วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 3)

景迈山大叶种茶抗衰老机理的研究 (节选)
การค้นหามูลเหตุของปรากฏการณ์และชีววิทยาของอายุยืนที่เป็นเฉพาะตน
独有的长寿现象与生物学探讨
ตอน  : ชาเขาจิ่งม้ายบังเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่ออายุยืนของคนหรือไม่ ?



        ชาเขาจิ่งม้ายบังเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่ออายุยืนของคนหรือไม่ ?

        ในการพิสูจน์หาความจริงของปรากฏการณ์อายุยืนของคนแก่เขาจิ่งม้าย พวกเราได้สรุปรวบยอดออกมาประมาณ 17 ปัจจัยด้วยกัน ทั้งหมดนี้ที่จัดไว้อยู่ใน 3 ลำดับแรกคือ “สภาพแวดล้อมธรรมชาติ ทำงานที่พอเหมาะ นิสัยการดื่มชา

        สำหรับผลที่บังเกิดต่อร่างกายจากการดื่มชา โดยเฉพาะระดับการเกี่ยวพันที่ก่อให้เกิดอายุยืน โดยการที่พวกเราใช้ “ผลการช่วยเหลือ” เป็นตัวกำหนด นี่เป็นเพราะว่า :

        1. การดื่มชาของคนพื้นที่ โดยเฉพาะในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนแก่ของท้องถิ่นที่เป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ ปริมาณการดื่มชาของคนพื้นที่จะสูงกว่าปริมาณการดื่มชาของคนเมืองแต่ละคน 3-5 เท่า มีประเด็นหนึ่งที่ต้องบ่งบอกให้ชัดเจนคือ ปริมาณการดื่มชานี้ไม่ใช่อิงตามปริมาณน้ำ(หรือนับเป็นถ้วย) แต่เป็นการคำนวณตามความเข้มข้นของน้ำชา(ของเหลวชา) หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ชาที่พวกเขาชงออกมาจะเข้มมาก และก็ขมมาก ซึ่งยากสำหรับพวกเราที่จะ “ออกรส” แต่วิเคราะห์จากอีกบทบาทหนึ่ง จะพบเห็นได้ว่าอัตราส่วนของสารที่ละลายอยู่ในน้ำชาที่พวกเขาบริโภคเข้าไปในแต่ละวันจะสูงมาก สารที่ละลายอยู่ในน้ำเหล่านี้โดยส่วนใหญ่ถือเป็นสารประกอบปฐมภูมิของใบชา เช่น ทีโพลิฟีนอลส์ คลอโรฟิลล์(ส่วนใหญ่เป็นคลอโรฟิลล์ B) คาแฟอีน ทีโอฟิลลีน ทีโพลิแซคคาไรด์ สารสีชา เป็นต้น พวกเราเรียกรวมๆกันว่า “สารพฤกษเคมี”(เกี่ยวกับ “สารพฤกษเคมี” ของใบชา ผู้เขียนได้โยงใยในบทความก่อนหน้านี้แล้ว ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวซ้ำอีก) สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เช่นคนวัยหนุ่มสาว ถ้าหากคงนิสัยการดื่มแบบนี้เป็นประจำโดยตลอดแล้ว ร่างกายจะก่อเกิดเป็นกำแพงคู่ขนาน “กันโรค” อย่างแน่นหนาแข็งแรง สำหรับด้านการแก่ตัวทางสรีรวิทยาของคนที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคชราบางโรค ก็จะบรรลุผลทาง “การยับยั้งพอเหมาะ” ได้

        2. “สารประกอบทุติยภูมิ” ที่ก่อเกิดจากกระบวนการผลิตใบชา มีส่วนประกอบทาง “ยา” จากธรรมชาติ พวกมันมีมากมายหลายชนิด แต่แทบทั้งหมดอยู่ในระดับที่น้อยนิดหรือเพียงเล็กน้อยมาก เฉพาะตัวโดดๆของพวกมันเองจะก่อให้เกิดผลได้น้อยมาก ดำรงปัญหาของ “ขนาดยา” ไม่เพียงพอ แต่ทว่า เมื่อพวกมันได้ละลายรวมอยู่ในชาเข้มถ้วยเดียวกันแล้ว ก็จะก่อเกิดพลังที่ใหญ่มากต่อร่างกาย ซึ่งส่วนประกอบ “ยา” มากมายเมื่อได้มาอยู่รวมกันก็จะเกิด “ปฏิกิริยารวมพลัง”(聚量反应) ก่อให้เกิดผลทาง “ฤทธิ์ยารักษามุ่งตรงเป้าทวีคูณ”(多靶向药性)(จากส่วนประกอบยาแปรสภาพไปทางสรรพคุณฤทธิ์ยา) มันเป็นวิธีหนึ่งของ “การรักษาโดยไม่ใช้ยา” ของพวกเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตสำหรับความดันโลหิตระดับเบา โรดเกาต์ โรคหัวใจ เป็นต้น

        3. ยกตัวอย่างส่วนประกอบที่พิเศษ 3 ตัว ที่ยืนยันหลักการของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้ายที่ก่อเกิด “ผลการช่วยเหลือ” ต่อ “อายุยืน” ของร่างกาย
        ตัวที่ 1 คือกรดซาลิไซลิก(Salicylic Acid) เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมัน(เป็นสารหลักของยาแอสไพริน)ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในต้นหลิว ความเป็นจริง สารชนิดนี้ไม่ใช่ของหายาก และดำรงอยู่ในพืชมากมาย ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่หยินหนานก็มีดำรงอยู่ทั่วไป มันจัดอยู่ในสารประกอบปฐมภูมิของพืช แต่ในนี้จะมีปัญหาหนึ่งคือ กรดซาลิไซลิกมีคุณสมบัติละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ ซ้ำยัง “บอบบาง” มาก เมื่อเจอความร้อนจะสลายตัวเป็นฟีนอลและคาร์บอนไดออกไซด์ ยากที่จะรักษาให้คงรูปได้ แต่ “เยว่กวงไป๋” ของเขาจิ่งม้ายใช้รูปแบบ “การหมักอ่อน” โดยการผึ่ง วิธีการหมักแบบนี้จะเกิดการออกซิไดซ์แล้วสลายสารประกอบเคมีที่อยู่รายล้อมกรดซาลิไซลิกเปลี่ยนเป็นสารที่ละลายในน้ำ เมื่อตอนที่พวกเราใช้น้ำร้อนในการชง โดยสารที่ละลายในน้ำจะเป็นตัวพากรดซาลิไซลิก “หลุดออกมา” เข้าไปในน้ำชา ดังนั้น “เยว่กวงไป๋” และชาขาวของฝูเจี้ยนจะเหมือนกัน มีจุดเด่นในการลดการอักเสบ ลดไข้(ต้องเป็นชาเข้มเท่านั้น) อันที่จริง ยังมีอีกหนึ่งสรรพคุณที่ดีกว่า ก็คือสมรรถภาพในการสลายเม็ดเลือดแดง(Hemolysis)
        ตัวที่ 2 คือ GABA(γ-AminoButyric Acid) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่โปรตีน ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ช่วยให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย ช่วยในการชะลอความเสื่อมของสมอง และยังเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือมีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตที่ดี มันมาได้อย่างไร ? คือสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิยารุนแรงเกินไปของพืชภายใต้สภาวะพร่องออกซิเจนของใบชา ชาสุกผูเอ๋อร์ที่ผลิตในเขาจิ่งม้าย ซึ่งวิธีการหมักกองกับหลักการของการหมักพร่องออกซิเจนจะเหมือนกัน สามารถก่อให้เกิด GABA ชาดิบผูเอ๋อร์ที่ผลิตในเขาจิ่งม้าย หลังการอัดขึ้นรูปเป็นชาแผ่นกลม ชาแผ่นเหลี่ยม ชาก้อนแล้ว อันเนื่องจากภายในของชาที่อัดขึ้นรูปดำรงช่องว่างพร่องออกซิเจน หลังจากการเก็บไว้ 1 ปี ก็จะปรากฏ GABA ระยะเวลาการเก็บยิ่งนานปริมาณก็ยิ่งมาก
        ตัวที่ 3 คือเรสเวอราทรอล(Resveratrol) เป็นสารประกอบกลุ่มโพลิฟีนอลส์ ยุคปี 80 ศตวรรษที่แล้ว องค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบและค้นพบว่า ถึงแม้คนฝรั่งเศสจะชื่นชอบอาหารที่มีไขมันสูงเช่นเนย แต่อัตราการป่วยโรคหัวใจและอัตราการตายต่ำกว่าประเทศตะวันตกอื่นๆ ซึ่งเหตุผลอาจเกี่ยวข้องกับการที่คนฝรั่งเศสดื่มเหล้าองุ่นเป็นประจำ และในเหล้าองุ่นมีส่วนประกอบที่พิเศษชนิดหนึ่ง-----เรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นสารต้านพิษ(Antitoxin)ชนิดหนึ่งที่เกิดจากเถาองุ่นเพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อรา หลังเกิดขึ้นมาแล้วจะไปเก็บค้างไว้ที่เปลือกองุ่น มีเพียงไวน์แดงจากการหมักพร้อมเปลือกตามวิธีรูปแบบดั้งเดิม เรสเวอราทรอลในเปลือกองุ่นจึงจะถูกเอทานอลที่ค่อยๆเกิดขึ้นจากการผลิตในกระบวนการหมักเหล้าทำการละลายออกมา สารส่วนประกอบชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในเหล้าองุ่นเมื่อปี 1992 จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศได้ยืนยันว่า เรสเวอราทรอลเป็นสารส่วนประกอบที่มีคุณประโยชน์มากที่สุดในเหล้าองุ่น ซึ่งก็คือสารส่วนประกอบที่สำคัญในไวน์แดงที่ต้านทานโรคหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจ ความเป็นจริง ในกระบวนการเจริญเติบโตของใบชาก็ผลิตสารต้านพิษเพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อราดำรงอยู่ ก็มีเรสเวอราทรอลดำรงอยู่ นี่ก็ทำนองเดียวกันที่เหล้าองุ่นก็มีแทนนินและคาเทชิน แม้ว่าพวกมันจะเป็นพืชต่างตระกูลวงศ์ แต่มีสารที่ใกล้เคียงกันเป็นจำนวนมาก เมื่อพวกเราดื่มใบชาเขาจิ่งม้าย ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาผูเอ๋อร์ เยว่กวงไป๋ ชาแดง ล้วนเป็นไปได้ที่จะพานพบเรสเวอราทรอลในใบชาโดยบังเอิญ อันที่จริงมันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้อายุยืน แน่นอน วิธีและมาตรฐานการตรวจสอบที่เกี่ยวกับเรสเวอราทรอลในใบชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย รวมถึงวิธีการสกัดสารบริสุทธิ์ของมันยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย ยังไม่มีประสบการณ์ที่ชำนาญและวิธีการสกัดเสมือนเหล้าองุ่น(เปลือก) แต่ในอนาคตอันใกล้นี่ เคียงข้างไปกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ที่ค่อยๆเชิงลึก วิธีการสกัดเรสเวอราทรอลจากชาพันธุ์ใบใหญ่จะค่อยๆชำนาญขึ้น แล้วเรสเวอราทรอลชนิดที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าก็จะเข้าสู่การผลิตเชิงการค้าต่อไป

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (บทคัดเลือก)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2016

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 2)

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 2)

景迈山大叶种茶抗衰老机理的研究 (节选)
การค้นหามูลเหตุของปรากฏการณ์และชีววิทยาของอายุยืนที่เป็นเฉพาะตน
独有的长寿现象与生物学探讨
ตอน : หลักฐานอ้างอิงทางชีววิทยาของ “ปรากฏการณ์อายุยืน”



        หลักฐานอ้างอิงทางชีววิทยาของ “ปรากฏการณ์อายุยืน”
     
