ตอน --- การขนานนามฉาเกาผูเอ๋อร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง
普洱茶膏正式定名是在清代
แม้ว่าราชวงศ์หมิง(明朝)ได้เลิกล้มก้อนมังกรแผ่นหงษ์(龙团风饼) แต่หยินหนานซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตชายแดน อาจเป็นเพราะว่าอยู่ห่างจากเมืองหลวงอันไกลโพ้น อาศัยการค้าของ “เส้นทางโบราณชา-ม้า” ได้ทำการผลิตชาก้อนและชาแผ่นอย่างต่อเนื่อง แม้ว้าชาก้อนและชาแผ่นของหยินหนานไม่มีความประณีตบรรจงเท่าผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยซ่ง กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการลอกเลียนแบบก้อนมังกรแผ่นหงษ์ของถังซ่งอย่างเรียบง่ายระดับหนึ่ง การอนุรักษ์ไว้ครั้งนี้เป็นการสร้างรากฐานที่ดีต่อการเจริญรุ่งเรืองของชาผูเอ๋อร์ยุคราชวงศ์ชิง(清朝)ในภายหลัง
การพัฒนาใบชาในยุคสมัยชิงก็เป็นอีกจุดสุดยอดที่ต่อเนื่องจากถังซ่งของจีน ที่แตกต่างจากช่วงสมัยถังซ่งคือ ถังซ่งเพียงมุ้งเน้นกรรมวิธีการผลิตชาแผ่นกลม แต่ยุคราชวงศ์ชิงคือ “ดอกไม้บานสะพรั่ง”(百花齐放)---ชาชนิดต่างๆและศิลปะการผลิตชาที่ไม่เหมือนกันอย่างสาวงามประชันโฉม(群芳斗艳) สีสันแพวพราว(色彩斑斓) ชาที่พวกเรามักคุ้นกันในทุกวันนี้ เช่น “ซีหูหลงจิ่ง” “ปิหลอชุน” “ไถ้ผิงเหาขุย” ฯลฯ ล้วนได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิงนี้ทั้งสิ้น
ชาผูเอ๋อร์และฉาเกาผูเอ๋อร์ก็ได้รับการยืนยันชื่อเรียกของตนเองในยุคสมัยชิง
ปี 1729 รัชสมัยยุงเจิ้น(雍正)ปีที 7 ของราชวงศ์ชิง รัฐบาลของราชวงศ์ชิงได้ก่อตั้งเมืองผูเอ๋อร์ขึ้นในเขตพื้นที่ผูเอ๋อร์หยินหนาน มีอำนาจควบคุมเช่นพื้นที่ 6 ขุนเขาชา(六大茶山) ในปีที่ก่อตั้งเมืองผูเอ๋อร์ ฮ่องเต้ยุงเจิ้นได้ตราพระบรมราชโองการแก่เอื้อเอ้อไถ้(鄂尔泰)ข้าหลวงใหญ่หยินหนาน มอบหมายให้ควบคุมดูแลโดยตัวเขาเอง ทำการคัดเลือกใบชาที่ดีที่สุด ผลิตเป็นชาก้อนผูเอ๋อร์ ชาลูกสาว(女儿茶)และฉาเกา ถวายเข้าพระราชวังเป็นชาบรรณาการ
ฉาเกาจึงค่อยๆลอยโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำอีกครั้ง ฉาเกาที่แท้ก็คือบรรพบุรุษของฉาเกาผูเอ๋อร์ ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจากวิธีการพื้นบ้านของหยินหนาน
แรกเริ่มเดิมทีมันคือกรรมวิธีการผลิตครีมที่คิดค้นขึ้นมาครั้งแรกที่ผู้คุมงานหยินหนาน(云南土司)ใช้วิธีการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ วิธีการเช่นนี้กับกรรมวิธีการผลิตฉาเกาของถังซ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด การผลิตฉาเกาโดยการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ของผู้คุมงานหยินหนาน เป็นการอ้างอิงกรรมวิธีการเคี่ยวผลิต “ครีมยา” ของยาจีนโบราณ เป็นวิธีการผลิตครีมที่ลอกเลียนแบบตรงๆ เนื่องจากวิธีการแบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตฉาเกายุคสมัยซ่งแล้ว ง่ายกว่ากันเยอะ ใครๆก็สามารถทำกันได้ แล้วก็ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือผลิตครีมอย่างที่การผลิตครีมยุคสมัยซ่งที่จำเป็นต้องมี “เครื่องคั้นใหญ่เล็ก”(大小榨床) ขอเพียงแค่มีกะทะ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือในร้านชาล้วนสามารถทำการผลิตได้
มีสิ่งที่ควรค่าแก่ความสนใจคือ วิธีการที่ใช้การเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่(大锅熬膏)ได้เผยแพร่ไปถึงทิเบตอย่างรวดเร็วผ่านเส้นทางโบราณชา-ม้า แล้วก็เป็นที่ยอมรับของชนชั้นสูงทิเบตอย่างรวดเร็ว
การดื่มชาของเขตพื้นที่ชนเผ่าทิเบตและชนเผ่าฮั่นไม่เหมือนกัน พวกเขาจะชื่นชอบวิธีการเคี่ยวชาหรือการต้มชามากกว่า ดังนั้นการเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่ไม่เพียงแค่ได้รับการยอมรับในทันที และก็แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปฏิบัติการแบบง่ายๆของมัน วัดวาอารามขนาดใหญ่จำนวนมากจัดตั้งห้องเคี่ยวชาของตนเอง ฉาเกาที่ผลิตได้จากการเคี่ยวเพื่อสำหรับเฉพาะพระระดับลามะขึ้นไปใช้ในการดื่ม วิธีการแบบนี้ อันที่จริงยังคงเก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันในวัดใหญ่จำนวนมากของทิเบตพวกเรายังสามารถพบเห็นห้องเคี่ยวชาและฉาเกาที่ผลิตเอง เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าวิธีการผลิตฉาเกาโดยการเคี่ยวบนกะทะใหญ่ยังสืบสานต่อเนื่องตลอดมา
การเคี่ยวครีมบนกะทะใหญ่ถือเป็นระยะเริ่มต้นของการพัฒนาฉาเกาผูเอ๋อร์ แต่กำหนดให้เป็นเพียง “การผลิตพื้นบ้าน(土制)[วิธีการแบบพื้นบ้าน(土方法)] เทียบกับฉาเการุ่นหลังจาก “การผลิตโครงการหลวง”(御制) ของพระราชวังมีข้อแตกต่างกันมาก
รูปการณ์แบบนี้ภายหลังจากเฉียนหลง(乾隆)ได้ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที
มีเรื่องราวเล็กๆเรื่องหนึ่ง และก็เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่น่าฉงน ที่นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งก็คือในวันที่ 3 หลังจาก “สวรรคต”(驾崩) ของฮ่องเต้ยุงเจิ้น ในขณะที่ยังไม่ได้ทำการบรรจุพระศพยุงเจิ้นลงในพระโกส ในสถานการณ์ที่มีปัญหาเร่งด่วนมากมายที่รอการจัดการ เฉียนหลงกลับมีพระบรมราชโองการให้ขับไล่นักบวชลัทธิเต๋า(道士)ที่ทำหน้าที่ “หลอมเม็ดยาอมตะ”(炼丹 : ภาพประกอบรูป#1) ถวายแก่ยุงเจิ้นออกไปจากพระราชวัง
เป็นเพราะเหตุใด ?
ตามข้อเท็จจริง ในพระหฤทัยของเฉียนหลง พระองค์ทรงเชื่อว่าการสวรรคตของ “หวางอามา”(皇阿妈 : พระราชบิดา) มีความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับ “ยาเม็ด”(丹药) ที่นักบวชนำถวายในช่วงที่ฮ่องเต้ยุงเจิ้นมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะในช่วงบั้นปลาย มีความสนพระหฤทัยอย่างมากต่อ “การหลอมเม็ดยาอมตะ” ที่บรรดานักบวชทำขึ้นมา แม้กระทั่งทรงเชื่อว่า “ยาเม็ด” ชนิดนี้สามารถขจัดโรคภัยไข้เจ็บทำให้ร่างกายแข็งแรงอายุมั่นขวัญยืน พระองค์ไม่เพียงส่งคนไปเสาะแสวงหาผู้ชำนาญการ “หลอมเม็ดยาอมตะ” ทั่วทุกแห่งหน แล้วนำพวกเขาเข้ามาในพระราชวัง และก่อตั้ง “ห้องหลอมเม็ดยาอมตะ” สำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ
การคิดค้นการหลอมเม็ดยาของเมืองจีนก่อเกิดขึ้นมาจากแนวความคิดชีวิตอมตะจากการบอกเล่าทางเทพนิยายโบราณ เนื่องจากหลักใหญ่ของ “การหลอมเม็ดยาอมตะ” คือการใช้ 5 ธาตุโลหะ(五金) 8 กรวด(八石) 3 เหลือง(三黄) เป็นวัตถุดิบ หลอมเสร็จออกมาส่วนใหญ่คือ สารหนู(砷) ปรอท(汞) และ ตะกั่ว(铅) ซึ่งเมื่อทานเข้าไปแล้วก็จะเป็นพิษ อันตรายถึงชีวิต
