วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น

อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น




        วัฒนธรรมชาเมืองจีนกับญี่ปุ่น

        ประวัติศาสตร์อันยาวนานของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมต่างๆระหว่างเมืองจีนกับญี่ปุ่น วัฒนธรรมชาเมืองจีนซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตทางสังคมได้เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก ริเริ่มในยุคสมัยถัง พระเจี้ยนเจิน(鉴真)ได้เดินทางไปบูรพาทิศ(ปี ค.ศ.753)ก็ได้นำชาไปถึงญี่ปุ่นแล้ว ในช่วงระยะเวลานั้น ชาใช้ทำเป็นยา การใช้โดย “วิธีการต้มชา”(煎茶法) ของยุคสมัยถัง ใบชาสามารถเคี้ยวกัดได้ ดังนั้นเรียกขานว่า “กินชา”(吃茶)

▲เลียนแบบการตีชา(点茶)ยุคสมัยซ่ง

▲เลียนแบบการตีชา(点茶)ยุคสมัยซ่ง

        ชาสามารถทำให้จิตใจสงบ ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของเมืองจีน เหล่าพระภิกษุจะใช้ใบชาเพื่อทำให้สดชื่นอยู่เสมอ นักบวชนิกายเซนญี่ปุ่นก็ได้เรียนรู้วิธีการแบบนี้ เมื่ออ่อนเพลียจาการบำเพ็ญตบะ ก็กินชา วันแล้ววันเล่า การกินชาก็กลายเป็นหนทางสู่วิปัสสนาของนักบวชฝ่ายเซน ชากับเซนก็เป็นพันธะที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้


พระเจี้ยนเจิน(鉴真)เดินทางไปบูรพาทิศเผยแผ่วัฒนธรรมเมืองจีนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง


        ต่อมา พระไซโจ(Saicho)ของญี่ปุ่นได้เดินทางมาที่เจ้อเจียงเพื่อฝึกฝนในทางธรรมที่เขาเทียนทาย(天台山)ในรัชศกปีที่20ของจักรพรรดิถังเต๋อจง(ปี ค.ศ.804) ปีต่อมาได้พกพาคัมภีร์ทางศาสนาและเมล็ดชาจำนวนมากของเขาเทียนทายกลับประเทศญี่ปุ่น กลายเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานสงฆ์เทียนทายแห่งญี่ปุ่น และเป็นผู้บุกเบิกการเพาะปลูกใบชาของญี่ปุ่น ในยุคสมัย Kamakura ของญี่ปุ่น พระเออิไซ(Eisai)นักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางเข้าเมืองจีน2ครั้งในยุคสมัยซ่ง ไม่เพียงแค่นำเมล็ดชาของเมืองจีนกลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ยังได้นำอุปกรณ์ชาของเมืองจีนและวิถีการดื่มชาของเมืองจีนกลับไปด้วย ผ่านไป300ปี ขณะที่วิถีชาแห่งญี่ปุ่นกำลังรุ่งเรือง พระเออิไซก็ได้เกียรติให้เป็นผู้ให้กำเนิดชาของญี่ปุ่น

▲พระไซโจ(Saicho)พระสมณศักดิ์ชั้นสูงของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งสำนักงานสงฆ์เทียนทายแห่งญี่ปุ่น

▲พระเออิไซ(Eisai)ผู้ก่อตั้งสำนักรินไซ(Rinzai)ทางพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น


        จาการศึกษาค้นคว้าทางบันทึกประวัติศาสตร์ วิถีการดื่มชาของเมืองจีนที่พระเออิไซนำกลับไปญี่ปุ่น ซึ่งก็คือวิธีการตีชา(点茶法) ก็เรียกว่า “การดวลชา”(斗茶) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในเมืองหลวงและพื้นที่ทางแถบฝูเจี้ยน แล้วก็คือจุดกำเนิดของพิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น ส่วนถ้วยชาที่พระเออิไซนำกลับไปซึ่งก็คือเจี้ยนจ่านจากเจี้ยนโจวของเมืองจีน และมีถ้วยกระ(玳瑁碗)จำนวนบางส่วนจากเตาจี๋โจว(吉州窑) เนื่องจากถ้วยชาที่พระเออิไซนำกลับไปญี่ปุ่นในสมัยนั้นผ่านเขาเทียนมู่(天目山)ของเจ้อเจียง ดังนั้น นับแต่นั้นมาคนญี่ปุ่นนำถ้วยชาชนิดนี้เรียกขานว่า “ถ้วยเทียนมู่”(天目盏)

▲ถ้วยเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        คนญี่ปุ่นหลงใหลคลั่งไคล้เจี้ยนจ่าน

        คนญี่ปุ่นให้ความสนใจต่อเตาเจี้ยนเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากพิธีชงชามีอิทธิพลของต่อญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวง ได้แผ่ซ่านเข้าไปในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นทุกหย่อมหญ้าแล้ว และเครื่องเคลือบเจี้ยนจ่านก็เป็นสิ่งที่เคารพบูชาแห่งพิธีชงชา เพราะฉะนั้น การหลงใหลต่อเจี้ยนจ่านของคนญี่ปุ่นเปรียบดั่งเป็นการเทิดทูนบูชา ในประเทศญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑสถานของราชการหรือของเอกชนกระทั่งนักเก็บสะสมส่วนบุคคล ล้วนเป็นเจ้าของเครื่องเคลือบเตาเจี้ยนในจำนวนไม่น้อยทีเดียว ในบรรดาเครื่องเคลือบเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งตัวล้ำเลิศอยู่ในนั่นด้วย บนโลกนี้ที่หลงเหลืออยู่เพียง3ใบของ “ถ้วยย้าวเบี้ยนเทียนมู่” ในสภาพสมบูรณ์ที่เก็บอยู่ในญี่ปุ่น นี่ก็เป็นเพราะการดำรงอยู่ การนำออกแสดง และการเผยแพร่บทความจำนวนมากจาการศึกษาที่เกี่ยวกับของเก็บสะสมเหล่านี้โดยเฉพาะ จึงทำให้พลังอิทธิพลของเตาเจี้ยนแพร่ขยายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่อยๆเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