        1. ภูมิศาสตร์ที่พิเศษเฉพาะและความหลากหลายทางชีวภาพของเขาจิ่งม้าย
        เขาจิ่งม้ายตั้งอยู่ในระบบนิเวศวัฏจักรขนาดใหญ่ในหยินหนาน ก็เป็นเพราะมันอยู่ในระบบขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกัน ก่อตัวเป็นระบบลูกที่เป็นเฉพาะของตนเอง มันทั้งหล่อหลอมเข้าไปอยู่ในระบบนิเวศขนาดใหญ่ แล้วก็พยายามรักษาระบบลูกที่ขนาดเล็กในเชิงอิสระได้ระดับหนึ่ง ระบบลูกนี้อันที่จริงถือเป็นระบบนิเวศวัฏจักรเฉพาะเจาะจง มันทำให้ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและชีวภาพของท้องที่เกิดความสัมพันธ์ภายในอย่างแนบแน่นมาก มีปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจมากก็คือ เขาจิ่งม้ายนับตั้งแต่มีมนุษย์ดำเนินกิจกรรมเป็นต้นมา แทบจะไม่มีข้อมูลบันทึกว่ามีการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างขนานใหญ่ ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติเช่นแผ่นดินไหว ความแห้งแล้งเป็นต้นที่เกิดขึ้นบนแถบบริเวณรายล้อมเขาจิ่งม้าย ก็ไม่ได้ลุกลามเข้าไปใน “พื้นที่ทรัพย์สมบัติ” เขาจิ่งม้าย ยังมีอีกจุดหนึ่งที่พวกเราควรที่จะรู้ก็คือ บนโลกที่พวกเราอาศัยอยู่ จะปรากฏปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดเป็นประจำ ภายใต้ผลกระทบจากเงื่อนไขของภูมิประเทศและภูมิอากาศที่พิเศษ จะปรากฏสิ่งมีชีวิตและพรรณพฤกษาที่พิเศษเป็นจำนวนมาก
        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของเขาจิ่งม้ายก็เป็นดั่งเช่นนี้ ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จัดอยู่ในพรรณพฤกษชาติดินเปรี้ยว จะมีความอ่อนไหวต่อความเป็นกรดเป็นด่างของดิน มันเจริญเติบโตบนดินที่มีค่าความเป็นกรด 4.5-6.5 pH อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตคือ 20-25 องศา โดยทั่วไปดำรงอยู่บนความสูงระดับน้ำทะเลระหว่าง 800-1800 ม. ก็เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่โดยทั่วไปเป็นเขาสูงหมอกจัด น้ำฝนเพียงพอ ปริมาณน้ำฝนต่อปี 1300-1800 มม. เห็นได้ชัดว่า ภูมิศาสตร์ที่พิเศษเฉพาะของเขาจิ่งม้ายเป็นที่พึ่งพอใจกับความต้องการนี้ แน่นอน นี่มิใช่มีเพียงหนึ่งเดียว สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือภูมิศาสตร์ที่พิเศษเฉพาะทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นชาโบราณของเขาจิ่งม้ายกับพรรณพฤกษาชนิดอื่นๆมาบรรจบดำรงอยู่ร่วมกัน ไม่เพียงปรากฏจุดเด่นของความหลากหลายทางชีวภาพให้เห็น ยิ่งเป็นแบบอย่างที่แสดงออกทางการถ่ายเรณูเกสรดอกไม้ข้ามพันธุ์กัน ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ภายใต้การผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก่อให้เกิดเป็นประชาคมต้นชา(พันธุ์ป่าหรือพันธุ์เพาะปลูก)โดยตรง ซึ่งมีลักษณะภายนอกสูงใหญ่และอ้วนท้วน และเป็นแถบบริเวณมากมายดำรงเป็นแผ่นผืนกว้างใหญ่ ซึ่งภายในแถบบริเวณได้กลายเป็นทางพันธุกรรมและความหลากหลายที่สลับซับซ้อน ไม่เพียงเฉพาะในเมืองจีน แม้ทั่วโลกก็ยังจัดเป็นสิ่งสุดยอด

        2. ความหลากหลายของจุลินทรีย์กับจุลินทรีย์ที่พิเศษเฉพาะ
        จุลินทรีย์เป็นคำเรียกรวมๆของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ไม่สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มัน “เกิดขึ้น” ก่อนสิ่งมีชีวิตใดๆ ก่อน 3500 ล้านปีก็ปรากฏอยู่บนโลกแล้ว ส่วนมนุษย์ปรากฏบนโลกมีประวัติเพียงแค่หลายร้อยล้านปี ก่อนที่คนเราจะค้นพบและทำการศึกษาจุลินทรีย์ ได้จัดแบ่งสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงออกเป็น 2 อาณาจักร-----อาณาจักรสัตว์และอาณาจักรพืช เคียงข้างไปกับที่คนเราค่อยๆเรียนรู้และเข้าใจจุลินทรีย์อย่างลึกซึ้ง ก็ค้นพบว่าสิ่งมี่ชีวิตที่ 3 ประกอบเป็นรูปเป็นร่างขึ้นบนโลกนี้-----อาร์เคีย(Archaea) จึงเกิดทฤษฎีของสิ่งมีชีวิต 3 โดเมน(Domain)
        อันที่จริง ความหลากหลายของจุลินทรีย์จัดอยู่ในบริบทสกุลเดียวกันกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เหตุที่พวกเราทำการแยกออกมาต่างหากอีก จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นความสำคัญของมันเป็พิเศษ บนเขาจิ่งม้าย จำนวนของประชาคมจุลินทรีย์ใหญ่มาก ถือเป็นแหล่งทรัพยากรทางความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชนิดพันธุ์จุลินทรีย์ของมันเป็นรองแค่แมลง เป็นกลุ่มใหญ่อันดับ 2 ในระบบนิเวศธรรมชาติขนาดใหญ่ของหยินหนาน ขณะเดียวกัน ความหลากหลายของจุลินทรีย์บนเขาจิ่งม้าย นอกจากความหลากหลายทางชนิดพันธุ์แล้ว ยังรวมความหลากหลายทางประชาคมเชิงสรีรวิทยา ความหลากหหลายทางรูปแบบตามนิเวศและความหลากหลายทางพันธุกรรม ในประวัติของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าพวกมันปรากฏตัวก่อน แต่ว่าจุลินทรีย์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่อาจไม่ใช่ชนิดพันธุ์แต่เริ่มแรก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ของวิวัฒนาการมาหลายพันล้านปี ยังมีอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ในวิวัฒนาการของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ พวกเราได้ค้นพบจุลินทรีย์ที่พิเศษเฉพาะชนิดหนึ่ง : เชื้อยีสต์ป่าเขาจิ่งม้าย พวกเรานำ “ฮีทช็อคโปรตีน” ที่มีอยู่ในชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้ายปลูกฝังเข้าไปในเชื้อยีสต์ป่าเขาจิ่งม้าย ทำให้อายุของเชื้อยีสต์ป่าเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า การทดสอบเหล่านี้ล้วนเป็นหลักฐานอ้างอิงทางชีววิทยาจากการตามล่าค้นหา 4 “ปรากฏการณือายุยืน” ของเขาจิ่งม้าย เนื่องจากความหลากหลายและลักษณะพิเศษของจุลินทรีย์ เป็น “เทพารักษ์” ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ และก็เป็นเหตุผลหนึ่งของ “ปรากฏการณ์อายุยืน” ของต้นชาโบราณที่พวกเราตามล่าค้นหา

        3. ผลกระทบของแร่เหล็กที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นดิน(สายแร่)เขาจิ่งม้ายที่มีต่อ 4 “ปรากฏการณ์อายุยืน”
        ชาของเขาจิ่งม้ายจะ “หวาน” อย่างชนิดพิเศษ ผู้คนจำนวนมากเรียกขานมันว่า “หวานน้ำผึ้ง” อันที่จริง “หวาน” ชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับแร่เหล็กที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นดิน(สายแร่)เขาจิ่งม้าย ซึ่งอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ไม่เพียงมีประโยชน์ต่อโรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก ยังทำให้ใบชามีลักษณะทาง “ค่อนหวาน” คือการที่อิออนเหล็กและสารประกอบเคมีอื่นๆผ่านการออกซิไดซ์ ประกอบเชิงซ้อนก่อเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนชนิดใหม่ที่มีเหล็กเพียงเล็กน้อย มีผลทางสรรพคุณในการบำรงร่างกาย สิ่งสำคัญคือมันมาจากธรรมชาติ ดังนั้น ชาของเขาจิ่งม้ายจะมีลักษณะที่เฉพาะอย่างหนึ่ง ก็คือชาผูเอ๋อร์ ชาเขียว ชาแดง ชาขาว(เยว่กวงไป๋)ที่ใช้ใบชาพื้นที่นี้มาผลิต ซึ่งสีภายนอกของชาแห้งเมื่อเปรียบเทียบกับชาพื้นที่ผลิตอื่นแล้วทั่วไปจะมีลักษณะค่อนไปทางดำหรือดำเทา แน่นอน แร่เหล็กใต้พื้นดิน(สายแร่)เขาจิ่งม้าย ไม่เพียงแค่ประกอบด้วยแร่เหล็หชนิดนี้เท่านั้น ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ เช่นแร่แมงกานีส(Mn) Mn เป็นสารกระตุ้นการออกฤทธิ์ของเอนไซม์หลายชนิดของพืช อย่างเช่นไพรูเวตคาร์บอกซิเลส(Pyruvate Carboxylase) อีนอเลส(Enolase) ซิตริกไฮดดรเจเนส(Citric Dehydrogenase) เป็นต้น ถ้าหากต้นชาขาด Mn จะปรากฏเป็นโรคเน่าคอดิน คือใบจะเหลือง เส้นใบจะออกเขียว ปลายยอดห้อยย้อยลงมา เจริญต่อก็จะเหี่ยวเฉาตายไป ใบชาของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จะมี Mn ในปริมาณที่เป็นองค์ประกอบ จะสูงกว่าใบชาทั่วไป สูงถึง 400-600 mg/100g สูงกว่าชาชนิดอื่นๆ และสูงกว่าผลไม้ พืชผักประมาณ 50 เท่า ยังมีแร่สังกาสี(Zn) มันเป็นธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นต่อต้นชา Zn เป็นสารองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด อย่างเช่นแอลกอฮอร์ไฮโดนเจเนส(Alcohol Dehydrogenase) กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรเจเนส(Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) และกลุ่มโพรสทีติก(Prosthetic Group)ของฟอสฟแทส(Phosphatase)และไพรูเวตคาร์บอกซิเลส ขณะเดียวกันฟอสโฟไดเอสเทอเรส(Phosphodiesterase) คาร์บอนิกแอนไฮเดรส(Carboxnic Anhydrase) โพลิเพปไทเดส(Polypeptidase) เป็นต้นที่ล้วนถือเป็นเอนไซม์ธาตุสังกาสี เอนไซม์เหล่านี้มีบางชนิดที่มีผลเร่งการหายใจ มีบางชนิดกระตุ้นการสังเคราะห์แสง มีบางชนิดเร่งการก่อตัวของสารคลอโรฟิลล์ ถ้าหากพืชขาดธาตุสังกาสี จะทำให้การสังเคราะห์สารทริปโตเฟน(Tryptophane)ถูกยับยั้ง ต้นชาจะเจริญเติบโตช้า ลำต้นจะเล็กเตี้ย ใบจะมีขนาดเล็กและปรากฏเป็นดวงๆบนใบเรียกว่าโรคโมเสค(花叶病) รากจะออกดำแล้วจะเหี่ยวเฉาตายได้ ในไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่พวกเราค้นพบว่าปริมาณองค์ประกอบของ Zn สูงถึง 3-6 mg/100g ซึ่งใบชาชนิดอื่นๆไม่สามารถเทียบเทียมได้ เมื่อเป็นประการฉะนี้ ปริมาณองค์ประกอบของแร่ธาตุเป็นลักษณะโดดเด่นอย่างหนึ่งของใบชาเขาจิ่งม้าย ขณะเดียวกันก็เป็นสาเหตุหนึ่งของ 4 ปรากฏการณ์อายุยืนของเขาจิ่งม้าย

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (บทคัดเลือก)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2016


วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 1)

景迈山大叶种茶抗衰老机理的研究 (节选)
การค้นหามูลเหตุของปรากฏการณ์และชีววิทยาของอายุยืนที่เป็นเฉพาะตน
独有的长寿现象与生物学探讨
ตอน : ปรากฏการณ์ “4 อายุยืน” ที่ยังดำรงอยู่ของเขาจิ่งม้าย



        การแก่ตัว คือการบ่งชี้ร่างกายของสิ่งมีชีวิต(รวมพืช สัตว์และมนุษย์)เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาวะเสื่อมสภาพ(Degeneration)อย่างต่อเนื่องตามลำดับทางด้านโครงสร้างสัณฐานวิทยา(Morphological Structure)และหน้าที่ทางสรีรวิทยา(Physiological Function) การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ โดยทั่วไปจะปรากฏทางการถดถอยของการมีฤทธิ์ของเอนไซม์ต่างๆ ดัชนีชี้วัดของไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและมาลอนไดดีไฮด์(Malondidehyde)เพิ่มสูงขึ้น ระบบหลอดเลือดหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา ความผิดปกติของระบบประสาท ความจำเสื่อม ความดันโลหิตสูงอุบัติขึ้นง่าย โรคเบาหวาน โรคหัวใจและเลือดสมองอุดตัน เป็นต้นที่เป็นโรคของคนวัยชรา จากด้านทฤษฎีแล้ว การแก่ตัวลงสามารถแบ่งออกเป็นการแก่ตัวลงทางสรีรวิทยาและการแก่ตัวลงทางพยาธิวิทยา

        การชะลอวัย คือบนพื้นฐานของการเข้าใจสาเหตุของการแก่ตัว แล้วนำเสนอวิธีการยืดอายุให้ห่างไกลวัยชรา ปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยที่ร้อนแรงที่สุดของทั่วโลกอยู่บนพื้นฐานดำเนินการแวดล้อม 2 ด้าน : 1 คือวิธีการโดยใช้ยา ; 2 คือวิธีการโดยไม่ใช้ยา

        ปี 2008 พวกเราได้ใช้ Brillant PuEr fazend Co., Ltd. บนเขาจิ่งม้ายเป็นฐานปฏิบัติการทำงานวิจัย โดยยึด “เขาจิ่งม้าย-ต้นชาโบราณ-หมู่บ้านอายุยืน-ปรากฏการณ์อายุยืน” เป็นจุดเริ่มต้นในการบุกทะลุทะลวง ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ในหัวข้อเรื่องพิเศษโดยเฉพาะ《การศึกษาวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย

        สิ่งที่อยากจะชี้แจงให้ชัดเจนก็คือ การนำเสนอและการตั้งชื่อหัวข้อของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่ว่ากรณีใดๆล้วนเชื่อมโยงกับ “หลักใหญ่” ของงานวิจัยที่ดำรงลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งเขาจิ่งม้ายก็ดำรงลักษณะพิเศษเฉพาะเช่นนี้

        บทความนี้ที่เกี่ยวพันกับงานวิจัยการชะลอวัยและข้อเสนอแนะควรที่จะถือเป็น “การชะลอวัยโดยไม่ใช้ยา” วิธีหนึ่ง

