วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวทมนตร์ของเนื้อผสม (1)

เวทมนตร์ของเนื้อผสม (1)
ตอน---การผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคจีนโบราณมี “เนื้อผสม” หรือไม่ ?
拼配的魔力(一)---中国古代普洱茶制作是否有”拼配” ?



        ชาผูเอ๋อร์มีการโต้แย้งด้าน “เนื้อเดียว”(纯料) และ “เนื้อผสม”(拼配) มาโดยตลอด

        มุมมองหนึ่งเชื่อว่า “เนื้อเดียว” หรือ “เนื้อรสเดียว”(一口料) ของชาผูเอ๋อร์ คือข้อบังคับขั้นพื้นฐานของการผลิตชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิม เหตุผลเพราะว่า :

        1. นักผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคโบราณเนื่องจากถูกข้อจำกัดทางคมนาคมไม่สะดวก ไม่สามารถนำใบชาจากต่างเขตพื้นที่ผลิตมาทำการ “ผสมรวมกัน”(融到一起) ดังนั้น กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ที่ตกทอดจากยุคโบราณไม่มี “เนื้อผสม” ดังกล่าว

        2. “เนื้อผสม” เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคปัจจุบันใช้เพื่อขยายกำลังการผลิต และเป็นข้ออ้างเพื่อลดต้นทุนของการผลิต ปราศจากซึ่ง “ความแท้จริง”(正宗性) ของการผลิตชาผูเอ๋อร์ ชาผูเอ๋อร์จากกกรรมวิธี “เนื้อผสม” ถือเป็น “ชาค็อกเทล” ขาดซึ่ง “รสแห่งความดื่มด่ำ” ที่แท้จริง คุณภาพของผลิตภัณฑ์จึงต้องลดระดับลงมา มีข้อสงสัยทางการหลอกหลวงผู้บริโภค

        อีกมุมมองหนึ่งกลับเชื่อว่า “เนื้อผสม” ชองชาผูเอ๋อร์คือกรรมวิธีที่ทำให้คุณภาพโดดเด่นขึ้นและดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์คลาสสิคชาผูเอ๋อร์จะต้องมี “สูตรลับ”(保密配方) ที่พิเศษเฉพาะ เนื้อในแก่นแท้ของสูตรนี้ก็คือ “เนื้อผสม”

        ถ้าเช่นนั้น มุมมองของใครมีความมีเหตุผลกว่า ?

        การผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคจีนโบราณมี “เนื้อผสม” หรือไม่ ?

        เมื่อพวกเราพลิกหน้าประวัติศาสตร์ จะสามารถสังเกตเห็นว่า แหล่งผลิตชาผูเอ๋อร์ที่โด่งดังในประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมดล้วนเป็นศูนย์กลางการกระจายใบชา(茶叶集散地)ในสมัยนั้น การเคลื่อนย้ายแหล่งนิยมทุกครั้งและการปรากฏของผลิตภัณฑ์คลาสสิคในประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์ ล้วนเป็นไปตามการเคลื่อนย้ายและความเจริญรุ่งเรืองของศูนย์กลางการกระจายใบชา เมื่อเป็นประการฉะนี้ การกล่าวว่าการคมนาคมไม่สะดวก จะถูกต้องเพียงเทียบเคียง(是相对) แต่ไม่เป็นจริงตามนั้น(不是绝对) อย่างเช่นเมืองยี่หวู่(易武)ในหยินหนาน ในช่วงรัชสมัยต้าวกวงราชวงค์ชิง(清朝道光) เมื่อขุนเขาชาหยีปาง(倚邦) ซึ่งถือเป็น “หัวหน้าพันธมิตร”(盟主) ของ 6 ขุนเขาชาอันยิ่งใหญ่ค่อยๆเสื่อมถอยลง ขุนเขาชายี่หวู่กลับปรากฏความเด่นชัดขึ้นมาอย่างทันท่วงที กลายเป็นศูนย์กลางการกระจายใบชาของ 6 ขุนเขาชา เป็นพื้นที่ผลิตและเป็นจุดตั้งต้นของเส้นทางโบราณชา-ม้าโ(茶马古道) ต่อจากนี้เป็นการเปิดศักราช ”ยุคสมัยยี่หวู่” ของชาผูเอ๋อร์ ในช่วงเวลานั้น ผู้คนเป็นพันขึ้นหมื่นต่างมุ่งสู่ยี่หวู่ บุกเบิกสวนชา ก่อตั้งห้างชา ระยะเวลาไม่กี่สิบปี ร้อยลี้ของยี่หวู่ สวนชาเต็มทุกภูเขา กลิ่นชาหอมฟุ้งกระจายไปทั่วพารา พ่อค้าเดินทางไปมาไม่ขาดสาย กองคาราวานม้าเต็มทุกเส้นทาง เป็นภาพแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ตื่นตาตื่นใจ ในช่วงเวลานี้ ใบชา 60-70% จาก 6 ขุนเขาอันยิ่งใหญ่ ล้วนรวบรวมอยู่ในพื้นที่นี้เพื่อทำการผลิต ซื้อขาย ผ่าน 11 เส้นทางออกสู่ภายนอก ขายไปร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ(四面八方) ผลิตภัณฑ์คลาสสิคชาผูเอ๋อร์ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน จำนวนบางส่วนในนั้นก็มาจากยี่หวู่ เช่น ถงชิ่งห้าว(同庆号) กานลี่เจินซ่งพิ้นห้าว(乾利贞宋聘号) ฝูหยวนชางห้าว(福元昌号) เชอซุ่นห้าว(车顺号) ชิ่งชุนห้าว(庆春号) เป็นต้น อันที่จริง การก่อเกิดของศูนย์กลางการกระจาย เป็นแหล่งวัตถุดิบที่รับประกันทางการป้อนใบชาสำหรับ “เนื้อผสม”

        ถัดมา การปรากฏของเหล่าห้างชาทั้งหลาย ประกอบด้วยการกำหนดให้ผลิตชาเครื่องบรรณาการ ทำให้เกิดการแข่งขันของห้างชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จุดหลักของการแข่งขันนอกจากการเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือนำวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกันมาทำการ “สูตรลับของเนื้อผสม”( 拼配的保密配方) มันคือหัวใจของศิลปกรรมแบบโบราณของชาผูเอ๋อร์ ถ้าหากเป็น “เนื้อเดียว” โดดๆแล้ว มันก็ง่ายที่จะกลายเป็นของธรรมดา ระหว่างห้างชาด้วยกันก็ไม่มีเชิงความแตกต่าง และก็จะไม่ปรากฏห้างชาที่โด่งดังขึ้นมา แล้วคำร่ำลือที่ว่า “สังเกตชาผลิตชา”(看茶制茶) ที่ตกทอดจากยุคโบราณของหยินหนานก็จะไม่มีความหมายที่แท้จริง ฉะนั้น “เนื้อผสม” คือ “อาวุธลับ”(秘密武器) ของการแข่งขันระหว่างห้างชาด้วยกัน ต่างห้างชาล้วนมี “สูตรลับเนื้อผสม”(拼配秘方) ของตนเอง อันที่จริงเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับขั้นที่ไต่ขึ้นมาได้จากความเข้าใจที่มีต่อชาผูเอ๋อร์ของพวกเขา และสามารถพูดได้ว่าเป็นขอบเขตการบรรลุรูปแบบหนึ่ง เป็นเครื่องหมายทางระดับคุณภาพด้านเทคโนโลยี่ของห้างชา

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《เวทมนตร์ของเนื้อผสม》 ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย