วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การถอดรหัสสุนทรียภาพของปั้นจื่อเหยียสือเผียว



      「สือเผียว」 เป็นหนึ่งในสิบปั้นจื่อซารูปทรงคลาสสิกที่สุด คิดสร้างสรรค์ขึ้นโดย เฉินม่านเซิน/陈曼生 ในรัชสมัยเต้ากวง(ปี1782-1850) แรกเริ่มเป็นปั้นชื่อว่า「เผียว/」 ในช่วงปลายสมัยชิงเรียกว่า「สือเตี้ยว/石铫」 ต่อมาจนถึงยุคกู้จิ่งโจว (ปรมาจารย์จื่อซาแห่งยุคร่วมสมัย ; ปี1915-1996) จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น「สือเผียว/石瓢」 ตราบจนถึงปัจจุบัน 


▲「ม่านเซินสือเผียว」ตัวปั้นทำโดยหยางเผิงเหนียน อักษรและแกะสลักโดยเฉินม่านเซิน ยุคสมัยชิง มีการสลักอักษรว่าเป็น “ปั้นเผียว/瓢壶


      「จื่อเหยียสือเผียว/子冶石瓢」 เป็นผลงานชิ้นเอกของ ฉีจื่อเหยีย/瞿子冶 (ปี1778-1849) ได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่นำแนวคิดสามเหลี่ยมมาผสมผสานในปั้นจื่อซาที่บรรลุผลมากที่สุด ฉีจื่อเหยี่ยและเฉินม่านเซินต่างก็เป็นปัญญาชนร่วมสมัยเดียวกัน ต่างก็คิดออกแบบปั้นจื่อซา และชอบนำลายพู่กันจีนทั้งอักษรและภาพวาดมาตกแต่งปั้นให้สวยงาม และพวกเขาต่างก็ร่วมมือกับศิลปินทำปั้นจื่อซาคนเดียวกัน คนๆนั้นก็คือหยางเผิงเหนียน 


▲「จื่อเหยียสือเผียว」ตัวปั้นทำโดยหยางเผิงเหนียน ภาพวาดและแกะสลักโดยฉีจื่อเหยีย ยุคสมัยชิง ปั้นรูปแบบนี้เรียกขานกันว่า “ปั้นทรงผอม/瘦壶


      「จื่อเหยียสือเผียว」 มีรูปพรรณสัณฐาน : ตัวร่างสามเหลี่ยม หูจับสามเหลี่ยม พวยสามเหลี่ยม หัวเม็ดสามเหลี่ยม สามเหลี่ยมของหูจับจากตัวร่างไปยังพวย รูปลักษณะตรงมุมร่องเสื่อมของพวยกับตัวร่างก็เป็นสามเหลี่ยม หัวเม็ดที่เป็นสามเหลี่ยมอยู่บนยอด ทำให้ตัวร่างประกอบกันเป็นสามเหลี่ยมรูปใหญ่ สามเหลี่ยมใหญ่ของตัวร่างเป็นตัวค้ำยันสามเหลี่ยมเล็กซ้ายขวาสองด้าน ก่อเกิดเป็นลักษณะสามเหลี่ยมที่ต่างสอดแทรกซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกที่หนักแน่นมั่นคง อันที่จริงแนวความคิดการออกแบบก็เหมือนกับ「ต้าฮึงตัวฉิว」ที่นำหลายๆวงกลมมาผสมกลมกลืนอยู่ในวงกลมเดียว 


▲「จื่อเหยียสือเผียว」ที่ใช้สามเหลี่ยมเรขาคณิตวิเคราะห์ยุคปัจจุบัน


      「จื่อเหยียสือเผียว」 สามารถแยกแยะสามเหลี่ยมออกมาทั้งหมด 7 รูปด้วยกัน ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


▲สามเหลี่ยมรูปที่ 1 ก็คือสามเหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมตัวร่างปั้นทั้งหมดของ「จื่อเหยียสือเผียว」รวมทั้งหัวเม็ดปั้น ประกอบรวมกันเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า

▲สามเหลี่ยมรูปที่ 2 หัวเม็ดและฝาปั้นประกอบกันเป็นสามเหลี่ยมเล็ก นี้เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

▲สามเหลี่ยมรูปที่ 3 หูจับปั้นตัวมันเองก่อร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม นี้เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า

▲สามเหลี่ยมรูปที่ 4 โดยการกางออกของพวยปั้น เพื่อเป็นการสอดรับกับหูจับปั้น นี้เป็นสามเหลี่ยมเสมือน

▲สามเหลี่ยมรูปที่ 5 และ 6 ก่อเกิดขึ้นตรงมุมร่องเชื่อมของพวยปั้นที่บนล่างทั้งสองด้านกับตัวร่างปั้น

▲สามเหลี่ยมรูปที่ 7 ตรงขาหมุด 3 ปุ่มบนก้นปั้น ระยะห่างของกันและกันก็ก่อเกิดเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปหนึ่ง