▲ถ้วยเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        จากบันทึกประวัติศาสตร์ หลังจาก “ถ้วยเทียนมู่” เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจต่อวัฒนธรรมการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนมีแต่เพิ่มไม่มีลด และตระกูลดังในสมัยนั้น Ashikaga Yoshimitsu ได้สั่งซื้ออุปการณ์ชาล้ำค่าชั้นเลิศของเมืองจีนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคสมัยเอะโดะ(Edo Jidai)ของญี่ปุ่นตราบจนถึงปัจจุบัน ตระกูลดังๆทั้งหลายของญี่ปุ่นล้วนมีการเก็บสะสมเทียนมู่ “ถ้วยชาเทียนมู่” ที่เก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ แทบจะทั้งหมดเคยถูกครอบครองและเคยถูกใช้โดยตระกูลดังในสมัยนั้น

▲โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        เครื่องเคลือบเทียนมู่เป็นอุปการณ์ชาที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น “เครื่องเคลือบเทียนมู่” ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่นแล้วเป็นสิ่งล้ำค่าในบรรดาถ้วยชาทั้งหลาย แสดงถึงสถานะที่มีบทบาทสำคัญ เป็นสัญลักษณ์ของการมีอำนาจและฐานนันดร ทุกวันนี้ “เทียนมู่”(ญี่ปุ่นออกเสียง “เทนโมกุ”) ได้กลายเป็นชื่อเรียกสามัญทางสากลของเครื่องเคลือบดินเผาชนิดเคลือบสีดำไปแล้ว

        ทำไมญี่ปุ่นถึงใช้ชื่อ “ย้าวเบี้ยน” ในถ้วยเทียนมู่ ?

        ประมาณ700ปีที่แล้ว คนญี่ปุ่นใช้ชื่อ “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่”(ญี่ปุ่นออกเสียง “โยเฮนเทนโมกุ”) เรียกแทนเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด ประกายเจิดจ้า ก็เป็นเพราะลักษณะลายบนถ้วยเช่นเสมือนจริงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่คนโบราณสังเกตการณ์---สุริยุปราคา และ จันทรุปราคาย้าว” ใน “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่” มาจากตัวอักษรจีนโบราณของเมืองจีน ความหมายของตัวอักษรคือ : 1. เปล่งประกาย สว่างไสว---“ดวงอาทิตย์ขึ้นมีย้าว” ; 2. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์5ดวง เรียกว่า “ย้าว”

▲รายละเอียดของโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

          คนญี่ปุ่นค้นพบลักษณะของ “ย้าว”(ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว) เหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจี้ยนจ่าน

        ญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ อันเนื่องจากเป็นความต้องการของการเดินทางทะเล จะต้องทำความเข้าใจต่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และกลุ่มดาวให้มากยิ่งขึ้น เมื่อ700ปีก่อน ความเข้าใจต่อแผ่นที่บอกตำแหน่งดาวบนท้องฟ้าของญี่ปุ่นแม้ว่าเพียงหยุดอยู่บนมโนคติทางดาราศาสตร์ แต่ทว่าคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่เฝ้าสังเกตการณ์อย่างละเอียด พวกเขาค้นพบว่าการเปลี่ยนแปลงสีของสุริยุปราคาจันทรุปราคาและวงแสงของสุริยุปราคาจันทรุปราคากับจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งที่อยู่รอบๆจุดนิวเคลียสของเจี้ยนจ่านมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่ง

▲การเปรียบเทียบสุริยุปราคากับจุดนิวเคลียสพระอาทิตย์ทรงกลดของย้าวเบี้ยน

        ช่วงที่เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา รูปทรงกลมของดวงอาทิตย์ละดวงจันทร์จากสีทองหรือสีขาวเปลี่ยนเป็นสีมืด โดยค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงมืด ม่วงมืด จนกระทั่งสีดำมืด ถ้าหากกระทบกับหมอกบางๆหรือไอน้ำร้อนในบรรยากาศ ก็จะปรากฏสีหลากหลายมากขึ้น ; ระยะที่เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ช่วงที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เปลี่ยนสี ยังปรากฏภาพที่แปลกประหลาด---วงแหวนสุริยุปราคา และ วงแหวนจันทรุปราคา

        คนญี่ปุ่นใช้ “ย้าว” มาพรรณาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจี้ยนจ่าน

