วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

เส้นทางใบชา (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม
《茶叶之路》 第二集 : 风起下梅




        หมู่บ้านเซี่ยเหมย(下梅村)ตั้งอยู่ทางแถบตะวันออกของเมืองหวู่หยีซานมณฑลฝูเจี๋ยนเมืองจีน เนื่องจากอยู่ตรงปลายน้ำของลำธารเหมย(梅溪) จึงตั้งชื่อว่า “เซี่ยเหมย” ช่วงปลายหมิงต้นชิง ที่นี้เคยเป็นจุดศูนย์กลางการส่งออกชาหวู่หยี ต่อมากลายเป็นจุดตั้งต้นของ “เส้นทางใบชา” ช่วงเวลานั้น บรรดาพ่อค้าชาเซี่ยเหมย “ตระกูลแซ่โจว”(邹氏家族)เป็นพ่อค้าชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตราบเท่าถึงทุกวันนี้แซ่โจวยังเป็นแซ่ใหญ่ของหมู่บ้านเซี่ยเหมย คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ล้วนเป็นชนรุ่นหลังของตระกูลโจว

        300 กว่าปีก่อน พื้นเพเดิมของบรรพบุรุษตระกูลโจวก็คือทำการค้าขายใบชา ในยุคที่เส้นทางใบชาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ตระกูลแซ่โจวอาศัยธุรกิจใบชากลายเป็นตระกูลร่ำรวยของท้องถิ่น พื้นเพตระกูลโจวไม่ใช่คนท้องถิ่นหวู่หยีซาน ช่วงรัชสมัยซุ่นจื้อราชวงศ์ชิง คนเจียงซีที่มีนามว่า โจวเหยียนเหล่า(邹元老) ได้พาครอบครัวอพยพมาถึงหวู่หยีซาน แล้วตั้งรกรากที่เซี่ยเหมย สิ่งที่ดึงดูดพวกเขาให้มาปักหลักก็คือชาของที่นี้

        เขตพื้นที่หวู่หยีซานตั้งอยู่ทางแถบเหนือของมณฑลฝูเจี๋ยน มีประวัติการผลิตชาสามารถย้อนหลังไปถึงยุคราชวงศ์ถัง ในช่วงสมัยนั้น ผู้คนจำนวนมากนำชามาเป็นวัตถุยาชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นเครื่องดื่มเพื่อดับกระหาย ดังนั้น ทุกๆบ้านจึงต้องมีการตระเตรียมไว้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อใช้ทางคุณค่าของยา จวบจนปัจจุบัน หวู่หยีซานยังมีคำกล่าวที่ว่า : “ชาใหม่ดื่มกลิ่นหอม ชาเก่าดื่มฤทธิ์ยา

        จาก《บันทึกเมืองฉงอาน》ฉบับท้องถิ่นได้บันทึกไว้ว่า : “ชาหวู่หยีเริ่มในถัง รุ่งเรืองในซ่งเหยียน ตกต่ำในหมิง แล้วฟื้นฟูในชิง” สิ่งที่ทำการบ่มเพาะต้นชาในหวู่หยีซานมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก็คือสภาพทางภูมิศาสตร์และเงื่อนไขทางธรรมชาติที่พระเจ้าสร้างให้มาของที่นี้เทือกเขาหวู่หยีซาน เหนือต้านกระแสลมหนาว ใต้รับลมไออุ่นจากมหาสมุทร ทำให้สภาพภูมิอากาศที่นี้อบอุ่น ปริมาณน้ำฝนสมบูรณ์ตลอดปี สภาพแวดล้อมภายใต้ภูมิอากาศลักษณะเช่นนี้ ทำให้หวู่หยีซานกลายเป็นสวนสนุกที่พรรณพืชเจริญเติบโต เป็นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นชา