ฮ่องเต้ยุคสมัยที่ผ่านมาของเมืองจีนล้วนแทบจะฝักใฝ่กับการหลอมเม็ดยาอมตะ และฮ่องเต้เหล่านี้ก็ล้วนสวรรคตเพราะ “ยาเม็ดอมตะ” เฉพาะในยุคสมัยถัง ฮ่องเต้ที่สวรรคตเพราะทานยาเม็ดก็มีถังไถ้จง(唐太宗) ถังเซี่ยนจง(唐宪宗) ถังมู่จง(唐穆宗) ถังจิ้งจง(唐敬宗) และถังหวู่จง(唐武宗) ถังเสวี่ยนจง(唐宣宗) ในยุคปลายถัง เป็นต้น 6 พระองค์ ส่วนฮ่องเต้ที่ถูกวางยาพิษยังไม่นับ
ฮ่องเต้ยุงเจิ้นยุคราชวงศ์ชิงก็เป็นเหยื่อของ “การหลอมเม็ดยาอมตะ”
แต่เฉียนหลงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เฉียนหลงตอนเยาว์วัยทรงเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง ได้รับความรู้ทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตะวันตกจากบาทหลวงเผยแพร่ศาสนาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเข้าใจความรู้ทางเคมีบางส่วน พระองค์รู้สึกคลุมเครือว่า “ยาเม็ด” ที่ผลิตจาก “การหลอมเม็ดยาอมตะ” ชนิดนี้ประกอบด้วยธาตุโลหะหนักของตะกั่ว สารหนู เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายคนเรา
เหตุการณ์กรณีนี้ก็เกิดผลกระทบต่อชาบรรณาการของหยินหนาน---ฉาเกาผูเอ๋อร์ นี้เป็นเพราะเหตุใด ?
จากการพลิกอ่านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายของยุคราชวงศ์ชิง พวกเราค้นพบว่า ตั้งแต่เฉียนหลงขึ้นครองราชย์เป็นต้นมา ปริมาณชาผูเอ๋อร์ของหยินหนานที่นำถวายบรรณาการเข้าพระราชวังเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงรัชสมัยยุงเจิ้นแล้วไม่ใช่จำนวนลดลง แต่ขยายเพิ่มขึ้นทุกๆปี แต่มีจุดหนึ่ง คือสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึง นั่นก็คือไม่มี “ฉาเกาผูเอ๋อร์” พวกเราค้นหาจากรายงานการบันทึกรายการผลิตภัณฑ์ชาที่ถวายบรรณาการจากหยินหนาน ก็ไม่เห็นเงาของ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” ฉาเกาผูเอ๋อร์ได้หยุดการผลิตแล้วหรือ? หรือว่าทางพระราชวังชิงได้ตัดออกไปแล้ว ไม่จัดเป็นเครื่องดื่มของเหล่าพระราชวงศ์อีกแล้ว?
คำตอบอยู่นอกเหนือความคาดหมายของพวกเรา
ฉาเกาผูเอ๋อร์ไม่เพียงแค่ในช่วงรัชสมัยเฉียนหลง และหลังจากนั้นก็ยังเป็นเครื่องดื่มชาตัวหลักของฮ่องเต้ตลอดมา ไม่เพียงแค่นี้ ยังใช้เป็นของขวัญประเทศมอบให้พวกทูตานุทูต(บทความช่วงหลังจะมีการกล่าวถึงอย่างละเอียด)
ถ้าเช่นนั้น ฉาเกาผูเอ๋อร์พวกนี้มาได้อย่างไร? คำตอบก็อยู่นอกเหนือความคาดหมายของพวกเราอีกเช่นกัน
คือ ผลิตโดยพระราชวังราชวงศ์ชิงเอง
นี้ก็เป็นเพราะเหตุใด? เหตุผลมีอยู่ 2 ประการ :
1. สถานการณ์ทางการเมืองในหยินหนานช่วงเวลานั้นไม่มั่นคงอย่างมาก จะปรากฏ “โค่นชิงฟื้นหมิง” เป็นประจำ ประกอบกับเป็นพื้นที่อยู่ทางเขตชายแดน เส้นทางห่างไกลจากเมืองหลวงมาก ผู้ปกครองกลัวถูกวางยาพิษเป็นอย่างมาก
2. ฉาเกาที่ผลิตจากวิธีการแบบพื้นบ้านของหยินหนานพื้นฐานใช้การเคี่ยวเป็นหลัก การเคี่ยวแบบนี้มีส่วนที่ใกล้เคียงกับ “การหลอมเม็ดยา” จะมีตะกั่ว สารหนูประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับอุณหภูมิสูงจะไปทำลายสารอาหารหลายชนิดในใบชา ทำให้คุณค่าดั้งเดิมสูญเสียไป
