วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เจี้ยนจ่านVSเทียนมู่

เจี้ยนจ่านVSเทียนมู่




        เจี้ยนจ่านและเทียนมู่เป็นแนวความคิดที่ไม่เหมือนกัน ในวัฒนธรรมชา ระบบประวัติเครื่องเคลือบดินเผาของญี่ปุ่น เจี้ยนจ่านถือเป็นส่วนหนึ่งของเทียนมู่ และก็จัดอยู่ในระดับสูงสุดของเทียนมู่

        แต่ในมุมมองด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเมืองจีนและมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ เจี้ยนจ่านก็คือเจี้ยนจ่าน มันคือ “เครื่องเคลือบสีดำ” คือเครื่องเคลือบยุคสมัยซ่ง เป็นจุดสุดยอดของเครื่องเคลือบสีดำ ตัวอักษร “เจี้ยนจ่าน” สองคำนี้โดยตัวมันเองก็มีความหมายถึง “ถ้วยชาอันดับหนึ่ง” ของยุคสมัยซ่ง ในวงการชาเรียกขานมันว่า “อุปกรณ์ชาที่กำเนิดขึ้นมาเพื่อชาโดยเฉพาะ” ในวงการเครื่องเคลือบดินเผาเรียนขานมันว่า “ศิลปะแห่งการผสมผสานของดินและไฟระดับความยากอย่างยิ่งยวด” ไม่มีความจำเป็นที่ไปพูดว่าเป็น “เทียนมู่

      「เจี้ยนจ่าน」(建盏) : เป็นคำพูดดั้งเดิมของเมืองจีน บ่งชี้ถึงถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำ ใช้ดินแดงสุ่ยจี๋(水吉红泥)ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูงที่มีอยู่ทางแถบพื้นที่หนานผิง(南平)ของฝูเจี้ยนเป็นเนื้อดินดิบ ใช้น้ำเคลือบที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูงเป็นสารสี ผ่านการเผาผนึกแบบรีดักชั่น(Reduction Firing)จาก「เตาเจี้ยน」(建窑)

      「เทียนมู่」(天目;ญี่ปุ่นออกเสียงว่า “เทนโมกุ”) : จากบันทึกประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยซ่งพวกนักบวชในนิกายเซ็นของญี่ปุ่นที่เดินทางมาศึกษาตามวัดวาอารามทางแถบเขาเทียนมู่(天目山)มณฑลเจ้อเจียงของเมืองจีน ได้นำถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำ(รวมทั้งเจี้ยนจ่านจากเตาเผาเจี้ยนหยาง)ของสมัยนั้น เปรียบดั่งทรัพย์สมบัติอันล้ำค่ากลับประเทศ พวกเขาเรียกขานถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำว่า “ถ้วยเทียนมู่”(天目盏) ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำ ตราบจนถึงทุกวันนี้ได้หลุดพ้นจากบริบทของเจี้ยนจ่านอย่างสิ้นเชิง

▲บันทึกประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น

        ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถแยกแยะ「เจี้ยนจ่าน」และ「เทียนมู่」ออกมาได้ว่าพวกมันมีข้อแตกต่างอย่างไรบ้าง「เจี้ยนจ่าน」เป็นพาหะวัฒนธรรม ประกอบด้วยประวัติศาสตร์「เทียนมู่」เป็นชื่อเรียกทั่วไปทางสากล ก็เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกถ้วยชาชื่อหนึ่งเท่านั้น
     
        ลักษณะพิเศษของเจี้ยนจ่าน

        1. เนื้อดิน : โดยได้จากพื้นที่ตั้งเจี้ยนหยาง มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูง สูงที่สุดถึง8% ทั่วไปจะเรียกว่า “ดินเหล็ก” จึงมีจุดเด่นคือลักษณะเนื้อดินหนักแน่น ดังนั้นตอนการเผาผนึกรูปทรงจะเปลี่ยนกลายเป็นของเสียได้ง่าย

▲ดินเหล็กของเจี้ยนจ่าน : ลักษณะเนื้อดินหยาบหนาหนัก

        2. น้ำเคลือบ : เป็นเคลือบแร่ที่ได้จากพื้นที่ตั้งเจี้ยนหยางเช่นเดียวกัน มีเหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง สูงสุดถึง15% ทั่วไปเรียกว่า “เคลือบเหล็ก” เคลือบสารแร่

