วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3)

普洱茶预防与降低血压的机理
กรรมวิธีที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ : จาก “แหล่งยา” แปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”
普洱茶的特殊工艺 : 从“药源”转化为“药用成分”



        สำหรับทางด้านการลดความดันโลหิตแล้ว พวกเราจะมีข้อข้องใจอย่างหนึ่งมาโดยตลอด ทำไมบรรดาชาที่ล้วนมีสารทีโพลิฟีนอลส์ ทีซาโปนิน คาเฟอีน ทีโอฟิลลีน เป็นต้น การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่าสสารเดียวเหล่านี้ล้วนมีสรรพคุณทางลดความดันโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ แต่สำหรับคนดื่มชาแล้ว ทำไมมีชาบางตัว(เช่นชาผูเอ๋อร์)มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต แต่ใบชาเกือบทั้งหมดไม่มีสรรพคุณทางด้านนี้

        3. กรรมวิธีที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ : จาก “แหล่งยา” แปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”

        ในการค้นคว้าหาข้อมูลจำนวนมากของพวกเราได้ค้นพบว่า พื้นฐานของการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาล้วนเป็นการยึดติดกับสสารเดียวในการดำเนินการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ เสาะหาสสารเดียวหลายชนิดแล้วทำการแยกและทำให้บริสุทธิ์ ต่อจากนั้นจึงดำเนินการทดลอง “การโน้มตอบสนองเป้าหมาย”(靶向性) เพื่อพิสูจน์ว่าพวกมันเพียบพร้อมด้วย “เภสัชกรรม” ด้านการใช้ประโยชน์ทางลดความดันโลหิต แน่นอนยังมีปัญหาของวิธีการทดลองดำรงอยู่ เช่นชาเขียวเป็นตัวอย่าง สสารที่ประกอบอยู่ภายในของมันเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมันดำรงอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ละลายในน้ำ นำสารที่ละลายในไขมันเหล่านี้แยกออกมาจากใบชา จำต้องใช้เอทานอล ปิโตรเลียมอีเทอร์ เป็นต้นที่เป็นตัวทำละลายเคมีจึงจะสามารถสกัดออกมาได้ แต่อุปนิสัยทางการดื่มของพวกเรา เป็นการใช้วิธีการชงด้วยน้ำร้อนนำสารในใบชาละลายออกมา ในขณะที่สารที่ละลายในไขมันจำนวนมากในใบชาแทบจะไม่ถูกทำการละลายออกมาในน้ำชา ในทั้งหมดนี้จะมีสารประกอบเคมีของการลดความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก ชาเขียวที่ไม่ชงทน มิใช่องค์ประกอบในชาเขียวมีน้อย แต่มีเป็นจำนวนมากที่เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน

        แต่การผลิตของชาผูเอ๋อร์ เนื่องจากมีกรรมวิธีของตากเขียวและการหมัก ทำให้สารที่ละลายในไขมันจำนวนมากแปรสภาพเป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำ และดำรงอยู่ในรูปแบบเชิงซ้อนของสารหลากหลายชนิด นี่ก็คือเหตุผลที่ชาผูเอ๋อร์ชงทน(สารละลายในน้ำมีเป็นจำนวนมาก) สารที่ละลายในน้ำที่มีเป็นจำนวนมากก็เป็นหลักประกันของการจัดสรรทรัพยากรของสารหลากหลายชนิดในใบชาแปรสภาพเป็น “ส่วนประกอบยา”(Medicinal Ingredients) เมื่อตอนที่สารเหล่านี้ที่ดำรงอยู่ในรูปแบบเชิงซ้อน ภายใต้ผลของเอนไซม์ชีวภาพ ทำให้เกิดการสลายตัว การควบแน่น ออกซิเดชั่น แบบใหม่ขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็จะปรากฏสารประกอบเคมีชนิดใหม่ขึ้นมา

