วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (ตอนที่4)

กาแล็กซี่ในถ้วย




        ความงามแห่งเจี้ยนจ่าน หาที่เปรียบไม่ได้

        เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน  มีบรรดาศักดิ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีความงามซึ่งหาที่เปรียบไม่ได้ รัศมีเปล่งปลั่ง ! ถึงแม้จะข้ามโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่งระดับสมบัติแห่งชาติ3ใบที่เก็บอยู่ตามพิพธภัณฑสถานของญี่ปุ่นโดยไม่กล่าวถึง เพียงแค่เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนใบที่ประกอบด้วยเศษชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดได้จากเมืองหางโจวปี2009ของเมืองจีน ก็ยังเปล่งปลั่งรัศมี งดงามพิลึก เสมือนกับเทหวัตถุในเอกภพ ทำให้ผู้คนต้องตะลึงตาลุกโชน

▲เศษชิ้นย้าวเบี้ยนที่ขุดพบในหางโจว(บน)และภาพหลุมดำจาก NASA (ล่าง)

      「ย้าว」() ใน「ย้าวเบี้ยนเทียนมู่」(曜变天目: ญี่ปุ่นออกเสียง โยเฮนเทนโมกุ) มาจากตัวอักษรจีนโบราณของเมืองจีน ในยุคโบราณเมืองจีน「ย้าว」เป็นการบ่งชี้ถึงเทหวัตถุในเอกภพ หลักใหญ่ใจความบ่งชี้ถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์(เช่น7ย้าว : ดวงอาทิตย์ ดวงจัทร์ ดาวเคราะห์ทั้ง5ดวง) 「ย้าวเบี้ยน」(曜变) ใน「ย้าวเบี้ยนเทียนมู่」เป็นการบ่งบอกถึงความหมายของ「การเปลี่ยนให้เหมือนดั่งย้าว」 「ย้าวเบี้ยนเทียนมู่」ก็คือ「เจี้ยนจ่านที่เผาผนึกให้เปลี่ยนเหมือนดั่งย้าว(ดวงอาทิตย์ ดวงจัทร์) 」

▲เนบิวลา(Nebula ซ้าย)และผนังด้านนอกของโยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum (ขวา)

▲สุริยุปราคา(ซ้าย)และผนังด้านในของโยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum (ขวา)

      「สุริยุปราคา」หรือเรียกว่า「สุริยคราส」เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจัทร์โคจรมาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ถ้าหากสามดวงนี้โคจรมาอยู้ในแนวเดียวกัน ดวงจันทร์จะบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก เป็นเหตุให้ดวงอาทิตย์มืดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด

▲รายละเอียดย้าวเบี้ยนของยุคสมัยโบราณและปัจจุบัน(บน)และสุริยุปราคาเต็มดวง(ล่าง)

        ในตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้าน เรียกปรากกกาณ์สุริยุปราคาว่าสุนัขอมพระอาทิตย์ สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในวันแรกของเดือนตามจันทรคติ ก็คือเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะเจาะกัน สุริยุปราคาแบ่งออกเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาผสม

▲ย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี(บน)และหลุมดำ(Black Hole ล่าง)

      「หลุมดำ」กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในยุคปัจจุบัน คือเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้

▲โยเฮนเทนโมกุ Daitokuji Temple (บน)และหลุมดำมวลยวดยิ่งในเอกภพ

        ปี1916 คาร์ล ซวาสชิลด์(Karl Schwarzsechild)นักฟิสิกส์และดาราศาสตร์ชาวเยอมัน เป็นผู้ที่สามารถแก้สมการสนามไอน์สไตน์(Einstein Field Equation)ได้สำเร็จ โดยผลลัพธ์นี้บ่งบอกว่า ถ้าหากมวลสารปริมาณหนึ่งถูกอัดแน่นในปริมาตรจำกัดค่าหนึ่ง นำไปสู่สถานการณ์ประหลาด คือมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตเรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์” ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบเขตนี้ แม้แต่แสงก็ไม่สามารถหลุดออกมาได้ เป็น “เทหวัตถุที่คาดคิดไม่ถึง” ถูกนักฟิสิกส์ชาวอเมริกา จอห์น วีลเลอร์(John Wheeler) ได้ขนานนามว่า「หลุมดำ」(Black Hole)

▲โยเฮนเทนโมกุ Seikado Bunko Art Museum (บน)และหลุมดำมวลยวดยิ่ง

        หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำที่ขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพ ประกอบด้วยมวลหลายแสนเท่าถึงหลายพันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ กระทั่งมวลที่มากที่สุดถึงหลายล้านล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ ถูกค้นพบอยู่ในใจกลางของดาราจักร

▲ย้าวเบี้ยนที่ขุดพบในหางโจว(บนซ้าย)ลายขนกระต่าย(บนขวา)และภาพเปลวสุริยะบนดวงอาทิตย์จาก NASA (ล่าง)

      「เปลวสุริยะ」คือปรากฏการณ์การระเบิดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ มันสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลในเสี้ยวนาที ทำให้ความร้อนในย่านแอ็กทีฟเพิ่มขึ้นทันที แล้วก็แผ่รังสีแม่เหล็กต่างๆออกมา เปลวสุริยะก็เรียกว่า「การลุกจ้าของดวงอาทิตย์

▲ย้าวเบี้ยนที่ขุดพบในหางโจว(บน)และหมู่ดวงดาว(ล่าง)

▲ย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(ขวา)และหลุมดำดวงอาทิตย์(ซ้าย)

▲โยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum (บน)และหมู่ดวงดาวในเอกภพ(ล่าง)

▲ย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(ซ้าย)และหลุมดำดวงอาทิตย์(ขวา)

▲หลุมดำในเอกภพ(บน)และลายเทียนมู่(ล่าง)


เอกสารอ้างอิง :


ความดื่มด่ำแห่งเทพ」ของ “กาแล็กซี่ในถ้วย” นี้ไม่สามารถทำให้ปรากฏบนภาพถ่ายสีได้แม้สักนิดเดียว โปรดชมคลิปวีดีโอที่สำแดงมิติมายาดั่งมนตราดวงดาวในเอกภพ เพียบพร้อมด้วยรังสีอัศจรรย์ที่พิเศษเฉพาะ โดยคลิกลิงค์ข้างล่างนี้
คลิปถ้วยชาโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่ง :  https://youtu.be/Exgt7NpgzGk 


[หมายเหตุ] : หลังผ่าน “การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” แล้ว ทำให้รู้สึกมึนเมาต่อรังสีประกายรุ้งอันวิจิตรพิสดารในจ่าน ได้ซึมซับแบบชิลล์ๆกับปฏิหาริย์มากมายบนโลกนี้และความปลื้มปิติมากล้นของชีวิต

        อันที่จริง เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน(โยเฮนเทนโมกุ)สวยตรงไหนกันแน่ ? ถึงได้รับการตอบรับจากสังคมญี่ปุ่นโดยเฉพาะตระกูลขุนนางอย่างลุ่มหลงและโปรดปราน โดยถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบรรดาถ้วยเทนโมกุ และยกย่องให้เป็น “กาแล็กซี่ในถ้วย” “ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก” สนใจโปรดติดตามบทความ《ความหมายโดยนัยทางศิลปกรรมของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!      