        ปรากฏการณ์ “4 อายุยืน” ที่ยังดำรงอยู่ของเขาจิ่งม้าย

        1. ปรากฏการณ์อายุยืนของเขาชาโบราณ
        ตั้งแต่โบราณกาล เขตพื้นที่ของเมืองจีนคือซื่อชวน หูหนาน ฝูเจี้ยน กว่างตง หยินหนาน เป็นต้นประกอบด้วยเทือกเขาชาโบราณมากมาย แต่ตราบเท่าถึงทุกวันนี้ นอกจากเทือกเขาชาโบราณในหยินหนานที่ยังดำรงอยู่บางส่วนแล้ว เทือกเขาชาโบราณในเขตพื้นที่อื่นๆได้อันตรธานไปหมดแล้ว มีบางส่วนถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์โดยการโค่น แต่ส่วนใหญ่ถูกทำลายจากภัยพิบัติธรรมชาติ เขาจิ่งม้ายของหยินหนานเป็นกรณียกเว้น จัดเป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่ที่สุด(หมื่นหมู่ตามการคำนวณ)ตราบถึงทุกวันนี้ และยังแสดงตนเป็นเขาชาโบราณที่มีชีวิตชีวา “อายุยืน” ของมันเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะพื้นที่ ทั้งหมดนี้ ความหลากหลายทางพรรณพฤกษชาติ ลักษณะพิเศษของภูมิอากาศและพรรณพฤกษชาติ การขยายพันธุ์ของกลุ่มเชื้อแบคที่เรียที่พิเศษเฉพาะของจุลินทรีย์ กลายเป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์และพื้นฐานคุณค่าของ “อายุยืน” เขาจิ่งม้าย แล้วพวกเราก็ได้เสนอชื่อให้พิจารณา “ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเทือกเขาหนึ่ง” ในทุกวันนี้ ต้นชาโบราณพันธุ์ใบใหญ่เป็นพฤกษชาติเชิงสัญลักษณ์ของเขาจิ่งม้าย พื้นที่อันกว้างใหญ่นี้อาศัยสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ธรรมชาติมาปกปักษ์รักษาโดยทั้งหมด มีความหมายทาง “เชิงแบบอย่าง” ในอาณาขอบเขตทั่วโลก เป็น “คลังสมบัติทางชีวภาพ” อันล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่งในโลกธรรมชาติ

        2. ปรากฏการณือายุยืนของต้นชาพันธุ์ใบใหญ่
        ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของเขาจิ่งม้ายเป็นพืชสกุล(Genus)เดียวกันกับ “ไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่” ที่มีเฉพาะในหยินหนาน ต้นชาชนิดนี้กับต้นชาพันธุ์ใบเล็กของเจียงเจ้อมีข้อแตกต่างกันมาก เฉพาะแค่ด้านอายุยืนต้น ต้นชาพันธุ์ใบเล็กอย่างมากไม่เกิน 100 ปี แต่ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ ที่สามารถถูกเรียกขานเป็นต้นชาโบราณนั้น โดยส่วนใหญ่มีอายุยืนต้นหลายร้อยปี มีบ้างที่กระทั่งถึงพันปีขึ้นไป ในท่ามกลางพืชทางเศรษฐกิจถือเป็น “สิ่งมหัศจรรย์” หนึ่งคือโดยตัวของพืชทางเศรษฐกิจเองที่ดำรงลักษณะเฉพาะของวงจรชีวิตสั้น สองคืออันเนื่องจากโรคทางพืชและแมลงศัตรูพืชจะต้องปะทุขึ้นไม่ช่วงเวลาใดก็เวลาหนึ่งในโลกธรรมชาติ การปะทุขึ้นของภัยพิบัติธรรมชาติทุกครั้ง สิ่งที่ถูกทำลายให้เสียหายมากที่สุดเกือบทั้งหมดล้วนเป็นพืชทางเศรษฐกิจ ต้นชาโบราณสามารถยืนหยัดอยู่ได้มาเป็นเวลาอันยาวนานเช่นนี้ และหลุดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติครั้งแล้วครั้งเล่าได้สำเร็จ แล้วก็สามารถ “คงกระพันโดยตนเอง” นี่จะเกี่ยวข้องกับ “ยีนอายุยืน” ที่ซ่อนอยู่ภายในร่างของต้นชาเอง

        3. ชาผูเอ๋อร์ ชาแดง ชาเขียว(เตียนลวี่) ที่ผลิตจากชาพันธุ์ใบใหญ่ก็ดำรง “ปรากฏการณ์อายุยืน”
        ชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้ายยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือชาผูเอ๋อร์ ชาแดง ชาขาว(月光白: เยว่กวงไป๋) ชาเขียว ที่ผลิตจากชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้ายล้วนดำรงปรากฏการณ์ของระยะการรับประกันคุณภาพที่ยืดยาวขึ้นโดยธรรมชาติ โดยชาแดงและชาเขียวเป็นตัวอย่าง ภายใต้สภาพการณ์ปกติจะกำหนดระยะการรับประกันคุณภาพจำกัดเพียง 2 ปี(24 เดือน) แต่ในการตรวจสอบจริงๆแล้วค้นพบว่าชาแดง ชาเขียวของเขาจิ่งม้าย ภายหลังเกินกว่าระยะการรับประกันคุณภาพ 2 ปีแล้ว คุณภาพของชาไม่ได้ปรากฏภาวะของเชื้อรา กลับกลายเป็นว่าคุณภาพของใบชาที่อายุ 3-5 ปี ดีกว่าผลิตภัณฑ์ชาที่อายุ 1-2 ปี นี่อาจจะเกี่ยวข้องกับ “ฮีทช็อคโปรตีน”(Heat Shock Proteins) ที่มีอยู่ในต้นชาและเชื้อยีสต์ป่าที่มีเฉพาะในเขาจิ่งม้าย

        4. ปรากฏการณ์อายุยืนของคนวัยชราเขาจิ่งม้าย
        ท้องที่เขาจิ่งม้ายมีคำเล่าที่สืบทอดกันมาว่า : อายุ 90 ปีไม่บีนขึ้นต้นไม้(เด็ดใบชา) อายู 100 ปี ไม่เดินทางออกจากหมู่บ้าน อายุ 110 ปีไม่ลงจากเรือน(“เรือน” นี้ทั่วไปสร้างด้วยไม้ยกพื้นสูง) ในเขตพื้นที่นี้ อายุหกเจ็ดสิบปีไม่ถือว่าแก่ อายุแปดเก้าสิบปียังทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคนแก่ในเมืองที่ทั่วไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กระทั่งเป็นเนื้องอก เป็นต้น  ในที่นี้จะพบเห็นได้น้อยมาก น่าจะกล่าวได้ว่า โรงพยาบาลที่นี้จนที่สุด แต่คนแก่ที่อายุสูงจำนวนมากกลับไม่เคยเข้าโรงพยาบาลสักครั้งเดียวในชีวิต ที่นี้สมควรได้รับกิตติศัพท์เป็นหมู่บ้านอายุยืนของโลกแต่แรกแล้ว แต่เป็นสิ่งที่น่าเสียใจคือ ยุคสมัยที่เป็นช่วงเวลาเกิดของคนแก่เกือบทั้งหมดของท้องที่อยู่ใน “ยุคแห่งเกษตรกรรม” แล้วก็ใช้วิธีการนับปีตามปฏิทินชนเผ่าไต(傣族) ขาดซึ่งหลักฐานที่มีผลให้ทางราชการรับรอง ดังนั้นจึงไม่ได้จัดเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านอายุยืนของการสำรวจแต่ไหนแต่ไดมา แต่ในชีวิตความเป็นจริงปัจจุบัน คนแก่อายุยืนของท้องที่มิใช่ดำรงอยู่อย่างโดดเดียว แต่เป็นชุมชนกลุ่มหนึ่ง

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (บทคัดเลือก)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2016

งานวิจัยกลไกการชะลอวัยของชาพันธุ์ใบใหญ่เขาจิ่งม้าย (ตอนที่ 2)

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลิ่นโสมของชาผูเอ๋อร์มีที่มาอย่างไร ?

普洱茶的参香怎么来的?



        ชาผูเอ๋อร์มีอยู่ประเภทหนึ่งที่จำแนกออกมาเป็นพิเศษ ก็คือชาแก่ ชาแก่กับชาเก่าไม่เหมือนกัน มันไม่เพียงแค่เป็นตัวแทนที่อายุปีเก่าแก่ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นตัวแทนทางคุณภาพ เนื่องจากชาผูเอ๋อร์มีคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งเก่ายิ่งหอม” ดังนั้นชาแก่ก็กลายเป็น “การใช้คำ” ของชาผูเอ๋อร์ที่มีคุณภาพสูงสุด “ชาเกรดห้าง” และ “ชาเกรดพิมพ์” ที่ตกทอดจากชาวบ้านล้วนจัดอยู่ในบริบทของชาแก่

        ทั้งหลายทั้งปวงที่สามารถเรียกเป็น “ชาแก่” ได้ จะต้องเพียบพร้อมด้วย 4 ลักษณะพิเศษ :

        อันดับ 1. สีน้ำชาออกแดงทับทิม มีความโปร่งแสงเงา
        อันดับ 2. รสชาติหนาหนักและนุ่มลื่น
        อันดับ 3. กากชาออกสีดำน้ำตาล เงามัน มีความยืดหยุ่น(คลี่ใบเดี่ยวออก ปรากฏลักษณะปีกจั๊กจั่น เนื้อเยื่อแพลิเซดของเนื้อใบสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เนื้อเยื่อสปันจีออกใสมัว)
        อันดับ 4. กลิ่นหอมพิเศษ : กลิ่นโสมหรือกลิ่นยาจีน แต่โดยกลิ่นโสมถือเป็นคุณภาพชั้นหนึ่ง

        นอกจากชาเกรดห้างและชาเกรดพิมพ์แล้ว “88 แผ่นเขียว” และ “ม่วงต้าอี้” ที่ผลิตเมื่อต้นยุคปี 90 ถึงแม้ว่าอายุปียังไม่เก่าแก่ แต่เนื่องจากเพียบพร้อมด้วย “4 ลักษณะพิเศษ” ดังกล่าวข้างต้น ก็ถูกพิจารณาให้เป็นสิ่งล้ำค่าของชาผูเอ๋อร์ ซึ่งราคาก็เคียงข้างกับชาแก่

        “กลิ่นโสม” ในชาผูเอ๋อร์จัดอยู่ในบริบทกลิ่นหอมของใบชา กลิ่นหอมลักษณะนี้ มีผลในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและทำให้กระปรี้กระเปร่า เมื่อผู้คนทำการดื่มชา คุ้นเคยที่จะนำ “รูป สี กลิ่น รส” มาเป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ ก็เรียกเป็น 4 ปัจจัยหลักของคุณภาพ ทั้งหมดนี้กลิ่นหอมจะมีน้ำหนักมากที่สุด ดั่งคำกล่าวที่ว่า “รสชาติและกลิ่นหอมคือชีวิตของใบชา

        ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาในวงการชาผูเอ๋อร์มีปรากฏการณ์หนึ่งที่แปลกประหลาดดำรงอยู่   ชาแก่บางส่วนที่เก็บไว้ในพื้นที่หยินหนานเองแม้ว่าอายุปีก็เก่าแก่พอสมควร จากการประเมินคุณภาพทางอวัยวะประสาทสัมผัสเพียบพร้อมด้วย 3 ลักษณะพิเศษข้างต้น แต่ก็เป็นเพราะการขาดซึ่ง “กลิ่นโสม” จึงถูกถอดออกจากทำเนียบ “ชาแก่” จะเห็นได้ว่า “กลิ่นโสม” เป็นลักษณะที่สำคัญมากต่อการประเมินค่าของชาผูเอ๋อร์

        สำหรับกลิ่นหอมของชาผูเอ๋อร์แล้ว ชนิดของกลิ่นหอมและความแรงอ่อนซึ่งถูกกำหนดโดยสารตั้งต้นของกลิ่นหอม และสารตั้งต้นนี้ที่ประกอบขึ้นจากสสารมากมาย แล้วประกอบกับระบบเอนไซม์พิเศษที่ผลิตกลิ่นหอมขึ้นมา รวมเป็นพื้นฐานองค์ประกอบของสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นหอมของชาผูเอ๋อร์ ผู้เชี่ยวชาญทางเคมีใบชาจำนวนมากได้ทำการทดลองและตรวจสอบโดยทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมายต่อพื้นฐานของสารผลิตกลิ่นหอมของชาผูเอ๋อร์และรูปแบบของกลิ่นหอมที่ไม่เหมือนกันกับความแรงอ่อน พร้อมได้นำเสนอบทความทางวิชาการเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีฉบับใดที่เกี่ยวข้องกับ “กลิ่นโสม” ในที่นี้ดำรงปัญหาหนึ่งคือ วงการวิชาการแทบจะปฏิเสธการดำรงอยู่ของ “กลิ่นโสม” ชาผูเอ๋อร์ ? หรือว่า “กลิ่นโสม” ได้ถูกมองข้ามไปในการศึกษาวิจัย ?

        ปัญหาของพวกเราก็คือ : “กลิ่นโสม” ดำรงอยู่หรือไม่ ? แหล่งกำเนิดของมันคืออะไรกันแน่ ?