      「จื่อเหยียสือเผียว」 นอกจากประกอบด้วยสามเหลี่ยม 7 รูป ยังประกอบด้วยเส้นคู่ขนาน 2 คู่ ดังมีรายละเอียดดังนี้


▲เส้นคู่ขนานระหว่างพวยปั้นกับแนวเส้นของตัวร่างปั้นที่อยู่ด้านตรงข้าม

▲เส้นคู่ขนานระหว่างหูจับปั้นกับแนวเส้นของตัวร่างปั้นที่อยู่ด้านตรงข้าม


      「จื่อเหยียสือเผียว」 นอกจากมีสุนทรียภาพทางรูปลักษณะตามเรขาคณิตแล้ว ยังสะท้อนความคิดแนวปรัชญาบางด้านออกมาให้เห็น


        • เฉพาะตัวร่างปั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู[หรือเป็นรูปตัวเลข “/แปด” ของอักษรจีน] ถ้าเพิ่มหัวเม็ดปั้นเข้าไปก็กลายเป็นสามเหลี่ยม หรือสามารถเรียกขานเป็น “โครงสร้างพีระมิด” ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู หรือเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ล้วนทำให้รู้สึกได้ถึงความมั่นคง 


 ▲“โครงสร้างพีระมิด” ให้ความรู้สึกที่หนักแน่นมั่นคง


        • เมื่อเพิ่มพวยปั้นและหูจับปั้นเข้าไปแล้ว พวยปั้นและหูจับปั้นก็คือการพุ่งออก ทำให้มีความรู้สึกของการสยายปีกออกไป 2 ข้าง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเคลื่อนไหว ซึ่งก็คือการผสมผสานของความสงบนิ่งและการเคลื่อนที่ ทำให้ปั้นโดยรวมดูมีชีวิตชีวา 


▲พวยปั้นและหูจับปั้นที่พุ่งออกเหมือนการสยายปีกออกไป 2 ข้าง เกิดความรู้สึกในความสงบนิ่งมีการเคลื่อนไหว


        • หัวเม็ดปั้นมีรูปลักษณะเหมือนสะพานโค้ง หัวเม็ดปั้นลักษณะแบบนี้เรียกว่า “หัวเม็ดรูปสะพาน” สะพานโบราณของเมืองจีนโดยตัวมันเองก็เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง การนำวัฒนธรรมสะพานหลอมเข้าไปในปั้น เป็นการเพิ่มอีกหนึ่งความหมายแอบแฝงของวัฒนธรรม 


▲รูปลักษณะหัวเม็ดปั้นที่เหมือนสะพานโค้งโบราณของเมืองจีน


        • ความสัมพัทธ์ของพวยปั้นกับหูจับปั้นต้องมีสไตล์ที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าพวยปั้นหรือหูจับปั้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงทางขนาด หูจับปั้นที่ดูธรรมชาติงอกออกจากตัวร่างปั้น มีลักษณะใหญ่ค่อยๆเรียวเล็กลงไปจบที่ใต้ปั้น แล้วผ่านตัวร่างปั้นทะลุออกไปอีกด้าน กล่าวตามภาษาเฉพาะวงการปั้นแล้ว เรียกว่า “หูจับปั้นเดินตามรูปแบบปั้น พวยปั้นต้องออกจากหูจับปั้น” พวยปั้นก็มีขนาดจากใหญ่ไปหาเล็ก ทำให้รับรู้ได้ว่ามีลมหายใจเกิดการพริ้วไหวขึ้นมา 


▲พวยปั้นหรือหูจับปั้นต่างมีการเปลี่ยนแปลงขนาดจากใหญ่ไปเล็ก

▲“หูจับปั้นเดินตามรูปแบบปั้น พวยปั้นต้องออกจากหูจับปั้น”


        การเขียนพู่กันจีนโดยการผ่อนหนักเบาที่ปลายพู่กัน เพื่อให้เกิดความหยาบละเอียดของลายเส้น ลายเส้นที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดหยาบละเอียด ก็คือการสร้างผลงานศิลปะที่มีพลังและการเปรียบต่าง ศิลปะล้วนเชื่อมโยงกัน เนื่องจากพวยปั้นและหูจับปั้นมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เล็ก ลมหายใจจึงไม่หยุดนิ่ง เกิดการไหลวนเวียน


        การอ่านปั้นใบหนึ่ง การทำความเข้าใจปั้นใบหนึ่ง ปั้นทุกๆใบ โดยเฉพาะปั้นรูปแบบดั้งเดิมเหล่านี้ ล้วนสามารถที่จะถอดรหัส คุ้มค่าในการลิ้มชิมรสอย่างละเอียดละออ




เอกสารอ้างอิง :

1. 漫说石瓢壶  

2. 子冶石瓢几何解析

3. 子冶石瓢原作欣赏解读