วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"เล่าเรื่องใหม่" การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3/3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 3/3 : ชาผูเอ๋อร์ คือ ชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด


     กลางทศวรรษที่ 80 เป็นช่วงเวลาที่นักวิชาการของญี่ปุ่นรู้สึก”ปีติยินดี(欢呼雀跃)”อย่างมากกับชา GABA ที่พัฒนาออกมาใหม่ ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานในเมืองจีน---ผลิตภัณฑ์ชาที่มีกรรมวิธีการผลิตสืบทอดกันมากว่าพันปี ก็ได้เริ่มการ”เดินทาง(征程)”ใหม่

     ความเป็นจริง มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน ก็คือ ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานประกอบด้วยองค์ประกอบเคมีมากมายในนั้นมี GABA ปริมาณมากร่วมอยู่ด้วย หลังจากเราได้แยกแยะวิเคราะห์กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์อย่างละเอียดแล้ว ค้นพบว่า “Road Map(路径)” ของการเกิด GABA ในชาผูเอ๋อร์แสดงให้เห็นถึงเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์มากกว่า สมเหตุสมผลมากกว่า มันไม่เพียงเป็นชา GABA แบบคลาสสิค ยังเป็นชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด

     ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้?

     ลำดับแรก จุดเด่นของชาผูเอ๋อร์คือประกอบด้วยสารที่มีคุณภาพ GABA แม้ว่ามีกระจายอยู่ตามพืชหลายชนิด แต่เส้นทางของการก่อกำเนิดที่สำคัญคือเกิดจาก L-Glutamic Acid Decarboxylation (L-谷氨酸脱羧反应) ปฏิกิริยานี้โดยมีเอนไซม์  Glutamic Acid Decarboxylase (GDC : L-谷氨酸脱羧酶) เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บางสถานการณ์ GABA สามารถแปรเปลี่ยนจาก Ornithine (乌氨酸) และ Putrescine (丁二胺) ซึ่งสารเหล่านี้ก็ได้มาจาก Glutamic Acid (GA ;谷氨酸) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า GA เป็นวัตถุดิบตัวเดียวเฉพาะของ GABA ใบชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานจะมี GA ประกอบอยู่สูงกว่าใบชาเล็กของชาเขียวและใบชากลางของชาอูหลง ในญี่ปุ่น ใบชาพันธุ์เขต Yabukita (薮北) เหมาะที่จะนำมาทำชา GABA รูปแบบชาเขียว ส่วนใบชาเขตอื่นๆจะมี GABA ประกอบอยู่ต่ำ ส่วนชา GABA ในรูปแบบชาอูหลงและชาแดงจะใช้ใบชาพันธุ์ฟูจิแดง(红富士) แต่ GABA ที่ได้จะอยู่ในสถานะไม่ค่อยเสถียร อาจเป็นเพราะคุณภาพของวัตถุดิบมีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้น ใบชาใหญ่ของหยินหนานมีข้อดีที่เด่นชัดในด้านนี้ ใบชาใหญ่ที่ใช้ผลิตชาผูเอ๋อร์มี“Road Map”ของการแปรเปลี่ยนเป็น GABA จาก Enzymatic Catalysis (酶催化) ของ Theanine (茶氨酸) แปรเปลี่ยนเป็น GA แล้ว GA ผ่าน Enzymatic Catalysis แปรเปลี่ยนเป็น GABA

