วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์ (2)

ชาผูเอ๋อร์ : ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์ (2)
普洱茶 : 引人入胜的谜团 (二)




        นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีก 2 คำถาม :

        1. คือเทคโนโลยี่การผลิตของชาผูเอ๋อร์คงไว้ซึ่งแบ่งออกเป็นศิลปกรรมแบบโบราณ(古法技艺)และกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่(现代制作工艺) ชาผูเอ๋อร์ถือเป็นศิลปหัตถกรรม(手工技艺)แบบหนึ่ง แต่กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิมจะสูงกว่าศิลปหัตถกรรมที่พวกเราใช้อ้างอิงอยู่ปัจจุบัน การกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้องควรเป็นศิลปกรรมแบบโบราณ เป็นรูปแบบที่แสดงออกมาในขั้นสูงสุดของศิลปหัตถกรรม ที่พวกเรายกย่องชาผูเอ๋อร์เป็นศิลปกรรมแบบโบราณ เป็นเพราะว่าศิลปหัตถกรรมจำนวนมากถูกปกคลุมด้วยการประดิษบ์ร่วมสมัย ศิลปกรรมแบบโบราณของชาผูเอ๋อร์คือระบบการผลิตชาที่เป็นมรดกสืบทอดกันมาทางประวัติศาสตร์ มันเน้นหนักทางความละเอียดปราณีต ไม่ต้องการปริมาณ เพียงต้องการกรรมวิธีที่พิถีพิถันและวิจิตรสมบูรณ์ มีความมุ่งมั่นที่นำชิ้นงานทางศิลปกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดใส่เข้าไปในแต่ละผลิตภัณฑ์ ผลักดันคุณภาพถึงจุดสูงสุดเท่าที่จะเป็นได้ แน่นอน ในที่นี้จะต้องมีรสการชิม(品味)และรสนิยม(品格)ของนักผลิตชาที่ดลบับดาลให้เกิดขึ้น แม้กระทั่งเป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่ง เป็นกรรมวิธีการผลิตชาแบบหนึ่งที่ซ่อนด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์

        แต่ทว่า กรรมวิธีการผลิตชาของชาผูเอ๋อร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมิใช่ใช้ศิลปกรรมแบบโบราณทั้งหมด ส่วนใหญ่คือศิลปกรรมยุคสมัยใหม่(现代技艺) ศิลปกรรมยุคสมัยใหม่คือใช้รูปแบบเชิงอุตสาหกรรมเป็นตัวนำ คือการใช้เทคโนโลยี่และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นตัวช่วย ผ่านวิธีการเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มูลค่าทางธุรกิจสูงสุดจากกำลังการผลิตอย่างเป็นรูปแบบมาตรฐาน การค้าที่ลักษณะฉาบฉวยถือเป็นจุดหลักที่สำคัญของพวกมัน ในท้องตลาดที่เต็มไปด้วยของปลอมคุณภาพต่ำจำนวนมากถือเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ได้จริง

        แม้ว่าในวงการชาผูเอ๋อร์มีการอภิปรายถึงปัญหาด้านศิลปกรรมแบบโบราณ(古法技艺)และกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่(现代工艺)น้อยมาก แต่ถ้ากล่าวเฉพาะด้านคุณลักษณะของกรรมวิธีโดดๆแล้ว กรรมวิธีสองรูปแบบนี้มีแก่นสารที่แตกต่างกัน

        สังเกตจากมุมมองทางชีววิทยา กรรมวิธีสองรูปแบบนี้ภายนอกดูคล้ายกันหรือใกล้เคียงกัน แต่รายละเอียดบางจุดของการปฏิบัติมีข้อแตกต่างกันมาก และพอดีเป็นรายละเอียดทางชีววิทยา อันนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากด้านคุณภาพที่จะปรากฏในอนาคต พูดให้ง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้น โดยจะใช้ชาเกรดห้างที่เหลืออยู่เป็นตัวอย่างมาตรฐาน แล้วเทียบกับชาผูเอ๋อร์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ ในอนาคตจะไม่สามารถได้คุณภาพถึงระดับของชาเกรดห้าง อาจเป็นเพราะว่า กรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ของชาผูเอ๋อร์ได้เพียง “ร่าง”() ของศิลปกรรมแบบโบราณ แต่ขาด “วิญญาณ”() ของศิลปกรรมแบบโบราณ

        2. คือชาเกรดห้างในท่ามกลางชาผูเอ๋อร์ตามพื้นฐานใช้ชาต้นโบราณที่มีเฉพาะในหยินหนาน และชาต้นโบราณในสมัยนั้นก็มีอายุหลายร้อยปี แม้กว่าพันปี แต่ชาผูเอ๋อร์ยุคสมัยนี้จำนวนมากใช้ชาไร่ แม้ว่าชาไร่โดยส่วนใหญ่ถือเป็นต้นชาไม้ต้นพันธุ์ใบใหญ่ ผ่านการตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยลง แต่คุณภาพของใบชาจากชาไร่จะเทียบเท่ากับคุณภาพใบชาจากชาต้นโบราณหรือไม่?

