วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความแตกต่างของเครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบ

ความแตกต่างของเครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบ




        ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของประวัติศาสตร์อารยธรรมเมืองจีน เครื่องเคลือบดินเผาก็เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่ยิ่งใหญ่ของเมืองจีนยุคโบราณ การก่อเกิดของศิลปกรรมเครื่องดินเผาของเมืองจีนสามารถสืบร่องรอยย้อนประวัติก่อนกว่า6500ปี ในวัฒนธรรมเตาเผาหม่าเจียในมณฑลกานซู่ ได้ขุดพบเครื่องกระเบื้องเคลือบสีที่สวยงามเป็นจำนวนมาก

▲เครื่องกระเบื้องเคลือบของวัฒนธรรมเตาเผาหม่าเจีย (马家窑文化彩陶) ชิ้นงานศิลปกรรมแห่งดินปั้นอายุกว่า5800ปี

        เครื่องดินเผาไม่ใช่ประดิษฐ์คิดค้นได้เฉพาะในเมืองจีน นักโบราณคดีได้ค้นพบและพิสูจน์แล้วว่า ประเทศและเขตพื้นที่จำนวนมากบนโลกนี้ได้คิดประดิษฐ์วิธีการทำเครื่องดินเผาตามกันมาติดๆ แต่ทว่า เมืองจีนบนพื้นฐานของวิธีการทำเครื่องดินเผาก็ได้ข้ามขั้นก้าวไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวใหญ่---การคิดประดิษฐ์เครื่องเคลือบเป็นเจ้าแรก  ได้บันทึกลงบนประวัติศาสตร์อารยธรรมของมวลมนุษยชาติอีกหน้าหนึ่งอย่างเต็มภาคภูมิใจ

        กล่าวโดยทั่วๆไป บริภัณฑ์ที่ใช้ดินปั้นเผาผลิตออกมาเรียกว่า “เครื่องดินเผา”(Pottery) บริภัณฑ์ที่ใช้ดินเกาลินเผาผลิตออกมาเรียกว่า “เครื่องเคลือบ”(Porcelain) “เครื่องเคลือบดินเผา” เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องดินเผา สโตนแวร์และเครื่องเคลือบ เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบล้วนเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่พวกเราสัมผัสอยู่เสมอๆ ดูจากสภาพภายนอกแล้วสองสิ่งนี้จะใกล้เคียงกันมาก แต่กระนั้น พวกมันต่างก็มีลักษณะเฉพาะของตนเอง

        ความแตกต่างของเครื่องดินเผากับเครื่องเคลือบมิใช่อยู่ที่มีเคลือบหรือไม่เคลือบ เครื่องดินเผาสามารถมีเคลือบ เช่นเครื่องดินเผาเคลือบสียุคสมัยฮั่น เครื่องเคลือบก็สามารถไม่เคลือบ อย่างเช่นเครื่องเคลือบดินขาวบริสุทธิ์ เนื่องจากคุณภาพเนื้อดินละเอียดอ่อนสีขาว ดังนั้นจึงไม่มีใครที่จะเห็นมันเป็นเครื่องดินเผา ถ้าเช่นนั้น คุณทราบหรือไม่ว่า “ถังซานฉ่าย” ที่เคลือบสีพื้นฐานคือเหลือง ขาว เขียว ไม่ใช่เป็นเครื่องเคลือบแต่เป็นเครื่องดินเผา? มันถือเป็นเครื่องดินเผาฟายองซ์(Faience ware)เคลือบตะกั่วเผาที่อุณหภูมิต่ำที่นิยมในยุคสมัยถัง

                 ▲ปั้นลายสายธนูเคลือบเขียวยุคสมัยฮั่นตะวันออก (东汉时期绿釉弦纹壶)