     ลำดับต่อมา Anaerobic Fermentation (AAF : 厌氧发酵) ของชาผูเอ๋อร์ที่ทำให้เกิด GABA มีข้อดีกว่าวิธีแบบ Anaerobic (嫌气方法) ของญี่ปุ่นมากมาย การผลิตชาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิมของหยินหนาน คือ นำเหมาฉา(毛茶)ที่ผ่านการตากแดดมาผ่านไอน้ำร้อนอัดขึ้นรูป เป็นรูปก้อน แผ่นกลม ถ่อ แผ่นสี่เหลี่ยม เป็นต้น เมื่อกระบวนการได้สิ้นสุด ณ ขั้นตอนนี้ ชาผูเอ๋อร์จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนหลังของการหมักแห่งกาลเวลาอันยาวนาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ครึ่งแรกเป็นขั้นตอนของ AAF ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ GABA ก่อเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากและรวบรวมอยู่ในชาผูเอ๋อร์ AAF ของชาผูเอ๋อร์และกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจนของชา GABA ของญี่ปุ่นมีความเหมือนแม้จะแตกต่าง(异曲同工)อย่างน่าฉงน ข้อแตกต่างคือของญี่ปุ่นใช้ภาชนะที่ไม่มีออกซิเจน โดยการอัดก๊าซไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในภาชนะแทนที่อากาศ ทำให้ภายในภาชนะอยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจน แต่ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานใช้วิธีการกดอัดขึ้นรูปทำให้อากาศภายในชาอัดขึ้นรูปถูกไล่ออกไปจนหมด(หรือเหลืออากาศอยู่น้อยที่สุด) ทำให้ส่วนด้านในของชาอัดขึ้นรูปอยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจนเช่นกัน มีสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ “วิธีการหมักกอง(渥堆法)” ของชาสุกจากหยินหนาน ยิ่งถือเป็นแบบคลาสสิคของ AAF ภายใต้ภาวะไม่มีออกซิเจนจะได้ GABA มีปริมาณไม่เฉพาะสูงกว่าชา GABA ของญี่ปุ่นและยังสูงกว่าชาดิบอัดขึ้นรูปแบบดั้งเดิม ใบชาสุกที่ออกจากกองใหม่ๆที่เราจะได้กลิ่นผสมของรสเปรี้ยวเสมอ ทั่วไปเรียกว่า”กลิ่นกอง(堆味)” ที่แท้เป็นผลจาก GABA ที่มีปริมาณมาก ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์ที่เพิ่งออกจากกองจะมีปริมาณ GABA สูง แต่เมื่อ”ออกจากคลัง(退仓)”ผ่านไปสองถึงสามปี”กลิ่นกอง”จะเริ่มหายไปหรือเจือจางลง ปริมาณของ GABA ก็เริ่มลดลงจนถึงจุดระดับที่คงที่ ดังนั้น เราสามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ได้ว่า เมื่อพูดถึงชา GABA กรรมวิธีการผลิตของญี่ปุ่นเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย วิธี AAF ของชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานยังคงมีร่องรอยของการทำงานแบบดั้งเดิมมาก แต่ผลลัพธ์สุดท้าย ชาผูเอ๋อร์จากหยินหนานเบื้องหน้าวิธีการล้าสมัย แต่ผลลัพธ์ออกมาได้ดีกว่า มันเป็นกระบวนการที่ไม่เฉพาะแบบเรียบง่าย ต้นทุนต่ำ แล้วสามารถควบคุมผลได้เหนือกว่า

     แน่นอน มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม วิธีการผลิตชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานจากโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งวิธี”หมักกอง”ที่ได้คิดค้นพัฒนาตามมาทีหลัง ล้วนไม่ใช่พุ่งเป้าเพื่อการให้ได้ GABA เพราะชาผูเอ๋อร์ครอบคลุมถึงสารอาหารที่กว้างขวางกว่ามาก เกินกว่าที่ GABA ตัวเดียวจะมารวบรัดไว้ได้ ขออุปมาอุปไมยดังนี้ GABA คือ 1 หมู่ทหารประจัญบาน  ส่วนชาผูเอ๋อร์เป็น 1 กองทัพ ซึ่งประกอบด้วย หมู่ทหารประจัญบาน กองพันทหารม้า กรมทหารปืนใหญ่ เป็นต้น สิ่งสำคัญคือศักยภาพของการร่วมกันรบ”ทำศึก(作战)” ไกลเกินกว่าที่ชา GABA ที่มีคุณสมบัติด้านเดียวมาเทียบเคียงได้

     เราเริ่มต้นจากการรู้จักชาผูเอ๋อร์ คือ เริ่มจาก”ละลายไขมัน(解油腻)” ต่อมาจากข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริโภคสะท้อนกลับมา จึงเข้าใจชาผูเอ๋อร์มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต เพียงแต่อดีตเราไม่ทราบว่าสารประกอบตัวไหนที่มีผลทางยาและกลไกในการลดความดันโลหิต หลังจากได้ค้นพบ GABA---สารประกอบเคมีที่เป็นองค์ประกอบในชาผูเอ๋อร์ คำกล่าวที่ว่า ชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิต สุดท้ายก็หาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เจอแล้วครับท่าน...

........จบบริบูรณ์........

(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ ”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

"เล่าเรื่องใหม่" การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2/3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 2/3 : ชา GABA  คืออะไร?




