普洱茶能降低猝死风险吗 ? (上)
“烤茶” 降低猝死风险的生物实验 (二)
พวกเรามักมีความเคยชินอย่างหนึ่ง คือเมื่อต้องการให้ร่างกายตื่นตัวกระปรี้กระเปร่าแล้ว งั้นต้องชงชาดื่มสักจอก ไม่งั้นก็ดื่มกาแฟสักถ้วย เหตุผลง่ายมาก พรรณพืชสองชนิดนี้ล้วนประกอบด้วยคาแฟอิน(Caffeine) คาแฟอินมีผลในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของยุโรปและสหรัฐแนะนำให้ดื่มกาแฟในตอนเช้า สามารถลดอุบัติการณ์ของการตายอย่างกะทันหัน(Sudden Death)ได้ แต่สำหรับชาแล้ว ไม่เคยมีคำกล่าวทางด้านนี้มาก่อนเลย
การทดลองครั้งนี้ของพวกเราเป็นการตรวจสอบปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชาและกาแฟบนฐานในจำนวนที่เท่ากัน ตัวอย่างการทดลองของพวกเราแยกเป็นชาดิบผูเอ๋อร์(ชาใบ)เขาจิ่งม้ายจาก Yunnan Brillant PuEr Fazenda Co., Ltd. และผงกาแฟชื่อดังของประเทศหนึ่งซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด
พวกเราให้ผู้ทำการทดลองนำตัวอย่างชาผูเอ๋อร์และผงกาแฟอย่างละ 5 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 300 มิลลิลิตร แช่นาน 20 นาที ทุกๆ 5 นาทีทำการคนหนึ่งครั้งเพื่อให้กาแฟเกิดการละลายอย่างเต็มที่ เพื่อให้ใบชาชงออกมาถึงที่สุด ผ่านการกรองหลังเย็นตัวลง แล้วนำตัวอย่างไปทำการแสดงผลโดยเครื่อง High-Performance Liquid Chromatography
การทดลองบ่งชี้ว่า : ปริมาณคาแฟอินประกอบอยู่ใน 5 กรัมของผงกาแฟที่ละลายทันทีคือ 195 มิลลิกรัม ปริมาณคาแฟอินประกอบอยู่ใน 5 กรัมของชาดิบผูเอ๋อร์คือ 236 มิลลิกรัม ผลสรุปคือชาและกาแฟในจำนวนที่เท่ากันภายใต้เงื่อนไขการเตรียมการที่เหมือนกัน ปริมาณคาแฟอินที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในใบชาสูงกว่ากาแฟ
อันที่จริงผลสรุปครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลครั้งแรกที่พวกเราสรุปออกมา องค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากก่อนหน้านี้ได้เคยทำการตรวจสอบที่มีลักษณะคล้ายกันมาแล้ว นอกจากข้อมูลที่ผันแปรเพียงเล็กน้อย(อันเนื่องมาจากตัวอย่างการทดลองที่ไม่เหมือนกัน) แต่ผลสรุปออกมาเหมือนกัน การทดลองของพวกเราถือเป็นการทำซ้ำเท่านั้น
ปริมาณคาแฟอินใน 100 กรัมของกาแฟ ชาผูเอ๋อร์
|
||
ชนิด
|
ปริมาณคาแฟอิน (กรัม)
|
|
กาแฟ
|
ระหว่าง 1.3 - 1.9
|
|
ชาผูเอ๋อร์ (ชาดิบ 5 ปี)
|
ระหว่าง 3 -5
|
|
ข้อมูลเปรียบเทียบของคาแฟอินข้างต้น บ่งบอกข้อเท็จจริงหนึ่งว่า ปริมาณคาแฟอินในชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟ
ในนี้มีข้อสงสัยหนึ่ง ทำไมถึงมีการคิดขึ้นมาว่ากาแฟป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้? แต่เหตุไฉนชาผูเอ๋อร์ถึงไม่มีเล่า? กระทั่งการกล่าวเฉพาะทางด้านผลของการกระตุ้นให้สดชื่นแล้ว ตราบจนถึงทุกวันนี้ทำไมยังเชื่อว่ากาแฟสูงกว่าชาที่พวกเราดื่มอยู่เป็นประจำ?
