วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (1)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
茶膏演变史



        ในประวัติการพัฒนาใบชาของเมืองจีน มีปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าอัศจรรย์ใจที่ถูกนักวิชาการทางชามองข้ามอยู่เสมอ นั่นก็คือการที่ “คนชา”(茶人) หรืออาจเป็นจำนวนเล็กน้อยของ “ช่างชำนาญการ”(能工巧匠) ยุคโบราณที่ไม่เคยหยุดทำการทดลองตลอดมา---นำใบชามาทำการแยกสารเส้นใยและของเหลวชา(茶汁)ออกจากกัน แล้วนำของเหลวชาที่ได้มาทำการผึ่งลมให้แห้ง กลับคืนสู่การเป็นชาที่มีระดับสูงขึ้นอีกขั้นที่สามารถดื่มได้ ถือเป็นการสร้างสรรค์ใบชาของเมืองจีนที่เป็นรูปแบบการสำแดงประเภทที่ 2 ซึ่งทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “ฉาเกา”(茶膏 : ครีมชา) ตามการจำแนกใบชายุคสมัยใหม่จัดเป็นชาก้อนละลายทันที(固态速溶茶)หรือเครื่องดื่มของแข็ง(固体饮料)

        ถ้ากล่าวว่าการนำยอดและใบของชาแห้งเป็นเป้าหมายของการชง หลังการชงจบสิ้นลงแล้วใบชายังคงอยู่ในรูปลักษณะของใบชาเดิม(ทั่วไปเรียกว่ากากชา : 茶渣或叶底) ถือเป็นใบชารูปแบบการสำแดงประเภทที่ 1 แล้ว รูปแบบการสำแดงประเภทที่ 2 ก็คือนำสารที่สามารถละลายน้ำในใบชาออกมา ทำเป็นครีมแห้ง(干膏)ที่คล้ายยาจีน หลังเสร็จสิ้นการชง ไม่มีกากชา ทั้งหมดละลายน้ำไปหมด

        ฉาเกาคือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านดำเนินการเชิงลึกชนิดแรกในประวัติการพัฒนาใบชาของเมืองจีนและของโลก

        ฉาเการิเริ่มการผลิตขึ้นในยุคสมัยถัง(唐代) พัฒนาการในยุคสมัยซ่ง(宋代) ชำนาญการในยุคสมัยชิง(清代) จากต้นเค้าถึงชำนาญการผ่านประวัติมากว่าพันปี เนื่องจากมันเกี่ยวโยงกับกรรมวิธีที่สลับซับซ้อน ผลผลิตออกมาต่ำมาก ต้นทุนสูงมากเป็นพิเศษ จึงต้องแอบซ่อนอยู่นอกกระแสหลักของใบชาแต่ไหนแต่ใดมา มวลชนทั่วไปจำนวนน้อยมากที่มีความเข้าใจ แต่มันก็ปรากฏอยู่ในฐานะชาชั้นสูงเป็นประจำ หรือกล่าวได้ว่าตัวมันเองก็คือชาชั้นสูงแขนงหนึ่ง

        นี่เป็นแขนงหนึ่งที่น่าทึ่งมาก สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งที่ “สูงศักดิ์”(高贵) เป็นเพราะว่าผลิตภัณฑ์ชาที่เดินตามเส้นทางนี้ออกมา ล้วนถูกยกให้มีฐานันดร “เครื่องบรรณาการ”(贡品) ร่อนเร่พเนจรอยู่ในพระราชวัง กลายเป็น “ของหรูหรา”(奢侈品) ของพระราชวงศ์ที่สืบต่อเนื่องกันมา ผ่านกาลเวลาเป็นพันปีอย่างจิรังยั่งยืน

        ฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เป็นไปตามเส้นทางแขนงนี้ที่ค่อยๆลอยโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ เมื่อมาถึงราชวงศ์ชิง(清朝) มันก็กลายเป็นกระแสหลักของเส้นทางแขนงนี้ เป็นผู้บุกเบิกประวัติศาสตร์อันสง่างามยาวนานสองร้อยปีโดยตัวมันเอง

