ตัวปั้น (
壶身)
ตัวปั้น ก็เรียกกันว่า “
กระบอกร่าง” (
身筒) เป็นองค์ประกอบตัวหลักของปั้น พูดในแง่ของอุปกรณ์สำหรับการชงชาแล้ว ตัวปั้นเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ “ภาชนะ” ในฐานะที่เป็นภาชนะ ก่อนอื่นจะต้องมีพื้นที่ว่างสำหรับกักเก็บของเหลว ดังนั้น กระบอกร่างของปั้นกลายเป็นรูปร่างที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็หลีกหนีไม่พ้นต้นฉบับ กระบอกร่างคือพื้นฐานของการขึ้นรูปปั้น
《
ตัวปั้น》ในที่นี้ขอนำเสนอโดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน :
วิธีการขึ้นรูปของกระบอกร่าง และ
รูปร่างลักษณะของตัวปั้น
๑. วิธีการขึ้นรูปของกระบอกร่าง
คนดื่มชาอาจจะมากหรือน้อยล้วนเคยทำการศึกษาเรื่องปั้นจื่อซา ขณะเดียวกัน ก็เคยได้สอบถามผ่านช่องทางต่างๆเกี่ยวกับราคาของปั้นจื่อซา มีตั้งแต่ราคาหลักร้อยหลักพัน กระทั่งถึงหลักหมื่นหลักแสนจนเป็นล้าน บอกเป็นปั้นจื่อซาเหมือนกัน ทำไมราคาถึงแตกต่างกันมากเช่นนี้? ราคาที่แตกต่างกันเหล่านี้หลักใหญ่ใจความอยู่ที่วิธีการการผลิตที่แตกต่างกัน คุณภาพของเนื้อดินจื่อซาและช่างปั้นที่ไม่เหมือนกันต่างเป็นตัวกำหนดร่วมกัน
การขึ้นรูปกระบอกร่าง สามารถแบ่งออกได้ 5 วิธีการ :
1.
การหล่อน้ำดิน (
灌浆) เป็นการนำน้ำดินที่เตรียมไว้แล้วเทลงในแบบปูนพลาสเตอร์ ปูนจะดูดน้ำและทำให้เนื้อดินเกาะติดผนังแบบ ปล่อยทิ้งให้เนื้อดินแข็งตัวแกะชิ้นงานออกจากแบบ ได้เป็นกระบอกร่างตามแบบที่ต้องการ ทั่วไปจะทำการพ่นน้ำดินจื่อซาทับอีกชั้นบนผิวกระบอกร่าง เพื่อให้ดูสมจริงราวกับปั้นจื่อซา เป็นเพราะเนื้อดินต้องบดให้ละเอียดมากประมาณ200เมชและผสมสารเคมีเติมแต่งในน้ำดิน กระบอกร่างจึงขาดคุณสมบัติในการระบายอากาศของจื่อซา จะไม่เกิดผลผิวปั้นมันเงา(
包浆)จากการเลี้ยงปั้น เป็นวิธีการขึ้นรูปที่สามารถผลิตได้ครั้งละมากๆ ต้นทุนต่ำมาก ไม่มีความหมายทางงานศิลปะ
▲การหล่อน้ำดิน
▲ปั้นหล่อน้ำดิน
▲ปั้นชาที่ทำจากการหล่อน้ำดินปัจจุบัน จะไม่ใช้ดินจื่อซา แต่ใช้ดินเหนียวทั่วไปผสมสารเคมี หลังการขึ้นรูปแล้วจะพ่นทับผิวด้วยน้ำดินจื่อซาอีกชั้นหนึ่ง หลังการเผาแม้สีจะออกมาเหมือนจื่อซา แต่แท้จริงได้เปลี่ยนเป็นเครื่องดินเผาไหม้แล้ว พื้นที่หน้าตัดมี
Glass Phase(
玻璃相) ซึ่งไม่ระบายอากาศ จึงสูญเสียความสามารถในการระบายอากาศซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปั้นจื่อซา ไม่อยู่ในบริบทของเครื่องจื่อซาแล้ว ตามท้องตลาดเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “
ปั้นเคมี”
2.