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (ตอนที่3)

ย้าวเบี้ยนคือความร่วมมือของธรรมชาติและนายช่างฝีมือ




        เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน เป็นหนึ่งในเจี้ยนจ่านที่ทำการชุบเคลือบครั้งเดียว เผาครั้งเดียวในกระบวนการเผาผนึกที่อุณหภูมิสูง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติในภาวะบรรยากาศที่น้ำเคลือบและไฟเตาเกิดการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด ! เป็นสิ่งที่ไม่มีที่ใดในโลกหล้า เป็นของล้ำค่าชนิดพิเศษจัดอยู่ในระดับสูงสุดของเจี้ยนจ่าน

        หลักพื้นฐานในการชื่นชมคุณค่าของ「ย้าวเบี้ยน」

        ลักษณะแบบไหนของเจี้ยนจ่านจึงจะสามารถถือเป็นจ่าน「ย้าวเบี้ยน」อย่างแท้จริง(เสมือนกับย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่ง3ใบที่เป็นสมบัติแห่งชาติเก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานของญี่ปุ่น) ? อาจารย์ลู่จินสี่(陆金喜)เชื่อว่า สรุปโดยองค์รวมแล้ว เจี้ยนจ่านจะต้องเพียบพร้อมด้วยลักษณะพิเศษ5ด้านตามข้างล้างนี้ จึงจะสามารถถือเป็น「จ่านย้าวเบี้ยน」:

        1. ดินเหล็ก เคลือบหนา เผาผนึกที่อุณหภูมิสูง
        2. เคลือบแร่ธรรมชาติ ชุบเคลือบครั้งเดียว เผาผนึกครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติในไฟเตาเผา
        3. รูปลักษณะของจุดนิวเคลียสเป็นรูปทรงกลมถือเป็นเลิศ เกาะกันเป็นกลุ่ม
        4. รัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลดจะเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของแสงสว่าง มุมกระทบ
        5. ด้านในจ่านมีนัยขนกระต่ายสีรุ้ง

        ๑. ย้าวเบี้ยนควรสอดคล้องกับลักษณะพิเศษทางดินเหล็ก เคลือบหนา เผาผนึกที่อุณหภูมิสูง

        1) ไม่มีดินเหล็ก ไม่ใช่เจี้ยนจ่าน

        เจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขพื้นฐาน3อย่าง คือ ดินเหล็ก เคลือบหนา เผาผนึกที่อุณหภูมิสูง(1300°C กระทั่งสูงกว่า) ย้าวเบี้ยนก็ทำนองเดียวกัน

▲ดินเหนียวสุ่ยจี๋ที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง

        วัตถุดิบเนื้อดินดิบที่ใช้ผลิตเจี้ยนจ่านเป็นการใช้ดินเหนียวสีน้ำตาลแดงผลิตจากท้องที่ตั้งสุ่ยจี๋เมืองเจี้ยนหยาง มีแร่เหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ8%(โดยทั่วไปมีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ระหว่าง7-10%)

▲ดินเหนียวสุ่ยจี๋ที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง

        ลักษณะพิเศษพื้นฐานของเนื้อดินเจี้ยนจ่านของเตาเจี้ยนคือ : เนื้อดินหน้าตัดจะออกสีดำหรือดำเทา น้ำตาลดำ นี่ก็เป็นเพราะจากการที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณค่อนข้างสูง ; โครงเนื้อดินหนาแน่นแข็งแกร่ง กระเทาะเกิดเสียงโลหะ ทั่วไปเรียกว่า「ดินเหล็ก」สัมผัสด้วยมือจะมีความรู้สึกหนาหนัก ; ประกอบด้วยเม็ดทรายค่อนข้างมาก ทำให้เนื้อดินค่อนข้างหยาบ สัมผัสเนื้อดินที่โผล่ด้วยมือจะรู้สึกค่อนข้างหยาบกระด้าง เนื้อดินลักษณะแบบนี้มีเฉพาะในเมืองเจี้ยนหยาง

▲ดินเจี้ยนจ่านหนาหนักดุจเหล็ก

        2) ตัวจ่านหนาหนักดุจเหล็ก

        ความรู้สึกครั้งแรกเมื่อถือเจี้ยนจ่านบนมือก็คือ「หนักใช่เซียง(蔡襄)ยุคซ่งเหนือได้กล่าวใว้ใน《บันทึกชา(茶录)》ซึ่งมีความหมายว่า「เนื้อดินเจี้ยนจ่านค่อนข้างหนัก เมื่ออบด้วยไฟ เก็บความร้อนได้นาน เย็นตัวช้ามาก เหมาะที่ใช้ในการตีชามากที่สุด」อันเนื่องจากจ่าน「เย็นแล้วชาไม่ลอยฟ่อง」ก็คือจ่านที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ผงชาจะไม่สามารถลอยฟ่องขึ้นมาได้ ในกระบวนการตีปั่นชา ดอกชายากที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ ฟองอากาศก็ไม่สามารถ「กัดจ่าน」[咬盏: ดอกชา(ก็คือฟองอากาศ)ที่ดำรงอยู่ได้นาน จะถูกดูดซับอยู่บนผนังจ่านยาวนานไม่สลาย คนโบราณเรียกว่า “กัดจ่าน”] โดยปริยาย

▲ชิ้นตัวอย่างที่เป็นเศษของเจี้ยนจ่าน

        เนื้อดินหนา เป็นสิ่งที่ต้องการของการตีชาการดวลชา จากรูปข้างบนคือตัวอย่างเศษเจี้นจ่านแบบคลาสสิค เปรียบเทียบกับจ่านชา ถ้วยชาของยุคสมัยใดๆแล้ว ความหนาของเจี้ยนจ่านจะหนาเป็นหลายเท่าของพวกมัน เนื้อดินหนา จ่านก็หนักโดยธรรมชาติ จ่านปากรัด(束口盏)12.5ซม.ที่เป็นแบบมาตรฐาน ผลจากการนำมาชั่งหลายๆใบคือ228-255กรัม น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ242กรัม ใกล้เคียงครึ่งชั่ง(1ช่าง=500กรัม) ถือบนมือแล้วจึงรู้สึกมีน้ำหนัก

        3) เนื้อดินสีดำน้ำตาลดุจเช่นเหล็ก

        เจี้ยนจ่านเคลือบสีดำ เนื้อดินดำ สามารถที่จะกล่าวได้ว่าผิวนอกและด้านในดุจเนื้อเดียวกัน เนื้อดินดำเป็นลักษณะพิเศษหนึ่งที่สำคัญของเจี้ยนจ่าน สีเนื้อดินหน้าตัดทั่วไปเป็นสีดำ ดำเทาหรือดำน้ำตาล ตรงจุดนี้ การสังเกตบนผิวที่ทำการขัดเงาแล้วจะเห็นเด่นชัดมาก ; และเนื่องจากผิวหน้าตัดของชิ้นเศษเปื้อนดินมาแล้ว  สีก็จะรู้สึกถูกลบให้จางลง นอกจากนั้น ฐานข้างใต้ของเจี้ยนจ่านโดยทั่วไปก็เป็นสีดำน้ำตาล น้ำตาลหรือน้ำตาลอมเขียว ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่สำคัญที่ใช้แยกแยะจ่านเคลือบดำที่ผลิตได้จากเตาเผาอื่นๆในกลุ่มของเตาเจี้ยน

▲ขอบปากที่ขัดเงาของเจี้ยนจ่าน

        เนื้อดินของเจี้ยนจ่านหนาแน่นแข็งแกร่ง ใช้นิ้วมือเคาะ ราวกับเป็นเครื้องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เสียงดังกังวาน เป็นเสียงหนักแน่นมีพลัง แตกต่างจากเสียงที่บอบบางของเครื่องเคลือบเนื้อดินบางทั่วๆไปอย่างเด่นชัด

▲แข็งแกร่งเช่นเหล็ก เสียงเคาะเหมือนเหล็ก

        ก็เป็นเพราะเนื้อดินที่หนาหนักของเจี้ยนจ่านในบรรดาเครื่องเคลือบสีดำทั้งหลายของเตาเจี้ยน ภายในเนื้อดินประกอบด้วยฟองอากาศเล็กละเอียด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเก็บความร้อนของน้ำชา เหมาะสมกับความต้องการของการดวลชา ดังนั้น จึงได้กลายเป็นอุปกรณ์ชาอันดับหนึ่งในยุคสมัยซ่ง ถ้าหากในมือคุณมีจ่านเก่ายุคสมัยซ่ง คูณจะพบเห็นว่าเนื้อดินจ่านเก่าจะดำมาก นี่ก็คือการสำแดงออกทางด้านนอกขององค์ประกอบแร่เหล็กในปริมาณสูง

        หนาหนักดุจเหล็ก ดำน้ำตาลดั่งเหล็ก แข็งแกร่งเช่นเหล็ก เสียงเคาะเหมือนเหล็ก  จึงเรียกขานเจี้ยนจ่านว่า「ดินเหล็ก」「เครื่องเหล็ก

        4) การเผาผนึกเจี้ยนจ่านจะต้องชุบเคลือบหนา

        ชั้นเคลือบเจี้ยนจ่านจะหนาและเกิดการไหลได้ง่าย การชุบเคลือบหนาเป็นสิ่งที่ต้องการของสีเคลือบ สีเคลือบประกอบด้วยสีพื้นของเคลือบและลายบนผิวเคลือบ ชั้นเคลือบบางเกินไป สีเคลือบไม่ดำ ตรงส่วนที่เคลือบบางจะออกสีน้ำตาลแดงเข้ม มีผลกระทบต่อความรู้สึกทางความสวยงาม

▲เจี้ยนจ่านชุบเคลือบหนา

▲เจี้ยนจ่านชุบเคลือบหนา

        ยิ่งกว่านั้น หลักที่สำคัญที่สุดก็คือ เคลือบบางเกินไป พื้นที่ว่างสำหรับการเกิดผลึกของเฟอร์ริกออกไซด์(หรือเฟอร์รัสออกไซด์ หรือมีทั้ง2ตัว รวมเรียกเป็นเหล็กออกไซด์)จะเล็กมาก จะเป็นเหตุให้เกิดภาวะไม่ดีต่อการก่อเกิดของขนกระต่ายและหยดน้ำมัน เส้นขนกระต่ายจะสั้น ลักษณะการไหลไม่ราบรื่น จุดหยดน้ำมัน(ก็คือลานนกกระทา) ก็จะไม่ใหญ่ ดังนั้น การชุบเคลือบหนาเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น

▲เจี้ยนจ่านชุบเคลือบหนา

          เจี้ยนจ่านใช้การเผาแบบหงายขึ้น น้ำเคลือบภายใต้อุณหภูมิสูงจะไหลลงมา เป็นเหตุให้ตำแหน่งเจี้ยนจ่านยิ่งล่างลงไป เคลือบก็จะยิ่งหนา

        5) ย้าวเบี้ยนคือการเปลี่ยนแปลงมายาภายใต้ภาวะบรรยากาศยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง   

▲เจี้ยนจ่านต้องเผาผนึกในเปลวไฟแบบรีดักชั่น1300°Cขึ้นไป

        ความแข็งแกร่งของเจี้ยนจ่าน เป็นเพราะการก่อตัวขึ้นในเปลวไฟแบบรีดักชั่นที่ต้อง1300°Cขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิการเผาผนึกที่1200°Cของเครื่องเคลือบทั่วๆไป ทำให้ระดับการเผาผนึกของเนื้อดินสูงยิ่งขึ้น ลักษณะเนื้อดินก็จะยิ่งหนาแน่น ความแข็งเพิ่มมากขึ้น เนื้อดินยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น

 ▲ย้าวเบี้ยน-ผลงานของลู่จินสี่(陆金喜)

      「ย้าวเบี้ยน」ก็อยู่บนพื้นฐานนี้ น้ำเคลือบและอุณหภูมิได้ถึงภาวะบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวดจึงสามารถผลิตสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกมาได้ ซึ่งเงื่อนไขการเผาผนึกเทียบกับขนกระต่ายและหยดน้ำม้นแล้ว มีความต้องการที่สูงกว่า เข้มงวดกว่า

        ๒. เคลือบแร่ธรรมชาติ ชุบเคลือบครั้งเดียว เผาผนึกครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติในไฟเตาเผา

        การใช้เคลือบแร่ธรรมชาติ ชุบเคลือบครั้งเดียว เผาผนึกเชิงครั้งเดียว นี่คือจุดที่สำคัญที่สุดของกรรมวิธีของเจี้ยนจ่าน

▲เคลือบแร่ธรรมชาติที่หนานหลิน(南林)สุ่ยจี๋(水吉)

▲เคลือบแร่ธรรมชาติ

        เพื่อการฟื้นฟูศิลปการของโยเฮนเทนโมกุ ญี่ปุ่นได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีของย้าวเบี้ยนสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถาน จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า :

      「ย้าวเบี้ยนสมบัติแห่งชาติใช้เคลือบแร่ธรรมชาติ ชุบเคลือบครั้งเดียว ทำการเผาผนึกเชิงครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติในไฟเตาเผา น้ำเคลือบไม่ผสมเติมวัตถุดิบอุตสาหกรรมเคมีใดๆเช่นธาตุโลหะหนักที่เป็นอันตราย มีสีสเปคตัมที่เปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลาย ก่อตัวตามธรรมชาติ และปลอดภัยปลอดสารพิษ

▲เคลือบแร่ธรรมชาติเผาผนึกที่อุณหภูมิสูง ปลอดภัยปลอดสารพิษ

        เจี้ยนจ่านขนกระต่าย หยดน้ำมันและลายนกกระทา ล้วนเป็นผลงานชิ้นเอกของเคลือบผลึกเหล็ก เป็นการชุบครั้งเดียว เผาผนึกเชิงครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติในไฟเตาเผา แน่นอนย้าวเบี้ยนก็ไม่มีข้อยกเว้น

        ย้าวเบี้ยนที่เผาออกมาภายใต้เบื้องต้นที่ต้องชุบเคลือบครั้งเดียว ต้องเผาผนึกเชิงครั้งเดียว มีความต้องการต่อปัจจัยทางภาวะบรรยากาศของน้ำเคลือบและอุณหภูมิอย่างยิ่งยวด ยุคสมัยซ่งอัตราผลผลิตเป็นหนึ่งในล้านก็แทบจะไม่มี นี่จากจำนวนนับนิ้วได้ของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่หลงเหลืออยู่เป็นครื่องยืนยัน

▲ย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        ๓. รูปลักษณะจุดนิวเคลียสเป็นรูปทรงกลมถือเป็นเลิศ เกาะกันเป็นกลุ่ม

        ย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งมีลักษณะพิเศษ2อย่างที่เด่นชัดมาก หนึ่งในนั้นก็คือลายจุดมีรูปเป็นทรงกลม ก็คือ : จุดนิวเคลียส รูปลักษณะของจุดนิวเคลียสส่วนใหญ่ใกล้เคียงรูปทรงกลม เกาะกันเป็นกลุ่ม

▲รายละเอียดของโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum,Osaka

        ยุคสมัยซ่ง ผลิตภัณฑ์ตัวหลักของเตาเจี้ยน(98%ขึ้นไป)เป็นจ่านขนกระต่าย「หาวเบี้ยน」(毫变:การเปลี่ยนไปของขน) มีความหมายโดยนัยคือผลิตภัณฑ์ชนิดที่เปลี่ยนไปของผลิตภัณฑ์ตัวหลัก(ขนกระต่าย) ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ชนิดที่กลายไปในเตาเจี้ยน「หาว」(:ขน)ในที่นี้เทียบเท่า「หยาว」(:เตา) ดังนั้น「หาวเบี้ยน」กับ「หยาวเบี้ยน」(窑变:การกลายไปในเตา)มีความหมายเดียวกัน ซึ่ง「ย้าวเบี้ยน」(曜变)เป็นการเปลี่ยนผ่านมาจาก「หยาวเบี้ยน」ดังนั้น「หาวเบี้ยน」「ยี่เบี้ยน」(异变)ในบันทึกประวัติศาสตร์ยุคสมัยซ่งของเมืองจีน กับที่ญี่ปุ่นเรียกว่า「ย้าวเบี้ยน」(Yohen)เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน

▲รายละเอียดของเศษชิ้นย้าวเบี้ยนที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        เมื่อแวบมองจุดนิวเคลียสย้าวเบี้ยนครั้งแรกจะแตกต่างกับหยดน้ำมัน ขนกระต่านอย่างสิ้นเชิง แต่มิใช่ไม่มีการเกี่ยวโยงกัน ผ่านการสังเกตเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ ความแตกต่างของย้าวเบี้ยนกับหยดน้ำมันอยู่ที่ หยดน้ำมันคือในลายจุดมีสีสันของผลึก นอกลายจุดจะดำสนิท แต่ย้าวเบี้ยนกลับตรงกันข้าม ในลายจุดออกสีมืด จะลึกลับเหมือน「หลุมดำ」ในกาแล็กซี่ นอกลายจุดล้อมรอบด้วยพระอาทิตย์ทรงกลดสีประกายรุ้ง รูปลักษณะแบบนี้เรียกว่า「จุดนิวเคลียส」(斑核)

▲จุดนิวเคลียส(斑核)ของจ่านหยดน้ำมัน

        ย้าวเบี้ยนก็คืออยู่บนพื้นฐานของหยดน้ำมันและขนกระต่าย ปฏิกิริยาของอุณหภูมิและน้ำเคลือบถึงระดับการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด ดังนั้น คิดที่จะเผาย้าวเบี้ยนออกมา จะต้องสามารถควบคุมศิลปการเผาผลิตหยดน้ำมันและขนกระต่ายให้ได้เสียก่อน

        การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านที่สำคัญที่สุดคือลายสีเคลือบ ทำไมถึงพูดว่าที่สำคัญที่สุด ? เนื่องจากเจี้ยนจ่านไม่มีของเลียนแบบ ! ลายสีเคลือบของผลิตภัณฑ์เจี้ยนจ่านทุกชิ้น กลไกรูปภายนอกล้วนไม่ใช่แบบเดียวกัน นี่ก็คือเสน์ที่ดึงดูดของเจี้ยนจ่านที่ดำรงอยู่

        การที่ย้าวเบี้ยนเป็นการเฉพาะเช่นนี้ จุดนิวเคลียสของย้าวเบี้ยนจะไม่กระจายไปทั่วอย่างสม่ำเสมอเช่นลายหยดน้ำมัน แต่ก่อเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากที่ประกอบด้วยจุดใหญ่จุดเล็กแตกต่างกัน ดั่งเช่นเนบิวลาในกาแล็กซี่ ต่างรวมตัวกัน ต่างแผ่รังสีซึ่งกันและกัน จ่านย้าวเบี้ยนที่ไม่เหมือนกัน สภาพของการรวมเป็นกลุ่มต่างก็มีสีสันแพรวพราวของตนเอง ไม่ว่าเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนสองชิ้นใดๆ จะไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเหมือนกัน

▲ขุดพบที่หางโจว(ซ้าย) ผลงานลู่จินสี่(กลาง) Fujita Art Museum(ขวา)

        เปรียบเทียบโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Fujita กับโยเฮนเทโมกุที่เก็บอยู่ที่ Seikado ก็สามารถที่จะพบเห็นว่า ครรลองการเป็นกลุ่มของ2ใบนี้มีข้อตแตกต่างกันมาก การเป็นกลุ่มของชิ้นหลังจะเด่นชัดกว่าชิ้นแรกมาก

        ๔. รัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลดจะเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของแสงสว่าง มุมกระทบ

