คุณค่าที่ 1 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ :
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (2)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (二)
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (2)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (二)
๑. ความหมายของคุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ (普洱茶地理价值的含义)
1. คุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์เกิดจากระบบภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงของหยินหนาน
ระบบภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงนี้ประกอบด้วย ภูมิประเทศตามธรรมชาติ ภูมิอากาศและความหลากหลายของระบบนิเวศผสมผสานรวมกันเป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติแล้วก่อให้เกิดความหลากหลายของชนิดพันธุ์(Species : 物种) ลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษของหยินหนานคือตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งต่ำ ระดับน้ำทะเลสูง ประกอบกับเป็นป่าฝนเขตร้อน(热带雨林)และสภาพอากาศลมมรสุม(季风气候) กลายเป็นระบบนิเวศธรรมชาติแบบวัฏจักร(自然生态循环系统)ที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อให้เกิดความหลากหลายของระบบนิเวศและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ที่ถือเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของหยินหนาน
ความหลากหลายของระบบนิเวศของหยินหนานประกอบด้วย ระบบนิเวศบนบก(陆生生态系统) และ ระบบนิเวศแหล่งน้ำ(水生生态系统)
ระบบนิเวศบนบกประกอบด้วยเกือบทุกประเภทของระบบนิเวศในโลก ระบบนิเวศป่าไม้มีพรรณไม้ต้นใหญ่ถึง 169 ประเภท คิดเป็น 80% ของประเทศจีน ระบบนิเวศป่าไม้พุ่มมีทั้งหมด 4 ระบบ ระบบนิเวศทุ่งหญ้ามีทั้งหมด 3 ระบบ
ระบบนิเวศแหล่งน้ำของหยินหนานประกอบด้วย ระบบนิเวศแม่น้ำ(河流生态系统) และ ระบบนิเวศทะเลสาบ(湖泊生态系统) แม่น้ำ 6 สายเส้นหลักของหยินหนานก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด และทะเลสาบทั้ง 5 บนที่ราบสูงของหยินหนาน สะท้อนถึงลักษณะพิเศษของระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดในเมืองจีน ทรัพยากรทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ในหยินหนานเป็นสิ่งซึ่งหาดูได้ยากในโลก หยินหนานนอกจากถูกยกย่องให้เป็น “ราชอาณาจักรสัตว์”(动物王国) และ “ราชอาณาจักรพรรณพืช”(植物王国) แล้ว ยังถือเป็น “ถิ่นกำเนิดป่าไผ่”(竹林故乡) “ขุมทรัพย์แห่งป่ายา”(药林的宝库) “สวนพิพิธภัณฑ์เครื่องเทศ”(香料博物园) “สวนดอกไม้ธรรมชาติ”(天然大花园) “โลกของเชื้อจุลินทรีย์”(菌类大世界) เป็นต้น พันธุ์ไม้ไผ่ในหยินหนานมีทั้งหมด 28 ประเภท 220 ชนิด คิดเป็น 75% และ 55% ของเมืองจีน หรือคิดเป็น 40% และ 25% ของโลก สารตัวยา พืชพรรณและดอกไม้ เครื่องเทศ เชื้อจุลินทรีย์ มีมากชนิดที่สุดในเมืองจีน
จากเหนือจรดใต้ของหยินหนาน จากระดับน้ำทะเลสูงถึงระดับน้ำทะเลต่ำกระจัดกระจายด้วยป่าสนเขาบนภูเขาสูงถึงป่าดิบชื้นรวมเป็นป่าไม้ได้ 105 ประเภท ประเภทของป่าไม้จำนวนมากแบบนี้หายากมากในเมืองจีน ดังนั้น หยินหนานจึงถูกขนานนามเป็น “คลังตัวอย่างทางชีววิทยาโลก”(世界生物的标本库)
ชาผูเอ๋อร์ได้ก่อกำเนิดขึ้นที่นี้ในระบบนิเวศธรรมชาติอันกว้างใหญ่แบบนี้ เมื่อคนโบราณของหยินหนานได้นำสารอาจเป็นชนิดเดียวหรือหลายชนิดจากระบบนี้มาหลอมรวมกันเข้าไปอยู่ในชาผูเอ๋อร์ องค์ประกอบของชาผูเอ๋อร์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ใบชาหลายๆใบมาทับซ้อนกัน แต่เป็นวิธีการแสดงตนออกมาของลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศธรรมชาติ กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีส่วนร่วมในการหมักของชาผูเอ๋อร์ บางชนิดสืบพันธุ์มายาวนานกว่าร้อยล้านปีแล้ว ดังนั้น ชาผูอ๋อร์ 1 ใบ ไม่เพียงแค่เป็นสินค้าตัวหนี่ง สิ่งที่เป็นมากกว่าคือการปรากฏขึ้นมาใหม่ของคุณค่าทางภูมิศาสตร์
2. คุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์คือความเอื้อเฟื้อที่ธรรมชาติประทานให้แก่มนุษย์
พวกเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตกผลึกจากองค์ความรู้และภูมิปัญญากว่าพันปีของคนโบราณ ภูมิปัญญาเช่นนี้แสดงถึงคนโบราณได้ค้นพบคุณค่าของมัน และการเคารพนับถือกฏแห่งธรรมชาติแล้ววิวัฒนาการเป็นสินค้าตัวหนึ่ง แต่ชาผูเอ๋อร์ที่จุติขึ้นมาจากคุณค่าทางภูมิศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่คนโบราณและคนรุ่นปัจจุบันไม่สามารถปลอมแปลงและลอกเลียนแบบได้ เพราะมันมีความชัดเจนทางด้านคุณลักษณะทางธรรมชาติ คุณลักษณะทางพันธุกรรม คุณลักษณะของระบบ และคุณลักษณะที่ลอกเลียนแบบไม่ได้ เป็นสิ่งซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบันยังยากที่จะก้าวล้ำไปถึงได้
เมื่อพวกเรายืนอยู่ในท่ามกลางสวนต้นชาโบราณ(古茶树园) เบื้องหน้าเป็นต้นชาโบราณอายุกว่าพันปีต้นหนึ่ง พวกเราไม่ทราบว่าเริ่มแรกมันเจริญเติบโตมาอย่างไร---มาจากการเพาะปลูกของบรรพบุรุษโบราณของพวกเรา? หรือมาจากเมล็ดพันธุ์ที่ลมมรสุมเขตร้อนพัดตกลงมาที่นี้? แต่ไม่ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ตอนที่เราจดจ้องมองพวกมันอยู่ จะสามารถรู้สึกได้ว่ามีพลังงานตามธรรมชาติที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนดำรงอยู่
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงคุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์แล้ว ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน พวกเราล้วนต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากธรรมชาติ...
........ยังมีต่อ........
หมายเหตุ :
@แม่น้ำ 6 สายเส้นหลักของหยินหนาน :
1. แม่น้ำจินซา (金沙江)
2. แม่น้ำโขง (澜沧江)
3. แม่น้ำสาละวิน (怒江)
4. แม่น้ำอิรวดี (依洛瓦底江)
5. แม่น้ำเหยียน (元江)
6. แม่น้ำหนานผาน (南盘江)
@ทะเลสาบทั้ง 5 บนที่ราบสูงของหยินหนาน :
1. ทะเลสาบเตียนเฉือ (滇池)
2. ทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ (洱海)
3. ทะเลสาบฝูเซียน (抚仙湖)
4. ทะเลสาบยี่หลง (异龙湖)
5. ทะเลสาบหลูกู (泸沽湖)
1. คุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์เกิดจากระบบภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงของหยินหนาน
ระบบภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงนี้ประกอบด้วย ภูมิประเทศตามธรรมชาติ ภูมิอากาศและความหลากหลายของระบบนิเวศผสมผสานรวมกันเป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติแล้วก่อให้เกิดความหลากหลายของชนิดพันธุ์(Species : 物种) ลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษของหยินหนานคือตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งต่ำ ระดับน้ำทะเลสูง ประกอบกับเป็นป่าฝนเขตร้อน(热带雨林)และสภาพอากาศลมมรสุม(季风气候) กลายเป็นระบบนิเวศธรรมชาติแบบวัฏจักร(自然生态循环系统)ที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อให้เกิดความหลากหลายของระบบนิเวศและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ที่ถือเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของหยินหนาน
ความหลากหลายของระบบนิเวศของหยินหนานประกอบด้วย ระบบนิเวศบนบก(陆生生态系统) และ ระบบนิเวศแหล่งน้ำ(水生生态系统)
ระบบนิเวศบนบกประกอบด้วยเกือบทุกประเภทของระบบนิเวศในโลก ระบบนิเวศป่าไม้มีพรรณไม้ต้นใหญ่ถึง 169 ประเภท คิดเป็น 80% ของประเทศจีน ระบบนิเวศป่าไม้พุ่มมีทั้งหมด 4 ระบบ ระบบนิเวศทุ่งหญ้ามีทั้งหมด 3 ระบบ
ระบบนิเวศแหล่งน้ำของหยินหนานประกอบด้วย ระบบนิเวศแม่น้ำ(河流生态系统) และ ระบบนิเวศทะเลสาบ(湖泊生态系统) แม่น้ำ 6 สายเส้นหลักของหยินหนานก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด และทะเลสาบทั้ง 5 บนที่ราบสูงของหยินหนาน สะท้อนถึงลักษณะพิเศษของระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดในเมืองจีน ทรัพยากรทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ในหยินหนานเป็นสิ่งซึ่งหาดูได้ยากในโลก หยินหนานนอกจากถูกยกย่องให้เป็น “ราชอาณาจักรสัตว์”(动物王国) และ “ราชอาณาจักรพรรณพืช”(植物王国) แล้ว ยังถือเป็น “ถิ่นกำเนิดป่าไผ่”(竹林故乡) “ขุมทรัพย์แห่งป่ายา”(药林的宝库) “สวนพิพิธภัณฑ์เครื่องเทศ”(香料博物园) “สวนดอกไม้ธรรมชาติ”(天然大花园) “โลกของเชื้อจุลินทรีย์”(菌类大世界) เป็นต้น พันธุ์ไม้ไผ่ในหยินหนานมีทั้งหมด 28 ประเภท 220 ชนิด คิดเป็น 75% และ 55% ของเมืองจีน หรือคิดเป็น 40% และ 25% ของโลก สารตัวยา พืชพรรณและดอกไม้ เครื่องเทศ เชื้อจุลินทรีย์ มีมากชนิดที่สุดในเมืองจีน