        ก็เป็นเพราะวงแสงสีรุ้งอันบรรเจิดงดงามของวงแหวนสุริยุปราคาและวงแหวนจันทรุปราคา ทำให้คนโบราณติดตาตรึงใจยากที่จะลืมเลือนที่ได้พบเห็น ฉะนั้น เมื่อได้เห็นจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งรอบนอกจุดนิวเคลียสของโยเฮนเทนโมกุแล้ว ยับยั่งชั่งใจไม่ได้ที่นำลายบนจ่านและ “ย้าว” มาเชื่อมโยงกัน ดังนั้นคำว่า “ย้าวเบี้ยน”(โยเฮน) ก็กำเนิดขึ้นมา การตั้งชื่อว่า “ย้าวเบี้ยนเทียนมู่”(โยเฮนเทนโมกุ)  ตั้งได้อย่างมโนภาพและเหมาะเจาะอย่างยิ่ง ในช่วงสมัยนั้นคนจำนวนอันจำกัดมากที่มีโอกาสได้สัมผัสจ่านย้าวเบี้ยนต่างก็มีจุดร่วมต่อคุณค่านิยมในการชื่นชมเจี้ยนจ่าน จึงต่างก็ยอมรับนวัตกรรมคำใหม่นี้โดยปริยาย

▲การเปรียบเทียบหมู่ดวงดาวในเอกภพกับย้าวเบี้ยน

        ต่อแต่นั้นมา จ่านย้าวเบี้ยนสมบัติแห่งชาติญี่ปุ่น3ใบก็วางอยู่ในกล่องที่เขียนด้วยตัวหนังสือ “ย้าวเบี้ยน” การเปลี่ยนเจ้าของหนึ่งไปสู่เจ้าของใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ในบรรดาเจี้ยนจ่าน “ย้าวเบี้ยน” ก็คล้ายกับอักษร2ตัวของ “หยดน้ำมัน” ที่เหมือนมีชิวิต เป็นตัวหนังสือที่สั้นกระชับใช้อธิบายความสลับซับซ้อนของปรากฏการณ์2อย่างคือ การเปลี่ยนแปลงสีของสุริยุปราคาและจันทรุปราคากับการเปล่งประกายของวงแหวนสุริยุปราคาและวงแหวนจันทรุปราคา ตรง ณ จุดนี้ พวกเราต้องให้ความเคารพนับถือความสามารถในการคิดนวัตกรรมคำใหม่อย่างเหมาะเจาะและอย่างตรงตัวของคนญี่ปุ่น

        มูลเหตุที่คนญี่ปุ่นไล่ล่าตามหาโยเฮนเทนโมกุ

        “โยเฮนเทนโมกุ” ไม่ใช่เป็นเพราะชื่อเรียกแล้วถูกพิจารณาให้เป็นสมบัติแห่งชาติ การคัดเลือกให้เป็นสมบัติแห่งชาติคือองค์ประกอบของคุณค่าทางความสุนทรียะที่ก่อเกิดขึ้นจากการผสมผสานของจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งกับการเป็นสิ่งที่หายากยิ่ง ; ความล้ำค่าของโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่ง มีมูลค่าดั่ง “ผ้าไหมหมื่นผับนั่นไซร์” ที่ล้ำค่าไม่ใช่เป็นเพราะสมรรถนะทางการใช้งานของมัน สมรรถนะทางการใช้งานของโยเฮนเทนโมกุเฉกเช่นเดียวกันกับขนกระต่ายและหยดน้ำมัน ไม่มีข้อแตกต่างดำรงอยู่ ที่ล้ำค่าเป็นเพราะลวดลายบนจ่านเป็นชนิดที่หาได้ยากยิ่งของโยเฮนเทนโมกุ

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        ในการเผาผลิตจ่านขนกระต่ายซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวหลักยุคสมัยซ่ง ประสบกับปัจจัยที่เป็นเหตุบังเอิญอย่างยิ่ง เผาออกมาได้เป็นจ่ายหยดน้ำมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ประมาณหนึ่งในแสน ; ภายใต้ปัจจัยที่เป็นเหตุบังเอิญในเหตุบังเอิญ จึงจะสามารถเผาจุดนิวเคลียสและพระอาทิตย์ทรงกลดสีรุ้งที่เปลี่ยนแปลงมายาอย่างวิเศษสุดคณานับออกมาได้ ซึ่งก็คือจ่านย้าวเบี้ยน มีความเป็นไปได้หนึ่งในล้าน

        ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่ได้รับการเคารพยกย่องทวีคูณในญี่ปุ่น

        เวลารวดเร็วปานสายฟ้าฟาด หลังจากผ่านไป800กว่าปี เมื่อ ลู่จินสี่(陆金喜) กลายเป็นผู้ฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติเป็นบุคคลแรกของโลก ทันทีที่ผลงานย้าวเบี้ยนปรากฏต่อสายตาสาธารณชน ก็ทำให้ทุกคนตะลึงความงามอันล้ำเลิศในปฐพี พิพิธภัณฑสถานอันมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศต่างก็เก็บสะสมไว้ อาทิเช่น Museum of Oriental Ceramics, Osaka ของญี่ปุ่น Victoria and Albert Museum ของอังกฤษ Natioal Maritime Museum ของเมืองจีน National Palace Museum ของจีนไทเป เป็นต้น ศาสดาจารย์ Kobayashi Hitoshi นักวิจัยเครื่องเคลือบโบราณญี่ปุ่นเชื่อว่าย้าวเบี้ยนที่ฟื้นฟูโดยลู่จินสี่ถือเป็นผลงานที่ใกล้เคียงย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

        เดือน พ.ค. 2017 องค์กรที่เกี่ยวพันกันของญี่ปุ่นที่มีความพิสมัยต่อวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนได้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเป็นอันดับแรก 5พิพิธภัณฑสถานอันโด่งดังร่วมกันเชื้อเชิญลู่จินสี่ให้มาญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเจี้ยนจ่าน ด้วยเหตุนี้ ไม่เป็นที่เปลกใจเลยว่าลู่จินสี่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นตั้งแต่ระดับผู้นำจากนายกรัฐมนตรี ถึงระดับล่างประชาชนทั่วไป