                      ▲เครื่องเคลือบดินขาวบริสุทธิ์(ไม่เคลือบ) เนื้อดินละเอียดอ่อนสีขาว

▲“ถังซานฉ่าย” (唐三彩:ถังสามสี) เป็นศิลปกรรมชั้นยอดยุคสมัยถังเมื่อ1000ปีที่ผ่านมา เป็นชื่อที่บ่งชี้ถึงสีเคลือบของเครื่องดิเผายุคสมัยถัง

        ความแตกต่างของเครื่องดินเผากับเครื่องเคลือบหลักสำคัญเกี่ยวข้องกันหลายด้าน ดังข้างล่างนี้ :

        1. อัตราการดูดซึมน้ำแตกต่างกัน

        ในมาตราฐานของเมืองจีน เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบเป็นไปตามอัตราการดูดซึมน้ำของพวกมันมาจำแนก อัตราการดูดซึมน้ำต่ำกว่า0.5%ถือเป็นเครื่องเคลือบ สูงกว่า10%ถือเป็นเครื่องดินเผา อยู่ระหว่างสองชนิดนี้ถือเป็นสโตนแวร์

        2. อุณหภูมิการเผาแตกต่างกัน

        อุณหภูมิการเผาของเครื่องดินเผาโดยทั่วไปต่ำกว่าเครื่องเคลือบ ต่ำสุดถึง800°Cลงมา สูงสุดจนถึงประมาณ1100°C อุณหภูมิการเผาของเครื่องเคลือบจะสูงกว่า ส่วนใหญ่ล้วนอยู่ที่1200°Cขึ้นไป กระทั่งมีถึง1400°C

        3. ระดับความแข็งแตกต่างกัน

        อุณหภูมิการเผาเครื่องดินเผาจะต่ำ เนื้อดินถูกเผาผนึกไม่สมบูรณ์ เสียงกระเทาะได้ยินไม่ชัด ความแข็งของเนื้อเครื่องดินเผาค่อนข่งต่ำ บ้างสามารถใช้มีดกรีดเป็นรอยได้ อุณหภูมิการเผาเครื่องเคลือบจะสูง เนื้อดินขั้นพื้นฐานถูกเผาผนึกหมด เสียงกระเทาะได้ยินอย่างชัดเจน ผิวเนื้อเครื่องเคลือบใช้มีดทั่วไปกรีดแล้วจะเกิดร่องรอยได้ยาก

        4. วัตถุดิบที่ใช้แตกต่างกัน

        เครื่องดินเผาใช้ดินเหนียวทั่วๆไปก็สามารถปั้นขึ้นรูปและเผาออกมาได้ ส่วนเครื่องเคลือบต้องทำการคัดเลือกวัตถุดิบตามที่กำหนด โดยการใช้ดินเกาลินมาเป็นเนื้อดิน อุณหภูมิการเผาอยู่ในช่วงของอุณหภูมิที่ต้องการของเครื่องดินเผาแล้ว ก็สามารถกลายเป็นเครื่องดินเผาได้ ดินเกาลินภายใต้อุณหภูมิที่ต้องการในการเผาเครื่องเคลือบ เนื้อดินที่ขึ้นรูปก็กลายเป็นเครื่องเคลือบ แต่โดยทั่วไปเนื้อดินที่ใช้ดินเหนียวในการทำเครื่องดินเผา เมื่อเผาถึง1200°Cแล้ว จะไม่สามารถกลายเป็นเครื่องเคลือบ จะถูกเผาหลอมออกมาเหมือนแก้ว

        5. ความโปร่งแสงแตกต่างกัน

        เนื้อดินของเครื่องดินเผาถึงแม้จะค่อนข้างบางแต่ก็ไม่มีลักษณะพิเศษทางความใสมัว อย่างเช่นเครื่องดินเผาดำของวัฒนธรรมหลงซาน บางอย่างเปลือกไข่ แต่ไม่โปร่งแสง เนื้อดินของเครื่องเคลือบไม่ว่าจะบางหรือหนา ลัวนมีลักษณะพิเศษทางความใสมัว