        เมื่อเดือน พ.ย. ปี 2011 ข้าพเจ้าได้เป็นหนึ่งในผู้บรรยาย 3 ท่านใน “การประชุมชาผูเอ๋อร์ฟอรั่มเซินเจิ้น” อาศัยเวลาที่เหลือจากการอภิปราย ได้เชิญชวนผู้ที่มาเข้าร่วมประชุม หวังว่าทุกท่านสามารถจัดหาตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของ “ชาเกรดห้าง” และ “ชาเกรดพิมพ์” ทุกชนิดมาให้ศึกษา เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของสารซาโปนิน(Saponin)ชนิดต่างๆใน “ชาแก่” เพื่อที่จะใช้อีกวิธีการหนึ่ง : โดยผ่านทางซาโปนิน ค้นหาแหล่งกำเนิดและกลไกแปรสภาพของ “กลิ่นโสม” ในกระบวนการหมักภายหลังของชาผูเอ๋อร์ หลังการประชุม ผู้คนมากมายได้ให้ความอนุเคราะห์โดยความเต็มใจ(เพราะว่าราคาชาแก่สูงมาก)

        ช่วงระยะของการตรวจสอบใช้เวลา 3 เดือน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ผิดหวังมาก โครงสร้างโมเลกุลซาโปนินของ “ชาแก่” และโครงสร้างโมเลกุลซาโปนินของโสมแตกต่างกันมาก และน้ำหนักโมเลกุลก็ไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ของอีกการทดลองหนึ่งก็ยืนยันว่า โครงสร้างโมเลกุลซาโปนินของใบชามีความเสถียรสัมพัทธ์ โครงสร้างโมเลกุลซาโปนินกับปริมาณองค์ประกอบของชาใหม่และชาเก่าไม่แตกต่างกันมาก เป็นเครื่องยืนยันว่า มีความเป็นไปได้ว่า “กลิ่นโสม” ที่เกิดจากกระบวนการหมักภายหลังของชาผูเอ๋อร์ไม่ดำรงอยู่ แต่ในการทอสอบก็ค้นพบว่า ใน “ชาแก่” มีสารกลิ่นหอมโสมดำรงอยู่จริง อันที่จริงเกิดจากน้ำมันหอมระเหย(Essential Oil)ของโสมที่ตกค้างอยู่

        มีการทดลองหนึ่งที่มาแก้ปัญหาเดดล็อคนี้ นั่นก็คือการที่พวกเราได้นำแผ่น “88 เขียว” ที่มี “กลิ่นโสม” ประกอบอยู่กับชาผูเอ๋อร์ที่มีอายุปีเท่ากัน แหล่งผลิตที่เดียวกัน วิธีการผสมเหมือนกัน เก็บไว้ที่หยินหนานมาโดยตลอด ไม่ได้ “สัญจร” ผ่านฮ่องกงมาดำเนินการเปรียบเทียบ ; “88 เขียว” มี “กลิ่นโสม” แต่ที่เก็บไว้ในหยินหนานกลับไม่มี “กลิ่นโสม” เหตุฉะนี้ สมมุติฐานอันแรงกล้าก็ได้ปรากฏซึ่งหน้าขึ้นมา : “กลิ่นโสม” เป็นไปได้อย่างสูงคือสารกลิ่นหอมมาจากภายนอก

        พวกเราดำเนินการต่อไปพร้อมกับสมมุติฐานนี้ ได้ค้นพบข้อมูลอ้างอิง 2 ด้าน :

        1. ยุคปี 70 และ 80 ศตวรรษที่แล้ว หยินหนานแม้ว่ามีการผลิตชาผูเอ๋อร์ แต่เกือบทั้งหมดเพื่อเป็นการส่งออก ฮ่องกงเป็นศูนย์กระจายสินค้าของชาผูเอ๋อร์ ช่วงเวลานั้นมีสภาพการณ์ ๒ แบบ : ๑. คือพ่อค้าชาวฮ่องกงที่ทำการค้าชาผูเอ๋อร์ในขณะเดียวกันก็ทำการค้ายาจีนควบคู่ไปด้วย และในบรรดายาจีนเหล่านี้ โสมก็เป็นสัดส่วนที่ใหญ่มาก เนื่องจากฮ่องกงในช่วงเวลานั้นก็เป็นศูนย์กลางการค้าโสม ประจวบกับผู้คนจำนวนมากโดยค้ายาจีนเป็นตัวหลัก ใบชาเป็นตัวเสริม พวกเขานำยาจีนและใบชาที่สั่งซื้อมาวางเก็บไว้ในโกดังเดียว เนื่องจากใบชามีช่องว่างของเนื้อเยื่อใบที่ใหญ่ มีคุณลักษณะพิเศษทางความสามารถในการดูดซึมแรง จึงดูดซึมสารชนิดน้ำมันหอมระเหยของโสมเข้าไปในช่องว่างเนื้อเยื่อของใบชา ก่อให้เกิด “กลิ่นโสม” ที่เป็นลักษณะพิเศษ ; ๒. คือพ่อค้าที่ทำการค้าเฉพาะใบชา ณ เวลานั้นถือเป็นผู้ประกอบการรายย่อยในฮ่องกง เกือบทั้งหมดจะไม่มีโกดังเพื่อมาเก็บใบชา โดยทั่วไปล้วนเป็นการเช่ายืมโกดังยาจีน โดยคิดค่าเช่าตามพื้นที่ยืม “ชาแก่” ที่หมุนเวียนอยู่ในท้องตลาดเมืองจีนปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมาจากฮ่องกงกับใต้หวัน ชาผูเอ๋อร์ที่ “ไหลย้อนกลับ” เหล่านี้ โดยทั่วไปแล้ว “กลิ่นโสม” หรือกลิ่นยาจีนที่ดำรงอยู่ล้วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับโกดังเก็บแบบนี้

        2. การนำโสมกับใบชาจับรวมกันในการจัดเก็บไม่ใช่วิธีการปฏิบัติของยุคปัจจุบัน ความคุ้นเคยแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล วารสาร《แพทย์แผนจีนซื่อชวน》(四川中医) ฉบับเดือน ธ.ค. ปี 2011 ได้เคยเผยแพร่บทความทางวิชาการบทหนึ่ง《การสำรวจเบื้องต้นในการจัดเก็บโสมสมัยโบราณ》(古代人参贮存初探) ได้นำเสนอว่า คนโบราณถือโสมเป็นสิ่งล้ำค่า แต่การจัดเก็บจะยุ่งยากมาก เพื่อให้โสมที่จัดเก็บไม่ถูกทำลายโดยหนอนหรือแมลง ไม่เกิดเชื้อรา จึงได้คิดค้น “วิธีการจัดเก็บโดยใบชา” ; จากหนังสือทางการแพทย์โบราณ《Medicine Cage of Material Medica》(药笼本草) ได้บันทึกไว้ว่า : “เก็บใบชาไว้ในโอ่งดิน วางสลับกันระหว่างใบชากับโสม จะเก็บไว้ได้นานโดยไม่โดนมอดกิน ทดลองซ้ำโดยอย่าฝืนกฏ อย่าใช้วิธีการอื่น” ; ในหนังสือ《กรณีศึกษาโสม》(人参考) เขียนโดยถังปิ่งจวิน(唐秉钧)ยุคสมัยชิง ได้ย้ำว่า : “ทุกวันนี้ร้านค้าซูโจวได้ห่อเก็บโสมไว้ในใบชา วิธีการนี้สะดวกที่สุด” อันที่จริงก็คือ การใช้ใบชาเป็นเครื่องมือพิเศษในการปกป้องคุ้มครองโสมเพื่อกันไม่ให้มอดกิน กันเชื้อรา

        วิธีการเก็บสำรองโสมโดยใช้ใบชาปกป้องได้เกิดการ “แลกเปลี่ยนบทบาท” ขึ้นในยุคปี 90 ศตวรรษที่แล้ว จากวิธีการปกป้องโสมแบบดั้งเดิมเปลี่ยนมาเป็นวิธีการ “เพิ่มกลิ่น”(添香) ชาผูเอ๋อร์โดยใช้โสมเป็นการเฉพาะเจาะจง จุดประสงค์เพื่อเป็นการพิมพ์ “เครื่องหมายกลิ่นหอม” ที่พิเศษเฉพาะบน “ชาแก่” ของชาผูเอ๋อร์ พวกเราไม่ใช้คำว่า “ยกกลิ่น”(提香) ในวิธีการแบบนี้ แต่จะใช้คำว่า “เพิ่มกลิ่น” เป็นการตระหนักรู้และบ่งชี้ว่า “กลิ่นโสม” นี้ไม่ใช่สารผลิตภัณฑ์จากการหมัก แต่เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา

        ถ้าเช่นนั้น “กลิ่นโสม” ที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ ? พวกเราจะประเมินผลอย่างไรต่อวิธีการแบบนี้ ?

        อับดับ 1. วิธีการแบบนี้มีผลในการเพิ่มคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ให้สูงขึ้น โสมถูกยกย่องให้เป็น “ราชันแห่งพฤกษชาติ” มีสารจำนวนมากที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับชาผูเอ๋อร์ แม้ว่าวิธีการแบบนี้เป็นเพียงการดูดซึมน้ำมันหอมระเหยของโสมเพียงจำนวนเล็กน้อยเข้าไป แต่จำนวนเพียงเล็กน้อยเหล่านี้อันเนื่องจากมีคุณประโยชน์ในการลดการอักเสบ แก้ไอ ต้านความอ่อนล้า เป็นต้น จึงมีผลต่อชาผูเอ๋อร์ทางสรรพคุณเสริมเพิ่มเติม ทั้งหมดนี้สารอัลไคนอล(Alkynol)ของน้ำมันหอมระเหยของโสมมีผลในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

        อันดับ 2. วิธีการแบบนี้แตกต่างจาก “ผสมผสาน”(配伍) ของยาจีน วัตถุ 2 ชนิดวางไว้ในที่เดียวกันทำให้สารระเหยเกิดการแลกเปลี่ยนกัน และปริมาณการแลกเปลี่ยนจะน้อยมาก ไม่สามารถก่อให้เกิดสรรพคุณทาง “ยา” ได้มากนัก(หลักใหญ่คือสรรพคุณทางยาของโสม) เทียบกับ “ผสมผสาน” ของยาจีนที่สำแดงฤทธิ์เดชพร้อมกันจึงมีความแตกต่างโดยแก่นสาร

        ปัญหาสุดท้าย นำโสมไปเก็บสำรองไว้ในชาผูเอ๋อร์อย่างไร ?      

        วิธีการง่ายมาก : นำโสมสดทั้งต้นหรือหั่นเป็นแผ่นๆวางไว้ในชาผูเอ๋อร์ แล้วทำการปิดผนึกให้มิดชิดเป็นเวลา 20-30 วันเป็นอันจบสิ้นขบวนความ แต่จำเป็นที่ต้องเตือนว่า ห้ามใช้หัวเชื้อน้ำหอมกลิ่นโสม มันไม่เพียงไม่เกิดผลในการยกระดับคุณภาพของชาผูเอ๋อร์ กลับก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นเพราะว่าหัวเชื้อน้ำหอมกลิ่นโสมได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ไม่ใช่สารจากธรรมชาติ ยากที่จะผสมกลมกลืนกับสารกลิ่นหอมเดิมของชาผูเอ๋อร์ แม้กระทั่งอาจเกิดกลิ่นแปลกปลอม เมื่อชิมดื่มแล้วจะทำให้ร่างการเกิดการระคายเคือง

        เพราะฉะนั้น พวกเราเห็นด้วยกับวิธีการจัดเก็บสำรองร่วมกันของโสมกับชาผูเอ๋อร์ แต่คัดค้านวิธีปฏิบัติการเติมหัวเชื้อน้ำหอมกลิ่นโสมเพื่อให้ชาผูเอ๋อร์มี “กลิ่นโสม

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลิ่นโสมของชาผูเอ๋อร์มีที่มาอย่างไร ?》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน พฤศจิกายน ปี 2016

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 4)

普洱茶预防与降低血压的机理
ผลในการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
普洱茶降低血压的作用



        4. ผลทางอ้อมในการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
        四, 普洱茶降低血压的间接作用

        ตอนที่พวกเราดื่มชาผูเอ๋อร์ การรับรู้ทางสรีระที่ได้รับทางตรงมากที่สุดคือละลายไขมัน ย่อยอาหารเร็ว การตอบสนองที่เกี่ยวพันกันของมันคือการสะท้อนในการขับปัสสาวะ การขับถ่าย อันที่จริงเป็นผลต่อระบบแมเทบอลิซึมในร่างกาย สำหรับทางด้านการลดความดันโลหิตในร่างกายแล้ว สรรพคุณด้านแรกของชาผูเอ๋อร์คือผลทางอ้อม โดยรูปธรรมมีอยู่ 3 ด้าน :

        1. ชาผูเอ๋อร์เป็น 1 ใน 3 เครื่องดื่มผู้ยิ่งใหญ่(กาแฟ โกโก้ ชา)ที่มีสารพฤกษเคมี(Phytonutrients)ที่ละลายในน้ำมากชนิดที่สุด เป็นเครื่องดื่มที่มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยพื้นฐานของพวกมันโดยมีสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ใบชาเป็นหลัก ซึ่งสารเหล่านี้โดยตัวร่างกายของพวกเราเองไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ จำต้องอาศัยรับเพิ่มเติมจากภายนอกร่างกาย สารเหล่านี้มีผลอย่างมากในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย โดยเฉพาะมีผลต่อระบบไตของร่างกายอย่างเด่นชัด ดังนั้น สำหรับบุคคลทั่วไป(ผู้ที่ไม่ป่วยความดันโลหิตสูง) รักษาการดื่มชาผูเอ๋อร์ประจำเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันโอกาสที่จะเป็นความดันโลหิตสูง