        ลักษณะพิเศษที่เด่นชัดมากของย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งก็คือ : สีฟ้าเรืองแสงเปล่งประกายรอบๆลายจุด เป็นสิ่งมหัศจรรษ์หาที่เปรียบไม่ได้

        จุดนิวเคลียสของจ่านย้าวเบี้ยนจะต้องล้อมรอบด้วยรัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลด พระอาทิตย์ทรงกลดจะเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของมุมกระทบของแสงสว่าง เปลี่ยนแปลงอย่างมายาออกเป็นสีประกายรุ้งเจิดจ้า ก็เหมือนกับแสงสีอะร้าอร่ามในยามค่ำคืนอันสวยงาม อย่างเช่นของ Seikado จะแผ่รังสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง เป็นต้น ของ Fujita จะแผ่รังสีน้ำเงิน เขียวอมน้ำเงิน ม่วง เป็นต้น

       พลังเวทย์ที่มีมนตร์เสน่ห์ของย้าวเบี้ยน ระดับใหญ่ๆแล้วมาจากการเปล่งประกายแวววาวที่มหัศจรรย์พันลึกเช่นนี้

        เจี้ยนจ่านที่แสนหายากตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาล้วนเป็นสมบัติล้ำค่าที่เก็บรักษาโดยชนชั้นสูงของญี่ปุ่น บนวิถีทางศิลปะ มันไม่เพียงมีความรู้สึกทางความสุนทรีย์อย่างเหลือล้นที่ประกอบขึ้นจากจุด เส้น ผิวหน้าแล้ว มันยังอยู่บนพื้นฐานที่กลั่นออกมาจากแสงประกายเปล่งปลั่งที่มหัศจรรย์ไร้ขีดจำกัด

        ๕. ด้านในจ่านมีนัยขนกระต่ายสีรุ้ง

        ระหว่างศิลปการของย้าวเบี้ยนกับขนกระต่าย หยดน้ำมันดำรงไว้ซึ่งเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่น ย้าวเบี้ยนก็คืองานฝีมือที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานของขนกระต่ายและหยดน้ำมัน ถ้าหากนายช่างฝีมือผู้ใดเผาผลิตขนกระจ่ายและหยดน้ำมันออกมาได้ไม่ดี แน่นอนก็ย่อมเผาย้าวเบี้ยนออกมาไม่ได้

        การสำรวจโดยผ่านจ่านย้าวเบี้ยนที่เก็บอยู่ที่ Seikado และ Fujita กับชิ้นเศษของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่ขุดพบในเมืองหางโจว จะสามารถพบเห็นได้ว่า พระอาทิตย์ทรงกลดของพวกมันไม่ใช่เป็นไปอย่างต่อเนื่องกันตลอด แต่จะมีเส้นเป็นบางส่วน ดูแล้วคล้ายกับ「ลักษณะขนกระต่ายสีรุ้ง」จุดประกายและขนกระต่ายสีรุ้งผสมผสานรวมเป็นหนึ่ง

▲หางโจว(บน) Seikado(กลาง) Fujita(ล่าง)

        กล่าวสรุปโดยง่ายๆว่า เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนก็คือต้องสอดคล้องกับลักษณะพิเศษ ดังนี้ : ชุบเคลือบครั้งเดียว เผาผนึกครั้งเดียว จุดนิวเคลียสรูปทรงกลม ดำ ในนิวเคลียสราบเรียบ รอบข้างนิวเคลียสมีพระอาทิตย์ทรงกลด สีลวงตา จุดนิวเคลียส3-5จุดเกาะเป็นกลุ่ม ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็คือลักษณะพิเศษที่สำคัญของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน จุดสำคัญที่เด่นชัดอยู่ที่จุดนิวเคลียส รัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลดและชุบเคลือบครั้งเดียว เผาผนึกครั้งเดียว


เอกสารอ้างอิง :
1. 曜变是大自然与巨匠的合作 http://m.sohu.com/a/150748611_99892992/?pvid=000115_3w_a



[หมายเหตุ] : เมื่อรับรู้ “เรื่องราว” ของเจี้ยนจ่าน แล้วรับทราบ “ลักษณะพิเศษ” ของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนแล้ว โดยเฉพาะสีเคลือบจุดนิวเคลียสพระอาทิตย์ทรงกลดของจ่านย้าวเบี้ยนเป็นความประจวบเหมาะอย่างมหัศจรรย์ของ「ฝีมือสวรรค์」กับ「ทักษะมนุษย์」จ่านย้าวเบี้ยนปรากฏเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาก็โดยการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจนถึงจุดพิเศษที่ยิ่งยวด ทั้งหมดไม่มีร่องรอยจากการขัดเกลาของฝีมือมนุษย์ นี่ก็คือการปล่อยให้เครื่องอุปกรณ์เหล่านี้เกิดการแปลงร่างซึ่งเกิดขึ้นเองภายใต้เปลวเพลิงในเตา สามารถที่จะกล่าวได้ว่า「เข้าเตาหนึ่งสี ออกเตาหลากสี」ทั้งหลายทั้งปวงก็คือ「ปล่อยไปตามยถากรรม

        ลายสีเคลือบของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน(โยเฮนเทนโมกุ)ยุคสมัยซ่งมีความเสมือนกับปรากฏการณ์และเทหวัตถุในเอกภพอย่างไร ? ที่คนจีนยุคสมัยซ่งมีความเชื่อว่าเป็น “ของปีศาจ”(ความหมายคือ “ไม่ใช่น้ำมือของมนุษย์”) แต่คนญี่ปุ่นถือเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ความงามแห่งเจี้ยนจ่าน หาที่เปรียบไม่ได้ สนใจโปรดติดตามบทความ《กาแล็กซี่ในถ้วย》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (ตอนที่2)

ย้าวเบี้ยน---สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงค่าในบรรดาเจี้ยนจ่าน




        เป็นที่รู้กันไปทั่วโลกแล้วว่า ปัจจุบันเจี้ยนจ่านที่สุดยอดล้วนเก็บรักษาไว้ที่ญี่ปุ่น ซึ่งย้าวเบี้ยนที่หลงเหลืออยู่เพียงแค่3ใบเก็บไว้ตามพิพธภัณฑสถานของญี่ปุ่น ทุกใบล้วนถือเป็นโบราณวัตถุระดับสมบัติประจำชาติ

        โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ใน Seikado Bunko Art Museum ของญี่ปุ่นโดยวงการศิลปเครื่องปั้นดินเผานานานชาติเชื่อว่าเป็น “กาแล็กซี่ในถ้วย” “ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก” และยกย่องให้เป็นยอดเขาเอเวอเรสต์ของศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผา ขณะเดียวกัน ก็เคยเป็นสมบัตสวัสดิมงคลของตระกูล Tokugawa ของญี่ปุ่นที่เป็นมรดกตกทอดต่อๆกันมา และเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลที่แสดงถึงการกุมอำนาจทางทหารของประเทศในช่วงสมัยนั้น