     ในปี 1987 Dr.Tsushida Tojiro นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นกำลังศึกษาวิจัยการปฏิรูปกรรมวิธีการผลิตชาเขียวอยู่นั้น ได้ค้นพบว่าเมื่อใบชาสดอยู่ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจนแล้วจะเกิดสาร  GABA เป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาทดลองกับสัตว์ได้ผลยืนยันในการลดความดันโลหิตได้เด่นชัดมาก หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้มาทำการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มปริมาณ GABA ในใบชาได้อย่างไร ผลลัพธ์ได้เทคโนโลยีและวิธีการอันมีประสิทธิภาพหลายๆวิธีด้วยกัน ที่กล่าวมาเพื่อจะขอนำเข้าสู่แนวคิดของชา GABA

     ชา GABA เรียกรวมในชื่อ Gabaron Tea หมายถึง ใบชาที่ต้องมี GABA ประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงอย่างต่ำ 150 mg/100 g ใบชา สมญานามของชา GABA จะแตกต่างจากชาเขียวและชาอูหลง เพราะเป็นชาเพื่อสุขภาพ ในญี่ปุ่นมีการเรียกชื่อต่างๆกัน เช่น ชาลดความดันโลหิต, Gabalong Tea, ชา γ-ลดความดัน เป็นต้น

     การพัฒนาชา GABA เพื่อสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ความเป็นจริงจุดเริ่มต้นจากนักวิทยสศาสตร์ชาวสหรัฐ M.C. Stanton ในปี 1963 ได้ทำการทดลองใช้สาร GABA ฉีดเข้าไปในสัตว์หลายชนิด แล้วตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต ผลลัพธ์ : หมา(ปริมาณฉีด 11 µg/kg) และ กระต่าย(ปริมาณฉีด 19 µg/kg) มีความดันโลหิตลดลงเฉลี่ย 20%

     นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้อาศัยแนวทางนี้ จากมุมมองทางด้านเภสัชวิทยา(药理学)และโภชนศาสตร์คลินิก(临床营养学) ได้ค้นพบว่า GABA สามารถทำให้เอนไซม์ Glucose Phosphoesterase (葡萄糖磷酸酯酶)มีฤทธิ์มากขึ้น สามารถลดความดันโลหิตและลดปริมาณแอมโมเนียในเลือดได้ ดังนั้น พวกเขาจึงได้ทำการทดลองใหม่ที่โด่งดังต่อมา การทดลองครั้งนี้จะใช้ชา GABA โดยตรงและชาเขียวมาทำการกับหนูทดลอง โดยใช้หนูทดลองเพศผู้ 8 ขวบและมีความดันโลหิตสูงเบื้องต้น แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะไม่ใช้ NaCl(เกลือแกง) ส่วนอีกกลุ่มจะใช้ NaCl เพื่อทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แล้วแบ่งแยกโดยฉีดของเหลวของชา GABA และชาเขียวทั่วไป หลังผ่านไป 4 สัปดาห์ทำการตรวจเช็คการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและองค์ประกอบในน้ำเลือด ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า : ชา GABA และชาเขียวทั่วไปทั้งสองสามารถลดความดันโลหิตสูงที่เกิดจาก NaCl แต่ผลของชา GABA มีมากกว่า คือมีผลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด : ทำให้มีมุมมองใหม่เกิดตามมา คือ ถ้าดื่มชา GABA เป็นประจำ จะมีผลในการลดความดันโลหิตและบำรุงสุขภาพ ต่อจากนั้นมาถึงปลายทศวรรษที่ 90 นักวิทยาสาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ทำการทดลองทางคลินิกเป็นจำนวนมาก จนสรุปยืนยันว่า ชา GABA มีผลในการลดความดันโลหิตต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างเด่นชัด 

     ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็ได้มาทำการศึกษาความเป็นพิษของ GABA ที่มีต่อร่างกาย เพราะว่าสารยาทั่วๆไปจะเกิดผลข้างเคียง เมื่อผ่านการศึกษาจำนวนมากแล้วยืนยันได้ว่า ผลข้างเคียงของ GABA เป็นผลชั่วคราว จาการตรวจเช็คร่างกายทางคลินิกไม่ปรากฏมีสิ่งผิดปกติใดๆ เนื่องจากภายในร่างกายมีเส้นทางเมตาบอลิซึมของ GABA ปริมาณของ GABA ที่เกินความต้องการจะไม่เกิดการสะสมภายในร่างกาย เพราะจะถูกเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่อันตรายและไม่เกิดผลข้างเคียง สรุป ชา GABA มีความปลอดภัย

     ณ ที่นี้ ขอทำความเข้าก่อนว่า เทคนิคกรรมวิธีการผลิตชา GABA ที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นมา ไม่ใช่สิ่ง”เร้นลับ(神秘)” ที่แท้ชา GABA และชาเขียวทั่วไปหรือชาอูหลงไม่แตกต่างกันมาก เพียงแค่มี GABA ในปริมาณสูงกว่าอีกหน่อย เมื่อเทีบเคียงกับชาเขียวหรือชาอูหลง กระบวนการผลิตแบบเดียวกันของชาเขียวหรือชาอูหลงเพียงแต่เพิ่มขั้นตอน”การบ่มใบชาสดภายใต้สภาวะไม่มีก๊าซออกซิเจน(鲜叶厌氧处理)” ชา GABA ที่ผลิตได้จะอยู่ในรูปแบบของ ชาเขียว ชาอูหลง ชาแดง เป็นต้น ชา GABA ยังประกอบด้วยสารทีโพลิฟีนอล คาเฟอีน และสารอาหารสำคัญๆในปริมาณเช่นเดียวกับใบชาพื้นฐานทั่วไป ยังไม่หลุดพ้นจากคุณสมบัติเดิมของใบชา และลักษณะรูปภายนอกก็ไม่แตกต่างจากใบชาทั่วไป

     ชา GABA ที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นมาถือเป็นชะตากรรมที่มีมลทิน เพราะจากการบ่มใบชาสดโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิด Fatty Acid Ester (脂肪酸酯) ที่ทำให้ใบชามีรสกลิ่นแปลกปลอมของเปรี้ยวหวาน ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นยังสังเกตเห็นว่า ถ้าหากคัดแยกกิ่งก้านของใบชาออกแล้วชา GABA ที่ผลิตได้จะมีปริมาณ GABA ลดลง เพราะ GABA ส่วนใหญ่จะอยู่ในกิ่งก้านของใบชา แต่ถ้าใบชามีกิ่งก้านมากก็จะไม่เหมาะกับชาเขียวที่ต้องการความรู้สึกสัมผัสแบบดั้งเดิม

     ยังมีอีกจุด ต้นทุนของการบ่มใบชาสดภายใต้สภาวะไม่มีก๊าซออกซิเจนจะสูงมาก ธุรกิจการผลิตชา GABA ในญี่ปุ่นนิยมใช้วิธีแบบ Anaerobic (嫌气处理) โดย : นำใบชาสดที่เด็ดเก็บมาบรรจุในภาชนะ อัดก๊าซไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่อากาศ หรือใส่ใบชาลงในถุงแล้วดูดอากาศออกแล้วอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไป ปิดปากถุงให้แน่นสองชั้น แน่นอน พันธุ์ใบชา ฤดูการเด็ดเก็บ อุณหภูมิความชื้นและเวลาในการบ่มภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน ล้วนมีผลต่อการผลิตชา GABA ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ง่ายดายนัก

     เพราะฉะนั้น วิธีการแบบใหม่เพื่อมาทดแทนก็ปรากฏตัวขึ้นมา คือใช้วิธีการแบบผสม GABA ทางวิศวกรรมชีววิทยามีวิธีการหนี่งที่ใช้ของเหลวมาหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้โปรตีนถั่วเหลือง ผงกรดอะมิโนหรือกรดกลูตาเมตในการเพาะเชื้อ Lactobacillus (乳酸菌) แล้วนำ GABA ที่ผลิตได้ไปปรับให้มีความเข้มข้นในระดับที่กำหนดไปผสมในใบชาตอนขั้นตอนการนวดของกระบวนการผลิต ชา GABA ที่ผลิตได้จากวิธีนี้นอกจากต้นทุนต่ำแล้ว สามารถรับประกันปริมาณ GABA ระดัยสูงประกอบอยู่ และจะไม่มีกลิ่นรสชาติแปลกปลอมด้วย หลายปีมานี้มีบางองค์กรธุรกิจในฮกเกี้ยนและเจ้อเจียงของเมืองจีนได้เริ่มผลิตชา GABA อกกมาจำหน่ายแล้วด้วย และใช้วิธีการผลิตแบบนี้เช่นเดียวกัน แต่บังเอิญวิธีนี้กลับกลายเป็นแผลฉกรรจ์ของชา GABA นี้เป็นสาเหตุชา GABA ในญี่ปุ่นเคยรุ่งเรืองในทศวรรษที่ 80 หลังจากนั้นมา ไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาในญี่ปุ่น และไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดยุโรปและสหรัฐเช่นกัน

     เพราะการก่อกำเนิดของ GABA จะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่อแรงกดดัน(应激反应)ของพืช ปฏิกิริยานี้ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก เมื่อใบชาถูกบังคับให้อยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจน ก็เป็นการเร่งให้เอนไซม์ Peroxidase (过氧化酶) ในใบชามีฤทธิ์มากขึ้น สารกลุ่มอะมิโนในใบชา เช่น Glutamic Acid (GA ;谷氨酸) และ Aspartic Acid (天冬氨酸) จะมีปริมาณน้อยลงภายใต้ปฏิกิริยาของเอนไซม์จะแปรเปลี่ยนเป็น GABA นี้เป็นการกำเนิดของ GABA ตามธรรมชาติ ข้อเท็จจริงเป็นกระบวนการที่จัดเรียงและประกอบรวมตัวไหม่ของสารอาหารในใบชา แต่เมื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน เพียงแค่ใช้วิธีผสม GABA ผิวเผินดูแล้วเรียบง่ายดีและสามารถสนองตอบความต้องการตามเป้าหมายซึ่งตรวจสอบทางเคมีได้ แต่มันถือเป็นการเติมเต็มจากภายนอก ไม่มีการละลายและสลายของสารประกอบอื่นๆในใบชา ลักษณะเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า ชา GABA ที่ไม่ผ่านกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน เป็นรอยมลทินจุดหนี่ง กล่าวให้ถูกต้อง นี้ไม่ถือเป็นชา GABA ก็เหมือนแตงโมที่ไม่มีรสหวานแต่ฉีดน้ำหวานเข้าไป แม้จะใช้น้ำอ้อยแท้ๆที่แตกต่างจากสารหวานในแตงโม ยังถือว่า”แตงโมฉีดน้ำหวาน”เป็นสินค้าของปลอม

หมายเหตุ : เดิมตั้งใจว่าจะให้บทความฯนี้จบในตอนที่ ๒ นี้ แต่เนื่องจากเนื้อหายาว ประกอบกับในการแปลไม่อยากย่อมากจนเนื้อหาใจความไม่ครบถ้วน และเพื่อแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆเน้นเนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น จึงขอแบ่งออกมาอีกตอน คือ ตอนที่ ๓ : ชาผูเอ๋อร์ คือ ชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด เป็นตอนจบ...แน่นอนครับ

(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ ”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

อ่านตอนต่อไป : “เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3/3)

“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 1/3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 1/3 : GABA  คืออะไร?

     

     สรรพคุณของชาผูเอ๋อร์ในการบำรุงสุขภาพยังมีข้อโต้เถียงกันมากมาย โดยเฉพาะข้อโต้แย้งที่ร้อนแรงที่สุดที่กล่าวว่าชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิตได้ สำหรับผู้คนที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เกิดจากประสบการณ์เป็นหลัก อาจได้จากข้อมูลข่าวสาร(ไม่ว่าแบบละเอียดลึกหรือแบบผ่านๆ) ส่วนใหญ่จะได้จากการรับรู้โดยตนเองแล้วแปรนำไปกล่าวอ้างจนคุ้นเคย ส่วนผู้คนที่ไม่เห็นด้วยมีความคิดเห็นว่า ที่กล่าวกันว่าชาผูเอ๋อร์สามารถลดความดันโลหิตยังขาดหลักฐานทางวิทยาสาสตร์ เพียงแค่ผ่านการรับรู้ได้จากตนเองแล้วคิดว่าชาผูเอ๋อร์มีสรรพคุณลดความดันโลหิตได้เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เพราะหากจะพิสูจน์ชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิตได้จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. สารประกอบทางเคมีชนิดใดบ้างในชาผูเอ๋อร์มีผลต่อการลดความดันโลหิต 2. สารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดกลไกการลดความดันโลหิตได้อย่างไร แน่นอนยังต้องประกอบด้วยกระบวนการทดสอบได้ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่ใช่ครบถ้วนแค่ “คืออะไร”? สิ่งสำคัญคือ “เพราะอะไร”?

     มีนักศึกษาวิจัยจำนวนมากมาวังวนกับโจทย์ข้างต้นแล้วเสนอผลงานวิจัยออกมามากมาย ได้ให้คำตอบออกมาบ้าง แต่มี 2 สมมุติฐานที่น่าสนใจ คือ

     1. ไม่ว่าชาสุกหรือชาดิบเก่าผูเอ๋อร์(หมายถึงผ่านพัฒนาการ 20 ปีขึ้นไป)จะพบเห็นกลุ่มสาร Statin เช่น Lovastatin, Simvastatin เป็นต้น สารประกอบเคมีเหล่านี้มีสรรพคุณในการลดไขมันในเลือด เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปจะมีลักษณะของโรคไขมันในเลือดสูงด้วย ถือเป็น”ผู้ร้ายตัวจริง(原凶)”สาเหตุของความดันโลหิตสูง กรณีทั่วไป การรักษาโรคความดันโลหิตสูงก่อนอื่นจะมาลดไขมันในเลือด แต่ข้อเท็จจริงนี้เป็นไปได้ยาก เพราะจากการตรวจสอบชาผูเอ๋อร์ สามารถตรวจหาสารประกอบเคมีเหล่านี้มีปริมาณน้อยมากประกอบอยู่ ซึ่งจะไม่มีความหมายด้าน”สรรพคุณทางยา(药效)” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในบรรดาอาหารจากการหมักส่วนใหญ่ เมื่อศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์โมเลกุล(分子学)สามารถตรวพบกลุ่มสาร Statin ประกอบอยู่ อย่างเช่น นมเปรี้ยว ขนมปัง แม้แต่เหล้า จะพบสารอนุพันธ์นี้ที่ได้จากกลไกการหมักอาจมีชนิดเดียวหรือหลายชนิด แต่มีปริมาณน้อยมาก ไม่มีสรรพคุณของ”คุณสมบัติทางยา(药性)” ดังนั้น ที่กล่าวว่าสารนี้ในชาผูเอ๋อร์สามารถลดไขมันในเลือดแล้วเกิดผลทางอ้อมในการลดความดันโลหิตนี้โอกาศเป็นไปได้น้อยมาก หรืออาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อ

     2. การขับปัสสาวะเพื่อลดความดัน นี้เป็นข้อคิดเห็นทางวิชาการของผู้เขียนที่ได้เขียนเผยแพร่เมื่อหลายปีก่อน(ปี2008) ตอนนั้นผู้เขียนเห็นว่า คาเฟอีนในชาผูเอ๋อร์สามารถแยกประจุโซเดียมในเลือดได้ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง และคาเฟอีนยังไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะเกิดผลทางขับปัสสาวะได้ แล้วทำให้มีผลลดความดันโลหิตได้ในที่สุด เพราะยาที่ใช้รักษาลดความดันโลหิตทางตรงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องทางขับปัสสาวะ แต่ว่า ข้อคิดเห็นนี้ ณ วันนี้ดูไปดูมาเป็นเรื่องเหลือเชื่อ สาเหตุสำคัญคือสารที่เป็นข้อโต้แย้ง---คาเฟอีน เพราะเราสามารถตั้งข้อสงสัยอีกด้านได้ว่า : ชาผูเอ๋อร์มีคาเฟอีนเหลือประกอบอยู่อีกหรือไม่ หรือจะกล่าวว่า อาหารที่มีคาเฟอีนประกอบอยู่มากก็จะมีผลต่อกลไกการลดความดันโลหิตเช่นกัน แน่นอนคำตอบคือ ไม่

     ความเป็นจริง ในชาผูเอ๋อร์มีสารชนิดหนึ่งที่เราได้มองข้ามไป มันก็คือ GABA (Gramma AminoButyric Acid ;γ-氨基丁酸) ถ้าหากจะกล่าวว่าในชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยสารประกอบเคมีต่างๆอาจมากหรือน้อยที่มีสรรพคุณทางอ้อมต่อการลดความดันโลหิตแล้ว ถ้าเช่นนั้น สารที่มีผลทางตรงและแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ก็คือ สารอนุพันธ์ที่ได้จากกลไกการหมักของชาผูเอ๋อร์ : GABA