        2. สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงและกำลังทานยาอยู่ ก็เป็นเพราะชาผูเอ๋อร์เพียบพร้อมด้วยลักษณะพิเศษทางละลายไขมัน ช่วยย่อยอาหารเร็วขึ้น การดื่มชาผูเอ๋อร์เป็นประจำสามารถกวาดล้างอุปสรรคที่ยาจะมุ่งสู่ตำแหน่งของโรค กลายเป็น “คนกวาดถนน” และ “หน่วยรบติดปลายปืน” ของยาลดความดัน เพิ่มประสิทธิภาพของยาลดความดันโลหิตให้สูงขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ผ่านเส้นทางแมเทบอลิซึม นำส่วนที่เป็นพิษของยาเร่งระบายออกสู่นอกร่างกาย ลดผลข้างเคียงจากพิษของยา ทำให้ภาวะการดื้อยาของผู้ป่วยลดต่ำลงอย่างมาก

        3. ในกระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ปรากฏสารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)ค่อนข้างมาก เป็นไปตามการศึกษาวิจัยลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างและผลทางสรีรวิทยาของสารประกอบทุติยภูมิ สารจำนวนมากที่มีปริมาณเพียงน้อยนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ฮอร์มอนกระตุ้นการเจริญเติบโต สารสี อัลคาลอยด์ เป็นต้น พวกมันแม้ว่าไม่สามารถทำให้เกิดผลทางตรงต่อการลดความดันโลหิต แต่จะมีผลทางอ้อมที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ เช่นมีผลทางป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงอุบัติขึ้นมาได้ อย่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงล้วนเกาะติดกับภาวะความเหนืดเลือดสูง “ศิลาหิน” ที่ผ่านการหมักในระดับสูง(เป็นฉาเกาชนิดหนึ่งที่ใช้ชาผูเอ๋อร์เป็นวัตถุดิบในการผลิต)ซึ่งน้ำชาออกสีแดงทับทิม(ปริมาณสารสีแดงชาหนึ่งในสารสีชาประกอบอยู่มาก) ผลของการทดลองโดยผ่าน “ศิลาหิน”  บ่งชี้ว่าความเหนืดจำเพราะของน้ำเลือด ปริมาณเม็ดเลือดแดงวัดด้วยกระแสไฟฟ้าและปริมาตรเซลล์อัดแน่นได้รับการทำให้ดีขึ้นอย่างเด่นชัดมาก

        อันที่จริง ใน 2 เหตุผลข้างต้น การเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายเป็นด้านที่ชาผูเอ๋อร์มีภาษีเหนือกว่า เหตุที่ทำให้พวกเราให้ความสำคัญตรงจุดนี้ เป็นเพราะว่าโรคจำนวนมาก(ยกเว้นโรคร้ายแรง)ของคนสามารถอาศัยระบบภูมิคุ้มกันของตนเองเสร็จสิ้นกระบวน “การฟื้นตัวเกิดเอง”(Spontaneous Recovery) สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูง การควบคุมด้วยยาและการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเองมาโดยตลอด การปฏิบัติที่เคยชินของคนเราคือผ่านการใช้ยาควบคุมความดันโลหิตแต่ภูมิคุ้มกันโรคจะลดต่ำลง สุดท้ายกลายเป็นวงจรอันเลวร้าย ผลทางอ้อมของชาผูเอ๋อร์เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย หลักใหญ่คือผลของสารประกอบทุติยภูมิบางส่วนที่ก่อเกิดจากสารพฤกษเคมีและในกระบวนการหมัก พวกมันไม่เฉพาะทำให้บรรลุสรรพคุณทางการป้องกัน ยังนำพิษของยาทำการสันดาปออกไป ลดอันตรายของพิษของยาที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค

        5. ผลทางตรงในการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
        五, 普洱茶降低血压的直接作用

        ถ้าหากชาผูเอ๋อร์ในด้านการลดความดันโลหิตมีเพียงแค่ผลทางอ้อม แถลงการณ์ของการลดความดันโลหิตก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากกลไกของผลทางอ้อมสลับซับซ้อนมากเกินไป ดั่งสภาพรูปแบบใบพัดมากจุดสมมุติ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานทางตรงได้ รูปธรรมของผลทางอ้อมคือคุณลักษณะทางบทบาทเสริม ซึ่งบทบาทหลักคือสสารบางส่วนที่อยู่ในชาผูเอ๋อร์ที่มีผลทางตรงต่อการลดความดันโลหิต

        กุญแจทั้งหมดนี้มีสารอยู่ 2 ประเภทใหญ่ :

        1. ประเภทอัลคาลอยด์ อัลคาลอยด์อันมีคาเฟอีนเป็นสารตัวหลักสามารถก่อให้เกิดผลทางตรงต่อการลดความดันโลหิต รายงานผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้มีเป็นจำนวนมาก ขอบเขตที่เชื่อมโยงกว้างมาก สำหรับด้านการลดความดันโลหิตเป็นการเฉพาะแล้ว ในที่นี้จะขอยกเพียง 1 ตัวอย่าง : วิถีการบริโภคของเขตพื้นที่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจีนทั่วไปจะค่อนข้างหนักไปทางเค็ม(ปริมาณการบริโภคเกลือสูงมาก สารประกอบเคมีหลักของเกลือคือโซเดียมคลอไรด์) การบรโภคเกลือในปริมาณที่สูง(โซเดียมสูง)มาโดยตลอดจะนำไปสู่ภาวะการคั่งของน้ำและโซเดียม(Retentionof Water and Sodium) อันเป็นเหตุให้ปริมาณเลือดเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันระดับอิออนโซเดียมที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์ที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเป็นเหตุให้เซลล์เกิดภาวะบวมน้ำ(Edema) เซลล์กล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดบวม ช่องว่างตรงกลางหลอดเลือดจะตีบตัน แรงต้านหลอดเลือดจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น สภาพการณ์แบบนี้ก็จะทำให้สภาพแวดล้อมทางชีวเคมีในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามลำดับ นอกจากสมรรถภาพของไตและระบบต่อมไร้ท่อจะแปรปรวนแล้ว ความสามารถในการเปลี่ยนถ่ายโซเดียมของเยื่อหุ้มเซลล์จะลดต่ำลง ทำให้โซเดียมภายในเซลล์ถูกกักขัง สิ่งที่เกิดขึ้นในผนังหลอดเลือด ความเข้มข้นของแคลเซียมในเซลล์อาจจะเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ หันกลับไปทำให้ความตึงของหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น แรงต้านตามรอบนอกก็แรงขึ้น ดังนั้นความดันโลหิตสูงจึงเกิดขึ้นมาได้
        และกระนั้น อันเนื่องจากปริมาณเลือดที่ผ่านการกรองในไตมีเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะถูกท่อไตดูดกลับไปใหม่กลับเข้าไปในหลอดเลือด มีเพียงเล็กน้อยกลายเป็นน้ำปัสสาวะผ่านไปยังกรวยไต ท่อปัสสาวะ เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้วถูกขับออกมา ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยส่วนใหญ่ล้วนมีอาการภาวะไร้ปัสสาวะ(Anuria) ภาวะปัสสาวะน้อย(Oliguria) ด้านการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาขับปัสสาวะ(ซึ่งผลิตโดยทางเคมี) แต่การใช้ยาขับปัสสาวะเป็นระยะเวลายาวนานหรือในปริมาณมากจะสร้างความเสียหายต่อความดันโลหิตและอวัยวะอื่นๆของร่างกายได้
        ส่วนคาเฟอีนของชาผูเอ๋อร์หลังจากรวมเข้าด้วยกันกับสารประกอบเคมีของกลุ่มฟลาวานอลส์ แสดงให้เห็นถึงผลของการขับปัสสาวะอันทรงพลัง ซึ่งมีกลไกคือคลายตัวหลอดเลือดไต ทำให้ปริมาณการไหลของเลือดไตเพิ่มมากขึ้น ความเร็วในการกรองของกลุ่มเส้นโลหิตฝอยที่ไตก็เร็วขึ้น ยับยั้งการดูดกลับของท่อไต ดั่งเช่นนี้เป็นการเร่งการขับน้ำปัสสาวะออกไป มันทั้งสามารถเพิ่มสมรรถภาพของไต และก็สามารถป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ(Urinary Tract Infection) เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำแล้ว ปริมาณการขับปัสสาวะจากการดื่มชาผูเอ๋อร์จะสูงกว่าประมาณ 1.5 เท่า สิ่งสำคัญกว่าคือ กระบวนการแมเทบอลิซึมแบบนี้สามารถทำการเร่งการขับถ่ายสารผลิตผลของการสันดาปและชีวพิษจำนวนมากออกจากร่างกาย ทั้งหมดนี้ก็รวมทั้งอิออนโซเดียม อิออนคลอไรด์ เป็นต้น เมื่อปริมาณเลือดลดต่ำลงก็เป็นเหตุให้เกิดการยับยั้งความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

        พวกเราอาจจะยังมีข้อสงสัยอีกหนึ่ง เพราะเหตุใดบรรดาชาทั้งหลายที่ล้วนมีคาเฟอีน แล้วทำไมมีเพียงชาผูเอ๋อร์ที่สามารถสำแดงสรรพคุณทางขับปัสสาวะและช่วยขับถ่ายปรากฏได้อย่างเด่นชัดเล่า ? เป็นเพราะว่าคาเฟอีนของชาผูเอ๋อร์มิใช่เป็น “การรบหน่วยเดียว” แต่เป็นการสนธิกำลังกับสารอัลคาลอยด์ตัวอื่น โดยเฉพาะกับสารประกอบทุติยภูมิที่เกิดจากกระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์ที่ปราฏกอยู่ในสถานะเชิงซ้อน เป็นผลลัพธ์ของ “สงคราม” จาการสนธิกำลัง ในการดื่มชาประจำวันของพวกเราก็พบว่า การดื่มชาผูเอ๋อร์เปรียบเทียบกับชาชนิดอื่นๆแล้ว ผลการขับปัสสาวะของชาผูเอ๋อร์จะดีกว่าชาชนิดอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดเจน

        2. ประเภทสารประกอบทุติยภูมิ แมเทบอลิซึมทุติยภูมิคือการบ่งชี้ถึงกระบวนการที่ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของจุลินทรย์ช่วงเวลาหนึ่งโดยใช้สารประกอบปฐมภูมิเป็นสารตั้งต้น ทำการสังเคราะห์ได้สารบางชนิดที่มีสรรพคุณไม่ชัดเจนต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตของจุลินทรีย์ สารผลิตภัณฑ์ของกระบวนการนี้ ก็คือสารประกอบทุติยภูมิ โครงสร้างโมเลกุลที่สังเคราะห์จากแมเทบอลิซึมทุติยภูมิจะสลับซับซ้อนมาก ไม่มีหน้าที่ทางสรีรวิทยาอย่างเด่นชัดต่อสิ่งมีชีวิตนี้หรือมิใช่สารโมเลกุลเล็กที่สิ่งมีชีวิตนี้ต้องการในการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ ชีวพิษ ฮอร์มอน สารสี เป็นต้น ยกกรณี GABA(γ- AminoButyric Acid) เป็นตัวอย่าง เมื่อพวกเรานำใบชาสดจากต้นชาไปวางไว้ในภาชนะภาวะพร่องออกซิเจนที่ปิดมิดชิด(ถือเป็นกรรมวิธีการผลิตจัดการแบบไร้อากาศที่พิเศษ) พืชพรรณโดยตัวมันเองจะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเกินไป(OverReaction) ก่อเกิดสารประกอบทุติยภูมิ : GABA มันมีผลต่อศูนย์ควบคุมหลอดเลือดของไขสันหลัง มีผลเร่งในการขยายหลอดเลือด สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการลดความดันโลหิต ในการศึกษาวิจัยอึ้งคี้(黄芪 : Milkvetch Root)ยาแผนจีน ค้นพบว่าส่วนประกอบที่ได้ผลทางลดความดันโลหิตดีที่สุดก็คือ GABA การศึกษาวิจัยห้วข้อนี้ ริเริ่มคิดค้นพบโดยนักวิทยาศาตร์ชาวญี่ปุ่น อันที่จริง ในกระบวนการหมักกองและการหมักภายหลังของชาผูเอ๋อร์(ชาสุก ชาดิบ) เนื่องจากถือเป็นกระบวนการผลิตจัดการแบบไร้อากาศที่พิเศษเฉพาะ(พร่องออกซิเจน) ล้วนทำให้ปริมาณ GABA ในใบชาเพิ่มถึง 150 mg/kg ขึ้นไป(เป็น 10-30 เท่าของชาทั่วไป) และส่วนประกอบสำคัญอื่นๆเช่น คาเฟอีน ทีอะนิน เป็นต้น ปริมาณยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ผ่านการทดลองในสัตว์และการทดลองทางคลินิกพิสูจน์ได้ว่า ชาที่มี GABA มีผลในการลดความดันโลหิตดีกว่าชาทั่วไป

        ยังมีอีก ในกระบวนการหมักของชาผูเอ๋อร์มีจุลินทรีย์เชื้อราสอดแทรกเข้ามา อัลคาลอยด์บางชนิดจาการสังเคราะห์ของเชื้อราเช่น เออร์กอตอัลคาลอยด์(Ergot Alkaloid) ซึ่งก็ถือเป็นสารประกอบทุติยภูมิ ต่อการลดความดันโลหิตก็มีผลอย่างเด่นชัด