▲ลายละเอียดของโยเฮนเทนโมกุ Seikado

        บนผืนแผ่นดินจีน ก็มีเพียง “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” ที่เป็นเศษครึ่งใบถูกค้นพบในปี2009ในเมืองหางโจว(เมืองหลินอาน(临安)ช่วงสมัยซ่งใต้)

▲ย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบยุคสมัยซ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน ในญี่ปุ่นเรียกว่า “โยเฮนเทนโมกุ” ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เผาผลิตจากเตาเจี้ยนตำบลสุ่ยจี๋เมืองเจี้ยนหยางมณฑลฝูเจี้ยนของเมืองจีน เป็นเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งที่ชุบเคลือบครั้งเดียว ในกระบวนการเผาผนึกที่อุณหภูมิสูงเชิงครั้งเดียว ก่อเกิดขึ้นมาอย่างธรรมชาติในบรรยากาศที่น้ำเคลือบและไฟเตาเกิดการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด เป็นวัตถุแสนหายากบนโลกใบนี้ เป็นสิ่งล้ำค่าที่พิเศษสูงส่งในบรรดาเจี้ยนจ่านทั้งหลาย

▲ไฟในเตาเผาเจี้ยนอุณหภูมิสูงกว่า1300°C

        ริ้วลายเปลวสุริยะและพระอาทิตย์ทรงกลดภายใต้แสงสว่างจะเปลี่ยนแปลงอย่างมายาออกมาดั่งเนบิวลา(Nebula)ในกาแล็กซี่ที่งามลึกลับเพริศพริ้ง แต่การที่จะได้มาด้วยความยากขั้นสูงสุด ความเป็นไปได้ต่ำสุด ต้องหนึ่งในจำนวนแสนชิ้นของเจี้ยนจ่านจึงจะสามารถได้มาโดยบังเอิญ เป็นสิ่งแสนหายากยิ่งนัก

▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        สามารถที่จะกล่าวเช่นนี้ได้ว่า ถ้าหากปราศจาก “โยเฮนเทนโมกุ” แล้ว Fujita Art Museum, Osaka และ Seikado Bunko Art Museum, Tokyo ของญี่ปุ่นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่ทุกวันนี้จัดอยู่ในตำแหน่งชั้นแนวหน้าในพิพิธภัณฑสถานแบบเดียวกันในโลกนี้

▲โยเฮนเทนโมกุสมบัติชาติยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum ญี่ปุ่น

        ตามที่รองผู้อำนวยการสมาคมการประเมินวัตถุโบราณแห่งชาติ เกิ่ง ป่าวชาง(耿宝昌) นักวิจัยของพิพธภัณฑสถานกู้กงได้แนะนำไว้ว่า “โยเฮนเทนโมกุ” คือเครื่องเคลือบดินเผาชนิดหนึ่งที่ผิวเคลือบมีสีพิเศษเฉพาะเผาจากเตาเจี้ยนยุคสมัยซ่งของเมืองจีน ผ่านการเผาผนึกอย่างละเอียกประณีต ถือเป็นของล้ำค่าอย่างยิ่ง

▲โยเฮนเทนโมกุสมบัติชาติยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple ญี่ปุ่น

        ยุคสมัยโบราณของญี่ปุ่น มีข้อเขียนบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเจี้ยนจ่านที่สำคัญที่สุดคือ《君台観左右帳記》(ปี1511) หนังสือเล่มนี้เป็นการบันทึกของพวกเพื่อนๆของโชกุน Ashikaga ยุคสมัย Muromachi ที่ทำการประเมินวัตถุสมัยถังที่โชกุน Ashikaga ได้เก็บสะสมไว้ วัตถุสมัยถังที่ถูกประเมินในมูลค่าระดับสูงในหนังสือเล่มนี้ เป็นสิ่งของที่ดีที่สุดที่สามารถเก็บรวบรวมไว้ได้ในช่วงสมัยนั้น เนื่องจากยึดมาตรฐานทางความสวยงามเป็นเลิศและเป็นของหายาก ในหนังสือเล่มนี้ได้บันทึกว่า :

      「ย้าวเบี้ยน เป็นสุดยอดแห่งเจี้ยนจ่าน เป็นของที่หายากบนโลกนี้ มูลค่าผ้าไหมหนึ่งหมื่นพับ หยดน้ำมันคือสมบัติลำดับ2ที่รองจากย้าวเบี้ยน มูลค่าผ้าไหมห้าพันพับ จ่านขนกระต่าย มูลค่าผ้าไหมสามพันพับ

▲ 《君台観左右帳記》บันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญของยุคสมัยโบราณญี่ปุ่น

        Koyama Fujio นักวิชาการเครื่องปั้นดินเผาโบราณเมืองจีนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น(ปี1900-1975) ในหนังสือ《เทียนมู่》ได้อธิบายย้าวเบี้ยนว่า : “สิ่งที่เผาจากเตาเจี้ยน ผิวจ่านที่ชุบเคลือบสีดำหนาเข้ม ผลึกขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ลอยปรากฏขึ้นมา และรอบๆมีรัศมีสีรุ้งดั่งลักษณะพระอาทิตย์ทรงกลดจึงถือเป็นย้าวเบี้ยน........”ย้าวเบี้ยน”(曜变) ก็เขียนเป็น “ย้าวเบี้ยน”(耀变) เป็นเพราะว่ามันมีความหมายทางการแผ่รัศมีออกมา”

        ทำไมเจี้ยนจ่านก็เรียกเป็นเทียนมู่ ?

        ในญี่ปุ่น ล้วนนำเจี้ยนจ่านมาเรียกเป็น “เทียนมู่”(เทนโมกุ) ใยในญี่ปุ่นเจี้ยนจ่านถึงเรียกเป็นเทียนมู่เล่า? นี่คงต้องพูดเริ่มต้นจากการดวลชายุคสมัยซ่ง

▲ภาพเหตุการณ์การดวลชาของสุภาพชนและนักบวชในยุคสมัยซ่ง

        ยุคสมัยซ่งนิยม “การดวลชา” อย่างแพร่หลาย นี่ก็คือการละเล่นที่แข่งขันคุณภาพของชา และทั่วๆไปคนยุคสมัยซ่งจะใช้เจี้ยนจ่านเป็นอุปกรณ์ชา นับแต่นี้ไป “เจี้ยนจ่าน” ที่เผาผลิตจากเตาเจี้ยนจำนวนมากก็แพร่เข้าไปในวัดนิกายเซ็นที่กำลังรุ่งเรือง

