วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

เครื่องลายคราม---สมบัติล้ำค่าของมนุษยชาติ (2)



      【เครื่องลายครามแต่ละยุคสมัย


        1. เครื่องลายครามยุคถัง/唐代青花瓷 


        คนทั่วโลกรู้จักเครื่องลายครามยุคหยวนเป็นอย่างดี แต่แท้จริงแล้วเครื่องลายครามจีนได้เริ่มปรากฏขึ้นในยุคถัง เตาเผาก่งเสี้ยน(巩县窑)ได้ริเริ่มใช้น้ำเคลือบสีน้ำเงินที่ประกอบด้วยแร่โคบอลต์มาตกแต่งเครื่องเคลือบดินเผาแล้ว แต่การผลิตเครื่องลายครามในยุคถังยังไม่ชำนาญพอ ประกอบกับเมื่อเตาเผาก่งเสี้ยนตกต่ำลงแล้วก็เกิดภาวการณ์ขาดตอนไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เครื่องลายครามยุคถังถือเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องลายคราม 

▲ไหพ่นน้ำเคลือบสีครามยุคถัง เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


        หลังผ่านการศึกษาวิจัยเนื้อดิน/น้ำเคลือบ/สีของชิ้นเศษเครื่องเคลือบที่ขุดพบที่หยางโจวในยุค 70-80 ศตวรรษที่20 และทำการแยกแยะวิเคราะห์วัสดุและกรรมวิธีการของเตาเผาก่งเสี้ยนในยุคถังแล้ว จึงสรุปเบื้องต้นได้ว่าแหล่งกำเนิดเครื่องลายครามยุคถังคือทางแถบเมืองก่งเสี้ยนมณฑลเหอหนาน ในช่วงปี 2003 ได้ทำการขุดซากเตาเผาก่งเสี้ยนแล้วค้นพบเศษชิ้นส่วนเครื่องลายครามจำนวนหนึ่ง นี้จึงเป็นการสรุปยืนยันได้ว่าแหล่งกำเนิดเครื่องลายครามยุคถังคือเตาเผาก่งเสี้ยนมณฑลเหอหนาน  

▲ชิ้นส่วนเครื่องลายครามยุคถังขุดพบที่เมืองหยางโจว/扬州มณฑลเจียงซูในปี 1975

▲เหยือกลายครามยุคถังขุดพบที่ซากโบราณสถานถังเฉิงเมืองหยางโจว/扬州

▲เศษชิ้นส่วนลายครามยุคถังขุดพบที่ซากเตาเผาไป่ยเหอเมืองก่งยี่/巩义(ก่งเสี้ยน/巩县)มณฑลเหอหนานในปี 2003

▲เครื่องลายครามยุคถังขุดพบที่ซากเตาเผาหวังเหยเมืองก่งยี่/巩义(ก่งเสี้ยน/巩县)มณฑลเหอหนานในปี 2003


         เครื่องลายครามยุคถังส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหรับ เพราะรูปลักษณะและการเขียนสีลวดลายจะใกล้เคียงกับเครื่องดินเผาเขียนสีลวดลายของอาหรับ นี่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าภาชนะเครื่องลายครามยุคถังหลักใหญ่เพื่อขายส่งออพผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเล 

▲รูปลักษณ์และสีลวดลายของจานลายครามยุคถัง

▲ถ้วยชามดินเผาลวดลายสีครามของอิรักในศตวรรษที่ 9

▲ภาชนะดินเผาลายปลาใบไม้สีครามของอิรักในศตวรรษที่ 9


        สารสีครามยุคถังจัดเป็นแร่ซัลไฟด์ทองแดงโคบอลต์ สำแดงสีน้ำเงิน เกิดจุดผลึก เป็นสารทองแดงโคบอลต์ที่ประกอบด้วยแมงกานีสและเหล็กต่ำ น่าจะเป็นการนำเข้ามาจากทางแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

▲ไหลายครามลายปลายุคถัง เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์ค

▲คณโทลายครามทรงเจดีย์ยุคถังที่ขุดขึ้นจากสุสานยุคถังที่เมืองเจิ้นโจวเมื่อปี 2006

▲จานลายครามยุคถังที่งมขึ้นมาจากซากเรืออัปปาง「Batu Hitam/黑石号」---ที่บรรทุกสินค้าเมืองจีนยุคสมัยถังเต็มลำเรือ ได้อัปปางบริเวณพื้นที่ทะเลใกล้เกาะเบลีตุง (Belitung) ทางด้านตะวันออกของหมู่เกาะชวา จมอยู่ใต้ทะเลเป็นเวลากว่าพันปี ได้ทำการงมขึ้นมาในปี 1988 


        ทำไมถึงไม่สามารถเรียกเครื่องลายครามยุคถังว่าเป็นเครื่องลายครามที่แท้จริง ?