▲เครื่องดินเผาดำของวัฒนธรรมหลงซาน (龙山文化黑陶) ในยุคหินใหม่(Neolithic Age) เมื่อประมาณกว่า4000ปี มีเนื้อดินบางอย่างเปลือกไข่ แต่ไม่โปร่งแสง

▲ถ้วยเคลือบสีขาวโปร่งแสงจากเตาเผาสิงยุคสมัยสุย (隋代邢窑透光白瓷杯) ถือเป็นต้นตำรับของเครื่องเคลือบสีขาวของเมืองจีน(ยุคปี ค.ศ.581-617)

        6. สารเคลือบแตกต่างกัน

        เครื่องดินเผามีแบบเคลือบและไม่เคลือบ2ชนิด สารเคลือบของเครื่องดินเผาแบบเคลือบจะสามารถหลอมในอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำ สารเคลือบของเครื่องเคลือบมี2ชนิด ชนิดสามารถทำการเผาครั้งเดียวจนเสร็จพร้อมกับเนื้อดินดิบภายใต้อุณหภูมิสูง และชนิดสามารถทำการเผาเนื้อดินดิบภายใต้อุณหภูมิสูงแล้วชุบเคลือบเผาที่อุณหภูมิต่ำ ทำการเผาครั้งที่2ที่อุณหภูมิต่ำจนแล้วเสร็จ

        7. แนวความคิดแตกต่างกัน

        เครื่องดินเผา : ใช้ดินเหนียวเป็นเนื้อดินดิบ ผ่านวิธีการขึ้นรูปด้วยนิ้วมือ แป้นหมุน การปั้น เป็นต้น หลังการผึ่งให้แห้งแล้วนำไปเผาภายในเตาให้เป็นผลิตภัณฑ์
        เครื่องเคลือบ : คือการประกอบขึ้นของไชนาสโตน(China Stone) ดินขาวเกาลิน(Kaolin) เป็นต้น ผ่านการผสม ขึ้นรูป เผาผนึกแล้วเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเคลือบหรือวาดลวดลายบนผิวภายนอก

        ในความแตกต่างหลายประการดังกล่าวข้างต้น เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดคือวัตถุดิบและอุณหภูมิการเผา เงื่อนไขอื่นๆล้วนสัมพันธ์กันกับ2เงื่อนไขนี้อย่างเหนียวแน่น

        แม้ว่าเครื่องเคลือบกับเครื่องดินเผาจะแตกต่างกัน แต่ว่าระหว่างสองสิ่งนี้ดำรงการเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้น ถ้าหากไม่มีการคิดประดิษฐ์วิธีการทำเครื่องดินเผา และก็ประสบการณ์จาการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีการทำเครื่องดินเผาอย่างต่อเนื่องแล้ว เครื่องเคลือบไม่สามารถประดิษฐ์คิดค้นออกมาเป็นการเฉพาะได้ การคิดประดิษฐ์ของเครื่องเคลือบคือความสามารถในการเรียนรู้วัตถุดิบ เทคโนโลยีของการเผาผนึก ประสบการณ์อันเปี่ยมล้นที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องของบรรพบุรุษคนจีนในกระบวนการทำเครื่องดินเผามาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลของการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ...

▲เศษชิ้นงานของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (曜变:โยเฮน) ที่ถูกขุดค้นพบในปี2009 บนบริเวณที่เดิมของโรงงานเคมีทางตะวันออกเฉียงใต้เมืองหางโจว

        คำถาม : เจี้ยนจ่าน(เทียนมู่)เป็นเครื่องดินเผาหรือเครื่องเคลือบ ?


เอกสารอ้างอิง :

1. 陶器和瓷器的区别是什么?https://zhidao.baidu.com/question/7891139.html
2. 怎样区别陶器和瓷器?http://taoyi.baike.com/article-64959.html
3. 唐三彩是陶還是瓷 陶和瓷如何區分  https://kknews.cc/culture/9yr2jvl.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น