ฉะนั้น การผลิตฉาเกาในช่วงรัชสมัยเฉียนหลงและต่อจากนั้นมาได้ย้ายเข้าไปอยู่ในห้องชาหลวง(御茶房)ภายในพระราชวังราชวงศ์ชิง[สถานที่เดิมอยู่ในห้องทางทิศตะวันออกของวังเฉียนชิง(乾清宫东庑)] แล้วกรรมวิธีการผลิตได้ทำการแก้ไขปรับปรุงอย่างมาก
เหล่าช่างผลิตชาของห้องชาหลวงในวังเฉียนชิงได้อ้างอิงบนพื้นฐานของกรรมวิธีแบบ “คั้นเล็กแยกน้ำ คั้นใหญ่เค้นครีม”(小榨去水,大榨出膏) ของยุคสมัยซ่ง กรรมวิธีแบบนี้ วัตถุดิบที่ใช้ยังเป็นชาผูเอ๋อร์ที่ถวายบรรณาการของหยินหนาน
สิ่งที่มีความหมายอย่างมากก็คือ การผลิตฉาเกาในช่วงเวลานั้นล้วนดำเนินการภายใต้อุณหภูมิห้อง ไม่มีกระบวนการไหนที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับกรรมวิธีการสกัดที่อุณหภูมิต่ำ(低温萃取) และการทำให้แห้งที่อุณหภูมิต่ำที่พวกเราใช้อยู่ในยุคปัจจุบันใกล้เคียงกันมาก ทำให้ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” ที่ผลิตได้มีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น ก้าวกระโดดขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์พระราชวัง[มีการเรียกเป็น ”สินค้าชาววัง”(宫廷御品)] ทำให้การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์เข้าสู่การพัฒนายุคที่ 2
“ฉาเกาผูเอ๋อร์” นับแต่นี้ไปได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
อาจเป็นเพราะตรงจุดนี้ จึงทำให้นักเภสัชวิทยา จ้าวเสหมิ่น(赵学敏 : ค.ศ.1719-1805) ในรัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 33 (ค.ศ.1763) ในหนังสือที่เขาเป็นคนเขียน《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》ได้นำ “ฉาเกาผูเอ๋อร์” จัดเข้าไปอยู่ในนี้อย่างเป็นทางการ นี้เป็นเอกสารทางราชการที่พวกเราได้พบเห็นการเรียกขานอย่างเป็นทางการครั้งแรก : ฉาเกาผูเอ๋อร์
ฉาเกาผูเอ๋อร์ตั้งแต่ริเริ่มการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดตั้งกรรมวิธีการผลิตในช่วงรัชสมัยเฉียนหลง ก็มีฐานะที่พิเศษเฉพาะจัดให้เป็นสิ่งล้ำค่าของชา เนื่องจากทางพระราชวังทำการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันมากสำหรับฉาเกาผูเอ๋อร์ ความต้องการที่เข้มงวดมาก ทำให้ผลผลิตต่ำมากอย่างไม่ต้องสงสัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงไม่มีการหมุนเวียนอยู่ในสังคมทั่วไป
แต่ในปี 1792 (รัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 57) ได้จัดทำเป็นของขวัญประเทศมอบให้แก่คณะทูต Macartney ของประเทศอังกฤษที่ไปเยี่ยมเยี่ยนครั้งแรก นับจากนั้นมาฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เผยแพร่ออกสู่ต่างประเทศ หลังจากนั้น มันก็กลายเป็นของขวัญชนิดหนึ่งที่มอบให้แก่ทูตานุทูตและบุคคลสำคัญ
ปี 1925 ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลายไป การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เป็นอันต้องสิ้นสุดตาม