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        ลู่จินสี่ตอบรับการเชื้อเชิญและได้ไปเยี่ยมเยียนญี่ปุ่นครั้งนี้ ได้เข้าพบอดีตนายกรัฐมนตรี Hatoyama Yukio(ปี ค.ศ.2009-1010) สมาชิกรัฐสภา Hirofumi Nakasone ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมธิการตรวจสอบควบคุมหน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่น ประธานกรรมการมูลนิธิเด็กนานาชาติ Masuda Yasuhiro จิตรกรพระราชสำนัก Hirofumi Fujishima และได้ไปเยี่ยมเยือน Tokyo National Museum, Idemitsu Museum of Arts, Seikado Bunko Art Museum of Tokyo, Museum of Oriental Ceramics of Osaka, Fujita Art Museum of Osaka เป็นต้น ได้ศึกษาสัมผัสโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถาน และได้นำพาเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่เผาออกมาใหม่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นการศึกษาศิลปกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับคนในวงการเดียวกันในญี่ปุ่น เป็นการสนทนาที่สุดยอดที่เป็นประจักษ์พยานทางวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านเมืองจีนที่ก้าวข้ามห้วงเวลา

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่ ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในสำนักงานของผู้มีอิทธิพล หรือบนโต๊ะของผู้เชี่ยวชาญ หรือตามถนนหนทางของญี่ปุ่น ล้วนได้รับการตอบสนองอย่างล้นหลาม ได้รับการการสรรเสริญยกย่องแทบจะทำนองเดียวกันทั้งจากวงการเมือง วงการศิลปกรรม วงการธุรกิจ วงการบันเทิงและองค์กรสาธารณกุศลกับประชาชนทั่วไปของญี่ปุ่น พวกเขาเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่งสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานหรือจ่านย้าวเบี้ยนที่เผาออกมาใหม่ของลู่จินสี่ ล้วนเพียบพร้อมด้วยเสน่ห์ดึงดูดจิตวิญญาณของผู้คน กระทั่งตะลึงพรึงเพริด “คุณลู่จินสี่ก็คือทูตแห่งสวรรค์ที่เอกภพจัดส่งมา เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองจีนกับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

▲ผลงานย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่(陆金喜)เป็นที่ชื่นชอบนิยมในญี่ปุ่น

        การเป็นผู้ฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งคนแรกของโลก สิ่งที่ลู่จินสี่ได้ฟื้นฟูก็คือศิลปกรรมย้าวเบี้ยนที่ดั้งเดิมที่สุดของยุคโบราณเมืองจีน สิ่งที่เผยแพร่ก็คือวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนที่เจริญก้าวหน้าที่สุดแห่งโลกยุคปัจจุบัน เป็นการนำไปสู่ทิศทางการพัฒนาของวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีน ก้าวไปสู่อยู่ในแถวหน้าของโลก

        พิพิธภัณฑสถานอันโด่งดังของญี่ปุ่นบางส่วนที่เชื้อเชิญลู่จินสี่เพื่อสัมพันธไมตรีและหนังสือประกาศเกียรติคุณ

        บุคคลในวงการต่างๆและองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ต่างก็เก็บสะสมย้าวเบี้ยนของลู่จินสี่อย่างเป็นทางการ เช่น Hatoyama Yukio, Hirofumi Nakasone, Hirofumi Fujishima, Masuda Yasuhiro และ Museum of Oriental Ceramics, Osaka เป็นต้น ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่านี่เป็นการพิสูจน์ความจริงโดยตรงอีกครั้งว่าวัฒนธรรมเจี้ยนจ่านของเมืองจีนมีอิทธิพลต่อญี่ปุ่น เป็นการยืนยันว่าเตาเจี้ยนของเมืองจีน เจี้ยนจ่านของโลก เป็นประจักษ์พยานที่คืบไปอีกก้าวว่าวัฒนธรรมของเมืองจีนมีอิทธิพลต่อญี่ปุ่นที่อยู่ไกลพ้นตั้งแต่โบราณกาลตราบเท่าถึงปัจจุบัน

聚德勤守逸  , 贤道义维馨 !
曜变弥珍贵  , 一盏永流传 !


เอกสารอ้างอิง :
1. 陆金喜谈曜变建盏对日本社会的影响 http://m.sohu.com/a/156602974_99892992/?pvid=000115_3w_a


วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่แท้สวยตรงไหนกันแน่ ?

ความหมายโดยนัยทางศิลปกรรมของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน




        หนึ่งเตาหนึ่งพิภพ หนึ่งจ่านหนึ่งชีวิต เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน กำเนิดขึ้นจากเนื้อดินในอุ้งสองมือ ผ่านความชำนาญการของช่างฝีมือที่สุดยอด อย่างนกฟินิกซ์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่เมื่อผจญกับเปลวไฟอันร้อนระอุ ปลดปล่อยพลังชีวิตที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของวิญญาณ สำแดงมิติมายาดั่งมนตราดวงดาวในเอกภพ เพียบพร้อมด้วยรังสีมหัศจรรย์ที่พิเศษเฉพาะ

▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ

        จ่านดั่งชีวิต และหลอมเข้าไปในชีวิต แล้วก็อนุมานจากชีวิต ถือย้าวเบี้ยนไว้ในสองอุ้งมือ ละเมียดละไมลิ้มรสชีวิต ให้ใจมึนเมาอยู่กับรังสีประกายรุ้งอันวิจิตรพิสดารในจ่าน ได้ซึมซับกับปฏิหาริย์มากมายบนโลกนี้และความปลื้มปิติอย่างเหลือล้นของชีวิต

        ลู่จินสี่พูดถึงย้าวเบี้ยน

        ลู่จินสี่(陆金喜)ผู้ที่สามารถฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งเป็นคนแรกของโลกได้กล่าวแนะนำไว้ว่า เสน่ห์ดึงดูดที่พิเศษเฉพาะของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนอยู่ที่ เครื่องเคลือบในโลกนี้แม้ว่าตัวเคลือบ รูปทรง ลวดลายสามารถผ่านความเชี่ยวชาญที่สุดยอดของช่างฝีมือที่มีทักษะ สร้างสรรผลงานศิลปกรรมที่วิจิตรสวยงามออกมา แต่ทว่าเจี้ยนจ่าน โดยเฉพาะสีเคลือบจุดนิวเคลียสพระอาทิตย์ทรงกลดของจ่านย้าวเบี้ยนเป็นความประจวบเหมาะอย่างมหัศจรรย์ของ「ฝีมือสวรรค์」กับ「ทักษะมนุษย์」สามารถที่จะกล่าวได้ว่า「เข้าเตาหนึ่งสี ออกเตาหลากสี

▲ลู่จินสี่(陆金喜)และจ่านย้าวเบี้ยน

        เจี้ยนจ่านคือศิลปกรรมของการผสมผสานระดับความยากขั้นสูงของเคลือบแร่ดินเกาลินและไฟเตา

        ขั้นตอนการเผาผลิตของเจี้ยนจ่านจะสลับซับซ้อน มันจำเป็นต้องผ่านการคัดเลือกสารแร่ บดละเอียดแร่เคลือบ ชะล้าง ผสม บ่มหมัก ทุบดิน นวดดิน แป้นหมุน แต่งรูป เผาดิบ ชุบเคลือบ เข้าเตา อบเผา เป็นต้นรวม13ขั้นตอนการผลิต จำเป็นต้องให้เนื้อดิน แร่เคลือบ อุณหภูมิ และ ภาวะบรรยากาศภายในเตา ซึ่งเป็น4ปัจจัยใหญ่ของการเผาผนึกให้สอดคล้องกัน

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        เนื้อดินเจี้ยนจ่านมีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่8%ขึ้นไป ในกระบวนการเผาหลอมที่อุณหภูมิสูงกว่า1300°C การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิเตา ทำให้ผิวเคลือบก่อเกิดลวดลายประหลาด วัตถุดิบตัวเดียวกัน เผาในเตาเผาที่ไม่เหมือนกัน วางบนตำแหน่งในเตาไม่เหมือนกัน ฤดูกาลไม่เหมือนกัน สภาพอากาศไม่เหมือนกัน สีเคลือบประกายรุ้งของเจี้ยนจ่านที่เผาออกมาก็จะไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง เอาแน่เอานอนไม่ได้ ดังนั้น เจี้ยนจ่านทุกใบจะมีใบหน้าเสริมสวยไม่เหมือนกัน เจี้ยนจ่านทุกใบต่างมีเอกลักษณ์ที่พิเศษพาะ เจี้ยนจ่านทุกใบต่างเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        สุนทรียศาสตร์ยุคสมัยซ่งสะท้อนอยู่บนศิลปกรรมของเจี้ยนจ่าน

        สุภาพปัญญาชนยุคสมัยซ่งต่างยึดถือ「หยู」(儒:ลัทธิขงจื้อ) 「ต้าว」(道:ศาสนาเต๋า)เป็นแนวทางเพื่อประพฤติความเป็นอัตลักษณ์แห่งตน พัฒนาตนตามฌาน เคารพธรรมชาติ นอบน้อมถ่อมตน สุภาพอ่อนโยน ความสุนทรีย์ยุคสมัยซ่งคือการเจริญรอยตาม「จุลนิยม」(极简:Minimalism) ก็เป็นเพราะการสะท้อนเบื้องหลังของวัฒนธรรมแบบนี้ และการเจริญรอยตามเช่นนี้ ก็สะท้อนอยู่บนงานศิลปหัตถกรรมของสมัยนั้นโดยเฉพาะอยู่บนการผลิตเครื่องเคลือบ

        ทำการศึกษาเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน ก็เหมือนกับทำการศึกษาเจี้ยนจ่านอื่นๆ ก่อนอื่นดูที่รูปทรง รูปทรงของเจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งเป็นแบบเรียบง่ายซื่อๆ ลายเส้นลื่นไหลตามธรรมชาติ การตกแต่งเนื้อดินเป็นไปตามอำเภอใจ ทำให้ผู้คนมองแล้วมีความรู้สึกโบราณคร่ำครึ จ่านย้าวเบี้ยนก็เฉกเช่นนี้