ในระหว่างที่พวกเราทำการสืบค้นเข้าไป พวกเราค้นพบว่า เป็นเพราะเนื่องจากวิธีการชิมดื่มที่ไม่เหมือนกัน เมื่อตอนที่พวกเราชิมดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟชนิดละลายทันที หรือเป็นเมล็ดกาแฟบด สุดท้ายคือล้วนนำกาแฟ 5-10 กรัมทำให้เข้มข้นอยู่ในถ้วยเดียว แต่ช่วงเวลาที่พวกเราดื่มชา เป็นการนำชาแห้ง 5-10 กรัมทำการชงออกมาเป็นจอกแล้วจอกเล่า แม้ว่าจะทำการดื่มหมดโดยตัวเอง ก็ต้องลากเวลาออกไปในการดื่มแต่ละจอก เวลาที่ยืดยาวออกไป ทำให้ผลของปริมาณการสะสมลดต่ำลง ดำรง “ปริมาณการรับยา”(Administered) ไม่เพียงพอชั่วขณะนั้น
เมื่อเป็นประการฉะนี้ แม้ว่าชาผูเอ๋อร์มีปริมาณคาแฟอินต่อหน่วยสูงกว่ากาแฟ แต่เนื่องจากวิธีการชงดื่มไม่เหมือนกัน จึงไม่เคยมีการคิดขึ้นมาว่าป้องกันการตายอย่างกะทันหันได้ ผู้คนก็ยังคงเชื่อว่าผลการออกฤทธิ์ของกาแฟสูงกว่าชาผูเอ๋อร์
รูปแบบของ “ชาย่าง” ทำให้วิถีการมองแบบนี้ของพวกเราเปลี่ยนไป มันคล้ายคลึงกับรูปแบบการชงดื่มกาแฟ คือการนำชาหยิบมือเดียว(8-15 กรัม)ทำให้เข้มข้นขึ้นเป็นน้ำชาถ้วยเดียว(เข้มข้นกว่าน้ำชาทั่วไปมาก) ซึ่งมีปริมาณคาแฟอินสูงกว่ากาแฟมาก
แต่ทว่า มุมมองนี้เป็นเพียงการคาดเดาจากประสบการณ์ ขาดซึ่งการพิสูจน์โดยการทดลอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราจึงได้ดำเนินการทดลองทางชีววิทยาขึ้นเป็นครั้งแรก
หัวข้อการทดลอง : ผลกระทบของ "ชาย่าง" และกาแฟต่อการป้องกันการตายอย่างกะทันหันของสัตว์
|
จุดประสงค์ของการทดลอง : ผ่านการป้อนสาร “ชาย่าง” และกาแฟปริมาณมากในตอนเช้า เฝ้าสังเกตผลของ “ชาเข้ม” และกาแฟต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ(Coronary Heart Disase)อันนำไปสู่การตายอย่างกะทันหันของหนูทดลอง เพื่อยืนยันผลทางสรีรวิทยาของคาแฟอินใน “ชาเข้ม” และกาแฟ วิเคราะห์ประสิทธิ์ภาพของ “กลไกการออกฤทธิ์ทางยา”(Medicinal Mechanism)
เป้าหมายของการทดลอง : หนูทดลอง “แบบมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(Arteriosclesis)นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” การทดลองใช้หนูทดลองตัวผู้พันธุ์คุนหมิง 36 ตัว น้ำหนักตัว 17-20 กรัม จัดหามาโดยห้องทดลองสัตว์มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ประเทศจีน จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโดยการสุ่ม แยกออกเป็น :
A ป้อนชาย่างให้กิน เป็นกลุ่มทดลอง
B ป้อนกาแฟให้กิน เป็นกลุ่มทดลอง
C ป้อนน้ำบริสุทธิ์ให้กิน เป็นกลุ่มควบคุม
ตัวอย่างการทดลอง (1) : ชาผูเอ๋อร์(เหมาฉาตากเขียวเกรด 7)เขาจิ่งม้ายจาก Yunnan Brillant PuEr Fazenda Co., Ltd.