        เขตพื้นที่หวู่หยีซานมีร่องหุบเขาลึก(坑涧)หลายสาย ต้นชาก็ปลูกอยู่ในร่องหุบเขาลึกเหล่านี้ ภูผา(岩石)ทั้งหมดเสมือนเป็นฉากกำบัง ไม่ไห้ได้รับภยันตรายจากลม และสวนไร่ชาที่ปลูกอยู่ภายใต้ฉากกำบังเหล่านี้ ระยะเวลาที่กระทบแสงแดดจะสั้น โดยเฉพาะในหน้าหนาว พื้นที่นี้จะมีแมลงศัตรูพืชน้อยมาก อุณหภูมิในหน้าหนาวจะลดต่ำลงมาก พวกแมลงต่างๆในร่องหุบเขาลึกเช่นนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้

        #เนื้อดิน ของหวู่หยีซานถือเป็นแบบฉบับของดินกรวดทรายแดง(丹霞地貌) และหินดินดาน ซึ่งเป็นดินที่ต้นชาชอบ พันธุ์ชาอันหลากหลายและเทคโนโลยีการผลิตชาที่ชำนาญทำให้หวู่หยีซานกลายเป็นเขตพื้นที่ผลิตชาที่สำคัญของเมืองจีน

        เมื่อถึงช่วงปลายหมิงต้นชิง หวู่หยีซานก็กลายเป็นต้นทางที่สำคัญของชาเมืองจีนที่แพร่ออกไปสู่โลกตะวันตก

        ยุคแห่งการเดินเรือมหาสมุทร(大航海时代)ในศตวรรษที่ 15 ถึง 17 ได้ย่นระยะห่างของโลกที่ไม่เคยมีมาก่อน นักเดินเรือที่มาจากยุโรปได้พบเห็น “ชา” เครื่องดื่มวิเศษเป็นครั้งแรกบนชายฝั่งทางตอนใต้ของเมืองจีน รัชสมัยคังซีราชวงศ์ชิง ชาหวู่หยีก็มีชื่อเสียงในยุโรปที่อยู่อันไกลโพ้นแล้ว พ่อค้ามากมายมารับซื้อใบชาที่หวู่หยีซาน ใน《บันทึกเมืองฉงอานสมัยยุงเจิ้น》ได้บันทึกว่าการซื้อขายชาหวู่หยีถือเป็นสินค้าอันดับหนึ่งในบรรดาสินค้าทั้งหมดของหวู่หยีซาน 

        ช่วงเวลานั้น คนตระกูลโจวซึ่งได้ปักหลักที่เซี่ยหมย แล้ว พวกเขาได้เห็นโอกาสการค้าในการส่งออกชาหวู่หยี เพื่อให้เซี่ยเหมยอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบเป็นศูนย์กลางการค้าใบชาของหวู่หยีซาน ตระกูลโจวจึงลงทุนทำการขยาย “ลำธารตังซี”(当溪) เดิมซึ่งเป็นคลองชลประทานเส้นเล็กคับแคบที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านเซี่ยเหมย สร้างท่าเรือเป็นตอนๆบนลำธารตังซี ทำให้แพไม้ไผ่เข้าออกเทียบท่าขนถ่ายได้สะดวก แล้วต่อมาห้างร้านมากมายก็เปิดเต็มสองฝั่งคลอง พ่อค้าชาเต็มไปหมด ลำธารตังซีก็กลายเป็น #คลองลำเลียงเส้นเล็ก ในการหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายสินค้า 



        เมื่อคมนาคมเส้นทางน้ำสะดวก ทำให้เซี่ยเหมยค่อยๆพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายทางเรือของชาหวู่หยี ช่วงรัชสมัยเฉียนหลง #เซี่ยเหมย ได้กลายเป็นตลาดชาที่ใหญ่ที่สุดของเมืองฉงอาน(崇安) ห้างชา “จิ่งหลงห้าว”(景隆号) ของตระกูลโจว การค้ายิ่งมายิ่งเจริญก้าวหน้า

