ใบชาจัดเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ผู้คนดื่มชา จุดประสงค์แรกเพื่อดับกระหายน้ำ ถ้าใช้แนวความคิดด้านสุขภาพสมัยใหม่ ก็สามารถเรียกขานเป็น“การดื่มน้ำ/补水” แล้วนำกระบวนการดื่มน้ำมาขยายโดยปรับเปลี่ยนให้ดูมีความสง่างาม โดยการปรุงแต่งด้วยปรัชญาชีวิตต่างๆ อาทิเช่นพิธีการ วัฒนธรรม รสนิยม เพิ่มเติมด้วยเครื่องใช้ที่เข้ากันเป็นชุดและเหมาะกับพิธีการ
ดังนั้น วิถีการเรียกขานเป็นการดับกระหาย และการดื่มน้ำถูกทดแทนด้วยคำเรียกใหม่ “การชิมชา/品茶”
การชิมชาไม่เพียงเป็นการสนองตอบต่อความต้องการน้ำทางสรีรวิทยา ขณะเดียวกันก็สร้างความพึงพอใจต่อความต้องการทางจิตวิญญาณของคนเราพร้อมกัน
เนื่องจาก“การชิม”มีมาตรฐานและประเมินค่าได้ ไม่ว่ามาตรฐานนี้ก่อเกิดขี้นจากประสบการณ์ด้านในตัวเรา หรือเป็นการเห็นพ้องต้องกันจากการตระหนักรู้ของมวลชนด้านนอกตัวเรา และมันก็เกี่ยวข้องกับบุคลิกองค์รวมของปัจเจกบุคคล
ถ้าหากกล่าวกันว่าการดับกระหายน้ำเป็นความต้องการของร่างกายคนเรา โดยการแสดงออกทางภาวะการสะท้อนกลับ(กระหายแล้วจึงทานน้ำ)แล้วไซร์ ถ้าเช่นนั้น การดื่มน้ำก็คือพฤติกกรรมทางการรับรู้ของคนเรา เนื่องจากร่างกายกลัวการขาดน้ำจึงดื่มน้ำ มิใช่เป็นผลจากภาวะการสะท้อนกลับ
การชิมชา นอกจากสนองตอบต่อการดับกระหายและการดื่มน้ำแล้ว ยังเพิ่ม“ตัวเลือก”(การประเมินค่า)เข้าไป นี่ก็จะเกี่ยวข้องกับทักษะและรสนิยมของแต่ละบุคคล คนจีนโบราณโดยเฉพาะเป็นคนชาที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม จากท่ามกลางใบชาใบหนึ่ง วิวัฒนาการออกมาเป็นระบบวัฒนธรรมชาที่สลับซับซ้อน
ตรงจุดนี้ ได้แสดงออกมาในยุคซ่งเมืองจีน(ปี960-1279) เนื่องจากยุคซ่งปรากฏการมีลักษณะความเป็นเมืองมากกว่าชนบท(Urbanization) การดำรงชีวิตในเมืองค่อยๆเจริญและมีชีวิตชีวา ดังนั้น บรรยากาศของการดื่มชาเป็นที่นิยมแพร่หลาย
เมื่อการดื่มชาเป็นสมัยนิยมของสังคม แล้วลักษณะสภาพก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ที่ผ่านมาจากการดื่มชากลายมาเป็นการชื่นชมชา ณ บัดนี้ใบชาก็เพิ่มอีกหนึ่งสถานะ กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิสัมพันธ์ในสังคม “การดวลชา/斗茶”ในช่วงรุ่งโรจน์ของยุคซ่งก็เป็นตัวแทนที่คลาสสิกที่สุด
เมื่อหลังจากใบชาและวัฒนธรรมได้เชื่อมต่อกันแล้ว ส่งผลในการบ่มเพาะนิสัยในการดื่มชาของผู้คนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มันไม่เพียงขับเคลื่อนกลุ่มคนดื่มชาขยายตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตชาพัฒนาไปในแนวประณีตศิลป์
ยุคซ่งก็คือยุคที่ชาผลิตอย่างประณีต(สามารถกล่าวเป็นชาขึ้นชื่อแรกสุดของเมืองจีน)ปรากฏออกมาอย่างมากมาย การผลิตชาแนวประณีตศิลป์เป็นการสืบสานเทคโนโลยีของยุคถัง ราชสำนักราชวงศ์ซ่งจะเป็นผู้กำกับดูแลการผลิตชาแนวประณีตศิลป์ เนื่องจากบนแผ่นชามีการตกแต่งโดยทำการอัดขึ้นลวดลายมังกรหงษ์ จึงเรียกขานกันว่า “ก้อนมังกรแผ่นหงษ์/龙团风饼”
