อุณหภูมิของน้ำชากับความรู้สึกทางปากจะมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก อุณหภูมิน้ำชาที่แตกต่างกันกล่าวสำหรับนักชิมดื่มแล้วจะมีความรู้สึกในการชิมดื่มที่ค่อนข้างแตกต่างกัน
ในการชิมดื่มชา ไม่เพียงแค่สามารถทำการชงชาออกมาได้ถึงสถานะที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถรับรู้ได้ถึงความสุนทรียะแห่งชาในช่วงเวลาที่กลิ่นหอมและรสชาติของชาที่ดีที่สุด
1. การสำแดงของกลิ่นหอมภายใต้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน
โดยทั่วๆไป เมื่ออุณหภูมิของน้ำชาสูง กลิ่นหอมจะค่อนข้างมีพลัง ดังนั้น ไม่ว่าในการชื่นชมกลิ่นของใบชาแห้ง หรือการชื่นชมกลิ่นของ“กากใบชา”หลังผ่านการแช่ชงแล้ว หรือกลิ่นที่ระเหยบนผิวน้ำชา ล้วนต้องดมในขณะที่ร้อนอยู่
เนื่องจากสารประกอบที่รวมกันเป็นกลิ่นหอมมีเป็นจำนวนมากเกินไป มีความซับซ้อนเกินไป มีบางกลิ่นหอมจะระเหยอย่างกระฉับกระเฉงเมื่ออยู่ในสภาวะที่อุณหภูมิสูง มีบางกลิ่นหอมกลับสำแดงออกมาได้ดีที่สุดในสภาวะที่หลังอุณหภูมิได้ลดลงมา
2. องค์ประกอบและการรวมกันของกลิ่น
เมื่อองค์ประกอบของกลิ่นมีปริมาณมาก ความต่อเนื่องในการระเหยเป็นไปอย่างค่อนข้างนาน เมื่อการผสมรวมกันของกลิ่นเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ ดมขึ้นมาจะค่อนข้างมีมิติ
กลิ่นหอมภายใต้ที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ยังปรากฏชนิดของกลิ่นที่แตกต่างกัน นี่เป็นการนำเสนอข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญในการประเมินคุณภาพของชา มีคนกล่าวว่า “ชาที่เย็นตัวลงแล้วยังหอม คือชาดี”
3. กาลเทศะที่ดีที่สุดในการลิ้มกลิ่น
เนื่องจากชาต่างชนิดกันต่างมีบุคลิกเฉพาะของตนเอง ซึ่งที่ถูกก็คือต่างมีส่วนประกอบของกลิ่นหอมที่เฉพาะของตนเอง
มีชาบางชนิดจะมีกาลเทศะที่ดีที่สุดในการลิ้มกลิ่นในสภาวะที่อุณหภูมิร้อนปากเล็กน้อย เช่น ต้งติ่ง เถี่ยกวนยิง สุ่ยเซียน เป็นต้น มีชาบางชนิดกลับสำแดงออกมาดีที่สุดในสภาวะที่อุณหภูมิกำลังเหมาะปาก อาทิเช่น ไป๋หาววูหลง ไป๋หาวอิ๋นเจิน ไป๋หมู่ตาน เป็นต้น
4. การลิ้มกลิ่นในช่องปาก
กลิ่นชาในช่องปากยังต้องถูกเสพอีกพร้อมกับ“รสชา” ถ้าหากแยกกลิ่นหอมออกมาต่างหาก น้ำชาก็จะดื่มได้ไม่อร่อยทีเดียว อวัยวะสัมผัสที่รับรู้กลิ่นหอมในช่องปากจะค่อนไปทางเพดานปากบน ดังนั้นชาที่มีสารกลิ่นหอมในปริมารมาก หลังจากกลืนน้ำชาลงคอแล้ว ความรู้สึกบนเพดานปากบนยังติดค้างไว้นาน
5. รสขมฝาดกับอุณหภูมิ
ในส่วนของรสชาติ การรับรู้ความแรงอ่อนของรสขมฝาดจะตรงข้ามกับความสูงต่ำของอุณหภูมิของน้ำชา นั่นก็คือเมื่ออุณหภูมิสูงการรับรู้รสขมฝาดจะรู้สึกค่อนข้างไม่รุนแรง ดังนั้นชาที่มีรสขมฝาดแรงจะต้องดื่มตอนร้อน
มีบางรสขมที่แย่และแรง หากเป็นไปตามธรรมชาติโดยสายพันธุ์หรือคุณลักณะของชานั้นๆ อวัยวะสัมผัสที่รับรู้ได้จะค่อนไปทางเพดานปากบน แต่ถ้าหากเป็นไปโดยวัตถุดิบหรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดี อวัยวะสัมผัสที่รับรู้ได้คือในช่องคอ กรณีแรกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วมลายหายไป กรณีหลังจะติดทนนานไม่ค่อยยอมจากไปง่ายๆ
6. รสหวานกานกับอุณหภูมิ
หลังรสขมอ่อนตัวลง รสหวานจะปรากฏออกมา ซึ่งก็คือ“หุยกาน”หรือ“ความดื่มด่ำทางลำคอ”ตามที่กล่าวอ้างกัน
รสหวานในสภาวะที่หลังอุณหภูมิลดลงมากลับรู้สึกเด่นชัดขึ้น ดังนั้น เมื่อรสขมฝาดแรงรสหวานจะรับรู้ได้ไม่ง่ายนัก ต้องชงอีกหลายๆน้ำ หลังทำให้รสขมฝาดอ่อนลง ถึงแม้อุณหภูมิของน้ำชาจะลดต่ำลง รสหวานกลับปรากฏออกมาได้ง่าย
โดยหลักการมีความหมายเป็นเพียงการนำเสนอให้พิจารณาและอ้างอิง ความเข้าใจในรายละเอียดอีกมากมายก็โดยการหมั่นฝึกฝนด้วยตนเอง ไม่หยุดที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มีพลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นหอมและรสชาติ
เมื่อได้ทำความเข้าใจอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อรสชาติแล้ว ในช่วงเวลาที่คุณทำการชงชาให้ผู้อื่นหรือเป็นการชิมดื่มชาโดยตัวคุณเอง ก็จะสามารถรับรู้ความดื่มด่ำทางรสชาติของชาตัวนั้นได้อย่างเต็มเปี่ยม
เอกสารอ้างอิง :
1. 茶汤温度与茶口感之间的秘密 : http://www.csyshlcy.com/a/gongsixinwen/51.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น