        ปี 1727 สนธิสัญญา《Treaty of Kyakhta》ได้ลงนามร่วมกันระหว่างจีนรัสเซีย ทำให้พ่อค้าจีนจำนวนมากเดินทางไปขายใบชาที่ Kyakhta ซึ่งเป็นการค้าที่ได้ผลกำไรสูงมาก จากบันทึกประวัติศาสตร์ ใบชา 1 ตาน(50 กก.) ตอนนั้น ซื้อจากทางแถบตอนใต้ของเมืองจีนแล้วขนส่งไปขายที่ Kyakhta จะได้ราคาเป็น 4 เท่าหรือมากกว่านั้น

        ฉางว้านต๋า(常万达)พ่อค้าซานซีต้องการควบคุมคุณภาพของใบชาเพื่อให้ได้ผลกำไรมากขึ้น จึงคิดจัดซื้อ ผลิต ขนถ่าย โดยเป็นรูปแบบจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ นำการค้าขายใบชาจากเขตผลิตใบชาหวู่หยีซานดำเนินการจนถึง  Kyakhta โดยตรง ดังนั้น เขาและเพื่อนร่วมเดินทางจากเมืองหยีเช่อ(榆次) มณฑลซานซีมาถึงตีนเขาหวู่หยีซาน หวังว่าจะสามารถหาแหล่งที่ปลูกชาเป็นพื้นที่ใหญ่และทำการขนส่งสะดวก 

        เมื่อล่องตามสายน้ำลงมาถึงเซี่ยเหมย ฉางว้านต๋าเห็นการค้าใบชาที่นี้ยุ่งวุ่นวาย ทำให้ต้องหยุดชงักเพื่อหาคู่ค้าในเซี่ยเหมย พ่อค้าชาตระกูลแซ่โจวที่มีชื่อเสียงที่สุดของท้องที่ได้เข้ามาอยู่สายตาของเขาทันที และคนตระกูลโจวก็รู้สึกเลื่อมใสพ่อค้าซานซีคนนี้ที่ยึดมั่นหาผลประโยชน์โดยคุณธรรม #ถูกที่ถูกเวลา พวกเขาก็เริ่มร่วมมือทางการค้าอย่างทันท่วงที ต่อจากตระกูลฉาง พ่อค้าจิ้น(晋商)ก็มาเซี่ยเหมยยิ่งมายิ่งมากเพื่อมารับซื้อใบชา แล้วว่าจ้างอาจารย์ชาท้องถิ่นทำการผลิต แล้วขนส่งขึ้นไปขายทางเหนือ 

        เส้นทางใบชาที่ตั้งต้นจากที่นี้มุ่งไปทางแถบเหนืออันไกลโพ้น นับจากนี้ไป 2 ฝั่งลำธารตังซีก็ยุ่งวุ่นวายมากยิ่งขึ้น เรือเล็กที่บรรทุกเต็มไปด้วยใบชา ค่อยๆขยับออกจากท่าเรือตังซี แล่นไปทางเหนือเข้าสายธารเหมย ใบชาที่ล้ำค่าเหล่านี้ไปตามเส้นทางชาหมื่นลี้ มุ่งสู่จุดหมายปลายทางเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซีย ช่วงเวลานั้น เส้นทางหลัก 2 เส้นที่ขนชาหวู่หยีส่งไปยุโรปล้วนตั้งต้นที่ #เซี่ยเหมยหวู่หยีซาน เส้นหนึ่งขึ้นไปทางเหนือ จากหวู่หยีซานโดยทางบกทะลุผ่านเขตพื้นที่มองโกเลียและไซบีเรีย ถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กรัสเซียและแผ่นดินยุโรป อีกเส้นหนึ่งลงไปทางใต้ จากท่าเรือการค้าทางใต้ของเมืองจีน ไปตามเส้นทางทะเลแล่นไปทางยุโรป