        อันที่จริง เมื่อเปรียบเทียบกับสารประกอบปฐมภูมิแล้ว สารประกอบทุติยภูมิไม่ว่าจะด้านปริมาณหรือรูปแบบชนิดของสารล้วนมีมากกว่ามากและสลับซับซ้อนมากกว่าสารประกอบปฐมภูมิ มวลสาร 50% ของบรรดาพวกมันล้วนมีผลทางตรงต่อการลดความดันโลหิต แต่พวกมันจะมีจุดด้อยอยู่อย่าง สารประกอบทุติยภูมิตัวเดียวโดดๆแม้ว่าจะมีฤทธิ์มากทาง “การรักษามุ่งตรงเป้า”(靶向性) แต่เกือบทั้งหมดอยู่ในระดับนิดเดียวหรือเล็กน้อยมาก ดำรง “ขนาดยา” ไม่เพียงพออย่างเด่นชัด เป็นเหตุให้ผลในการลดความดันโลหิตของสสารเดียวมีน้อยมาก แต่เมื่อนำสารประกอบทุติยภูมิเหล่านี้เก็บรวบรวมขึ้นมา ถึงแม้ “ปริมาณองค์รวม” ของมันยังต่ำกว่าขนาดยาของผลิตภัณฑ์ยามาตรฐาน แต่ก็เริ่มสำแดงเดชทาง “ฤทธิ์ยา” ของการลดความดันโลหิต ดังนั้น สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระยะแรก(ความดันบีบตัว 140-159 mmHg ความดันคลายตัว 90-99 mmHg)สามารถใช้การรักษาโดยไม่ใช้ยาได้โดยทั้งหมด แต่วิธีการนี้ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอันเนื่องจาก “ปัจจัยทางพันธุกรรม” แต่สำหรับ “ปัจจัยทางจิตใจและสภาพแวดล้อม” “ปัจจัยทางอายุ”(40 ปีขึ้นไป) “ปัจจัยทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต” “โรคอ้วน” “โรคเบาหวาน” “ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ” “โรคต่อมไทรอยด์” “หลอดเลือดไตตีบตัน” “โรคไต” “รอยโรคต่อมหมวกไตกินที่” เป็นต้นที่เป็นสาเหตุของการริเริ่มป่วยความดันโลหิตสูง จะได้ผลอย่างเด่นชัด

        ผู้ชายหลังจากอายุ 50 ปี(ผู้หญิงหลังจากอายุ 40 ปี) เนื่องจากความดันขณะหัวใจคลายตัวปรากฏแนวโน้มที่จะลดต่ำลง ความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เป็นอุบัติการณ์เริ่มต้นของความดันโลหิตสูง ควรที่จะมาให้ความสนใจเป็นพิเศษ เตรียมการป้องกันแต่เนิ่นๆเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ สงวนอุปนิสัยในการดื่มชาผูเอ๋อร์เป็นประจำโดยตลอด ก็เป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันความดันโลหิตสูง

        6. ทำการเลือกชาผูเอ๋อร์แบบไหน ?

        1. ความปลอดภัย สิ่งสำคัญคือยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ ในการสำรวจตลาดของพวกเราได้พบเห็นปรากฏการณ์หนึ่งที่แปลก อัตราส่วนของพนักงานที่ทำงานด้านชาผูเอ๋อร์ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงไม่ได้ต่ำกว่าอาชีพอื่นๆ ปัจจัยหลักเกี่ยวข้องกับการดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มียาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานเป็นระยะเวลามายาวนาน

        2. ชาผูเอ๋อร์ที่ระดับการหมักค่อนข้างเต็มที่ แต่ไม่มากเกินไป

        3. เป็นไปได้ให้เลือกผลิตภัณฑ์ฉาเกาที่สกัดและทำให้เข้มข้นที่ภาวะอุณหภูมิต่ำ แล้วทำการหมักอีกครั้ง หลีกเลี่ยงสารปนเปื้อนและสารแปลกปลอมในผลิตภัณฑ์ชาที่จะไปรบกวนและทำลายคุณสมบัติหลักของใบชา แน่นอน ยิ่งเป็นการหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ของยาเคมีเกษตรตกค้างและธาตุโลหะหนักปราฏกขึ้น

        การสรุปโดยย่อ : ชาผูเอ๋อร์แบบที่คุณภาพดี บังเกิดคุณประโยชน์ต่อความดันโลหิตสูง 3 ประการ ดังนี้ :

        1. ลดอัตราการป่วยของความดันโลหิตสูง
  
        2. สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับเบา สามารถดำเนินการรักษาโดยไม่ใช้ยาโดยผ่านวิธีการดื่มชาผูเอ๋อร์อย่างถูกต้องเพื่อบรรลุผลลัพธ์ของ “การฟื้นตัวเกิดเอง”

        3. สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับกลางและหนัก นอกจากดำเนินการรักษาโดยใช้ยาควบคุมตามใบสั่งแพทย์แล้ว สามารถใช้การดื่มชาผูเอ๋อร์เป็นวิธีการรักษาเสริม

........จบบริบูรณ์........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนจบ)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2016
http://chuansong.me/n/1497930035825

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3)         

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3)

普洱茶预防与降低血压的机理
กรรมวิธีที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ : จาก “แหล่งยา” แปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”
普洱茶的特殊工艺 : 从“药源”转化为“药用成分”



        สำหรับทางด้านการลดความดันโลหิตแล้ว พวกเราจะมีข้อข้องใจอย่างหนึ่งมาโดยตลอด ทำไมบรรดาชาที่ล้วนมีสารทีโพลิฟีนอลส์ ทีซาโปนิน คาเฟอีน ทีโอฟิลลีน เป็นต้น การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่าสสารเดียวเหล่านี้ล้วนมีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ แต่สำหรับคนดื่มชาแล้ว ทำไมมีชาบางตัว(เช่นชาผูเอ๋อร์)มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต แต่ใบชาเกือบทั้งหมดไม่มีสรรพคุณทางด้านนี้

        3. กรรมวิธีที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ : จาก “แหล่งยา” แปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”

        ในการค้นคว้าหาข้อมูลจำนวนมากของพวกเราได้ค้นพบว่า พื้นฐานของการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาล้วนเป็นการยึดติดกับสสารเดียวในการดำเนินการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ เสาะหาสสารเดียวหลายชนิดแล้วทำการแยกและทำให้บริสุทธิ์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินการทดลอง “การโน้มตอบสนองเป้าหมาย”(靶向性) เพื่อพิสูจน์ว่าพวกมันเพียบพร้อมด้วย “เภสัชกรรม” ด้านการใช้ประโยชน์ทางลดความดันโลหิต แน่นอนยังมีปัญหาของวิธีการทดลองดำรงอยู่ เช่นชาเขียวเป็นตัวอย่าง สสารที่ประกอบอยู่ภายในของมันเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมันดำรงอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ละลายในน้ำ นำสารที่ละลายในไขมันเหล่านี้แยกออกมาจากใบชา จำต้องใช้เอทานอล ปิโตรเลียมอีเทอร์ เป็นต้นที่เป็นตัวทำละลายเคมีจึงจะสามารถสกัดออกมาได้ แต่อุปนิสัยทางการดื่มของพวกเรา เป็นการใช้วิธีการชงด้วยน้ำร้อนนำสารในใบชาละลายออกมา ในขณะที่สารที่ละลายในไขมันจำนวนมากในใบชาแทบจะไม่ถูกทำการละลายออกมาในน้ำชา ในทั้งหมดนี้จะมีสารประกอบเคมีของการลดความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก ชาเขียวที่ไม่ชงทน มิใช่องค์ประกอบในชาเขียวมีน้อย แต่มีเป็นจำนวนมากที่เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน

        แต่การผลิตของชาผูเอ๋อร์ เนื่องจากมีกรรมวิธีของตากเขียวและการหมัก ทำให้สารที่ละลายในไขมันจำนวนมากแปรสภาพเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำ และดำรงอยู่ในรูปแบบเชิงซ้อนของสารหลากหลายชนิด นี่ก็คือเหตุผลที่ชาผูเอ๋อร์ชงทน(สารละลายในน้ำมีเป็นจำนวนมาก) สารที่ละลายในน้ำที่มีเป็นจำนวนมากก็เป็นหลักประกันของการจัดสรรทรัพยากรของสารหลากหลายชนิดในใบชาแปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”(Medicinal Ingredients) เมื่อตอนที่สารเหล่านี้ที่ดำรงอยู่ในรูปแบบเชิงซ้อน ภายใต้ผลของเอนไซม์ชีวภาพ ทำให้เกิดการสลายตัว การควบแน่น ออกซิเดชั่น แบบใหม่ขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็จะปรากฏสารประกอบเคมีชนิดใหม่ขึ้นมา

        ยังมีอีกปัญหาหนึ่งควรค่าที่พวกเราให้ความสนใจ สสารเดียวจำนวนมากในใบชาแม้ว่ามีสรรพคุณทางลดความดันโลหิต แต่การศึกษาวิจัยทางด้านนี้เป็นไปอย่างเบี่ยงเบนดาวกระจาย เช่นทีโพลิฟีนอลส์เป็นตัวอย่าง เป็นสารเดี่ยวที่หน่วยงานการวิจัยวิทยาสาสตร์ทั่วโลกเกี่ยวพันมากที่สุด บรรดาการศึกษาวิจัยเกือบทั้งหมดล้วนยืนยันว่ามันมีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิต ในอดีต การแยกและการทำให้บริสุทธิ์ของสารทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆเป็นสิ่งที่ทำได้ยากลำบากมาก ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า ตราบใดที่เทคโนโลยีถูกค้นพบแล้ว ยาลดความดันโลหิตหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีผลข้างเคียงพิษของยารูปแบบใหม่จะกำเนิดขึ้นมาตามลำดับ แต่ทุกวันนี้เมื่อพวกเราได้ทำการแก้ปัญหานี้แล้ว ความบริสุทธิ์ของทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆได้ถึงระดับ 99% ขึ้นไป พวกเรากลับต้องมากระอักกระอ่วนใจรูปแบบใหม่ : มันไม่ได้กลายเป็นยาลดความดันโลหิตตัวใหม่ การวิจัยทางคลินิกก็ไม่พบหลักฐานที่ทีโพลิฟีนอลส์มีผลทางตรงในการลดความดันโลหิตต่อร่างกาย ตรงกันข้าม ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์จำนวนมาก เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบว่า การนำทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆมาชงดื่ม การตอบสนองทางลดความดันโลหิตของร่างกายจะไม่มาก แต่ทางด้านการต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)มีผลอย่างเด่นชัด แต่ในการนำชาที่ทีโพลิฟีนอลส์ในปริมาณที่เท่ากันมาชงดื่ม ผู้คนจำนวนมาก(โดยเฉพาะผู้หญิงวัยกลางคน)กลับปรากฏปรากฏการณ์น้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ สภาวะเหล่านี้บ่งบอกว่า การลดความดันโลหิตของใบชาไม่ใช่การเอื้ออำนวยจากส่วนประกอบตัวเดียว แต่เป็นผลลัพธ์ของการประสานกันของสารประกอบเคมีหลายชนิด

        ชาผูเอ๋อร์อันเนื่องจากกรรมวิธีพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ บนพื้นฐานในการแก้ปัญหาของใบชาที่ละลายในไขมันแปรสภาพไปทางละลายในน้ำได้แล้ว ก็ทำให้สารประกอบเคมีต่างๆเกิดกลไกการประสานกัน

        สรุปรวบยอด ความเป็นจริงมีอยู่ 3 ประเด็น :

        1. สารประกอบปฐมภูมิของใบชาเป็นคลังสมบัติของ “แหล่งยา

        2. กรรมวิธีการผลิตที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ โดยเฉพาะขั้นตอนตากเขียวและการหมัก เร่งให้สารที่ละลายในไขมันแปรสภาพไปทางสารที่ละลายในน้ำ ทำให้สารหลายชนิดทาง “แหล่งยา” เริ่มการแปรสภาพไปทาง “ส่วนประกอบยา

        3. ส่วนประกอบยา” หลายชนิดดำรงผลทาง “เป้าหมาย” ที่ไม่เหมือนกัน สุดท้ายพลังจากการผนึกรวมกันจึงจะสามารถทำให้บรรลุผลทาง “ฤทธิ์ยา” อย่างแท้จริง ท่ามกลางในนี้ กลไกการออกฤทธิ์ทางยาเกือบทั้งหมดเป็นผลทางอ้อม มีเพียงสารบางส่วนที่บรรลุผลทางตรง การศึกษาวิจัยที่มุ่งตรงต่อการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ได้ค้นพบว่า ผลทางอ้อมและผลทางตรงล้วนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ มิฉะนั้น กลไกการประสานกันก็ยากที่จะเกิดขึ้น สรรพคุณทางลดความดันโลหิตก็เป็นได้แค่การศึกสงครามบนสมรภูมิกระดาษ(纸上谈兵)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนจบ) 》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2016
http://chuansong.me/n/1496015235829

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2)
กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 4)         

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2)

普洱茶预防与降低血压的机理
สารประกอบปฐมภูมิของชาผูเอ๋อร์คือสสารพื้นฐานทาง “แหล่งยา” ของการลดความดันโลหิต
普洱茶初级代谢物是降低血压 “药源”的基础物质



