วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (2)
古茶树之谜 (二)




        ความแตกต่างของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่กับต้นชาไร่

        ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่กับต้นชาไร่ล้วนถือเป็นไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ รูปลักษณ์ภายนอกของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่เป็นทรงไม้ต้น เพียงแต่ถ้าอายุยืนยาวขึ้นจะเรียกเป็นต้นชาโบราณ อายุอ่อนจะเรียกเป็นต้นชาไม้ใหญ่

        ส่วนต้นชาไร่ไม่เหมือนกับต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่ มันไม่มีรูปลักษณ์เป็นทรงไม้ต้น แต่มีรูปลักษณ์ต่ำเตี้ยเป็นทรงไม้พุ่ม วงการชาหยินหนานเพื่อให้เกิดความแตกต่างกับต้นชาทรงไม้พุ่มพันธุ์ใบกลางเล็กในเจียงเจ้อ จึงขนานนามว่าต้นชาไร่ ตามข้อเท็จจริง เรียกเป็นต้นชาไร่นั้นถูกต้องแล้ว เนื่องจากแม้ว่าต้นชาไร่จะเตี้ย แต่ยังมีลำต้นหลัก เพียงแต่ลำต้นหลักของต้นชาไร่ส่วนมากซ่อนอยู่ใต้ผิวดิน นอกจากนี้ ความสูงเหนือระดับผิวดินของต้นชาไร่ก็สูงกว่าพันธุ์ใบกลางเล็ก อดีตที่ผ่านมา เขตพื้นที่ชาในหยินหนานไม่มีต้นชาไร่ มีเพียงแค่ต้นชาไม้ใหญ่ ต้นชาไร่ปรากฏเมื่อทศวรรตที่ 70 ศตวรรตที่แล้ว(ยังมีผู้คนไม่น้อยที่คิดว่าเป็นทศวรรตที่ 60) โดยได้รับอิทธิพลจากการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ชาในเจียงเจ้อ เพื่อต้องการผลผลิตสูงและการเด็ดเก็บได้ง่ายสะดวก จึงเจตนาตัดแต่งกิ่งต้นชาให้เตี้ยลง ช่วงสมัยที่ประเทศจีนกำลังอยู่ภายใต้เศรษฐกิจวางแผน สินค้าและวัตถุดิบขาดแคลน จึงมุ่งเน้นเพิ่มผลผลิต พื้นที่ชาที่มีชื่อเสียงเขตหนึ่งในหยินหนาน---หมู่บ้านปานจาง(班章寨)เกือบที่จะต้องมาโค่นต้นชาโบราณทิ้งอันเนื่องจากเอกสารกระดาษหัวสีแดงฉบับหนึ่ง เพื่อที่จะมาเปลี่ยนเป็นสวนชาไร่ สวนชาต้นโบราณ36ผืนที่อยู่ภายใต้การครอบครองของหมู่บ้านปานจางที่พวกเรายังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เกิดจากความมุ่งมั่นขัดขวางของผู้อาวุโสหมู่บ้านปานจาง จึงสามารถรักษาให้ดำรงอยู่ได้ แต่สวนชาโบราณจำนวนมากในหยินหนานไม่มีโชคที่จะได้รับการยกเว้น สิ่งที่มาแทนที่คือสวนชาไร่ผืนใหญ่