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        ยุคสมัยซ่งช่วงที่เตาเจี้ยนกำลังรุ่งเรืองสุดขีด วัฒนธรรมโดยองค์รวมมีแนวโน้มไปในแนวทางอนุรักษ์ ถ่อมตน เรียบง่าย โดยเทียบเคียงกับยุคสมัยถังที่เร้าใจและปลดปล่อยแล้ว ยุคสมัยซ่งดูเหมือนสงบนิ่ง สติสัมปชัญญะ จืดบาง สุนทรียะเชิงเรียบง่ายที่ปรากฏออกมาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของลัทธิขงจื้อ จิตวิญญาณแห่งชนเผ่าปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด โดยการสำแดงบนเครื่องเคลือบ สิ่งที่พิถีพิถันคือสะอาดหมดจด เรียบง่ายธรรมดา สีสันราบเรียบ ละเอียดประณีต ; เป็นการสำแดงการเจริญรอยตามวิญญาณ() สุขใจ() ดื่มด่ำ() รสชาติ() และต่างตอบรับการประสานซึ่งกันและกัน และต่างเสริมเพิ่มเติมซึ่งกันและกัน ความสวยงามจากข้างในเหล่านี้ได้ถูกเครื่องเคลือบสีดำทำให้ปรากฏออกมาอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว

▲เจี้ยนจ่านรูปแบบต่างๆไม่เหมือนกัน

        ลำดับต่อมาดูเนื้อดิน เจี้ยนจ่านยุคสมัยซ่งส่วนใหญ่จะตกแต่งเนื้อดินอย่างลวกๆ หลังผ่านการชุบเคลือบและเผาผนึกแล้วยังสามารถเห็นร่องรอยของขอบเส้นจากตอนการตกแต่งเนื้อดินหลงเหลืออยู่ ฐานวงแหวนข้างใต้ขุดตื้นจนราวกับฐานวงเรียบ ภายในฐานวงแหวนจะพบบ่อยว่ามีร่องรอยสีเหลืองอ่อนจากแผ่นรองฐาน(垫饼)ตกค้างอยู่เล็กน้อย ร่องรอยเหล่านี้เนื่องจากเผาผนึกพร้อมกับเนื้อดิน จึงยากที่จะลบเลือนออกไปได้ สองจุดดังกล่าวข้างต้น จ่านย้าวเบี้ยนและเจี้ยนจ่านขนกระต่ายและหยดน้ำมันอื่นๆจะไม่แตกต่างกัน

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

       สุดท้ายทำความรู้จักกับสีเคลือบ เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนเผาผนึกภายใต้อุณหภูมิที่สูงกว่า1300°C น้ำเคลือบปริมาณมากไหลลงสูงข้างล่าง เคลือบตรงขอบปากค่อนข้างบางและส่วนใหญ่จะออกสีน้ำตาลเหลือง ; สีเคลือบบนผนังจ่านดำมืด ลายจุดย้าวมีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เกาะกันเป็นกลุ่ม ต่างเป็นประกายแวววาวเฉพาะตน ดุจดั่งเนบิวลาในกาแล็กซี่ ต่างรวมเป็นกลุ่มเฉพาะตน ต่างช่วยกันแผ่รัศมี ก็เหมือนกับหมู่ดวงดาวกระจัดกระจายไปทั่วทั้งจักรวาล ระยะระหว่างกันและกันดูเหมือนอยู่ใกล้กัน แต่ห่างกันไม่รู้กี่ปีแสงจึงจะสามารถถึงกันได้

▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ

        ด้านนอกจุดนิวเคลียสจะต้องล้อมรอบด้วยรัศมีสีรุ้งพระอาทิตย์ทรงกลด พระอาทิตย์ทรงกลดจะเปลี่ยนแปลงตามการแปรเปลี่ยนของมุมกระทบของแสงสว่าง เปลี่ยนแปลงอย่างมายาออกเป็นสีประกายรุ้งแพรวพราว ก็เหมือนกับแสงสีอะร้าอร่ามในยามค่ำคืนอันสวยงาม อย่างเช่นของ Seikado จะแผ่รังสีน้ำเงิน ม่วง เหลือง เป็นต้น ของ Fujita จะแผ่รังสีน้ำเงิน เขียวอมน้ำเงิน ม่วง เป็นต้น ไม่ว่าเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนสองใบใดๆ จะไม่มีความเป็นไปได้ที่สีเคลือบประกายรุ้งจะเหมือนกัน

▲ผลงานย้าวเบี้ยน-ลู่จินสี่(陆金喜)

        โยเฮนเทนโมกุ3ใบที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบมาตรฐาน

        การศึกษาย้าวเบี้ยน หลีกหนีไม่พ้นโยเฮนเทนโมกุยุคสมัยซ่ง3ใบระดับสมบัติแห่งชาติที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น ก็คือโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum(เดิมโยเฮนเทนโมกุใบนี้ครอบครองโดยตระกูล Inaba เจ้าของปราสาท Yodosaki ก็เรียกว่า อินะบะเทนโมกุ), Fujita Art Museum(เดิมโยเฮนเทนโมกุใบนี้เป็นสมบัติสวัสดิมงคลของตระกูล Tokugawa เป็นมรดกตกทอดต่อๆกันมา และก็เป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอำนาจ) และ Daitokuji Temple นี่คือจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งของแท้ที่ยังหลงเหลืออยู่บนโลกปัจจุบัน เป็นต้นแบบมาตรฐานของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน

▲โยเฮนเทนโมกุ Seikado Bunko Art Museum (บน) Fujita Art Museum (ซ้าย) Daitokuji Temple (ขวา)

        บนผืนแผ่นดินเมืองจีนได้ขุดพบเศษใบเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่เมืองหางโจวในปี2009 ถึงแม้จะเป็นเศษชิ้นส่วนเล็กๆ แต่ก็ยังเปล่งปลั่งรัศมี งดงามพิลึก เสมือนเทหวัตถุในเอกภพ สวยหยาดเยิ้มไร้เทียมทาน

