一次迟到的论证 (三)
แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลก---หยินหนานเมืองจีน
การค้นพบต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายได้รับรองข้อเท็จจริง 2 เรื่อง :
1. แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจีน บริเวณฝั่งลุ่มแม่น้ำหลานชางของหยินหนานคืออาณาเขตศูนย์กลางของแหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลก
2. กระบวนวิวัฒนาการของต้นชาจากพันธุ์ป่าเปลี่ยนเป็นเพาะปลูกเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ที่หยินหนาน ใบชาบนโลกถ้าหากไม่มีต้นชาโบราณพันธุ์ป่า ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านของเมืองจีนก็จะไม่มีต้นชาโบราณแบบเพาะปลูก
“ลูกหลาน” ที่พัฒนาเจริญเติบโตจากปังหวาย มีสวนชาโบราณหนานนั่วซาน(南糯山古茶园) สวนชาโบราณว่านหมู่จิ่งหม้ายซาน(景迈山万亩古茶园)ของหยินหนาน และแพร่ขยายพันธุ์ไปถึงพื้นที่ซื่อชวน กุ๊ยโจว เจียงซู เจ้อเจียง หูหนาน หูเบ่ย กว่างตง กว่างซี ฝูเจี๋ยน อันฮุย เป็นต้น และแผ่ขยายไปถึงประเทศเวียตนาม พม่า อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น
การประกาศผลลัพธ์ครั้งนี้เป็นข่าวเกรียวกราวไปทั้งโลก การค้นพบและกระทำการพิสูจน์ของต้นชาไม้ใหญ่ปังหวาย ไม่เพียงเฉพาะยุติการโต้แย้งที่ดำเนินมาร้อยกว่าปีเกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของต้นชา สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือการเปิดเผยประชาคมต้นชาโบราณที่ดำรงอยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของหยินหนานต่อชาวโลก
มีผลลัพธ์หนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วมกระทำการพิสูจน์ในปีนั้นคาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ทำให้เกิดผลเป็นเชื้อปะทุจุดประกาย “บ้าคลั่ง”(热潮) ชาผูเอ๋อร์อย่างต่อเนื่องในภายภาคหลัง
พูดอีกนัยหนึ่ง ในปีนั้นที่เหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านชาเมื่อทำการทบทวนความหมายของกระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ เพียงแต่หยิบยกคุณค่าทางวิทยาสาสตร์ที่มีต่อประวัติการพัฒนาของใบชา วิวัฒนาการของวัฒนธรรมชา การเจริญพันธุ์ของใบชา การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเพาะปลูกและการใช้ประโยชน์ทางตรง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่ากระทำการพิสูจน์ครั้งนี้ถือเป็นการเปิดม่านของการเฟื่องฟูครั้งที่ 2 ของชาผูเอ๋อร์แบบเงียบๆอย่างไม่คิดไม่ฝัน(บนประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์การเฟื่องฟูครั้งแรกควรจะอยู่ในช่วงรัชสมัยยุงเจิ้นและเฉียนหลงของราชวงศ์ชิง)