        ความจริง ตราบจนถึงปัจจุบัน วงการศึกษาชายังมีข้อโต้แย้งอยู่ประเด็นหนึ่ง หัวข้อของการถกเถียงคือความแตกต่างด้านคุณภาพของชาต้นโบราณและชาไร่ มีนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ณ ปัจจุบันก็ยังยืนยันว่าชาไร่และชาต้นโบราณไม่มีความแตกต่าง เหตุผลของพวกเขาได้จากกการวิเคราะห์ทางเคมีและเปรียบเทียบ ดัชนีชี้วัดทางเคมีของชาสองชนิดนี้แทบจะไม่แตกต่างกัน ซ้ำมีดัชนีชี้วัดบางตัว ชาไร่จะดีกว่าชาต้นโบราณ ผลสรุปเช่นนี้ไม่ทำให้รู้สึกแปลก เพราะรายการที่พวกเขาทำการตรวจสอบแทบจะปลูกถ่ายจากรายการตรวจสอบของชาเขียว พื้นฐานใช้ดัชนีชี้วัด 5 รายการ เช่น Tea Polyphenols(茶多酚) Tea Polysaccharide(茶多糖) Theasaponin(茶皂苷) Caffeine(咖啡碱) Tea Pigments(茶色素) ความจริงเกิดจากรายการที่ตรวจสอบธรรมดาเกินไป ตราบจนถึงทุกวันนี้ปัญหาที่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ที่ยังล้าหลังกว่าภาคปฏิบัติพื้นบ้านของชาผูเอ๋อร์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นกับโสม(人参)ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะทางภาคอีสานของจีน โสมแบ่งเป็นโสมพันธุ์ป่าจากเขาฉางไป๋ซาน(长白山野生参) และ โสมพื้นบ้าน(席地参)(มีการเพาะปลูกที่จี๋หลิน เหลียวหนิง เฮยหลงเจียง เป็นต้น) แต่จากการตรวจสอบสารองค์ประกอบทางเคมี ไม่สามารถหาข้อแตกต่างระหว่างพวกมันเช่นเดียวกัน เหตุผลก็คือกัน เกิดจากรายการตรวจสอบที่ธรรมดาเกินไป

        ขอให้พวกเราย้อนกลับมาดูต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่กับต้นชาไร่อีกครั้ง พวกมันไม่เพียงมีความแตกต่าง แต่เป็นความแตกต่างที่ใหญ่มาก

        1. ความแตกต่างของการเจริญเติบโตขึ้นไปทางแนวสูงจากการเพราะปลูกแบบไม่หนาแน่นกับลักษณะการตัดแต่งกิ่งให้เตี้ยจากการเพาะปลูกแบบหนาแน่น

        ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่แม้จะมีเอกลักษณ์ของลักษณะแบบประชาคม แต่พวกมันก็มีสภาพการเพาะปลูกแบบไม่หนาแน่น มีพื้นที่เพียงพอต่อการยืดออกไปทางแนวนอนและแนวตรง ในระหว่างที่ต้นชายืดขึ้นไปทางด้านบน รากที่อยู่ในดินและส่วนที่อยู่บนผิวดินก็จะเจริญเติบโตพร้อมๆกัน และรากที่อยู่ในดินไม่หยุดที่จะหยั่งลึกลงไปในใต้ดิน เจริญจนถึงระดับหนึ่งแล้วแตกแผ่สยายออกเป็นรากแขนง ก่อให้เกิดเป็นระบบรากที่ใหญ่มาก จากตัวอย่างต้นชาโบราณอายุต้น300ปีในสวนชาโบราณจิ่งม้าย-หยินหนาน กิ่งก้านที่โผล่ออกบนผิวดินมีอยู่สิบกว่าก้าน แต่รากแขนงที่ซ่อนอยู่ใต้ดินมีมากกว่า50000เส้น มากกว่ากิ่งก้านของลำต้นกว่า5000เท่า ยังมีอีก อัตราส่วนความยาวของลำต้นบนดินและระบบรากใต้ดินเกือบ 1:1 รัศมีที่ระบบรากแผ่สยายออกไปก็เกือบจะเท่ากับรัศมีที่กิ่งก้านของลำต้นยืดออกไป ประจักษ์ชัดแล้วว่า รากลึกใบดกของต้นชาโบราณจำต้องอาศัยเนื้อดินในพื้นที่เพาะปลูกที่สอดคล้องกันมาค้ำจุน ระบบรากจึงมีความอิสระที่จะแผ่สยายออกไปในแนวราบและแนวตั้ง เพื่อที่จะได้รับธาตุอาหารจากดินมากที่สุด อย่างที่กล่าวกันว่า “ต้นสูงขนาดไหน รากลึกขนาดนั้น” ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ภาษิตพื้นบ้าน แต่เป็นความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ ส่วนต้นชาไร่จากการเพาะปลูกแบบหนาแน่นโดยมนุษย์ ดินที่ปกคลุมมีเพียงพื้นที่อันแคบเล็ก ประกอบกับเจตนาที่ทำให้มีลักษณะเตี้ยโดยฝีมือมนุษย์ อัตราส่วนของความสูงและความกว้างของลำต้นและความลึกและความกว้างของระบบรากล้วนถูกกดหดตัวลง ธาตุอาหารที่ได้รับจากดินก็จะน้อยกว่าต้นชาโบราณหรือต้นชาไม้ใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน

        2. ลำต้นของต้นชาไม้ใหญ่ยิ่งยาว(ความสูง) เส้นทางลำเลียงธาตุอาหารก็ยิ่งยาว ทำให้มีพื้นที่ภายในมากมายสำหรับ Anabolism และ Catabolism ของพืช มีผลดีต่อการสร้างและสะสมของสารทุติยภูมิในกระบวนการสร้างและสลาย(Secondary Metabolites)ที่มีคุณภาพสูง

        ต้นชาไม้ใหญ่เพื่อการดำรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว การผสมพันธุ์เป็นต้น กิจกรรมทางชีวิต(Vital Activity)จำเป็นต้องทำการแลกเปลี่ยนสสารกับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา ด้านหนึ่งมันจะดูดซึมสารอนินทรีย์เชิงเดี่ยวจากสภาพแวดล้อม แปรเปลี่ยนเป็นสารอินทรีย์เชิงซ้อน ควบรวมเก็บไว้กับตัวส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันทำการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี เก็บไว้อยู่ในสารอินทรีย์ กระบวนการสร้างที่ได้สารสังเคราะห์พร้อมพลังงานเรียกว่า Assimilation(同化作用) หรือ Anabolism(合成代谢) อีกด้านหนึ่ง มันก็สลายสารอินทรีย์เชิงซ้อนที่อยู่ภายในร่างเปลี่ยนเป็นสารอนินทรีย์เชิงเดี่ยว พร้อมคายพลังงานที่เก็บในสารอินทรีย์ออกมาเพื่อสำหรับกิจกรรมทางชีวิต กระบวนการย่อยสลายสารและคายพลังงานออกมาเรียกว่า Diassimilation(异化作用) หรือ Catabolism(分解代谢)

        ทุกปฏิกิริยาของการสังเคราะห์หรือการย่อยสลายถูกควบคุมภาวะสมดุลโดยเอนไซม์ สารประกอบที่ได้จาก Primary Metabolism(初生代谢) อย่างเช่น กลุ่มโปรตีน กลุ่มอะมิโน กลุ่มน้ำตาล กลุ่มไขมัน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เรียกว่า Primary Metabolites(PMs:初生代谢产物) เมื่อPMsถูกการสังเคราะห์และการย่อยสลายอย่างต่อเนื่อง ก็จะเกิด Secondary Metabolism(次生代谢) จะปรากฏสารประกอบทางเคมีใหม่ เช่น กลุ่ม Glucoside ; Alkaloid ; Terpenoid ; Lactone ; Phenol เป็นต้น หรือชื่อทางเคมีเรียกว่า Secondary Metabolites(SMs: 次生代谢产物) ประจวบเหมาะที่SMsเหล่านี้(ที่ถูกควรเรียกเป็นสารประกอบทางเคมี)ถือเป็นสารอาหารทางพืช คือสารที่มีคุณค่ามากที่สุดในใบชา และสามารถเรียกเป็นทองคำแห่งชา

        ส่วนต้นชาไร่แม้ก็ผ่านกระบวนการเหล่านี้ จาก Primary Metabolism ถึง Secondary Metabolism และก็มีสารอาหารทางพืช แต่เนื่องจากลำต้นเตี้ยเกินไป ปริมาณเอนไซม์จากแหล่งกำเนิดภายในมีน้อยมาก “ทรัพยากร” ของการสังเคราะห์และการย่อยสลายในพื้นที่ถูกบีบอัดจำกัด คุณภาพของใบชาจึงต่ำกว่าของต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่อย่างเด่นชัด เมื่อพวกเรานำชาต้นโบราณและชาไร่ที่มาจากพื้นที่เดียวกันเก็บในสภาวะแวดล้อมที่เหมือนกันหลัง10ปี ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกทางรสชาติจากการชิมลองหรือเป็นการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีเปรียบเทียบ ความแตกต่างของคุณภาพจะเห็นได้เด่นชัดมาก