▲เศษชิ้นส่วนย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        ลู่จินสี่ประเมินคุณค่าโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น

        ลู่จินสี่ชื่นชมคุณค่าโยเฮนเทนโมกุที่ยังหลงเหลืออยู่3ใบ ดังนี้ :

        1. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum, Tokyo : ปากรัด(束口) ท้องจ่านลึก ฐานวงแหวนตื้น ดินเหล็กโผล่ ส่วนล่างมีหยดน้ำตาเคลือบ ดินโผล่ปรากฏรอยเส้นวงกลม โดยองค์รวมสง่าผ่าเผยมีพระอาทิตย์ทรงกลดสีน้ำเงิน เปลี่ยนแปลงตามมุมแสงสว่างที่ไม่เหมือนกัน ผิวเคลือบเปล่งประกายแสงแวววาว พลังเวทย์ยั่วยวน คนญี่ปุ่นเปรียบให้เป็น “ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก

▲โยเฮนเทนโมกุ Seikado Bunko Art Museum

        พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เสมือนกับในค่ำคืนอันมืดมิด เทหวัตถุดวงแล้วดวงเล่าต่างเปล่งประกายแสงสีอันประหลาด แปรตามมุมกระทบของแสงสว่างที่แตกต่างกัน สีรุ้งของวงแสงจะเปลี่ยนแปลงอย่างมายาไม่แน่ไม่นอน เมื่อเห็นแล้วทำให้ผู้คนรู้สึกยำเกรงและเหนือคำบรรยาย ถ้วยหนึ่งใบ ก็คือโลกใบเล็กๆหนึ่งดวง ทั้งหลายทั้งปวงไม่เหมือนกับเครื่องเคลือบที่มนุษย์ทำการเผาออกมา คนญี่ปุ่นใช้「กาแล็กซี่ในถ้วย」มาพรรณาเธอ อธิบายว่าด้านในเสมือนกับหมู่ดวงดาวที่แหงนมองจากริมชายทะเลยามค่ำคืน ล้ำลึกสุดยากหยั่งถึง

▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ

        2. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum, Osaka : ปากรัด(束口) ริมปากมีวงกระดุมเงิน ปากใหญ่ฐานเล็ก ฐานวงค่อนข้างเล็ก ชุบเคลือบสีดำ ดินเหล็กโผล่ เห็นปรากฏการณ์เคลือบย้อย ลายย้าวเบี้ยนบนผนังจ่านกระจายไปทั่ว การเกิดขึ้นของลายย้าวเบี้ยนเป็นไปอย่างไม่มีระเบียบ เปล่งประกายค่อนออกไปสีแดงม่วง ย้าวเบี้ยนบางส่วนก่อตัวเป็นเส้นสายแนวดิ่งลักษณะหวีที่มีซี่ฟันสองด้าน ทำให้ผู้คนรู้สึกตะลึงน่าทึ่ง ผนังด้านนอกยังสารมารถเห็นดวงดาวเป็นจุดๆผุดๆโผล่ๆ เสมือนกลุ่มดวงดาวในเอกภพ ในห้วงอวกาศที่ไม่มีขอบเขต

▲โยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum

        ด้านในถ้วยสีดำมืด หยดน้ำมันแต่ละจุดมีวงแสง ระหว่างหยดน้ำมันมีเปลวสุริยะเป็นผืนๆสีน้ำเงิน ถ้าหากดูโดยการหมุนรอบแล้ว จะเห็นรังสีของแสงที่ระยิบระยับบนด้านในถ้วยจะเปลี่ยนสีสันอย่างมหัศจรรย์ ดูน่าพิศวงยิ่งนัก สีพื้นของเคลือบสีดำด้านในถ้วย ดูเสมือนก็คือสีสันของห้วงอวกาศจักรวาล ซึ่งเปลวสุริยะผืนสีน้ำเงิน ดุจดั่งทางช้างเผือกสุดขอบจักรวาล วงแสงแต่ละวงที่ล้อมรอบ เสมือนกับกาแล็กซี่เล็กๆ พวกมันเปล่งแสงสว่างระยิบระยับที่มีเสน่ห์ดึงดูดอยู่ด้านในถ้วย

▲การเปรียบเทียบผนังด้านนอกของโยเฮนเทนโมกุ Fujita Art Museum กับหมู่ดวงดาว

        3. โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple, Kyoto : ก็เป็นจ่านใบหนึ่งที่ปากรัด(束口) ดินโผล่ แปรไปตามแสงสว่างที่แกว่งไปมา จะทำให้เกิดประกายสีที่แตกต่างกัน มีลายจุดดำสวมด้วยวงแสงสีน้ำเงินที่เป็นหนึ่งเดียวของย้าวเบี้ยน มีความรู้สึกทางความงามแบบลึกลับที่พิเศษเฉพาะ

▲โยเฮนเทนโมกุ Daitokuji Temple

        โยเฮนเทนโมกุเก็บอยู่ที่ Daitokuji Temple มีความลึกลับมากที่สุด ไม่ค่อยนำออกมาแสดง แต่ในปี1987 เฉินเสี่ยนฉิว(陈显求)นักวิชาการเครื่องเคลือบดินเผาโบราณเมืองจีน นักวัสดุศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนสถาบันเซรามิคเซี่ยงไฮ้ได้เดินทางไปญี่ปุ่น เคยชื่นชมคุณค่าโยเฮนเทนโมกุ Daitokuji Temple อย่างใกล้ชิด จากที่เฉินเสี่ยนฉิวได้เขียนอธิบายไว้ว่า :