ตัวอย่างการทดลอง (2) : ผงกาแฟยี่ห้อดังจากอิตาลี(หาซื้อจากท้องตลาด)
ขั้นตอนและวิธีการของการทดลอง :
① นำเหมาฉามาชงโดยรูปแบบของชาย่าง ได้น้ำชาที่ใกลัเคียงกับการทำให้เข้มข้น นำผงกาแฟมาชงโดยวิธีการไซฟอน(Siphon Coffee Maker)ได้กาแฟเข้มข้น
② เติมน้ำตาลเทียมลงใน “ชาเข้ม” และกาแฟ(ง่ายต่อการป้อนให้กิน)
③ ทำการป้อนให้กินเวลา 7:00 น. ในตอนเช้าของทุกวัน ช่วงเวลา 9:00 ถึง 21:00 น. แบ่งออกเป็น 4 ครั้งเพื่อป้อนอาหารสัตว์ที่มีไขมันสูง(แคลอรี่สูง) ขอบเขตของกิจกรรม กำหนดช่วงระยะเวลา 3 เดือน
④ 15 วันหลังจาก 3 เดือนผ่านไปสอดแทรกการใช้อุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศ ช่วงเวลากลางวันตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25ºC ช่วงเช้าและกลางคืนลดเหลือ 3ºC-5ºC (จำลองความแปรปรวนของอุณหภูมิที่แตกต่างกันของเขาชาในฤดูหนาว อุณหภูมิที่ต่ำมากเกินไปก่อให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดอันนำไปสู่อุบัติการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและสมองอุดตาย)
ผลการทดลอง : ตารางทางสถิติแสดงปริมาณการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบปะทุขึ้น
อัตราการตาย อัตราการป้องกันการตายอย่างกะทันหัน
|
||||
กลุ่ม
|
A (กลุ่มทดลอง)
|
B (กลุ่มทดลอง)
|
C (กลุ่มควบคุม)
|
|
หนูทดลอง (จำนวน)
|
12 ตัว
|
12 ตัว
|
12 ตัว
|
|
ปริมาณการตายสะสม
|
8 ตัว
|
9 ตัว
|
11 ตัว
|
|
อัตราการตาย
|
66.66%
|
75%
|
91%
|
|
อัตราการป้องกันการตายอย่างกะทันหัน
|
33%
|
25%
|
8%
|
(หมายเหตุ : ข้อมูลการทดลองข้างต้นเป็นเพียงตัวแทนของผลการทดลองครั้งนี้)
การผ่าและพิสูจน์ศพและผลสรุปเบื้องต้นของการทดลอง :
การตายของหนูทดลองเกิดจากปัจจัยหลายๆสาเหตุด้วยกัน ผ่านจากการผ่าศพสัตว์และร่างเป็น(สัตว์ที่ยังไม่ตาย) จะได้หลักฐานทางการแพทย์ที่ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ด้านการวิเคราะห์จากการผ่าและพิสูจน์ศพหลักใหญ่ดำเนินการแวดล้อม 8 ด้านด้วยกัน :
① การกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและการหายใจ
② การขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจ(Coronary Artery)
③ การกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Muscle)
④ การคลายของกล้ามเนื้อลาย(Striated Muscle)
⑤ การกระตุ้นกล้ามเนื้อยึดกระดูก(Skeletal Muscle)
⑥ การคลายของกล้ามเนื้อเรียบ(Smooth Muscle)
⑦ การขับปัสสาวะ(Diuresis)
⑧ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความเป็นพิษ
(เนื้อหาที่เชื่อมโยงข้างต้น ในที่นี้จะไม่ให้รายละเอียด เนื่องจากจุดสำคัญของบทความนี้เพื่อเป็นการแบ่งปัน “กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์” ที่ปรากฏออกมา ซึ่งแตกต่างจากวิทยานิพนธ์ทางวิชาการบริสุทธิ์)
ผลสรุปเบื้องต้นหลังผ่านการทดลองและการวิเคราะห์จากการผ่าศพ :
|
• ดื่ม “ชาเข้ม” ผูเอ๋อร์ที่ชงพิเศษหนึ่งถ้วยในตอนเช้า สามารถลดอุบัติการณ์ของความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน
• ดื่มกาแฟที่ทำให้เข้มข้นหนึ่งถ้วยในตอนเช้าสามารถลดอุบัติการณ์ของความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหัน
• ประสิทธิภาพการลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันของชาผูเอ๋อร์สูงกว่ากาแฟ
........ยังมีต่อ........
แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ชาผูเอ๋อร์สามารถลดความเสี่ยงการตายอย่างกะทันหันหรือไม่ ? (ตอนต้น)》ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น