แต่ทว่า เป็นที่น่าเสียดายก็คือ วัฒนธรรมเมื่อขาดการปรับปรุงแก้ไขกลไกโดยตัวมันเองแล้วไซร์ ก็จะจมปลักอยู่ในภาวะใดๆจนถอนตัวไม่ขึ้น เมื่อภาวะเหล่านี้ได้แสดงตนจนถึงระดับจุดสุดยอดแล้ว สรรพสิ่งก็ย่อมเริ่มหันเหไปทางตรงกันข้าม ช่วงเวลานั้น ใบชาที่เลื่องลือได้เริ่มเข้าสู่ในแนวทางที่ผิด
ให้ความสำคัญกับ“รูป/形”ที่เป็นลักษณะภายนอก แล้วด้อยค่า“บุคลิก/质”ที่เป็นลักษณะภายใน
เน้นย้ำ“การเสพทางอวัยวะประสาทสัมผัส”ในกระบวนการการชิมดื่ม ละเลยต่อความรู้สึกทางสรีระเมื่อได้ดื่มน้ำชาเข้าสู่ร่างกาย
เน้นหนักไปกับคำกล่าวอ้างและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ดูแคลนกับการประเมินคุณภาพที่อยู่ภายใน
ให้ความสำคัญกับราคาที่สูงเกินเอื้อม ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนโดยใช้ราคาทดแทนคุณภาพ
เนื่องจากการทำชาอย่างประณีตในยุคซ่งเป็นวิธีการที่สลับซับซ้อนมาก สิ้นเปลืองแรงงานและวัตถุเป็นอย่างมาก เป็นไปในแนวทาง“ฟุ่มเฟือย” มันเพียงสนองตอบต่อคนจำนวนน้อยที่เสพสุขได้ คนส่วนใหญ่หรือพูดอีกแง่หนึ่งก็คือชาวบ้านทั่วไปหมดสิทธิ์ที่จะได้เชยชม
เพราะฉะนั้น จูเหยียนจาง(朱元璋)ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิงได้มีพระราชโองการให้ยกเลิกชาก้อนมังกรแผ่นหงส์ เปลี่ยนเป็น“ใบชาเส้น/散形茶”ที่มีกรรมวิธีการผลิตอย่างเรียบง่าย เป็นเหตุให้กรรมวิธีการผลิตชาในยุคถังซ่งที่สืบสานต่อเนื่องกันมาเป็นพันปีเป็นอันต้องอันตรธานนับจากนี้ไป
ภายใต้เหตุกาณ์ที่เลวร้ายครั้งนั้น มีชาชนิดหนึ่งโชคดีที่สามารถรอดมาได้ นั่นก็คือชาผูเอ่อร์
เหตุผลสำคัญที่ชาผูเอ่อร์สามารถดำรงอยู่ได้อาจเป็นเพราะมีส่วนที่มันอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วยพลเมืองน้อย แต่ชนกลุ่มน้อยมีเป็นจำนวนมาก และอยู่ห่างไกลลิบลับ ราชสำนักราชวงศ์หมิงที่ปกครองอวิ๋นหนาน จุดหลักก็เพียงจัดกองกำลังประจำการ ส่วนเรื่องอื่นๆก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ชาผูเอ่อร์ที่พวกเราพบเห็นได้ในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะภายนอก หรือเป็นกรรมวิธีการผลิตล้วนเป็นเงาที่ตกทอดจากวิธีการทำชาในยุคถังซ่ง พูดอีกแง่หนึ่ง ก็มีเพียงชาผูเอ่อร์ที่ยังหลงเหลือร่องรอยของยุคถังซ่ง เป็นชาที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งในประวัติศาสาตร์ใบชาจีน
ความเป็นจริง ชา6ประเภคใหญ่ที่เป็นใบชาเส้นกำเนิดขึ้นเพียงสามารถเริ่มนับจากสมัยราชวงศ์หมิง มีเพียงหนึ่งเดียวที่สืบทอดกรรมวิธีการทำชาจากยุคถังซ่งก็คือชาผูเอ่อร์ หรือกล่าวได้ว่า ก็เพียงชาผูเอ่อร์ ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรรมวิธีการผลิตสามารถสืบย้อนไปถึงยุคถังซ่ง
ที่แท้ กรรมวิธีการผลิตชาผูเอ่อร์มีต้นกำเนิดจาก“ก้อนมังกรแผ่นหงษ์”ของถังซ่ง โดยคนจงหยวน(ตงง้วน)นำไปเผยแพร่ในอวิ๋นหนาน
เอกสารอ้างอิง :
1. 普洱茶是什么?2.0 : https://m.ipucha.com/show-34-1148.html