        ยังมีอีกปัญหาหนึ่งควรค่าที่พวกเราให้ความสนใจ สสารเดียวจำนวนมากในใบชาแม้ว่ามีสรรพคุณทางลดความดันโลหิต แต่การศึกษาวิจัยทางด้านนี้เป็นไปอย่างเบี่ยงเบนดาวกระจาย เช่นทีโพลิฟีนอลส์เป็นตัวอย่าง เป็นสารเดี่ยวที่หน่วยงานการวิจัยวิทยาสาสตร์ทั่วโลกเกี่ยวพันมากที่สุด บรรดาการศึกษาวิจัยเกือบทั้งหมดล้วนยืนยันว่ามันมีคุณประโยชน์ทางลดความดันโลหิต ในอดีต การแยกและการทำให้บริสุทธิ์ของสารทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆเป็นสิ่งที่ทำได้ยากลำบากมาก ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า ตราบใดที่เทคโนโลยีถูกค้นพบแล้ว ยาลดความดันโลหิตหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีผลข้างเคียงพิษของยารูปแบบใหม่จะกำเนิดขึ้นมาตามลำดับ แต่ทุกวันนี้เมื่อพวกเราได้ทำการแก้ปัญหานี้แล้ว ความบริสุทธิ์ของทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆได้ถึงระดับ 99% ขึ้นไป พวกเรากลับต้องมากระอักกระอ่วนใจรูปแบบใหม่ : มันไม่ได้กลายเป็นยาลดความดันโลหิตตัวใหม่ การวิจัยทางคลินิกก็ไม่พบหลักฐานที่ทีโพลิฟีนอลส์มีผลทางตรงในการลดความดันโลหิตต่อร่างกาย ตรงกันข้าม ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์จำนวนมาก เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบว่า การนำทีโพลิฟีนอลส์ตัวเดียวโดดๆมาชงดื่ม การตอบสนองทางลดความดันโลหิตของร่างกายจะไม่มาก แต่ทางด้านการต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)มีผลอย่างเด่นชัด แต่ในการนำชาที่ทีโพลิฟีนอลส์ในปริมาณที่เท่ากันมาชงดื่ม ผู้คนจำนวนมาก(โดยเฉพาะผู้หญิงวัยกลางคน)กลับปรากฏปรากฏการณ์น้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ สภาวะเหล่านี้บ่งบอกว่า การลดความดันโลหิตของใบชาไม่ใช่การเอื้ออำนวยจากส่วนประกอบตัวเดียว แต่เป็นผลลัพธ์ของการประสานกันของสารประกอบเคมีหลายชนิด

        ชาผูเอ๋อร์อันเนื่องจากกรรมวิธีพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ บนพื้นฐานในการแก้ปัญหาของใบชาที่ละลายในไขมันแปรสภาพไปทางละลายในน้ำได้แล้ว ก็ทำให้สารประกอบเคมีต่างๆเกิดกลไกการประสานกัน

        สรุปรวบยอด ความเป็นจริงมีอยู่ 3 ประเด็น :

        1. สารประกอบปฐมภูมิของใบชาเป็นคลังสมบัติของ “แหล่งยา

        2. กรรมวิธีการผลิตที่พิเศษของชาผูเอ๋อร์ โดยเฉพาะขั้นตอนตากเขียวและการหมัก เร่งให้สารที่ละลายในไขมันแปรสภาพไปทางสารที่ละลายในน้ำ ทำให้สารหลายชนิดทาง “แหล่งยา” เริ่มการแปรสภาพไปทาง “ส่วนประกอบยา

        3. ส่วนประกอบยา” หลายชนิดดำรงผลทาง “เป้าหมาย” ที่ไม่เหมือนกัน สุดท้ายพลังจากการผนึกรวมกันจึงจะสามารถทำให้บรรลุผลทาง “ฤทธิ์ยา” อย่างแท้จริง ท่ามกลางในนี้ กลไกการออกฤทธิ์ทางยาเกือบทั้งหมดเป็นผลทางอ้อม มีเพียงสารบางส่วนที่บรรลุผลทางตรง การศึกษาวิจัยที่มุ่งตรงต่อการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ได้ค้นพบว่า ผลทางอ้อมและผลทางตรงล้วนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ มิฉะนั้น กลไกการประสานกันก็ยากที่จะเกิดขึ้น สรรพคุณทางลดความดันโลหิตก็เป็นได้แค่การศึกสงครามบนสมรภูมิกระดาษ(纸上谈兵)

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ《กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนจบ) 》---เขียนโดย เฉินเจี๋ย โดยพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร《ผูเอ๋อร์》ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2016
http://chuansong.me/n/1496015235829

กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2)
กลไกการป้องกันกับการลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 4)         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น