หลังการก่อตั้งประเทศยุคปี 50 บริษัทจงฉา(中茶公司)ได้รับมอบภาระหน้าที่ของประเทศ โดยเรียกร้องให้เมิ่งไห่ เซี่ยกวน และหลายองค์กรธุรกิจเร่งรีบทำการผลิตฉาเการุ่นหนึ่ง เพื่อส่งมอบให้ทีมงานที่ไปหนุนช่วยเหลือทิเบต จำนวนประมาณ 3 พันช่างจีน แต่หลายองค์กรธุรกิจเหล่านี้ภายหลังผลิตได้เพียงประมาณ 1 พันกว่ากิโลกรัมแล้ว ก็หยุดทำการผลิต เป็นเพราะว่าฉาเกาที่คุณภาพแย่ชนิดนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของทีมงานที่ไปหนุนช่วยเหลือทิเบต และก็ไม่มีเรื่องราวที่ติดตามมาอีก แต่จากการวิเคราะห์เบื้องต้น เป็นเพราะว่ายังใช้วิธีการผลิตเคี่ยวบนกะทะใหญ่
ตั้งแต่บัดนั้นฉาเกาก็เงียบหายตายจากไป(销声匿迹)อีกครั้ง
แต่ในปี 2004 ฉาเกาผูเอ๋อร์ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆ ผู้ที่จุดเชื้อไฟก็คือลูกชายนามโจวไห่ยิง(周海婴)ของนักสื่อสารมวลชนผู้เลื่องลือหลู่ซิ้น(鲁迅) ได้นำฉาเกาผูเอ๋อร์(3 กรัม)ที่หลู่ซิ้นได้เก็บไว้มาเปิดประมูลขาย เป็นที่ฮือฮาลือลั่น(轰动一时)ในปีนั้น ข่าวลือเล่าขานเกี่ยวกับฉาเกาผูเอ๋อร์ปรากฏออกมาไม่ขาดสาย(层出不穷) และจุดสนใจท้ายสุดล้วนพุ่งตรงไปที่พิพิธภัณฑสถานกรุงปักกิ่ง เนื่องจากฉาเกาผูเอ๋อร์ที่หลู่ซิ้นเก็บรักษาไว้เล่าขานกันว่ามาจากพระราชวังราชวงศ์ชิง ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานกู้กงแห่งกรุงปักกิ่งยังคงเก็บชาผูเอ๋อร์บรรณาการจำนวนเล็กน้อยที่เหลือตกทอดจากรัชสมัยกวงสวี่ราชวงศ์ชิง(清朝光绪)---ชาก้อน[ก้อนมังกรหมื่นปี(万寿龙团)] ชาแผ่นกลม(饼茶) และฉาเกา(茶膏)
ปี 2005 เมืองซือเหมา(思茅市)มณฑลหยินหนานได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองผูเอ๋อร์(普洱市) ในพิธีฉลองที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่ทำให้ผู้คนสะดุดตามากที่สุดคือของขวัญจากพิพิธภัณฑสถานกู้กงแห่งกรุงปักกิ่ง จำนวนนี้ก็มีฉาเกาผูเอ๋อร์ 1 กล่อง ในปีเดียวกัน เมืองจีนก็มีฉาเกาผูเอ๋อร์รูปแบบหนึ่งปรากฏขึ้นมาอย่างเงียบๆที่ตั้งชื่อเรียกว่า “หมงตุ้น”(蒙顿 : Modern) ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตเป็นไปตามเส้นทางความคิด “วิธีการผลิตครีมแบบบีบคั้น” ของพระราชวังราชวงศ์ชิง ใช้วิธีการทางชีวภาพสมัยใหม่ทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับขึ้นมาจากฉากเกาผูเอ๋อร์แบบดั้งเดิม สิ้นสุดประวัติศาสตร์ของฉาเกาผูเอ๋อร์ที่มีชื่อเรียกทางผลิตภัณฑ์แต่ไม่มีองค์กรธุรกิจทำการผลิต ในวันที่ 1 ม.ค.2006 หมงตุ้นก็ได้นำฉาเกาผูเอ๋อร์ระดับชั้นสุดยอดจากการสกัด : แม่ชาผูเอ๋อร์(普洱茶母 : 700 กรัม) บริจาคให้พิพิธภัณฑสถานหยินหนานเพื่อเก็บรักษาสมบัติอันมีคุณค่านี้ไว้ ในวันพิธีการรับบริจาคที่จัดขึ้นในหอประชุมพิพิธภัณฑสถานหยินหนาน มีแผ่นป้ายแนวขว้างขนาดใหญ่เขียนด้วยตัวอักษร 8 ตัวว่า “มาจากหยินหนาน คืนกลับหยินหนาน”(来自云南,回馈云南)
นับจากนี้ไป การผลิตฉาเกาผูเอ๋อร์ก็เข้าสู่อีกยุคสมัยใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากฉาเกาผูเอ๋อร์ยุคดั้งเดิมเป็นฉาเกาผูเอ๋อร์ยุคสมัยใหม่
........จบบริบูรณ์........
แปล-เรียบเรียง จากบทความ《ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของฉาเกา》ตอนที่ 4---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
ภาพประกอบ :
รูป#1 : หลอมเม็ดยาอมตะ (炼丹)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น