▲เคลือบแร่ของพื้นที่ตั้งเจี้ยนหยาง(建阳)

        3. เคลือบครั้งเดียว : ชุบเคลือบเพียงครั้งเดียว ไม่ทำการชุบเคลือบครั้งที่2

        4. การเผาแบบรีดักชั่น : การปรากฏของผลิตภัณฑ์ที่เผาผนึกแบบรีดักชั่นถือเป็นการสำแดงออกที่ค่อนข้าง “ซ่อนรูป

        การเผาผนึกภายใต้ภาวะบรรยากาศรีดิวซิง คือภายในเตาเผาขาดออกซิเจน ดังนั้นเมื่อเชื้อเพลิงเกิดการเผาไหม้ จึงต้องนำออกซิเจนจากภายในสารของน้ำเคลือบกระทั่งจากในเนื้อดินมาช่วยในการเผาไหม้ สารในน้ำเคลือบก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในเตาที่อุณหภูมิสูงและที่อุณหภูมิปกติไม่เหมือนกัน ก็จะเกิดการรีดิวซ์เป็นโครงสร้างโมเลกุลที่พิเศษเฉพาะภายใต้อุณหภูมิสูง ก่อเกิดเป็นสีและความสว่างไสวของสีที่แตกต่างกัน

▲การเปรียบเทียบคุณลักษณะของแร่เหล็หออกไซด์

        4ลักษณะพิเศษของเจี้ยนจ่านดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวชี้ขาดคุณลักษณะของเจี้ยนจ่าน และก็กำหนดความยากของการเผาผนึก อัตราผลผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์ดีจะต่ำมาก ยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นชั้นยอดแล้วต้องอาศัยโชคในการได้โดยบังเอิญ

        ลักษณะพิเศษของเทียนมู่

        1. เทียนมู่มิใช่ “ดินเหล็ก” แต่เป็นดินเกาลินทั่วไป ดินเกาลินสามารถได้ตรงตามที่ต้องการของการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากในกระบวนการเผาผนึกรูปทรงจะเกิดการเปลี่ยนได้ยาก ควบคุมได้ง่าย(นี่ก็คือสาเหตุที่ทำไมเจี้ยนจ่านถึงมีความรู้สึกแบบหนักแน่น แต่เทียนมู่โดยพื้นฐานจะไม่มี)

▲เทียนมู่ : ดินเครื่องเคลือบ (ใต้หวัน)

        2. เคลือบไม่ใช่เคลือบสารแร่ แต่เป็นเคลือบสีหรือเคลือบสารประกอบเคมี ถ้วยชาเทียนมู่ที่ได้จากการเผาผนึกแบบนี้ ความรู้สึกจากการลูบไล้ ความรู้สึกจากริมฝีปากเมื่อดื่มชา โดยเทียบเคียงกับเจี้ยนจ่านแล้วแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

        3. ส่วนที่มีสีสันแจ่มจ้าสวยงามของเทียนมู่ ทั่วๆไปจะทำการชุบเคลือบ2ครั้งจนกระทั่งหลายๆครั้ง เพื่อให้ก่อเกิดสีสันแพรวพราว และเพิ่มประสิทธิผล โดยเทียบเคียงกับเจี้ยนจ่านแล้ว ไม่มีวิธีการใดยากเกินพรรณา

▲เทียนมู่สีสันอลังการ

        4. การเผาผนึกเทียนมู่ ส่วนใหญ่ใช้การเผาแบบออกซิเดชั่น(Oxidation Firing)ที่สามารถควบคุมได้ง่ายกว่า ช่วงการเผา เนื่องจากภายในเตามีออกซิเจนเต็มที่ เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาเตาจะไม่เกิดผลทางเคมีกับสารเคลือบสี ในการเผาผนึกก็เพียงแค่เผาผงสีเคลือบให้หลอมละลาย แล้วหลอมรวมเข้าด้วยกันก่อเกิดเป็นสีสัน ซึ่งทางเทคนิคก็อยู่ที่การผสมสารสีเคลือบ สามารถที่เพียงแค่ซื้อสูตรของสีเคลือบ รู้อุณหภูมิของการเผาผนึกแล้ว ก็สามารถทำการเผาผนึกจนแล้วเสร็จอย่างคงที่ เสมือนกับการไปซื้ออาหารปรุงสำเร็จตามร้านสะดวกซื้อ แล้วกลับบ้านใช้ไมโครเวฟตั้งไฟตามที่กำหนดก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

        ก็มีเทียนมู่บางส่วนที่ใช้การเผาแบบรีดักชั่น แต่ผลึกลายริ้วที่ปราฏกออกมาโดยเทียบเคียงกับเจี้ยนจ่านที่ใช้ “ดินเหล็ก” เผาแบบรีดักชั่นแล้วจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อย่างเจี้ยนจ่านที่เผาผนึกจากญี่ปุ่น ใต้หวันและเต๋อหว้า(德化)ของเมืองจีน เป็นต้น อันที่จริงในความหมายได้หลุดออกจากลักษณะพิเศษของเจี้ยนจ่านไปแล้ว

         ทุกวันนี้「เทียนมู่」ได้กลายเป็นชื่อเรียกทางสากลของถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำไปแล้ว ศิลปินช่างปั้นดินเผาชาวญี่ปุ่นและชาวใต้หวันจำนวนมาก ล้วนได้ทำการเผาผลิตถ้วยชาเคลือบเทียนมู่ ไม่เฉพาะสีเคลือบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลาย คุณภาพเนื้อดินก็ละเอียดประณีต และโดยทั่วไปล้วนเรียกขานว่า “ถ้วยเทียนมู่” ก็มีเพียงถ้วยชาเคลือบสีดำที่ผลิตจากเขตพื้นที่หนานผิงของฝูเจี้ยน จึงจะสามารถเรียกเป็น「เจี้ยนจ่าน」มันและ「เทียนมู่」ที่ผลิตจากเตาเผาอื่นๆมีแก่นสารที่แตกต่างกัน นอกจากพื้นที่ผลิตคนละท้องที่แล้ว ซึ่งเนื้อดินและน้ำเคลือบก็ไม่เหมือนกัน

        ข้อแตกต่างของเจี้ยนจ่านและเทียนมู่

        1) เจียนจ่านล้วนใช้วิธีการเผาแบบตั้งหงาย(正烧) ชั้นเคลือบบนปากถ้วยค่อนข้างบาง และข้างใต้ด้านในจะมีเคลือบสะสมอยู่ค่อนข้างหนา ผนังด้านนอกชุบเคลือบเพียงครึ่งเดียว โดยทั่วไปริมปากปราฏกเป็นสีสนิม มีบ้างที่ใกล้เคียงกับริมปากที่ไม่มีเคลือบ(芒口) เนื่องจากภายใต้อุณหภูมิสูงเคลือบจะเกิดการไหลได้ง่าย ทำให้เกิดปรากฏการณ์เคลือบห้อย ทั่วไปเรียกว่า “เคลือบหยดน้ำตา”(泪釉) หรือ “เคลือบเม็ดไข่มุก”(滴珠釉) นี่คือลักษณะพิเศษหนึ่งของเจี้ยนจ่าน ส่วนริมปากของถ้วยเทียนมู่ค่อนข้างกลมราบเรียบ เกิดปรากฏการณ์เคลือบห้อยน้อยมาก

▲เทียนมู่ : ริมปากกลมราบเรียบ ไม่มีรอยปากแห้ง เจี้ยนจ่าน : ปากแห้ง

        2) เนื้อดินเจี้ยนจ่านประกอบด้วนเม็ดทรายค่อนข้างมาก ทำให้ลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ จาการสัมผัสเนื้อดินเปลือยด้วยมือจะมีความรู้สึกค่อนข้างหยาบกระด้าง แต่ถ้วยชาเทียนมู่ที่เผาผนึกจากศิลปินช่างปั้นดินเผาชาวญี่ปุ่นและชาวใต้หวันจำนวนมาก ไม่เฉพาะลักษณะเนื้อดินจะละเอียดประณีต สีเคลือบก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากสีมาก

▲เจี้ยนจ่าน : ดินเหล็ก เนื้อดินหยาบหนาหนัก เทียนมู่ : ดินเครื่องเคลือบ เนื้อดินละเอียดประณีต