     ผู้เขียนเริ่มมาให้ความสนใจ GABA เนื่องจาก”ภารกิจ(公案)”หนึ่งเกี่ยวข้องกับชาผูเอ๋อร์ ที่เมื่อดื่มชาผูเอ๋อร์แล้วทำไมไม่เกิดผลทำให้นอนไม่หลับ นี้เป็นปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่า ชาผูเอ๋อร์เมื่อผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนแล้ว คาเฟอีน...”ฆาตกร(凶手)”ที่ทำให้นอนไม่หลับจะค่อยๆหมดไป แต่จากการวิเคราะห์ทางเคมีในชาผูเอ๋อร์กลับพบว่าข้อสรุปนี้ไม่ถูกต้อง ในชาผูเอ๋อร์นอกจากจะมีคาเฟอีนประกอบอยู่แล้วยังมีปริมาณสูงกว่าชาเขียวและชาอูหลง ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจาก Mountain Tea Products (Kunming) Co., Ltd. (蒙顿茶制品(昆明)有限公司) ตรวจสอบโดย The Ministry of Agriculture Tea Quality Supervision and Testing Center(农业部茶叶质监督检测中心) พบว่ามีคาเฟอีนประกอบอยู่สูงถึง 8.46% ถือเป็นชาที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงที่สุดในบรรดาชาทั้งหมด แต่หลังการดื่มไม่มีผลต่อการนอนหลับ นี้เป็นเพราะสาเหตุใด?

     คำตอบคือ GABA เพราะศักยภาพทางชีวภาพพื้นฐานที่สุดของ GABA คือ ลดการออกฤทธิ์ของเซลล์ประสาท(神经元活性) ป้องกันไม่ให้เซลล์ประสาทร้อนเกินไป เกิดผลทำให้รู้สึกสงบ เป็นผลที่ตรงกันข้ามกับคาเฟอีน พูดอีกนัยหนึ่ง  GABA จะไปลบล้างคาเฟอีนที่ไปกระตุ้นระบบศูนย์ประสาทให้มีผลน้อยลงหรือหมดไป ข้อคิดเห็นนี้ ในปี 2008 ผู้เขียนได้เสนอออกมาครั้งแรกแล้วในบทความ4 คุณค่าของชาผูเอ๋อร์คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ

     เมื่อมีการศึกษาวิจัยชาผูเอ๋อร์ต่อจากนั้นมา ได้ค้นพบอีกว่า  GABA ในชาผูเอ๋อร์นอกจากสรรพคุณทำให้รู้สึกสงบลงแล้ว ยังมีสรรพคุณที่เหนือกว่าก็คือลดความดันโลหิต

     GABA คืออะไร?

     ชื่อทางภาอังกฤษ : γ- Aminobutyric Acid ชื่อทางเคมี : 4-Aminobutyric Acid สูตรโมเลกุล : C4H9NO2 น้ำหนักโมเลกุล : 103.1 ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพืชและสัตว์ พวกพืชอย่างเช่น ต้นไม้ใบใหญ่ ตระกูลถั่ว ตระกูลโสม เมล็ด รากและของเหลวในเนื้อเยื่อของสมุนไพรจีนก็จะมี GABA ประกอบอยู่

     GABA เป็นกรดอะมิโนที่ไม่ใช่ประเภทโปรตีน(非蛋白质氨基酸) ตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 เริ่มมีการศึกษาวิจัย GABA เพิ่มมากขึ้น จนถึงทศวรรษที่ 90 ถือเป็นจุดสูงสุด ผลงานวิจัยได้ถูกเสนอออกมามากมาย โดยเฉพาะการมีฤทธิ์ทางชีวภาพของ GABA มีการค้นพบสิ่งที่สำคัญหลายด้าน :

     (1) ช่วยทำให้รู้สึกสงบ (镇静神经)  ลดอาการวิตกกังวล (抗焦虑)
ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่า GABA เป็นสาร Inhibitory Neurotransmitter (抑制性神经递质) ทำให้ Sympathetic Nervous System (交感神经) ออกฤทธิ์น้อยลง แล้วฟื้นฟู Parasympathetic Nervous System (副交感神经) มีฤทธิ์กลับคืนมา GABA receptors (受体) จะออกฤทธิ์เพื่อไปลดหรือหยุดการรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นสื่อผ่านประสาทไปยังสมองส่วนกลาง

     (2) ลดความดันโลหิต (降低血压)
GABA สามารถทำให้หลอดเลือดส่วนกลางในไขสันหลังเกิดการขยายตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้