        ๑. เพราะไม่แน่ใจว่าเครื่องลายครามยุคถังเป็นการเขียนสีครามใต้เคลือบหรือไม่

        ๒. สารสีครามยุคถังแม้เป็นสารแร่โคบอลต์ แต่มีสารประกอบที่แตกตต่างจากสารแร่โคบอลต์ของยุคหยวน/หมิง

        ๓. อุณหภูมิการเผาผลิตเครื่องลายครามยุคถังยังไม่สูงพอ


        2. เครื่องลายครามยุคซ่ง/宋代青花瓷


        เนื่องจากชิ้นวัสดุภาชนะที่เป็นเครื่องลายครามยุคซ่งที่แท้จริงมีจำนวนน้อยมาก จึงเกิดข้อสงสัยมากมายต่อเครื่องลายครามยุคซ่งว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ต่อมามีการขุดค้นพบทางโบราณคดีและโบราณวัตถุที่สืบทอดกันมา เป็นเครื่องที่ยืนยันได้ว่าเครื่องลายครามยุคซ่งมีดำรงอยู่จริง 

▲ชิ้นเศษเครื่องลายครามที่ขุดพบใต้ฐานเจดีย์ที่เมืองหลงเฉวียนมณฑลเจ้อเจียงเมื่อปี 1957 ยุคปีผลิตไม่ช้ากว่าปี 977 ยุคซ่งเหนือ

▲ถ้วยลายครามยุคซ่ง

▲เศษชิ้นส่วนเครื่องลายครามที่ขุดพบใต้ฐานเจดีย์ที่เมืองเส้าซิงมณฑลเจ้อเจียงเมื่อปี 1970 ซึ่งเจดีย์นี้ก่อสร้างในปี 1265 รัชศกเสียนฉุนยุคซ่งใต้


        สีลายครามยุคซ่งส่วนใหญ่ล้วนสำแดงสีน้ำเงินอมดำหรืออมเทา มีบ้างที่จะออกดำ สีไม่สดสว่าง เครื่องลายครามที่ขุดพบใต้ฐานเจดีย์ยุคซ่งในมณฑลเจ้อเจียง หลังผ่านการวิเคราะห์ธาตุเคมี สารสีครามที่ใช้เป็นสารแร่โคบอลต์ที่มีแมงกานีสออกไซด์สูงมากของเจ้อเจียง เครื่องลายครามยุคซ่งมีทั้งแบบสีใต้เคลือบและสีบนเคลือบ สีลายครามส่วนใหญ่จะปรากฏสีแผ่ซ่าน 

▲ถ้วยลายครามที่ขุดพบจากสุสานที่นครฉงชิ่งเมื่อปี 2003 สุสานนี้น่าจะฝังในปลายยุคซ่งเหนือ

▲คณโทลายครามยุคซ่งที่ขุดพบที่นครฉงชิ่ง เขียนตราประทับข้างแจกัน “宋元祐三年 崇德厰造/ซ่งเหยีวนโย่วปี3 โรงงานฉงเต๋อสร้าง”


        แม้ยุคสมัยของเครื่องลายครามยุคซ่งจะอยู่หลังเครื่องลายครามยุคถัง แต่พวกมันจะไม่มีจุดกำเนิดที่สัมพันธ์กันโดยตรงไม่ว่าทางด้านรงควัตถุที่ใช้ กรรมวิธีการผลิต ลักษณะลวดลายตกแต่ง รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์เป็นต้น มีเพียงจุดที่เหมือนกันคือ สีลายครามบนเครื่องเคลือบล้วนเป็นการใช้สารแร่โคบอลต์เผาผลิตออกมา


        ระหว่างเครื่องลายครามยุคซ่งกับยุคหยวนจะมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดทางด้านน้ำเคลือบ สารสีครามและลวดลายตกแต่งเป็นต้น พวกมันไม่มีจุดกำเนิดที่ความสัมพันธ์กันทางแก่นสาร แต่พวกมันมีความสัมพันธ์กันในการสืบทอดและการพัฒนาทางเทคนิค เครื่องลายครามยุคหยวนที่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ ก็เป็นเพราะได้ดำเนินการปฏิวัติเทคโนโลยีและการคิดสร้างสรรบนพื้นฐานของเครื่องลายครามยุคซ่ง  

 


เอกสารอ้างอิง :