        3) การชี้ขาดจากสารสี เจียนจ่านหลักสำคัญโดยใช้แร่เหล็กเป็นสารสี เหล็กภายใต้สภาวะที่ไม่เหมือนกันจะสำแดงสีออกมาแตกต่างกัน นอกจากเนื้อดินและสูตรของน้ำเคลือบแตกต่างกันแล้วสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ก่อเกิดสีแตกต่างกันก็คือภาวะบรรยากาศของการเผาผนึกที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งทุกวันนี้กลุ่มเทียนมู่ที่นิยมกันในท้องตลาด เคลือบสีก็จะหลากหลายมาก ได้รับความชื่นชอบจากผู้คนจำนวนมาก แต่ทว่าความรู้สึกทางแก่นสารโดยองค์รวมจะขาดตกบกพร่องไปบ้างเล็กน้อย

▲เจี้ยนจ่านดวงดาวพร่างพร่าย เทียนมู่ขนกระต่าย

        4) จากรูปแบบการเผาผนึกก็สามารถตัดสินชี้ขาดออกมาได้ การเผาแบบรีดักชั่นของเจี้ยนจ่านเป็นการยึดแก่นแท้ของเคลือบสีเป็นหลัก คือให้ความสำคัญต่อ “กระบวนการ” ของการเผาผนึกภายในเตา ส่วนกลุ่มเทียนมู่ส่วนใหญ่ใช้การเผาแบบออกซิเดชั่นที่สามารถควบคุมได้ง่ายกว่า

        โดยสรุป : เจี้ยนจ่านคือการเล่นกับ “แก่นสาร” เทียนมู่คือการเล่นกับ “สีสัน

        เทียนมู่อันเนื่องจากการผลิตได้ในปริมาณมากในเชิงธุรกิจ จึงเลือกวิธีการเผาแบบออกซิเดชั่นที่มีความคงที่สูง เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทิศทางการพัฒนาโดยไปทางด้านเคลือบสีของการเผาแบบออกซิเดชั่น เปรียบดั่งจิตรกรจำนวนมากชื่นชอบการวาดลงบนเครื่องเคลือบสีขาว เป็นการค่อนไปทางบริบทของศิลปะหัตถกรรม


เทียนมู่ขนกระต่าย

▲เทียนมู่ใต้หวัน


เอกสารอ้างอิง :
1. 把天目當建盞,你傻呀? https://kknews.cc/culture/xmjgz48.html
2. 知識|建盞與天目盞  https://kknews.cc/culture/29p3k2r.html
3. 「建盞」與「天目」剪不斷理還亂的關係!https://kknews.cc/culture/maavam9.html
4. 天目盞與建盞的關係  https://kknews.cc/culture/38gry58.html
[หมายเหตุ] : เจี้ยนจ่านเป็น1ใน8เครื่องเคลือบที่โด่งดังในยุคสมัยซ่งของเมืองจีน เป็นอุปกรณ์ชาที่ใช้ในพระราชสำนักราชวงศ์ซ่ง เมื่อเผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่น เจี้ยนจ่านที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเทียนมู่(Tenmoku) โดยเฉพาะเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน(Yohen Tenmoku)กลายเป็นถ้วยชาล้ำค่าหาได้ยากยิ่งที่ใครๆต่างก็ชื่นชมคุณค่าและแสวงหาเพื่อครอบครอง จนถึงศตวรรษที่16 พัฒนาจนเป็นถ้วยชาที่มีมูลค่าเทียบเท่าหนึ่งอาณาจักรเขตการปกครอง จนกระทั่งก่อเกิดสงครามเพื่อแย่งชิงถ้วยชาใบเดียวของเหล่ากองทัพซามูไร ปัจจุบัน เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่สมบูรณ์เหลืออยู่แค่3ใบในโลกนี้เก็บรักษาไว้ในญี่ปุ่น และถูกยกย่องให้เป็นสมบัติแห่งชาติญี่ปุ่น ทำไมเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนถึงมีมนตร์เสน่ห์มากมายเช่นนี้ ?

        ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจถึงเวทมนตร์อันทรงพลังของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน มาทำความรู้จักกับความเป็นมาของเจี้ยนจ่านเสียก่อน สนใจโปรดติดตามบทความ《เจี้ยนจ่าน---อุปกรณ์ชาที่มีเรื่องราว》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!