        3. ความแตกต่างระหว่างธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้เคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีกับจำเป็นต้องใช้เคมีเกษตรและปุ๋ยเคมี

        “ชุมชนเผ่าพันธุ์” ของต้นชาไม้ใหญ่ล้วนมีความหลากหลายของลักษณะทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ สวนชาโบราณในเขตพื้นที่ชาหยินหนานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ จากการสำรวจอย่างละเอียด จะพบเห็นว่าแต่ละสวนชาโบราณล้วนมีระบบนิเวศที่เฉพาะเจาะจง และสภาวะแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงนี้ก็ก่อให้เกิดระบบนิเวศจุลินทรีย์แบบวัฏจักรขนาดเล็กโดยธรรมชาติ ในท่ามกลาง ”ชุมชน” ดอกไม้-นก-แมลง-จุลินทรีย์ ก่อให้เกิดห่วงโซ่ชีวภาพตามธรรมชาติ ใบไม้ที่หล่นจากต้นปกคลุมผิวดินหนาเป็นชั้นๆ จุลินทรีย์ต้องทำงานแบบ ”ร้านสะดวกซื้อ 7-11” ย่อยสลายแปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อเกิดการระบาดของโรคพืชจากแมลง ระบบนิเวศจุลินทรีย์แบบวัฏจักรนี้ ก็จะรีบเคลื่อนพลระบบภูมิคุ้มกันโรคที่อยู่ภายในเพื่อร่วม ”ต่อต้านข้าศึก” เพื่อที่จะรักษาไม้ต้นให้ดำรงอยู่ได้อย่างสุดความสารมารถ ให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ สวนชาโบราณจึงไม่ต้องอาศัยเคมีเกษตร ยิ่งไม่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมี มันถือเป็นพืชพรรณคลาสสิคที่ ”อาศัยธรรมชาติหากิน(靠天吃饭)”

        ปีไหนดี ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ต้นชาไม้ใหญ่ก็ให้ผลผลิตสูง ปีไหนแย่ ก็เพียงแค่ผลผลิตลดต่ำลง แต่ต้นชาไร่จำต้องอาศัยเคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีมาคุ้มครองตลอดเวลา เนื่องจากต้นชาไร่ปกคลุมด้วยดินในพื้นที่อันแคบเล็ก ได้รับแร่ธาตุอาหารในดินอย่างจำกัด แหล่งของแร่ธาตุอาหารส่วนหนึ่งจำต้องมาจากปุ๋ยเคมี ขณะเดียวกัน ในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโต ก็จำเป็นต้องอาศัยเคมีเกษตรมา ”ปกป้อง” ถ้าปราศจากเคมีเกษตรและปุ๋ยเคมีแล้ว สิ่งที่ต้องเผชิญไม่ใช่ปัญหาผลผลิตตกต่ำ แต่คือการเหี่ยวเฉาและตายไป ดังนั้น ต้นชาไร่ต้องใช้เคมีเกษตรตลอดเพื่อที่จะ ”วิ่งแข่ง” กับโรคพืชจากแมลง ต้องปรับยกสถานะตลอดเวลา กระบวนการเช่นนี้ ก็คือกระบวนการของดินที่เกิดกลไกการเสื่อมถอย มลภาวะของดินก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น ยิ่งภาวะในปัจจุบันนี้ พืช อากาศ เกิดมลภาวะยิ่งหนักมากขึ้น ธาตุโลหะหนักบนชั้นผิวดินมีปริมาณเกินค่ามาตรฐานทั่วไป ก่อให้ต้นชาที่มีระบบรากตื้นเกิดมลภาวะที่รุนแรง ต้นชาโบราณและต้นชาไม้ใหญ่อันเนื่องจากต้นสูงรากลึก ระบบรากอยู่ลึกลงในชั้นดินที่ไม่เกิดมลถาวะ เมื่อจากการเปรียบเทียบแล้วจึงมีมลพิษที่น้อยกว่า ดังนั้น จากที่พวกเราทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชาจะพบปรากฏการณ์ที่ธาตุโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมลภาวะของดิน...


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
http://www.wtoutiao.com/a/3091189.html

“ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (1)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (3)

โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 03 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย 
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/