▲วัดจาวหมิง(昭明禅寺)บนเขาเทียนมู่ในเจ้อเจียง

        ตามการบันทึกประวัติศาสตร์ ช่วงสมัยซ่งใต้ ซึ่งตรงกับยุคสมัย Kamakura(ค.ศ.1192-1333)ของญี่ปุ่น นักบวชญี่ปุ่นจำนวนมากได้เดินทางมาวัดนิกายเซ็นเพื่อบำเพ็ญตบะทางแถบเขาเทียนมู่(天目山)ในเจ้อเจียง รับการฝึกอบรมทางศีลธรรมของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาฝ่ายเซ็นของเมืองจีน

▲วัดจาวหมิง(昭明禅寺)บนเขาเทียนมู่ในเจ้อเจียง

        เมื่อนักบวชญี่ปุ่นกลุ่มนี้เดินทางกลับประเทศ ได้นำเจี้ยนจ่านอุปกรณ์ชาของการดื่มชาการดวลชาจากเขาเทียนมู่กลับไปญี่ปุ่น ดังนั้น “เจี้ยนจ่าน” ก็มีชื่อเรียกที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี่ในญี่ปุ่นว่า “ถ้วยชาเทียนมู่” ต่อจากนั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็นำเจี้ยนจ่านกับเครื่องเคลือบสีดำรวมเรียกขานเป็น “เทียนมู่

▲เขาเทียนมู่(天目山)ในเจ้อเจียง

        ช่วงสมัยถัง คนญี่ปุ่นได้นำชาและวัฒนธรรมชาของเมืองจีนกลับไปญี่ปุ่น ปลายศตวรรษที่16 Sen no Rikyu ได้สืบทอดจิตวิญญาณของวิถีแห่งชายุคสมัยที่ผ่านมา ได้จัดตั้งวิถีแห่งชาอย่างแท้จริงของญี่ปุ่น เขาได้เสนอใช้ “นอบน้อมเยือกเย็น”(和敬清寂) ตัวหนังสือที่สั้นกระชับแต่มีความหมายโดยนัยอย่างลึกซึ้ง “เยือกเย็น”(清寂) คือการบ่งชี้ถึงความสงบ ความสง่างาม และสุนทรียศาสตร์แห่งความเรียบง่ายและความยากจนที่ประณีต “นอบน้อม”(和敬) เป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อแขกผู้มาเยือน เป็นการนำจิตวิญญาณของวิถีแห่งชาญี่ปุ่นผลักดันเผยแพร่ออกไป

▲Sen no Rikyu ผู้ให้กำเนิดวิถีชาแห่งญี่ปุ่น

        ความสามารถในการสืบทอดและการปรับปรุงแก้ไขของคนญี่ปปุ่นสูงมาก พวกเขาเรียนรู้ฝึกฝนวัฒนธรรมการดื่มชาของเมืองจีน ทำการปรับปรุงแก้ไขออกมาเป็นจิตวิญญาณทางวิถีแห่งชาของญี่ปุ่น อุปกรณ์ชาที่พวกเขานำมาจากเมืองจีนก็ยังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Museum of Oriental Ceramics, Osaka ญี่ปุ่น

        หลังจาก “ถ้วยชาเทียนมู่” เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น รสนิยมของคนญี่ปุ่นต่อวัฒนธรรมการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนมีแต่จะเพิ่มขึ้น และในช่วงเวลานั้น Ashikaga Yoshimitsu โชกุนรุ่น3ที่แห่งตระกูล Ashikaga ยิ่งได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์ชาชั้นยอดที่โด่งดังจากเมืองจีนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคสมัย Edo ตราบจนถึงปัจจุบัน ในวงค์ตระกูลโด่งดังทั้งหลายของญี่ปุ่นล้วนมีการเก็บสะสมเทียนมู่ไว้ “ถ้วยชาเทียนมู่” ที่ยังคงเก็บรักษาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเคยถูกครอบครอง เคยถูกใช้มาแล้วโดยวงค์ตระกูลดังในช่วงสมัยนั้น

▲จ่านขนกระต่ายเก็บอยู่ที่ Nezu Museum, Tokyo ญี่ปุ่น

        เครื่องเคลือบเทียนมู่เป็นอุปกรณ์ชาที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีการชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ในสายตาของคนญี่ปุ่น “เครื่องเคลือบเทียนมู่” ถือเป็นสิ่งสูงสุดในถ้วยชาทั้งหลาย มีสถานะซึ่งมีอำนาจชี้ขาด เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและฐานะ ในวันนี้ “เทียนมู่” ได้กลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปทางสากลของเครื่องเคลือบดินเผาชนิดเคลือบสีดำไปแล้ว

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Kyushu National Museum, Fukuoka ญี่ปุ่น

        นี่เป็นการบ่งบอกว่า “เทียนมู่” ภายในสายตาของคนญี่ปุ่นมิใช่เป็นเพียงสมบัติแห่งชาติที่มีสีสันมหัศจรรย์ ยังเป็นการแสดงถึงการเคารพนับถือต่อเครื่องใช้อย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาคุณเดินบนถนนสายเครื่องเคลือบและชาญี่ปุ่น ถ้าหากมีคนถือถ้วยแบบเผาฟื้นแล้วพูดว่านี่คือ “เทียนมู่เชิงเขาดำ” แล้วคุณไม่ต้องตกใจและไม่ต้องแปลกใจ พวกเขากระทั่งใช้รูปแบบเจี้ยนจ่านที่ใช้ทองตีออกมาก็เรียกว่า “เทียนมู่ทองคำ”

▲จ่านหยดน้ำมันเก็บอยู่ที่ Tokugawa Art Museum, Nagoya ญี่ปุ่น

        ตำนานของเจี้ยนจ่านแพร่เข้าไปญี่ปุ่น

        ช่วงสมัยซ่งใต้ การเผาผลิต “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” เป็นเรื่องที่โดยบังเอิญอย่างยิ่ง ลักษณะลายสีน้ำเงินม่วงและสีสันแพรวพราวแบบนี้จะถูกพวกช่างฝีมือปั้นดินเผาถือเป็น “ของปีศาจ”(妖器) เป็นการลงโทษมนุษย์จากสวรรค์ นี่ก็เกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ทางเรียบง่ายล้ำลึก สง่าผึ่งผายที่ราชวงศ์ซ่งที่ได้ยึดถือมาตลอด

        ดังนั้น ทันทีที่พบเห็น “ของปีศาจ” ที่เผาผลิตออกมาได้แบบนี้ พวกเขาจะทำการทำลายมันหรือนำไปทิ้ง บนโลกนี้ที่ยังเหลือเจี้ยนจ่านอยู่3ใบ ก็เป็นโอกาสที่โดยบังเอิญอย่างยิ่งจึงแพร่เข้าไปญี่ปุ่น

▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        อีกเหตุผลหนึ่ง เป็นเพราะว่าอัตราการเผาผนึกของเจี้ยนจ่านที่มีคุณภาพดีเลิศในช่วงสมัยนั้นต่ำมาก ไม่ถึง1ในหมื่น ส่วน “ลายนกกระทา” และ “ย้าวเบี้ยน” อัตราการเผาผนึกยิ่งต่ำลงไปอีก ไม่ถึง1ในแสนและ1ในล้าน เมื่อเป็นดั่งนี้ จะเห็นได้ว่า “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” ในยุตสมัยซ่งก็เป็นของหายากอย่างยิ่ง การได้มาเจอะเจอก็โดยอาศัยโชคเท่านั้น ดังนั้น เมื่อถึงฤดูกาลผลิตเจี้ยนจ่านทุกๆครั้ง จักรพรรดิจะส่งขุนนางไปควบคุมดูแลจ่านที่เตาเจี้ยน

▲ภาพเหตุการณ์การผลิตเจี้ยนจ่าน(ภาพปัจจุบัน : ยุคการฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งในเมืองจีน)

        มีเรื่องเล่ากันว่า กลางศตวรรษที่13 มีอาจารย์เตาเจี้ยนคนหนึ่งได้เผาย้าวเบี้ยนออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ตกตะลึงอย่างยิ่ง ครุ่นคิดสักครู่ จึงไม่ได้รายงานขุนนางควบคุมดูแลจ่านให้รับทราบโดยทันที แต่กลับสั่งลูกศิษย์ของเขาให้นำไปทิ้งในลำคลองข้างนอก ลูกศิษย์น้อยลุกลี้ลุกลน ถามอาจารย์ว่า : จ่านอันงดงามเช่นนี้อาจเป็นสิ่งสุดยอดที่ร้อยปีจึงจะสามาถพบเห็นได้สักครั้ง ใยต้องนำไปทิ้งเล่า? แต่อาจารย์กลับจ้องเขม็ง ยืนกรานให้ลูกศิษย์นำไปทิ้ง

▲ภาพแสดงการผลิตเจี้ยนจ่าน(ภาพปัจจุบัน : ยุคการฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งในเมืองจีน)

        เมื่อไม่มีทางเลือก ลูกศิษย์จำต้องทำตามคำสั่ง สองมือประคองจ่านนี้ราวกับของมีค่ายิ่ง ทำไปโดยไม่เต็มใจ บ่นไปตลอดทางจนถึงริมคลอง ขณะที่จะโยนจ่านนี้ทิ้งลงคลอง ทันใดนั้นได้พบเห็นหลวงพี่ญี่ปุ่นที่มาปฏิบัติธรรมในเมืองจีน กำลังธุดงค์อยู่

▲พระธุดงค์ญี่ปุ่นที่มาศึกษาอยู่ในเมืองจีน

        หลวงพี่เห็นเจี้ยนจ่านในมือลูกศิษย์น้อย ตาลุกวาว จึงถามขึ้นว่า : “จ่านที่งดงามอย่างนี้ หนูทำไมต้องโยนทิ้งลงคลองด้วยเล่า?” ลูกศิษย์น้อยจึงรีบเล่าความเป็นมาของเรื่องให้หลวงพี่ทราบ หลวงพี่ญี่ปุ่นนึกในใจว่า : จ่านอันสวยงามแบบนี้ใยสามารถที่จะโยนทิ้งได้เล่า? จึงเจรจากับลูกศิษย์น้อยว่า : “ไหนๆก็จะโยนทิ้งแล้ว หนูนำมันมอบให้อาตมาจะดีกว่า! “ เดิมรู้สึกเสียดายจ่านใบนี้อยู่แล้วในใจของลูกศิษย์น้อยไม่อยากที่จะโยนทิ้งไป จึงมอบจ่านใบนี้ให้หลวงพี่ญี่ปุ่นไป

        หลังจากมอบเจี้ยนจ่านให้หลวงพี่แล้ว ลูกศิษย์น้อยที่คิดอย่างไงก็คิดไม่ออกจึงสอบถามหลวงพี่ว่า ทำไมอาจารย์ถึงให้นำจ่านใบนี้ไปทิ้ง? หลวงพี่ญี่ปุ่นที่ดีใจอย่างสุดขีดที่ได้รับรางวัลอย่างไม่คาดคิด จึงบอกเหตุผลที่แท้จริงแก่ลูกศิษย์น้อยว่า :「“อาจารย์ของหนูเป็นคนที่ฉลาดยิ่งนัก!” เนื่องจาก “จ่านย้าวเบี้ยน” มีอัตราการเผาผนึกที่ต่ำมาก กลัวว่าเมื่อจักรพรรดิได้เห็นแล้วจะมีพระราชโองการให้พวกคุณนำถวายราชบรรณาการต่อๆไปอีก แต่ถ้าหากพวกคุณไม่สามารถทำการเผาออกมาได้อีก จะมีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต้องถูกลงโทษโดยประหารชีวิต ดังนั้น อาจารย์ยอมนำไปทำลาย ก็ไม่ยอมรายงานขึ้นไปที่พระราชวัง」

        อาจเป็นไปได้ นี่ก็คือเหตุผลที่ทำไมเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่ยังสมบูรณ์ไม่มีความเสียหายหลงเหลืออยู่เพียงแค่3ใบบนโลกนี้ล้วนอยู่ที่ญี่ปุ่น แต่เมืองจีนมีเพียงเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดค้นพบในเมืองหางโจว


เอกสารอ้างอิง :
1. 曜变是建盏中无上神品  http://m.sohu.com/a/149108477_99892992/?pvid=000115_3w_a


[หมายเหตุ] : “เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “โยเฮนเทนโมกุ” ยุคสมัยซ่งที่สมบูรณ์3ใบและพิการอีกครึ่งใบที่ยังหลงเหลืออยู่บนโลกปัจจุบันนี้ ตั้งแต่สิ้นยุคราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมาเกือบ800ปี ยังไม่มี “จ่านย้าวเบี้ยน” ปรากฏขึ้นมาอีกเลย ตราบจนถึงปี2017นี้ ผลงาน “ย้าวเบี้ยน” ที่ลู่จินสี่(陆金喜)สามารถฟื้นฟูออกมาที่ถือว่าใกล้เคียงยุคสมัยซ่งมากที่สุด ก็ปรากฏออกสู่สายตาสาธารณชน !

        “จ่านย้าวเบี้ยน” จะต้องมีลักษณะเช่นไรจึงจะสามารถถือเป็น “ย้าวเบี้ยน” อันแท้จริง(เสมือนกับย้าวเบี้ยน3ใบสมบัติชาติที่เก็บอยู่ที่ญี่ปุ่น) ? สนใจโปรดติดตามบทความ《ย้าวเบี้ยนคือความร่วมมือของธรรมชาติและนายช่างฝีมือ》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!