     (3) รักษาโรคภัยไข้เจ็บ (治疗疾病)
ในปี 1997 ผลงานวิจัยของ Okuma Makototaro ได้แสดงให้เห็นว่า GABA และโรคบางชนิดมีความสัมพันธ์กัน คนที่ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันจะมีความเข้มข้นของ GABA ในไขสันหลังต่ำ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคลมบ้าหมูก็มีความเข้มข้นของ GABA ในไขสันหลังต่ำกว่าปกติทั่วไป ผลงานวิจัยของภาควิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า GABA มีผลในการบำบัดรักษากลุ่มของอาการโรค(Syndrome) นอกจากนั้น ถ้า GABA ในระบบประสาทลดลงมีส่วนเกี่ยวข้องของการเกิดโรค Huntington อัลไซเมอร์ และโรคประสาท

     (4) ลดแอมโมเนียในเลือด (降低血氨)
นักศึกษาวิจัยทางเวชศาสตร์คลินิกของจีนและญี่ปุ่นมีข้อคิดเห็นเหมือนกันว่า GABA สามารถยับยั้งการเกิด Glutamate Acid Decarboxylic Reaction (谷氨酸脱羧反应) ทำให้แอมโมเนียในเลือดต่ำลง  Glutamate Acid จำนวนมากจะไปรวมตัวกับแอมโมเนียแล้วไปอยู่ในน้ำปัสสาวะแล้วถูกขับออกไป เป็นการขับสารพิษแอมโมเนีย เป็นการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของตับ เมื่อ GABA เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เอนไซม์ Phosphoesterase (磷酸酯酶) มีฤทธิ์มากขึ้น ทำให้เซลล์สมองมีพลังมากขึ้น ไปเร่งเมตาบอลิซีมของระบบสมองและฟื้นฟูสมรรถภาพของเซลล์สมอง และปรับปรุงศักยภาพของระบบประสาท

     GABA สามารถผลิตโดยวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีหรือวิธีการสังเคราะห์ทางชีววิทยา วิธีการสังเคราะห์ทางเคมีรายงานไว้ในสิทธิบัตร จะมีต้นทุนสูงแต่ประสิทธิผลต่ำ และในกรรมวิธีการผลิตจะต้องใช้สารละลายที่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษ ดังนั้น GABA ที่ผลิตโดยวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีไม่เหมาะที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร และไม่ถือเป็นสารปรุงแต่งอาหารจากธรรมชาติ

     การสังเคราะห์ทางชีววิทยาเมื่อเปรียบเทียบแล้วเป็นวิธีที่ปลอดภัยและต้นทุนต่ำ การศึกษาช่วงแรกจะใช้แบคทีเรีย E.Coli (大肠肝菌) เป็นเชื้อในการหมักเพื่อให้ได้ GABA ในกลไกการหมัก เอนไซม์ E.Coli Decarboxylase (大肠肝脱羧酶) จะทำการสลาย L-Glutamate Acid แปรเปลี่ยนเป็น  GABA แล้วผ่านการแยกและทำ GABA ให้บริสุทธิ์ จากผลงานวิจัยและสิทธิ์บัตรล่าสุด จะใช้ Lactobacillus (乳酸菌) Yeast (酵母菌) Aspergillus (曲霉菌) เป็นต้น ถือเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงมาผลิต GABA สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร GABA จากชีววิทยามีสรรพคุณดีเลิศใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารบำรุงสุขภาพ

     GABA จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ในกลางทศวรรษที่ 90 ORYZA Oil & Fat Chemical Co., Ltd. ของญี่ปุ่นได้พัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนี่งชื่อว่า GABA Rice Germ หลังจากนั้นไม่นาน สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารแห่งญี่ปุ่นได้มีการรายงานว่า ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ช่วยลดอาการซึมเศร้าและอาการโรคต่างๆได้ผลอย่างเด่นชัด เป็นการยืนยันได้ว่า GABA สามารถทำให้เกิดผลทางชีวภาพหลายๆด้านได้ และชี้ให้เห็นว่าอาหารที่ประกอบด้วย GABA ปริมาณสูงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วมีการผสม GABA เป็นองค์ประกอบในอาหารหลายชนิด เช่น ขนมปัง เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา เป็นต้น

     สิ่งที่สำคัญในนี้ คือ ในทศวรรษที่ 80 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเครื่องดื่มชาที่สามารถขายได้เป็นเทน้ำเทท่า คือ ชา GABA ...

(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ ”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 03 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

อ่านตอนต่อไป : “เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2/3)