        ใบชาเมืองจีนก่อนยุคสมัยฮั่น(汉代) ถูกใช้เป็นยา เป็นเพราะว่าในระยะเริ่มต้นของการพัฒนายาจีนของเมืองจีน ก็นำพืชบางชนิดมาชงน้ำให้ผู้คนดื่มเป็นประจำ เพื่อให้เกิดผลทางการรักษา วิธีการเช่นนี้ในความเป็นจริงยังคงอนุรักษ์ไว้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นทุกวันนี้ที่พวกเรานำเจียวกู่หลาน(绞股蓝) เมล็ดเก๋ากี้(枸杞子) แผ่นโสมจีน(人参片) ดอกสายน้ำผึ้ง(金银花) ชะเอม(甘草) เป็นต้นมาชงดื่ม เป็นการสืบสานวิธีการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ดั้งเดิมที่สุดของยุคโบราณ

        ใบชาหลังยุคสมัยฮั่น เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติครั้งหนึ่ง มันไม่ใช่วัตถุยารสเดียว(一味药材)บนมือของหมอแมะโบราณ(古代郎中)[หมอจีน(中医师)]เพื่อใช้สำหรับคนไข้อีกต่อไป กลายมาเป็นเครื่องดื่มชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป ความหมายของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็คือ ทันทีที่ใบชาได้หลุดพ้นออกจากบริบทของยารักษา หรือกล่าวได้ว่าหลุดออกมาจากพู่กันที่เปิดสูตรยาจีนของหมอแมะโบราณ(หมอจีน) เริ่มเข้าสู่โลกทัศน์ทางการบริโภคประจำวันของมวลชนทั่วไป ความนิยมและปริมาณความต้องการก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การมีส่วนร่วมในการเพาะปลูกและการเด็ดเก็บกับการผลิตใบชาก็ไม่ใช่เป็นการเฉพาะสำหรับหมอแมะโบราณ(หมอจีน) แต่วิวัฒนาการเป็นการตระหนักรับรู้ของกลุ่มมวลชน

        เมื่อเป็นประการฉะนี้ แนวความคิด “คนชา” ของเมืองจีนได้ปรากฏขึ้นมาแล้ว มันไม่ใช่เป็นการเรียกขานเฉพาะถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการเรียกเฉพาะถึงมวลชน(群体)กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นมวลชนที่พิเศษเฉพาะกลุ่มหนึ่ง และก็เป็นมวลชนที่เปี่ยมล้นด้วยภูมิปัญญากลุ่มหนึ่ง

        มวลชนกลุ่มนี้ตั้งแต่หลังยุคสมัยฮั่น นำใบอ่อนแต่ละใบที่เด็ดเก็บจากต้นชามาดำเนินการเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ชาที่มีรูปลัษณะต่างๆ รสชาติที่ไม่เหมือนกัน ก่อเกิดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่โต กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนบริโภคประจำวัน ทำนอง 7 สิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต(开门七件事) : ฟืน-ข้าวสาร-น้ำมัน-เกลือ-ซีอิ๊ว-น้ำส้มสายชู-ชา(柴米油盐酱醋茶) นี้คือการเขียนภาพที่เป็นจริงที่สุด

        มวลชนกลุ่มนี้ได้สืบสานต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคสมัยถัง ปรากฏบุคคลผู้หนึ่งที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดในบรรดา “มวลชนคนชา”(茶人群体)  บุคคลผู้นี้ก็คือลู่หยี่(陆羽)---เป็นบุคคลตั้งแต่ยุคสมัยถังและหลังยุคสมัยถังตราบจนถึงทุกวันนี้ที่คนจีนยกย่องให้เป็น “นักปราชญ์แห่งชา”(茶圣)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 1---เขียนโดย เฉินเจี๋ย