ชาผูเอ๋อร์แม้ว่ามีประวัติการผลิตมากว่าพันปีในเมืองจีน แต่หยินหนานถิ่นกำเนิดของมัน ในประวัติศาสตร์จัดอยู่ในเขตชายแดนตลอดมา ถือเป็นเขตพื้นที่ปิด คนนอกเขตพื้นที่เข้าใจน้อยมาก นี่จึงทำให้ชาผูเอ๋อร์ในประวัติศาสตร์เคยอยู่ในอาณาเขตที่ยากจะทำการติดต่อได้ แม้ว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ผู้คนภายนอกรับรู้น้อยมาก แม้ว่าชาผูเอ๋อร์เคยเฟื่องฟูปรากฏขึ้นมาครั้งหนึ่งในยุคสมัยราชวงศ์ชิงของเมืองจีน แต่มันก็เพียงเตร็ดเตร่อยู่ในพระราชวังของนครเบ่ยจิงและเป็น “ของหรูหรา” ของบรรดาชนชั้นสูงในเมืองหลวง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้านทั่วไป ดังนั้น การพัฒนาภายใต้ประวัติศาสตร์ที่ยืดยาว ชาผูเอ๋อร์จึงเพียงแค่อยู่ใต้อาณัติของชนชั้นปกครอง กลายเป็นสินค้าชาประจำท้องถิ่น ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในกระแสหลักของวงการใบชาเมืองจีนตลอดมา
ระยะเวลาครึ่งปีอันสั้นหลังจาก “การประชุมการสำรวจกระทำการพิสูจน์ต้นชาไม้ใหญ่ปังหวายหลานชาง” ได้สิ้นสุดลง คือวันที่ 4 ถึง 11 เมษายน 1993 เมืองซือเหมาหยินหนานได้จัด “งานประชุมสัมนานานาชาติชาผูเอ๋อร์เมืองจีนครั้งที่ 1 และ งานประชุมสัมนาการอนุรักษ์ต้นชาโบราณเมืองจีน” ตัวขับเคลื่อนที่เคียงข้าง “2 งาน” นี้คิดไม่ถึงจะเป็น “เทศกาลชาผูเอ๋อร์เมืองจีนครั้งที่ 1”
ปรากฏการณ์ที่มีนัยความหมาย เกือบทั้งหมดของแขกผู้มีเกียรติทั้งภายในและต่างประเทศที่มาร่วมเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 นี้ในช่วงเวลานั้นยังไม่เข้าใจชาผูเอ๋อร์ กระทั่งมีผู้คนจำนวนมากยังดื่มชาเขียวในสถานที่ประชุม นี่ก็คือ “ภาพหนึ่ง” ที่พิเศษในเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 อันที่จริง สิ่งที่มีพลังมากที่สุดที่ดึงดูดแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานก็ยังคงเป็นหัวข้อ “แหล่งต้นกำเนิดต้นชาของโลกอยู่ที่เมืองจีน”
พวกเราสามารถเห็นการรายงานข่าวภายหลังจากสื่อสิ่งพิมพ์ :
【เหวินฮุยเดลิ】 ของฮ่องกง ฉบับวันที่ 15 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《แหล่งต้นกำเนิดใบชาของโลก ผู้เชี่ยวชาญยืนยันซือเหมาหยินหนาน》
【ซินจงเหยียนเป้า】 ของเมืองไทย ฉบับวันที่ 15 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《หยินหนานคือแหล่งต้นกำเนิดใบชาของโลก ผู้เชี่ยวชาญจีนเทศในงานประชุมสัมนายืนยัน》
【ซื่อเจี้ยเยื่อเป้า】 ของฟิลิปปินส์ ฉบับวันที่ 16 เมษายน 1993 พาดหัวข่าวว่า《เขตซือเหมาหยินหนาน คือถิ่นกำเนิดใบชาของโลก》
【เหรินหมิงเยื่อเป้า】 ของเมืองจีน ฉบับต่างประเทศวันที่ 17 เมษายน 1993 ฉบับที่ได้พาดหัวข่าวจากสำนักข่างซินหวา《บ้านเกิดใบชาอยู่แห่งหนใด ผู้เชี่ยวชาญยืนยันอยู่ซือเหมา》
ในการรายงานข่าวของสื่อสิ่งพิมพ์อันมีชื่อเสียงเหล่านี้ เป็นการแนะนำชาผูเอ๋อร์หยินหนานที่สดใหม่ ถึงกระนั้น พวกเรายังเชื่อว่าเทศกาลชาผูเอ๋อร์ครั้งที่ 1 ประสบความสำเร็จ