งานแป้นหมุน (
手拉坯) เป็นการใช้แป้นหมุนไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการแรงเหวี่ยงจากศูนย์กลางของแป้นหมุน ใช้มือในการดึงดินหรือรีดดินให้เป็นกระบอกร่างรูปทรงตามที่ต้องการ อันเนื่องจากเนื้อดินจื่อซาที่บริสุทธิ์ไม่สามารถขึ้นรูปโดยแป้นหมุนได้ จึงต้องผสมดินเกาลินและสารเคมีเติมแต่งเพื่อปรับความเหนียว เฉกเช่นเดียวกับการหล่อน้ำดิน ล้วนไม่ใช่การขึ้นรูปปั้นจื่อซาด้วยมือแบบดั้งเดิม และสูญเสียคุณสมบัติที่ดีเด่นของปั้นจื่อซา งานแป้นหมุนนี้คนหนึ่งสามารถทำการผลิตกระบอกร่างได้หลายสิบอาจเป็นร้อยใบต่อวัน ต้นทุนจึงต่ำ
▲งานแป้นหมุน
▲ปั้นแป้นหมุนสามารถจำแนกได้จากวงก้นหอยที่วนเป็นระเบียบในผนังด้านในของปั้น
▲เนื่องจากเนื้อดินสำหรับงานแป้นหมุนมีการผสมสารเคมีเติมแต่ง โดยทั่วไปผิวนอกของปั้นใหม่จะมีลักษณะเป็น
Glass Phase ซึ่งค่อนข้างมันวาว
3.
จิกเกอร์ริ่ง (
机车) คนจำนวนมากอาจเพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก เป็นกรรมวิธีการทำปั้นที่ปรากฏในระยะไม่กี่ปีมานี้ โดยนำแผ่นเนื้อดินมาวางในแบบปูนพลาสเตอร์ แล้วใช้ใบมีดกรีดให้เนื้อดินได้รูปร่างตามต้องการ ดูจากลักษณะโดยองค์รวมแล้ว รูปทรงปั้นจากวิธีการนี้ค่อนข้างไม่ธรรมชาติ ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ กำลังการผลิตได้เกิน10ใบต่อวัน
▲จิกเกอร์ริ่ง (Jiggering)
4.
ปั้นด้วยมือ (
全手工) เป็นวิธีการขึ้นรูปซึ่งทำด้วยมือที่เก่าแก่โบราณ เป็นการทำงานศิลปะด้วยมือแบบดั้งเดิม ถูกยกย่องให้เป็น
มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ไม่ว่าการขึ้นรูปกระบอกร่างจะเป็นรูปทรงกลม เหลี่ยม ลวดลาย หรือซี่โครง ก่อนอื่นนำก้อนดินตัดออกเป็นชิ้นดิน[ทั่วไปเรียกกันว่า “
หนีลู่ซือ”(
泥路丝)] แล้วนำชิ้นดินเหล่านี้มาทุบตีให้เป็นเส้นดินและแผ่นเนื้อดินที่สอดคล้องตามต้องการของรูปร่างลักษณะของกระบอกร่าง ต่อจากนั้นใช้เครื่องมือวัดตัดออกเป็นเส้นดินที่มีความกว้างพอเหมาะเพื่อนำมาทำเป็นก้นปั้นและแผ่นโอบล้อม
▲การตัดก้อนดินจื่อซาที่หมักได้ที่แล้วออกเป็น “หนีลู่ซือ” (การขึ้นรูปแบบดั้งเดิมของปั้นจื่อซา)
▲การวัดตัดเส้นดินออกเป็นแผ่นเนื้อดินสี่เหลี่ยมยาว
การขึ้นรูปกระบอกร่างโดยปั้นด้วยมือ โดยพื้นฐานจำแนกออกเป็น 4 กรรมวิธี
(1)
โอบล้อมกระบอกร่าง (
围身筒) เหมาะในการทำกระบอกร่างรูปทรงกลม โดยนำเส้นดินที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมยาวมาโอบล้อมเป็นกระบอกหรือรูปทรงกรวย (ใช้สำหรับกึ่งปั้นด้วยมือด้วย)
▲กรรมวิธีการขึ้นรูปโดย “โอบล้อมกระบอกร่าง”
(2)
การตีกระบอกร่าง (
打身筒) โดยมือหนึ่งหนุนอยู่ด้านในกระบอกร่าง อีกมือหนึ่งจับไม้ตีบนกระบอกร่าง เป็นการตีเพื่อขึ้นรูปกระบอกร่าง (ใช้สำหรับกึ่งปั้นด้วยมือด้วย)
▲กรรมวิธีการขึ้นรูปโดย “การตีกระบอกร่าง”
(3)
การเชื่อมกระบอกร่าง (
镶身筒) เหมาะในการทำกระบอกร่างทรงเหลี่ยม โดยทำแผ่นแม่แบบที่มีขนาดตามที่ออกแบบไว้ นำแผ่นแม่แบบทาบบนแผ่นเนื้อดินเพื่อตัดออกเป็นชิ้นๆ นำชิ้นดินที่ตัดตามแบบเหล่านี้มาเชื่อมติดกันขึ้นรูปกระบอกร่างตามที่กำหนด
▲กรรมวิธีการขึ้นรูปโดย “การเชื่อมกระบอกร่าง”
(4)
ประกบกระบอกร่าง (
合身筒) เหมาะในการทำตัวปั้นที่ส่วนบนล่างมีรูปลักษณ์และขนาดใหญ่เล็กเหมือนกัน เช่น “
ปั้นเหอฮวน”(
合欢壶) โดยนำแผ่นเนื้อดินที่วาดตัดออกมาแยกเป็นส่วนบนและล่างตีออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วนำส่วนบนล่าง2ส่วนนี้มาเชื่อมประกบติดกัน
▲《ปั้นเหอฮวน》ของเฉินม่านเซิน (
陈曼生《
合欢壶》) กรรมวิธีการขึ้นรูปโดย “ประกบกระบอกร่าง”
▲กระบอกร่างที่ขึ้นรูปโดยวิธีการ “ปั้นด้วยมือ” ด้วยกรรมวิธี “การตีกระบอกร่าง”
5.