        ผู้บริโภคทั่วไปได้ตั้งคำถามว่า คุณภาพของชาต้นโบราณ ชาไม้ต้นใหญ่ดีกว่าชาไร่จริงหรือไม่? มิเช่นนั้น ทำไมวัตถุดิบจากชาต้นโบราณและวัตถุดิบจากชาไร่จึงมีราคาแตกต่างกันมากเช่นนี้ในท้องตลาด? นี้ก็ทำให้ชาผูเอ๋อร์เกี่ยวพันกับอีกปัญหาหนึ่ง และก็เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด---ชาผูเอ๋อร์ดำรงไว้ทางสายเลือดของวัตถุดิบหรือไม่? ถ้าเช่นนั้นสิ่งที่ต้องมีก่อนอันดับแรกของ “สายเลือดดั้งเดิม”(正宗血统) ของชาผูเอ๋อร์ก็มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหรือไม่?

        นอกจากสิ่งเหล่านี้ พวกเรายังมีอีกคำถามหนึ่ง เกี่ยวกับข่าวที่ชาวบ้านนิยมลือกันว่าชาผูเอ๋อร์สามารถรักษาสารพัดโรคได้

        ลักษณะพิเศษอย่างกว้างขวางของสรรพคุณทางยาที่ชาผูเอ๋อร์มอบให้มา มีคนล้อเล่นว่าเป็นการ “ก้าวกระโดดของมวลมนุษยชาติ”(全民大跃进) สิ่งที่ทำให้พวกเราประหลาดใจคือ การก่อให้เกิดกระแสเช่นนี้ทำนองเดียวกันมาจากใต้หวัน ฮ่องกงและกว่างตงของจีน พวกเขาจัดชาผูเอ๋อร์เข้าไปอยู่ในขอบเขตของการรักษาโรค แม้กระทั่งโรคเรื้อรังบางโรคที่ทำให้พวกเราปวดหัวที่สุดในปัจจุบันทั้งหมดถูกจัดรวมเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย

        เมื่อตอนที่พวกเราค้นคว้าหาอ่านบทความหัวข้อของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และรายงาน(Paper : 论文)เกี่ยวกับชาผูเอ๋อร์อย่างละเอียด รู้สึกแปลกใจอย่างมากที่พบเห็นว่ารายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนทางด้านนี้มีน้อยมาก ยืนอยู่บนมุมมองทางด้านเภสัชเวช(药物学) พวกเราแทบจะไม่เห็นแนวความคิดด้านการรักษาแบบสมัยใหม่ทางวิทยาการจำแนกโรค(Nosology : 疾病分类学) โดยการใช้กรอบมาตรฐานทางด้านพยาธิกำเนิด(Pathogeny : 病因) พยาธิวิทยา(Pathology : 病理) ตำแหน่งของการเกิดโรค(病位) และเพื่อการศึกษาวิจัยด้านองค์ประกอบทางยาและกลไกทางยาของชาผูเอ๋อร์ ลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่รายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีจำนวนมาก แต่ผลของงานวิจัยทางวิทยาสาสตร์มีน้อย เนื่องจากผลของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะต้องได้รับการพิสูจน์จากหมู่คณะผู้เชี่ยวชาญที่มีระดับ ซึ่งแยกออกเป็นระดับประเทศ ระดับมณฑล ระดับเมือง ส่วนรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นเพียงแค่ตัวแทน “ทฤษฎีลักษณะเฉพาะ”(一家之言) เมื่อเป็นประการฉะนี้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์กลายเป็นสถานการณ์กระอักกระอ่วนที่ “เอกสารเชิงการค้าที่สวมเสื้อนอกของวิทยาศาสตร์” มีมากกว่า “เอกสารเชิงวิชาการที่เที่ยงตรง” ทำนองเดียวกัน กลายเป็นสถานการณ์กระอักกระอ่วนที่เกิดจากเรื่องจริงคือหลังจากได้คิดประดิษฐ์การหมักกอง(渥堆发酵)ในยุคปี 70 ศตวรรตที่แล้ว ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ของชาผูเอ๋อร์ก็ต้องหยุดชงักไปเฉยๆ

        แน่นอน วงการชาผูเอ๋อร์ก็เกิดปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดเรื่องหนึ่ง เป็นไปตามที่ประชากรชิมดื่มชาผูเอ๋อร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คำกล่าวขานในหมู่ชาวบ้านที่ว่าชาผูเอ๋อร์สามารถแทนยาได้ต่างๆนานายิ่งมายิ่งมาก จำนวนผู้คนส่วนใหญ่เหล่านี้ได้จากความรู้สึกจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายปัจเจกบุคคล และในบางด้านกลายเป็นความเข้าใจร่วมกันของชาวบ้านไปแล้ว หรือเป็นประสบการณ์ของชาวบ้าน พลังเหล่านี้ถือเป็นกำลังหลักที่ขับเคลื่อนผลักดันให้ชาผูเอ๋อร์แพร่ขยายมากขึ้น

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ชาผูเอ๋อร์ : ปริศนาซึ่งทำให้หลงเสน่ห์》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย