วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา (2)

ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา
ตอน --- ต้นเค้าฉาเกาที่ปรากฏครั้งแรกในยุคสมัยถังของเมืองจีน
茶膏历史的演变 --- 中国唐代初现的茶膏雏形



        เกี่ยวกับลู่หยี่(陆羽) ข้อมูลทางประวัติศาสตร์มีการบันทึกไว้มากมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมากล่าวซ้ำซ้อน ณ ที่นี้ แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่ง อาจเป็นเพราะนักประวัติศาสตร์ทางใบชาได้มองข้ามไป นั่นก็คือลู่หยี่ก็เป็นบุคคลแรกของเมืองจีนที่ค้นพบฉาเกา หรือกล่าวได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก นี้ไม่ใช่เป็นการบัญญัติขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องจริง

        ทำไมถึงได้กล่าวเช่นนี้? เป็นเพราะว่าลู่หยี่เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ทางใบชาของเมืองจีนที่นำ “ครีม”(膏:gāo) [สารลักษณะเป็นครีม(膏化物质)ที่ปรากฏออกมาจากใบชาภายหลังดำเนินการ] ที่ปรากฏอยู่ในใบชามาบันทึกลงใน《คัมภีร์ชา(茶经)》

        ก่อนอื่นขอให้พวกเรามาชิมลิ้มรสของตัวอักษร “ครีม”() นี้อย่างพิถีพิถัน

        ระยะแรกสุด《พจนานุกรม(说文解字)》 ของเมืองจีน ได้อธิบายตัวอักษร “ครีม” นี้ว่า : “ตาม,ตัวครีม,คือไขมัน。ควบตัวเป็นก้อนแข็งเรียกไขมัน, คลายตัวเป็นของเหลวเรียกครีม”(按,膏者,脂也。凝者曰脂,释者曰膏)

        การแพทย์โบราณเรียกไขมันในกล่องดวงใจ(fat in the heart : 心尖脂肪)ว่า “ครีม” ต่อมาเป็นการบ่งชี้ถึงแก่นสารแห่งวัตถุ(essence : 物之精华) อย่างเช่น : ไขกระดูกครีม(膏髓 : คำอุปมาแก่นสารของวัตถุ)

        ต่อมาอีก พวกหมอจีนยุคโบราณนำสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นแก่นแท้ที่สกัดจากสัตว์หรือพืชโดยผ่านวิธีการเคี่ยว มาขยายทำเป็นครีมยา(药膏 : ภาพประกอบรูป#1)

        การปรากฏของครีมยา เป็นการคิดค้นที่ยิ่งใหญ่ทางยาจีนดั้งเดิมของเมืองจีน มันไม่เพียงแค่เป็นความสำเร็จที่นำสารองค์ประกอบแยกออกมาจากสัตว์และพืชที่มีรูปลักษณะเดิมเป็นของแข็ง สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือมันมีลักษณะที่เข้มข้น ไม่ว่าเป็นการทานภายในหรือใช้ภายนอกจะมีความสะดวกกว่ามาก คุณสมบัติทางยาก็สูงกว่า

        ลู่หยี่พอดีจากกรรมวิธีการผลิตชาในยุคสมัยถัง(ภาพประกอบรูป#2) ที่ได้พบเห็น “ปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม”(膏化现象) ส่วนที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติหลังจากการดำเนินการผลิตใบชา ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกอย่างฉับพลันได้ว่า “ปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม” ลักษณะนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับครีมยาของยาจีนดั้งเดิมของเมืองจีน ดังนั้น เป็นสิ่งใหม่ที่พบเห็นครั้งแรกจึงเรียกขานสารวัตถุชนิดนี้ว่า “ครีม” บันทึกลงใน《คัมภีร์ชา》

        ลู่หยี่ได้ค้นพบ “ครีม” ลักษณะนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรรมวิธีการผลิตชาในยุคสมัยถังช่วงเวลานั้น

        เนื่องจากการผลิตชาในยุคสมัยถังและวิธีการผลิตชาของพวกเราในทุกวันนี้มีความแตกต่างกันมาก กรรมวิธีการผลิตชาในช่วงเวลานั้นแทบจะเป็นชาดิบแผ่นกลมนึ่ง(蒸青饼茶)เป็นหลัก 《คัมภีร์ชา》ของลู่หยี่หลักใหญ่ก็คือการพรรณนารูปแบบการผลิตชาดิบแผ่นกลมในยุคสมัยถัง ที่พวกเรากล่าวกันว่า “ชา เฟื่องฟูในยุคถัง”(茶,兴于唐) ก็คือความหมายของความชำนาญการทางกรรมวิธีการผลิตชาดิบแผ่นกลมนึ่ง

        ใน《คัมภีร์ชา》ลู่หยี่ได้กล่าวสรุปเชิงขั้นสูงของกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลมออกมาเป็นตัวอักษร 14 ตัว คือ “การเด็ด(采之) การนึ่ง(蒸之) การบด(捣之) การเคาะ(拍之) การอบ(焙之) การร้อย(穿之) การปิด(封之)”

     

        พวกเราเพียงรู้ว่าวิธีการผลิตชาที่ลู่หยี่นำเสนอออกมานั้น ภายหลังทีอิทธิผลอย่างมากต่อการผลิตชา 2 ชนิดด้วยกัน

        1. คือ ชาผูเอ๋อร์ของหยินหนาน ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลมแบบดั้งเดิมหรือเป็นชาสุกจากการหมักกองในทุกวันนี้ พวกเราล้วนค้นหาเจอแนวความคิดและร่องรอยทางการผลิตชาของลู่หยี่

        2. คือ มัตจะ(蒸青酶茶)ของญี่ปุ่น มันเป็นวิธีการผลิตชาที่ถ่ายทอดเข้าสู่ญี่ปุ่นจากเมืองจีนในยุคสมัยถัง และเป็นวิธีการผลิตชาวิธีหนึ่งที่ใกล้เคียงที่สุดกับยุคสมัยถังที่ญี่ปุ่นยังคงอนุรักษ์ไว้ตราบเท่าถึงทุกวันนี้

        ขอให้พวกเรากลับมาที่ตัวอักษร 14 ตัวทางการผลิตชาของลู่หยี่อีกครั้ง

        ในนี้มีหลายขั้นตอนที่เกี่ยวโยงกับฉาเกา ในที่นี้---“การนึ่ง การบด การเคาะ” 3 ขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏตัวของ “ครีม” เป็นเพราะว่าใน 3 ขั้นตอนนี้ง่ายต่อการแยกส่วนของเหลวชาในใบชาออกจากสารเส้นใย ภายใต้การออกซิเดชั่นในอากาศ ทำให้ของเหลวชาที่ล้นออกมาปรากฏเป็นปรากฏการณ์เกิดเป็นครีม

        ลู่หยี่ในยุคสมัยที่เขาดำรงชีพอยู่ก็ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้แล้ว และได้กล่าวถึงตัวอักษร “ครีม” นี้มากครั้งใน《คัมภีร์ชา》เขาเชื่อว่าในกระบวนการผลิตชาแผ่นกลมควรที่จะให้ “ไหลออกเป็นครีม”(畏流其膏) ความหมายก็คือถ้าหากทำการขับ “ครีม” ออกมา จะทำให้ผิวหน้าของชาแผ่นกลมที่ผลิตออกมาเหมือนตะแกรงสานไม้ไผ่(箩筛) รูปลักษณะเหี่ยวแห้ง เขาเชื่อว่าชาแผ่นกลมที่ดีที่สุดควรที่จะเป็น “สิ่งเคลือบครีมย่น”(含膏者皱) ซึ่งก็คือนำของเหลวชาในใบชาขับออกมาจากใบชา แต่ไม่สูญหาย ยังติดอยู่บนผิวใบชา หลังผ่านการเกิดออกซิเดชั่นในอากาศ ทำให้ของเหลวชากลายเป็นสารลักษณะเป็นครีมหลงเหลืออยู่ในระหว่างใบชา จึงทำให้ผิวหน้าของชาแผ่นกลมเกิดเป็นรอยย่นอันเนื่องมาจากการก่อเกิดของ “ครีม” เมื่อเป็นประการฉะนี้ ในยุคสมัยถัง ลู่หยี่เชื่อว่าบนผิวหน้าของชาที่ดีจะต้องเป็น “สิ่งเคลือบครีมย่น” นี้เป็นมาตรฐานข้อหนึ่งในการแยกแยะชาดีในยุคสมัยถัง

