋อ เมื่อถ้วยใบขวามือที่ขุดได้จากใต้ดินชั้นรัชสมัยเจิ้งถ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบคู่กันแล้ว จึงถือเป็นของยุครัชสมัยเจิ้งถ่ง


        จากการนำเสนอ “ภาพเทียบคู่” ข้างต้น ทำให้พวกเราได้เข้าใจถึงเบื้องหลังของเครื่องเคลือบราชสำนักที่เก็บรักษาอยู่ที่กู้กงนั้น อันที่จริงยังมีของที่ล่มเหลว ของเสียที่มีตำหนิ และของทดลองอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง เนื่องจากมีของเหล่านี้ จึงทำให้พวกเราสามารถเห็นของล้ำค่าชั้นเลิศที่เจิดจรัสแสดงอยู่ที่กู้กง


        เครื่องเคลือบโดยการนำเศษชิ้นส่วนที่ขุดขึ้นมาซ่อมคืนสู่สภาพเดิม สามารถนำไปเทียบคู่กับเครื่องเคลือบเมืองจีนที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆทั่วโลก การจะรู้เป็นของยุคสมัยไหน โดยผ่านเศษชิ้นส่วนของเครื่องเคลือบเหล่านี้ ทำให้รู้ตัวตนที่แท้จริงว่าเป็นใคร รากเหง้าอยู่ที่ไหน การซ่อมเศษแผ่นเครื่องเคลือบให้คืนสู่สภาพเดิมก็คือการซ่อมประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง


     《สมบัติแห่งชาติ/国家宝藏


      《กระถางธูปสามขาลายคลื่นทะเลหน้าผาเครื่องลายครามรัชสมัยหย่งเล่อราชวงศ์หมิง》ได้กลายเป็นโบราณวัตถุของอารยธรรมจีนอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นดาวจรัสแสงระยิบระยับ  600 ปีที่ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว ยืนอยู่บนบริบทของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติและอารยธรรมโลก การเขียนสีตกแต่งด้วย “ลายคลื่นทะเลหน้าผา” ไม่เพียงแค่บนความหมายโดยนัยว่า “แผ่นดินมั่นคงนิรันดร์” ยังบ่งบอกถึงการพึ่งพากันของภูเขาและแม่น้ำอันมีความหมายแฝงของ “การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ในยุคสมัยใหม่


        600 ปีก่อน จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงมายังเป่ยจิงและสร้างจื่อจิ้งเฉิง  600 ปีหลัง พวกเราได้เข้าใจประวัติศาสตร์สัมผัสวัฒนธรรมจีนโดยผ่านสมบัติแห่งชาติทุกๆชิ้น


▲สารคดีโทรทัศน์《สมบัติแห่งชาติ/国家宝藏》ซีซั่น 3 มีทั้งหมด 9 ตอน โดยนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเป็นไปของสมบัติชาติจีนที่ย้อน 600 ปีก่อนไปจนถึง 3200 ปีก่อน เริ่มออนแอร์ตอนที่ 1 ในต้นเดือน ธ.ค.ศกนี้แล้ว






เอกสารอ้างอิง :

1.「国家宝藏 第三季」https://youtu.be/e0Dd2reAB2Q

2.《国家宝藏》埋了三年的彩蛋终于揭晓!https://m.sohu.com/a/436954899_99992249/?pvid=000115_3w_a

3. “御瓷新见”https://www.dpm.org.cn/show/253755.html