จากเหนือจรดใต้ของหยินหนาน จากระดับน้ำทะเลสูงถึงระดับน้ำทะเลต่ำกระจัดกระจายด้วยป่าสนเขาบนภูเขาสูงถึงป่าดิบชื้นรวมเป็นป่าไม้ได้ 105 ประเภท ประเภทของป่าไม้จำนวนมากแบบนี้หายากมากในเมืองจีน ดังนั้น หยินหนานจึงถูกขนานนามเป็น “คลังตัวอย่างทางชีววิทยาโลก”(世界生物的标本库)
ชาผูเอ๋อร์ได้ก่อกำเนิดขึ้นที่นี้ในระบบนิเวศธรรมชาติอันกว้างใหญ่แบบนี้ เมื่อคนโบราณของหยินหนานได้นำสารอาจเป็นชนิดเดียวหรือหลายชนิดจากระบบนี้มาหลอมรวมกันเข้าไปอยู่ในชาผูเอ๋อร์ องค์ประกอบของชาผูเอ๋อร์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ใบชาหลายๆใบมาทับซ้อนกัน แต่เป็นวิธีการแสดงตนออกมาของลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศธรรมชาติ กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีส่วนร่วมในการหมักของชาผูเอ๋อร์ บางชนิดสืบพันธุ์มายาวนานกว่าร้อยล้านปีแล้ว ดังนั้น ชาผูอ๋อร์ 1 ใบ ไม่เพียงแค่เป็นสินค้าตัวหนี่ง สิ่งที่เป็นมากกว่าคือการปรากฏขึ้นมาใหม่ของคุณค่าทางภูมิศาสตร์
2. คุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์คือความเอื้อเฟื้อที่ธรรมชาติประทานให้แก่มนุษย์
พวกเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชาผูเอ๋อร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตกผลึกจากองค์ความรู้และภูมิปัญญากว่าพันปีของคนโบราณ ภูมิปัญญาเช่นนี้แสดงถึงคนโบราณได้ค้นพบคุณค่าของมัน และการเคารพนับถือกฏแห่งธรรมชาติแล้ววิวัฒนาการเป็นสินค้าตัวหนึ่ง แต่ชาผูเอ๋อร์ที่จุติขึ้นมาจากคุณค่าทางภูมิศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่คนโบราณและคนรุ่นปัจจุบันไม่สามารถปลอมแปลงและลอกเลียนแบบได้ เพราะมันมีความชัดเจนทางด้านคุณลักษณะทางธรรมชาติ คุณลักษณะทางพันธุกรรม คุณลักษณะของระบบ และคุณลักษณะที่ลอกเลียนแบบไม่ได้ เป็นสิ่งซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบันยังยากที่จะก้าวล้ำไปถึงได้
เมื่อพวกเรายืนอยู่ในท่ามกลางสวนต้นชาโบราณ(古茶树园) เบื้องหน้าเป็นต้นชาโบราณอายุกว่าพันปีต้นหนึ่ง พวกเราไม่ทราบว่าเริ่มแรกมันเจริญเติบโตมาอย่างไร---มาจากการเพาะปลูกของบรรพบุรุษโบราณของพวกเรา? หรือมาจากเมล็ดพันธุ์ที่ลมมรสุมเขตร้อนพัดตกลงมาที่นี้? แต่ไม่ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ตอนที่เราจดจ้องมองพวกมันอยู่ จะสามารถรู้สึกได้ว่ามีพลังงานตามธรรมชาติที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนดำรงอยู่
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงคุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์แล้ว ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน พวกเราล้วนต้องอาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากธรรมชาติ...
........ยังมีต่อ........
หมายเหตุ :
@แม่น้ำ 6 สายเส้นหลักของหยินหนาน :
1. แม่น้ำจินซา (金沙江)
2. แม่น้ำโขง (澜沧江)
3. แม่น้ำสาละวิน (怒江)
4. แม่น้ำอิรวดี (依洛瓦底江)
5. แม่น้ำเหยียน (元江)
6. แม่น้ำหนานผาน (南盘江)
@ทะเลสาบทั้ง 5 บนที่ราบสูงของหยินหนาน :
1. ทะเลสาบเตียนเฉือ (滇池)
2. ทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ (洱海)
3. ทะเลสาบฝูเซียน (抚仙湖)
4. ทะเลสาบยี่หลง (异龙湖)
5. ทะเลสาบหลูกู (泸沽湖)
(แปล-เรียบเรียง-ย่อ
จากบทความ 《4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์》 --- คุณค่าที่ 1 : “คุณค่าทางภูมิศาสตร์”...เขียนโดย
เฉินเจี๋ย)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (1)
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (3)
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (1)
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (3)