กึ่งปั้นด้วยมือ (
半手工) นำกระบอกร่างที่ตีได้รูปร่างคร่าวๆแล้วใส่เข้าไปในแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ แล้วใช้มือหรือเครื่องมือเฉพาะในการกด-อัด-ขูด เรียกว่า “
อัดให้เข้ารูป” (
Block ;
挡坯) จนกระบอกร่างขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์
▲แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ สำหรับกึ่งปั้นด้วยมือ
▲การตีกระบอกร่างให้ได้รูปร่างคร่าวๆ (การขึ้นรูปเบื้องต้น)
▲นำกระบอกร่างหลังการขึ้นรูปเบื้องตันไปใส่ในแม่พิมพ์
▲ประกบแม่พิมพ์
▲การอัดให้เข้ารูปโดยใช้มือกด-อัด
▲แกะแม่พิมพ์หลังกระบอกร่างขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์
▲การตกแต่งผิวปั้นขั้นสุดท้ายอย่างละเอียดให้เรียบมันโดยใช้แผ่นเขาควาย(
明针) ก่อนนำไปเผา
รูปลักษณ์ของปั้นจำนวนมากที่ออกแบบมาสลับซับซ้อนมาก กรรมวิธีการปั้นด้วยมือจะยุ่งยากมากหรือไม่สามารถปั้นออกมาได้ โดยพื้นฐานแล้วส่วนใหญ่ล้วนใช้วิธีการกึ่งปั้นด้วยมือโดยการใช้แม่พิมพ์เป็นตัวช่วย เพราะการปั้นด้วยมือกลับมีจิตวิญญาณสู้กึ่งปั้นด้วยมือไม่ได้
▲《ปั้นชวี》ของวังหยินเซียน (
汪寅仙《
曲壶》) โดยวิธีการขึ้นรูป “กึ่งปั้นด้วยมือ”
ปั้นจื่อซาทุกวันนี้อย่าแสวงหาจนเกินไปว่าใช่ปั้นด้วยมือหรือกึ่งปั้นด้วยมือหรือไม่ น่าจะแสวงหาว่าใช่เนื้อดินจื่อซาบริสุทธิ์หรือไม่ สุนทรียภาพได้ถึงระดับของปั้นรูปทรงดั้งเดิมหรือไม่ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำปั้นจื่อซาอย่างไร(ยกเว้นการขึ้นรูปแบบการหล่อน้ำดินและงานแป้นหมุน) ขอเพียงสามารถแสดงออกได้ตามมาตรฐานทางศิลปะ การตกตะกอนทางวัฒนธรรมของคนปั้น และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้าใจเข้าถึงศิลปะจื่อซา แล้วก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ความนิยมอย่างแพร่หลายจากผู้ชื่นชอบจื่อซา ล้วนเป็นศิลปกรรมที่ดีน่ายกย่อง ดังนั้น การเสาะแสวงหาปั้นด้วยมือเป็นสิ่งที่จำเป็นแน่นอน แต่ถ้าหากแสวงหาอย่างดึงดัน ก็จะก่อให้เกิดการประเมินค่าองค์รวมของศิลปะอย่างสุดโต่ง และจะทำให้หลงทางได้ง่าย แล้วจะไม่สามารถเข้าใจอย่างแท้จริงต่อความในใจของคนปั้นและรู้ซึ้งอย่างแท้จริงของศิลปะจื่อซา
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----
เอกสารอ้างอิง :