        2.สารประกอบปฐมภูมิของชาผูเอ๋อร์คือสสารพื้นฐานทาง “แหล่งยา” ของการลดความดันโลหิต

        ริเริ่มตั้งแต่ต้นศตวรรษที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะพิสูจน์ใบชาเพียบพร้อมด้วยกลไกการลดความดันโลหิตว่าเป็นจริง ได้ทำการวิเคราะห์และวิจัยเป็นจำนวนมากต่อสสารเดียวที่ประกอบอยู่ใบชา การทดลองเหล่านี้แทบจะทั้งหมดล้วนดำเนินการแวดล้อมสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)ของใบชา วิธีการทดลองคือนำสสารเดียวในใบชามาทำการแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินการทดลองทางชีวภาพ ผลของการทดลองสสารเดียวจำนวนมากดำรงส่วนประกอบทาง “เป็นยา” กับกลไกการลดความดันโลหิต ในทั้งหมดนี้ การศึกษาวิจัยที่มีอังกฤษและอินเดียเป็นตัวแทนโดยพื้นฐานใช้ชาแดงเป็นเป้าหมาย การศึกษาวิจัยที่มีจีนและญี่ปุ่นเป็นตัวแทนโดยพื้นฐานใช้ชาเขียวเป็นเป้าหมาย

        สิ่งที่มีค่าควรแก่ความสนใจคือ การศึกษาวิจัยเหล่านี้อันเนื่องจากใช้สสารเดียวเป็นเป้าหมายของการศึกษาวิจัย ไม่ว่าสาระสำคัญของมันจะเป็นชาแดงหรือเป็นชาเขียว ซึ่งข้อสรุปเป็นการครอบคลุมถึงบรรดาใบชาทั้งหมด แน่นอนก็รวมทั้งชาผูเอ๋อร์ด้วย แวดล้อมการศึกษาวิจัยด้านนี้ ผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยจำนวนมากควรค่าแก่พวกเราสนใจ :

        ทีโพลิฟีนอลส์(TPPs) : ทีโพลิฟีนอลส์เป็นสารกลุ่มฟีนอลประเภทหนึ่งที่ถูกนักวิทยาศาสตร์นำมาทำการศึกษาวิจัยมากที่สุด และตราบถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นสาร “ร้อนแรง” ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์จำนวนมากทำการศึกษาวิจัย สำหรับทางด้านลดความดันโลหิตแล้ว ผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากเป็นอันเชื่อว่ามันสามารถลดหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน(Peripheral Vascular Disease) ทำการขยายหลอดเลือดโดยตรง ; สามารถเร่งการก่อตัวของสารกระตุ้นการคลายตัวของเอนโดธีเลียม(Endothelium-driver Relaxing Factor) คลายตัวกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด(Vascular Smooth Muscle) เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือดและปรับการซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย(Capillary Permeability)เพื่อให้สมดุลที่ทำให้เกิดผลในการต้านความดันโลหิตสูง
        การก่อตัวขึ้นของความดันโลหิตสูงเกิดจากการปรับสมดุลของโฮร์มอนแองจิโอเท็นซิน(Angiotensin) เอนไซม์ ACE(Angiotensin Converting Enzyme) จะทำการตัดปลายที่มีคาร์บอกซิลิก(C-Terminal)ที่ไม่มีฤทธิ์ของแองจิโอเท็นซิน I ให้ขาด เปลี่ยนเป็นแองจิโอเท็นซิน II ที่เป็นโฮร์มอนออกฤทธิ์ที่หลอดเลือดโดยตรงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้น สารประกอบเคมีที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ ACE ได้จะเกิดผลต่อการลดความดันโลหิต สารประกอบเคมีกลุ่มคาเทชินและสารสีเหลืองชาในใบชา มีผลในการยับยั้งต่อการออกฤทธิ์ของ ACE อย่างเด่นชัด เกิดผลในการลดความดันอย่างเด่นชัด ทั้งหมดนี้ โดย EGCG, ECG และอนุมูลอิสระของคาเทชินจะมีผลการยับยั้งแรงที่สุด ผ่านการศึกษาวิจัยบ่งบอกว่า TPPs มีผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจของสัตว์ทดลอง TPPs สามารถทำให้อัตราการไหลของน้ำกำซาบขาหลัง(Hind Leg Perfusion)ของหนูทดลองเพิ่มขึ้น อันเป็นผลในการขยายหลอดเลือด ;  TPPs ยังสามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ ผลสะท้อนของการลดและระยะเวลาจะแปรตามสัดส่วนโดยตรงกับขนาดยา
        การศึกษาวิจัยของพวกเขายังบ่งบอกว่า TPPs ยังสามารถทำให้แรงบีบตัวของหัวใจแรงขึ้น ปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกไปและปริมาณการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลต้านต่อความดันปกติที่ถูกปิดแน่นที่ทำให้หนูขาดออกซิเจน ขณะเดียวกัน การศึกษาวิจัยยังค้นพบว่า ส่วนประกอบชนิดต่างๆในใบชาจะมีผลในการยับยั้ง ACE อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะ ECG และ EGCG เป็นต้นที่เป็นคาเทชินแบบไขมันและเป็นอนุมูลอิสระสารสีเหลืองชา ECG และ EGCG เมื่ออยู่ภายใต้ภาวะความเข้มข้นต่ำ(40 mmol)สามารถที่จะยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ ACE ได้อย่างหมดจด ความสามารถในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของอนุมูลอิสระสารสีเหลืองชาจะดีกว่าคาเทชิน 2 ชนิดข้างต้น ภายใต้ภาวะความเข้มข้นต่ำ 5 mmol ก็จะสามารถสำแดงเดชได้แล้ว ความสามารถในการยับยั้งการออกฤทธิ์ของคาเทชินแบบไม่ใช่ไขมันจะด้อยกว่าคาเทชินแบบไขมัน
        ยังมีอีก สารประกอบเคมีประเภทฟลาโวนอยด์(Flavoniod)ในใบชา เช่น ฟลาวานอลส์(Flavanols) ฟลาโวนอล(Flavonol) เป็นต้นสามารถกระตุ้นชีวสังเคราะห์(Biosynthesis)ของสารเอพินเนฟรีน(Epinephrine)และแคทีโคลามีน(Catcholamine) ยับยั้งการสลายตัวทางชีวภาพ(Biodegradation)ของแคทีโคลามีน
        เพาระฉะนั้นบนระดับใหญ่มากคือการเพิ่มแรงต้านและความยืดหยุ่นในผนังหลอดเลือดฝอยของสัตว์ ลดความเปราะบางของหลอดเลือด บรรลุวัตถุประสงค์ของการลดความดันโลหิต

        ทีโพลิแซคคาไรด์(TPS) : ทีโพลิแซคคาไรด์มีผลต่อการลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจ ในกระบวนการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า TPS ในปริมาณ 22.5 mg/kg ป้อนเข้าไปในลำใส้ส่วนต้น(Duodenum) ภายหลัง 30 นาทีสามารถทำให้ความดันโลหิตของหนูที่อยู่ในอาการสลบลดลง 25 mmHg(1 mmHg = 133.322 Pa) อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง 15% การศึกษาวิจัยยังบ่งบอกว่า TPS มีผลในการทนต่อภาวะการขาดออกซิเจนและเพิ่มอัตราการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ โดยการฉีด 1 mg/ml TPS 0.4 ml เข้าไปในสายยางแล้วเข้าสู่หัวใจ สามารถทำให้ปริมาณการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจของหนูทดลองเพิ่มขึ้น 37% ปริมาณ TPS 50 mg/kg และ 100 mg/kg สามารถทำให้ระยะเวลาการมีชีวิต(ภายใต้สภาวะขาดออกซิเจน)ของหนูในสภาพปกติยืดยาวออกไปอีก 59% และ 66% นำ TPS ใช้ร่วมกันกับยาไอโซโปรเทอรินอล(Isoproterenol) ระยะการมีชีวิตของหนูจะยืดยาวออกไปอีก 31% และ 29% ดังนั้น TPS จะมีผลในระดับหนึ่งต่อการป้องกันและรักษาความดันโลหิตสูง

        ทีอะนีน(TAN) : ทีอะนีนก็มีผลในการลดความดัน ซึ่งกลไกการลดความดันโดยการผ่านระบบประสาทรอบนอกหรือระบบหลอดเลือดมาพิสูจน์ยืนยัน TAN มีผลในการลดความดันต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีมาแต่กำเนิด ฉีดกรดกลูตามิก(Glutamic Acid) 2000 mg/kg เข้าไปในหนูที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงที่มีมาแต่กำเนิด ความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง ; หลังการฉีด TAN ในปริมาณที่เท่ากัน ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังการป้อนอาหารที่มี TAN ในปริมาณสูง(1500-3000 mg/kg)ให้แก่หนูตัวใหญ่แล้ว ความดันค่าตัวบน ความดันค่าตัวล่าง และความดันโลหิตค่าเฉลี่ยของหนูตัวใหญ่ที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงโดยมนุษย์สร้างขึ้นได้ลดลงอย่างเด่นชัด แต่ว่าขนาดยาที่ทำให้เกิดผลเมื่อเทียบกับขนาดยาที่ทำให้เกิดผลของคาเทชินและทริปโตเฟน(Trytophan)แล้วต้องสูงขึ้นเป็น 10-15 เท่า

        ทีซาโปนิน(TSP) : กลไกการลดความดันของทีซาโปนิน TSP สามารถยัยยั้งการบีบตัวของหัวใจที่เกิดจากโฮร์มอนแองจิโอเท็นซิน I ที่แยกตัวจากลำใส้เล็กส่วนปลายที่เปิดเข้าสู่ลำใส้ใหญ่(Ileum)ของหนูทดลอง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขนาดยาที่ทำให้เกิดผล ผลการยับยั้งต่อการบีบตัวของหัวใจอันเนื่องมาจากแองจิโอเท็นซิน I เป็นผลที่เล็กน้อยมาก สำหรับหนูอายุ 15 ปีที่ทำการป้อน TSP ทางปาก(100 mg/kg) เมื่อ 5d ความดันโลหิตเฉลี่ยเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วเพียงลดต่ำลง 29.2 mmHg

        คาเฟอีน(CFI) ทีโอฟิลลีน(TOP) : คาเฟอีนและทีโอฟิลลีนในใบชาสามารถทำให้กล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดคลายตัว ขยายหลอดเลือด ทำให้กระแสโลหิตไหลคล่องโดยไม่มีอุปสรรค มีผลทางตรงในการลดความดัน ; ขณะเดียวกัน CFI และ TOP เป็นต้นมีผลในการช่วยขับปัสสาวะและขับโซเดียม ทำให้เกิดผลทางอ้อมในการลดความดัน ประสิทธิภาพของการขับปัสสาวะและโซเดียมของชาจะดีมาก ถ้าเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำแล้ว จะสูงกว่าถึง 2-3 เท่า

        การศึกษาทางด้านนี้ยังมีอีกมากมาย ในที่นี้ขอไม่นำมาเป็นตัวอย่างทั้งหมด

        จากการทดลองดังกล่าวข้างต้น เอาที่สบายใจพวกเราก็สามารถได้ข้อสรุปลักษณะเช่นนี้ : สารประกอบปฐมภูมิที่อยู่ในใบชา โดยส่วนใหญ่จะมีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิตสูง เมื่อขณะที่พวกเราดื่มใบชา(แทบทุกชนิดของใบชา)ล้วนสามารถบรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ของการลดความดันโลหิต

        แต่ในสภาพการณ์จริงๆกลับไม่มีสิ่งซึ่งมองโลกในแง่ดีเช่นนี้

        สภาพการณ์ความเป็นจริงก็คือ การดื่มชาในชีวิตประจำวันของพวกเรายากที่จะเกิดผลลัพธ์ของการลดความดันโลหิตที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ นี่เป็นเพราะว่าการดื่มชาของพวกเราบนพื้นฐานใช้วิธีการชงใบชา จัดอยู่ในรูปแบบ “สกัดปนเป” คือสารชนิดต่างๆจะแยกเป็นส่วนออกมาผสมกัน จะมีปัญหาของ “ปริมาณแยกเป็นส่วน” ได้ถึงระดับของ “ขนาดยา” ตามที่ต้องการหรือไม่ ; นอกจากนี้มีอีกประเด็นหนึ่งคือ ถึงแม้จะเป็นสสารเดียว กลไกการลดความดันดำรงอยู่อย่างเด่นชัดหรือไม่ การโต้แย้งยังคงมีอยู่มาโดยตลอด โดยทีโพลิฟีนอลส์เป็นตัวอย่าง จากระดับมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุคปัจจุบันสามารถนำทีโพลิฟีนอลส์ในใบชามาทำให้บริสุทธิ์ถึงระดับ 99% ถ้าหากมันดำรงสรรพคุณที่เด่นชัดทางลดความดันโลหิตแล้ว ทั้งหมดนี้สามารถนำมาทำเป็นยาทานสสารเดียว(หรือสารเดี่ยวโดดๆ) จัดเข้าไปอยู่ในระบบ “การรักษาโดยใช้ยา” ของความดันโลหิตสูง แต่ตราบถึงทุกวันนี้ ทีโพลิฟีนอลส์ไม่เพียงแต่ไม่ได้จัดเข้าไปอยู่ในระบบ “การรักษาโดยใช้ยา” ของความดันโลหิตสูง แม้กระทั่ง “การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา” ก็ยังหาเงาของมันไม่เจอ ปัจจุบันก็ได้แค่กำหนดให้มันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อเป็นประการฉะนี้ พวกเราสามารถประเมินผลของทีโพลิฟีนอลส์เป็นลักษณะดังนี้ : มันมีส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ต่อการลดความดันโลหิตดำรงอยู่ แต่ไม่สามารถสำแดงสมรรถภาพทางลดความดันโลหิตได้ ฉะนั้น การทดลองจำนวนมากที่เกี่ยวโยงกับสสารเดียวของใบชา เพียงแค่ยืนยันได้ว่าในใบชามีส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ต่อการลดความดันโลหิตสูงของร่างกายเป็นจำนวนมาก แต่ห่างไกลจากการสำแดงทาง “ฤทธิ์ยา” ยังมีอีกระยะหนึ่ง อันที่จริง ปรากฏการณ์แบบนี้ที่ดำรงอยู่ในใบชา ซึ่งรวมถึงพืชพรรณจำนวนมากด้วย พวกมันล้วนมีส่วนประกอบทาง “เป็นยา”(药用) ต่อการลดความดันโลหิต แต่เกือบทั้งหมดไม่สามารถสำแดงเดชทาง “ฤทธิ์ยา”(药性) ออกมาได้ และก็ไม่มีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิตสูง นี่เป็นเพราะเหตุอะไรกันแน่ ? เหตุผลหลักก็คือส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ของมันยังอยู่ในขั้นตอนของ “แหล่งยา”(药源) คิดที่จะให้ส่วนประกอบทาง “เป็นยา” แปรสภาพที่สามารถก่อเกิดทาง “ฤทธิ์ยา” ยังต้องผ่านขั้นตอน “การดำเนินการที่ละเอียดอ่อน” อันสลับซับซ้อน นี่ก็คือทำไมที่ผู้คนจำนวนมากล้วนมีข้อสงสัยว่า : ทำไมบรรดาใบชาทั้งหลายล้วนมีสารทีโพลิฟีนอลส์ คาเฟอีน ทีซาโปนิน ทีโพลิแซคคาไรด์ เป็นต้น และมีการทดลองทางชีววิทยาของการลดความดันโลหิตเป็นตัวอย่างประกอบ แต่เครื่องดื่มใบชากลับไม่มีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตเล่า ?