        หลังจากนั้น จากปลายรัชสมัยเจียชิ่งถึงช่วงรัชสมัยเสียนฟง ตลาดชาเซี่ยเหมยที่เคยเจริญรุ่งเรืองต้อง ค่อยๆถูกทอดทิ้งไปแล้ว ด้านหนึ่ง เป็นเพราะว่าได้เกิดความไม่สงบจากกบฏไท้ผิง(太平天国) ได้ตัดขาดเส้นทางขนส่งใบชาทางแม่น้ำฉางเจียง พ่อค้าจิ้นที่ไปฝูเจี๋ยนทำการค้าใบชาถูกบังคับให้ต้องหยุดกิจการ จุดตั้งต้นของเส้นทางใบชาก็เปลี่ยนมาที่หยางเหลาต้ง(羊楼洞)ของหูเบ่ยและอานหว้า(安化)ของหูหนาน อีกด้านหนึ่ง หลังจากห้าเมืองท่าเพื่อการค้า(五口通商) ท่าชาฝูโจว ก็ได้เปิดดำเนินการ หมู่บ้านชื่อสือ(赤石村)ที่ตั้งอยู่ฝั่งลำธารฉงหยาง อาศัยการคมนาคมที่สะดวกกว่า สุดท้ายได้กลายเป็นศูนย์กลางตลาดชาของเขตพื้นที่หวู่หยีซานแทนที่เซี่ยเหมย  

        ช่วงรัชสมัยคังซี ชาแดงเจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่ผลิตจากด่านถงมู่หวู่หยีซานได้กลายเป็นสินค้าชื่อดังที่สังคมชั้นสูงยุโรปถวิลหา บนต้นน้ำลำธารจิ่วชีซี(九曲溪)เหนือสุดของสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของหวู่หยีซาน หมู่บ้านถงมู่ที่อยู่ห่างจากเซี่ยเหมยประมาณ 70 กม. เป็นพื้นที่ที่ผลิตชาแดงเจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่ยังใช้กรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมโดยผลิตด้วยมืออย่างประณีต เจิ้นซานเสี่ยงจ่งที่คนยุโรปถือเป็นชาที่เป็นสัญลักษณ์ทางคุณภาพ เป็นชาแดงที่มีประวัติศาสตร์ 400 ปีที่ถูกยกย่องให้เป็นบรรพรุษของชาแดงทั้งหลาย

        ชา ในการดำรงชีวิตของคนหวู่หยีซาน ได้แสดงบทบาทที่ไม่สามารถหาตัวแทนกันได้ มันไม่เพียงเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของพวกเขา ยังเป็นเสาหลักที่พวกเกษตรกรชาวชาต้องอาศัยในการยังชีพ หลายร้อยปีก่อน นี่ก็คือเกษตรกรชาวชาธรรมดาด้วยสองมือของตนเองทำการผลิต ชาหวู่หยีที่มีเอกลักษณ์พิเศษ  ทำให้คนยุโรปจำนวนมากต้องหลงรักรสชาติของชาหวู่หยี พ่อค้าชาท้องถิ่นของหวู่หยีซานและเหล่าพ่อค้าจิ้นร่วมด้วยช่วยกัน ผ่านความยากลำบาก ใช้เรือไม้ ใช้อูฐ นำชาหวู่หยีที่หนานุ่มละมุ่น ไปตามเส้นทางชาหมื่นลี้ขนส่งไปถึงแถบเหนืออันหนาวเน็บที่อยู่อันไกลโพ้น นำกลิ่นหอมชาที่ทำให้ผู้คนที่นั่นรู้สึกอบอุ่น ระยะเวลาหลายร้อยปี “เส้นทางใบชา” ที่ผ่านความรุ่งโรจน์และความเสื่อมสลาย ขึ้นๆลงๆ ในเรื่องเล่าน่าพิศวงอันสลับซับซ้อน ลมย่อมต้องพัดผ่านภูเขาเขียวหุบเขาหยกของสวนไร่ชา เรื่องราวใบชาที่เริ่มต้นจากหมู่บ้านเซี่ยเหมยยังไม่ถึงจุดจบ

........จบ《เส้นทางใบชา (2) : เซี่ยเหมยกระเพื่อม》........


สารคดีโทรทัศน์มินิซีรีส์ 6 ตอน《茶叶之路》ตอนที่ 2 :《下梅

《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (1) : ประตูแห่งจักรวรรดิ
《เส้นทางใบชา》ตอนที่ (3) : เสียงกระดิ่งอูฐนอกกำแพงเมืองจีน