อันดับแรก ความสำเร็จที่มากที่สุดคือ “เชิงนานาชาติ” จากตัวแทนที่เชื้อเชิญพวกเราจะพบเห็นได้ไม่ยาก นักวิชาการทั้งหมด 181 ท่านที่เข้าร่วมประชุมสัมนามีญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีนและใต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น พวกเขาได้นำเสนอ 47 บทความ การประชุมสัมนาที่มีมาตรฐานสูงเช่นนี้ไม่แม้เพียงในหยินหนาน แม้แต่ในวงการวิทยาศาสตร์เมืองจีน นี้ถือเป็นงานแรก
อันดับรอง งานที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ทำให้จุดสนใจของผู้คนจากหัวข้อ “แหล่งต้นกำเนิดของต้นชาอยู่ที่เมืองจีน” เบี่ยงเบนมาทางต้นชาโบราณที่ยังดำรงอยู่อย่างมากมายและขุนเขาชาโบราณ การเร่ร่อนของสวนชาโบราณ ภายใต้การแซ่ซ้องและการตกตะลึงของผู้คน ทันใดนั้นได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์ การเชื่อมต่ออย่างชาญฉลาดแบบนี้ และเป็นการผูกมัดด้วยปัญญา ทำให้ผู้คนเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของชาผูเอ๋อร์และต้นชาโบราณโดยทันที
ต้นชาโบราณพันธุ์ป่า-----ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่าน-----ต้นชาโบราณแบบเพาะปลูก----ชาผูเอ๋อร์
นี่คือตรรกะที่คล้อยตามสถานการณ์แบบหนึ่ง ในตรรกะนี้ ผู้คนไม่เพียงได้ค้นพบความโบราณของชาผูเอ๋อร์(จุดสำคัญกำเนิดจากความโบราณของต้นชา) สิ่งที่สำคัญกว่านี้ก็คือการพยายามค้นหาความหมายโดยนัยอื่นๆที่แยกออกมาจากความโบราณแบบนี้ รวมทั้งการถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมทั้งคุณลักษณะของชา รวมทั้งแหล่งกำเนิดยา แน่นอนยังรวมทั้งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของมัน
ชาผูเอ๋อร์ ก็คือการอาศัยปัจจัยเหล่านี้ เสริมด้วยความอยากรู้อยากเห็นของสังคมนานาชาติที่มีต่อต้นชาโบราณจำนวนมากที่ยังดำรงอยู่ในหยินหนาน แล้วจึงได้ยกฐานะของตนเองให้สูงขึ้น เห็นได้ชัดว่า นี่เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญา
แน่นอน ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่ควรได้รับการนับถือจากคนรุ่นหลัง นั่นก็คือในงานประชุมสัมนาครั้งนี้ได้เผยแพร่《หนังสือข้อเสนอการอนุรักษ์ต้นชาโบราณเมืองจีน》ไปทั่วโลก ไม่ต้องสงสัย มันเป็นจุดเด่นที่มีคุณค่ามากที่สุดของงานประชุมสัมนาครั้งนี้ ต่อมาปรากฏการอุปถัมภ์ต้นชาโบราณก็มาจากการเริ่มต้นครั้งนี้ มันยับยั้งการโค่นต้นชาโบราณตามอำเภอใจ หยินหนานยังคงเก็บรักษาสวนชาโบราณและต้นชาโบราณไว้ได้เป็นจำนวนมากจวบจนปัจจุบันซึ่งเป็นผลจากการประชาสัมพันธ์และการอนุรักษ์ที่ดีเยี่ยม มีอยู่จุดหนึ่งอยากที่จะเพิ่มเติม ครึ่งปีก่อนที่《หนังสือข้อเสนอ》จะเผยแพร่ ก็คือเดือนตุลาคม 1992 หลานชางเมืองที่ต้นชาโบราณแบบเปลี่ยนผ่านได้ถูกค้นพบได้นำหน้าออก《กฏข้อบังคับในการอนุรักษ์ต้นชาโบราณ》แล้ว และมันเป็นกฏหมายข้อบังคับฉบับท้องถิ่นฉบับแรก
........ยังมีต่อ........
แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กระทำการพิสูจน์ที่ล่าช้า》ตอนที่ 3---เขียนโดย เฉินเจี๋ย