        ใน《คัมภีร์ชา》ลู่หยี่จะยกย่องชาที่ดีที่สุดคือ “รองเท้าหู”(胡靴) คือมีรูปลักษณ์ภายนอกดั่งเช่นรองเท้าบูทของคนชนเผ่าหู(胡人 : ชนเผ่าที่ทำการล่าสัตว์ร่อนเร่พเนจรอยู่ทางทิศเหนือและตะวันตกของจีนโบราณ)ที่มีรอยย่นลักษณะที่ละเอียด นี้ก็คือตัวแทนแบบอย่างของ “สิ่งเคลือบครีมย่น”

        สิ่งที่อยากจะบ่งชี้ออกมาจุดหนึ่งคือ แม้ว่าลู่หยี่ได้ค้นพบปรากฏการณ์ “ลักษณะเป็นครีม” จากของเหลวชาที่ล้นออกมาจากการผลิตชาแผ่นกลม และเชื่อว่า “ครีม” นี้เป็นของดีในใบชา แต่เขาไม่ได้นำของเหลวชาและสารเส้นใยในใบชามาทำการแยกออกจากกันโดยเด็ขาด เพียงแต่ให้ “ครีม” ยังคงดำรงอยู่บนผิวหน้าของชาแผ่นกลม ซึ่งกับความหมายที่แท้จริงของ “ฉาเกา” ที่เกิดขึ้นภายหลัง ยังมีช่องว่างระยะห่างอีกช่วงหนึ่ง

        แต่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การค้นพบของลู่หยี่เป็นการดลใจให้แก่ชนรุ่นหลังอย่างมาก หลังจากการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลาร้อยกว่าปี คำว่า “ฉาเกา” ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ

        ในบันทึก《ประวัติศาสตร์ของ 10 ราชอาณาจักรแห่งจีนใต้(十国春秋)》ของหวูเยิ่นเฉิน(吴任臣) ในยุคถังใต้(南唐)ราชวงศ์เหมิ่น()ปีทงเหวิน(通文)ที่ 2(ค.ศ.937) ก็มีฉาเกานำถวายเป็นเครื่องบรรณาการแล้ว คือ “ถวายบรรณาการฉาเกาเจี้ยนโจว ผลิตในรสชาติที่แตกต่าง ติดด้วยผ้าไหมทอง ชื่อเรียกน้ายจ้งเออ ล้วนขนาดแปดไหม”(贡建洲茶膏,制以异味,胶以金缕,名曰耐重儿,凡八枚) จากหนังสือท่อนนี้ พวกเราจะพบเห็นได้ไม่ยากว่า :
        1. ชื่อเรียก “ฉาเกา” ได้ปรากฏอย่างเป็นทางการแล้ว
        2. ภายนอกใช้ผ้าไหมทองห่อหุ้ม แสดงถึงเป็นของล้ำค่า
        3. จำนวนน้อยมาก มีเพียงแค่ 8 ไหม() ซึ่งไม่เหมือนใบชาอื่นที่คำนวณเป็นจำนวนตาน( : 1 ตาน = 50 กก.) บ่งบอกถึงของมีน้อยจึงเลอค่า
        4. ทันทีที่เปิดเผยตัว ก็ปรากฏเป็นเครื่องบรรณาการ---ความเป็นฐานะที่มีชื่อเสียง ก็เป็นเพราะความมีเกียรติยศที่พิเศษเฉพาะเช่นนี้ ทำให้มันถูกยกให้เป็นของชั้นสูงในบรรดาชาบรรณาการในช่วงเวลานั้น ได้รับการบันทึกลงในหนังสือประวัติสาสตร์

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


ภาพประกอบ :

                                รูป#1 : ครีมยา(药膏)

                                รูป#2 : การผลิตชาในยุคสมัยถัง