        ทั้งหมดนี้ ชาผูเอ๋อร์อาจเป็นกรณียกเว้น

        ชาผูเอ๋อร์ผ่านวิธีการอย่างไรจึงทำให้สรรพคุณทางลดความดันโลหิตปรากฏเป็นจริงขี้นมาได้ ?

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนต้น)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน กันยายน ปี 2016

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 1)

普洱茶预防与降低血压的机理
ความดันโลหิตสูงคืออะไร ? โทษอันตรายต่อคนและแผนการรักษาสองวิธี
高血压是什么 ? 对人的危害及两种治疗路径



        ชนชาวจีนรวมทั้งฮ่องกง มาเก๊า ใต้หวันและแถบอาเซียน มีคำกล่าวพิเศษสำหรับชาผูเอ๋อร์ว่า : การดื่มชาผูเอ๋อร์เป็นระยะเวลายาวนานแล้วจะมีคุณประโยชน์ในการป้องกันกับการรักษาความดันโลหิตสูง การพูดเช่นนี้แม้ว่านำไปสู่การโต้แย้งไม่น้อย แต่มันก็มิใช่ไม่มีมูลความจริง เป็นข้อสรุปรวบยอดจากประสบการณ์ที่มาจากชาวบ้านดื่มชาผูเอ๋อร์มาเป็นแรมปี ประสบการณ์แบบนี้เป็นการรับรู้ทางกายของมวลชนแต่ละคนที่สะสมและได้ผลสรุปออกมา กลายเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของชาวบ้าน พวกเราก็จัดมันอยู่ในบริบทของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์

        แต่ทว่า สำหรับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์แล้ว เพียงแค่การมีประสบการณ์ชาวบ้านยากที่จะมีน้ำหนักที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งก็คือ “วิทยาศาสตร์การทดลอง” มาพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องและความเป็นเหตุเป็นผลของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์” อย่างกรณีถั่งเช่าที่พวกเรารู้จักกันดี ชาวบ้านก็ได้มอบเกียรติบัตรให้มันว่าต่อต้านโรคมะเร็ง แต่เมื่อผ่านวิธีการ “วิทยาศาสตร์การทดลอง” ตราบถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่พบส่วนประกอบที่เป็นยาต้านมะเร็งในถั่งเช่า การต้านมะเร็งดังกล่าวก็ต้องหยุดอยู่เพียงชั้นของ “วิทยาศาสตร์ประสบการณ์” กลายเป็นคดีดำที่ค่อยการตัดสินต่อไป

        ทำนองเดียวกัน คุณประโยชน์ด้านลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ที่พวกเราต้องการรู้และเข้าใจไม่สามารถอาศัยเพียง “ประสบการณ์ชาวบ้าน” เท่านั้น ต้องรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องว่าความดันโลหิตสูงคืออะไร ? สองวิธีของการรักษาบำบัดความดันโลหิตสูง : วิธีการรักษาโดยใช้ยาและวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาเป็นประเด็นหลักที่พวกเราทำความเข้าใจเข้าถึง เพราะว่าชาผูเอ๋อร์ก็คือหนึ่งในนั่น ชาผูเอ๋อร์กลายเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หลักใหญ่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่เป็นยาลดความดันและกลไกการลดความดันที่เฉพาะตัวของมัน

        1. ความดันโลหิตสูงคืออะไร ? โทษอันตรายต่อคนและแผนการรักษาสองวิธี

        ความดันโลหิตสูง คืออาการของโรคที่ความดันขณะหัวใจบีบตัว(ค่าตัวบน)กับความดันขณะหัวใจคลายตัว(ค่าตัวล่าง)ในเส้นเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตของคนปกติมิใช่จะคงที่ตลอดแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงจะผันแปรระหว่างความดันค่าตัวบน 12.0-18.7 kPa(90-140 mmHg) ความดันค่าตัวล่าง 6.7-12.0 kPa(50.4-90.2 mmHg) ผู้เชี่ยวชาญทางความดันโลหิตสูงขององค์การอนามัยโลกสหประชาชาติได้กำหนดไว้ว่า ความดันค่าตัวบนและความดันค่าตัวล่างของผู้ใหญ่ปกติอยู่ที่ 18.7 kPa(140.6 mmHg) และ 12.0 kPa(90.2 mmHg) ลงมา ผู้ใหญ่ที่ความดันค่าตัวบนเกินกว่า 21.3 kPa(157 mmHg) หรือความดันค่าตัวล่างเกินกว่า  12.7 kPa(95.5  mmHg) ล้วนสามารถยืนยันเป็นความดันโลหิตสูง ลักษณะอาการทางคลีนิก(Clinical Manifestations)โดยมีความดันเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้นเป็นอาการหลัก เคียงข้างด้วยอาการปวดศรีษะ เวียนศรีษะ ศรีษะพองตัว(แพทย์แผนจีน) หูอื้อ นอนไม่หลับ ใจสั่น อ่อนเพลียง่าย ความจำเสื่อม เป็นต้น ความดันโลหิตสูงเป็นโรคชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในคน ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ(Primary Hypertension) และความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ(Secondary Hypertension : เช่นภาวะหลอดเลือดไตตีบตันนำไปสู่ความดันโลหิตสูงในเส้นเลือดแดงไต)

          ความดันโลหิตสูงหากไม่ทำการรักษา ความดันเลือดแดงจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันจะเกิดความเสียหายต่ออวัยวะเป้าหมาย(Target Organ) เช่น หัวใจ ไต สมองและหลอดเลือด เกิดภาวะแทรกซ้อน ประกอบด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล่มเหลว โรคหัวใจขาดเลือด โรคประสาทตาเสื่อมและไตวาย เป็นต้น
         ความดันโลหิตสูงจะทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจต้องรับภาระหนักขึ้น หัวใจพองโต แต่ประสิทธิภาพของการสูบฉีดลดต่ำลง ปราฏกสัญญาณของภาวะหัวใจล่มเหลว
        อันเนื่องจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือฉีกขาดเลือดออกจะไปกระตุ้นเร่งให้เรื่องที่คาดคิดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ ความดันโลหิตสูงจะไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคลมชัก สองกรณีนี้ล้วนไปทำลายเนื้อเยื่อของสมอง
        ความดันโลหิตสูงยังทำให้เส้นเลือดฝอยที่เยื่อบุตาปรากฏเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวหรือมีเลือดออก เป็นเหตุให้ตามัวถึงตาบอดได้ ตาเป็นระบบประสาทหนึ่งนอกจากสมองแล้วที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความดันโลหิตสูง
        ปกติทั่วไป ส่วนที่ได้รับโทษอันตรายมากที่สุดจากความดันโลหิตสูงคือหลอดเลือดไต ทำให้หลอดเลือดไตตีบหรือฉีกขาด ซึ่งผลสุดท้ายนำไปสู่ไตวาย
        อัตราการตายจากความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะจะไม่สูง ภายหลังของความดันโลหิตสูงที่เปลี่ยนมาเป็นโรคหลอดเลือดสมองและโรคลมชักแล้วเสียชีวิตเสมอ

        การรักษาความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นการรักษาโดยใช้ยาและการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา 2 วิธี :
        วิธีการรักษาโดยใช้ยา : ⑴ กลุ่มยาขับปัสสาวะ (ยาที่เป็นตัวแทนมี ไฮโดรคลอโรไทเอไซด์(Hydrochlorothiazide) อินดาพาไมด์(Indapamide) ฟูโรซีไมด์(Furosemide) ไตรเอมเทรีน(Triamterene) สไปโรโนเลคโทน(Spironolactone) เป็นต้น) ; ⑵ กลุ่มยาเบต้าบล็อคเกอร์ (ยาที่เป็นตัวแทนมี โพรพราโนลอล(Propranolol) อะทีโนลอล(Atenolol) เมโทโปรลอล(Metoprolol) ไบโซโปรลอล(Bisoprolol) เป็นต้น) ; ⑶ กลุ่มยาปิดกั้นแคลเซียม (ยาที่เป็นตัวแทนมี อาดาแลท(Adalat) ไนเทรนดิพีน(Nitrendjpine) นิคาร์ดิพีน(Nicardipine) นิซอลดิพีน(Nisoldipine) ฟีโลดิพีน(Ferodipine) ดิลไทอะแซม(Diltiazem) เวอราพามิล(Verapamil) เป็นต้น) ; ⑷ กลุ่มยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitor : ยาที่เป็นตัวแทนมี แคปโตพริล(Captopril) อีนาลาพริล(Enalapril) เบนนาซีพริล(Benazeppril) ลิซิโนพริล(Lisinopril) รามิพริล(Ramipril) เพอรินโดพริล(Perindopril) เป็นต้น) ; ⑸ กลุ่มยา ARBs (ยาที่เป็นตัวแทนมี ลอซาร์แทน(Losatan) เออร์ซาบิแทน(Irbesartan) เป็นต้น) ; 6 กลุ่มยาสารประกอบดัดแปลง (ยาที่เป็นตัวแทนมี รีเซอร์พีน(Reserpine) อะโพไซนัม(Apocynum) เป็นต้น)
        วิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา จะมีผลหลักคือการป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงอุบัติขึ้นและเป็นตัวช่วยเสริมในการรักษาโดยใช้ยา ประกอบด้วยการลดน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหาร ลดการดื่มสุรา การออกกำลังกายที่พอดีและเหมาะสม ลดความเครียด งดการสูบบุหรี่ เป็นต้น แน่นอนยังรวมทั้งการดื่มชาผูเอ๋อร์

        ชาผูเอ๋อร์ไม่ถือเป็นยา เพียงเป็นเครื่องดื่มประจำวันของพวกเรา เมื่อต้องมาผจญกับความดันโลหิตสูงแล้ว สรรพคุณหลักของมันมีอยู่ ๓ ด้าน : ๑. คือป้องกันการอุบัติขึ้นของความดันโลหิตสูง ๒. คือมีผลอย่างเด่นชัดต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระยะเริ่มต้นในการใช้ทดแทนการรักษาโดยใช้ยา ๓. คือสำหรับผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงแล้วกอปรมีประวัติการใช้ยามาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ชาผูเอ๋อร์สามารถใช้เป็นตัวช่วยเสริมทางการรักษาโดยใช้ยา

        บรรดาสารประกอบปฐมภูมิ(Primary Metabolites)หลากหลายชนิดที่อยู่ในชาผูเอ๋อร์ เช่นทีโพลิฟีนอลส์ ทีโพลิแซคคาไรด์ ทีซาโปนิน คาเฟอีน ทีโอฟิลลีน ทีอะนีน เป็นต้นที่เป็นสสารพื้นฐานของ “แหล่งยา”(药源) เมื่อผ่านกระบวนการหมักที่พิเศษเฉพาะ ทำให้ “แหล่งยา” หลายชนิดแปรสภาพเป็นสารที่มีสมรรถภาพทาง “เป็นยา”(药用) ณ ขณะที่สารประกอบทุติยภูมิ(Secondary Metabolites)จำนวนมากก็เกิดขึ้นมาเคียงข้าง เช่นสารสีแดงชา GABA(Gramma AminoButyric Acid) โลวาสแตติน(Lovastatin) ซิมวาสแตติน(Simvastatin) เป็นต้น สารประกอบทุติยภูมิเหล่านี้พร้อมที่จะสนธิทำงานร่วมกันกับสารประกอบปฐมภูมิ ทำให้ส่วนประกอบทาง “เป็นยา” ถูกยกระดับให้เป็นส่วนที่สำแดงสมรรถภาพทาง “ฤทธิ์ยา”(药性) กลายเป็นเส้นทาง “แหล่งยา---เป็นยา---ฤทธิ์ยา” ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง เมื่อหลังจาก “ฤทธิ์ยา” ได้ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว กลไกการออกฤทธิ์ทางยาก็ก่อตัวขึ้นต่อจากนั้นทันที

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนต้น)》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน กันยายน ปี 2016
http://chuansong.me/n/1491175835134