      「.....เมื่อตอนเริ่มต้นไม่มีอะไรที่จะดึงดูดข้าให้สนใจเป็นพิเศษ แต่เมื่อหลายนาทีผ่านไป ทันใดนั้นแสงอาทิตย์ที่ทำให้ตาพร่าส่องมาจากห้วงอวกาศ พอดีทำให้บนทางเดินพรมด้วยแสงสีทองสุกสกาว พระที่มาทำการต้อนรับคืบคลานอยู่บนเสื่อ สองมือประคองถ้วยแล้วค่อยๆหมุนรอบแกน360องศาอย่างต่อเนื่อง บนผิวเคลือบด้านในเปล่งแสงออกมาราวกับตะวันยอแสง ปริมาณย้าวเบี้ยนที่กระจายอยู่บนผิวเคลือบจะน้อยกว่าสมบัติแห่งชาติที่ Seikado แต่สีรุ้งที่เป็นประกายจะไม่ด้อยกว่าสักนิด โดยเฉพาะพื้นที่บางส่วนตรงรอยต่อของผนังถ้วยกับก้นถ้วย เปล่งประกายสีน้ำเงินและเขียวออกมาอย่างเด่นชัดและก็เห็นลายขนตรงขอบเขตอย่างชัดเจน สิ่งที่ทำให้ทุกคนตกตะลึงในความมหัศจรรย์ก็คือ ทั่วตลอดชั้นเคลือบสีดำด้านในของสมบัติล้ำค่าเปล่งแสงตะวันที่สีน้ำเงินม่วง ประกายแห่งแสงสว่างไสวล่องลอยเต็มห้องตามการหมุนออย่างต่อเนื่อง ทรงตรงกับในโลกอันมืดมิดเหมือนดั่งมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่.....ซึ่งความดื่มด่ำแห่งเทพนี้ไม่มีวิธีที่ทำให้ปรากฏบนภาพถ่ายสีได้แม้สักนิดเดียว

▲หมู่ดวงดาวในเอกภพ

        4. ลายที่สุกสกาวของย้าวเบี้ยนใบพิการที่ขุดพบในมืองหาวโจวจะค่อนข้างใกล้เคียงกับโยเฮนเทนโมกุของ Fujita Art Museum ผนังด้านนอกกลับเหมือนกับของ Seikado Bunko Art Museum และ Fujita Art Museum ลายรูปทรงกลมที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก ส่วนที่แสงสว่างส่องไปถึง ลายจะเปล่งประกายระยิบระยับ ประกายแสงแพรวพราว อัศจรรย์พันลึก ตื่นตาตื่นใจ

▲ย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ขุดพบในเมืองหางโจวปี2009

        ในโยเฮนเทนโมกุ3ใบที่เก็บตามพิพิธภัณฑสถานญี่ปุ่น สีเคลือบที่เลอเลิศที่สุดคือโยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum สีเคลือบพื้นดำเปล่งประกายสีเงิน และรอบๆลายจุดจำนวนมากก็แผ่รัศมีสีน้ำเงินอ่อน เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วปานกามนิตหนุ่มอันเนื่องจากแสงสว่างและมุมของแสงที่ไม่เหมือนกัน ถือเป็นผลงานช่างพันธุ์พิลึก คนญี่ปุ่นเรียกขานว่า「กาแล็กซี่ในถ้วย」「ถ้วยหมายเลขหนึ่งของโลก」โยเฮนเทนโมกุที่เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum แม้ว่ารัศมีจะไม่เปล่งปลั่งเท่าของ Seikado Bunko Art Museum เมื่อมองดูครั้งแรก ราบเรียบไม่ฉูดฉาด แต่ขอเพียงมีแสงสว่างสาดส่อง มันมีลายเส้นที่สวยงามก็จะปรากฏให้เห็นอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย ทำให้หลงเสน่ห์ตรึงใจ

▲ผิวเคลือบย้าวเบี้ยนส่วนขยาย มายาพิศวงดุจดั่งเนบิวลา(Nebula)ในกาแล็กซี่

        เทนโมกุชั้นยอดยุคสมัยโบราณญี่ปุ่นมูลค่าเทียบเท่าหนึ่งแว้นแคว้น

        ในยุคสมัยโบราณของญี่ปุ่น กล่าวกันว่าถ้วยเทนโมกุชั้นยอดหนึ่งใบสามารถที่จะแลกอาณาจักรหนึ่งแว้นแคว้นได้

        วงการเครื่องเคลือบดินเผาโบราณของญี่ปุ่นนำการปรากฏของโยเฮนเทนโมกุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เนรมิตจากอุปสรรคขวากหนามและการยื่อมือเข้ามาโดยทางจิตตานุภาพของสวรรค์ เป็นสิ่งที่ “เกินความสามารถของมนุษย์” ดังนั้น จึงยกย่องให้เป็น “สมบัติประจำชาติ


เอกสารอ้างอิง :
1. 曜变建盏究竟美在哪里 | 陆金喜说曜变的艺术内涵  http://m.sohu.com/a/152352149_99892992/?pvid=000115_3w_a


[หมายเหตุ] : วัฒนธรรมชาของเมืองจีนริเริ่มเผยแพร่เข้าไปญี่ปุ่นในยุคสมัยถัง และได้นำเมล็ดชาชุดแรกกลับมายังญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 805 ได้นำวิถีการดื่มชาและอุปกรณ์ชาของเมืองจีนเข้าไปญี่ปุ่นในยุคสมัยซ่ง ต่อมา วิถีการดื่มชาก็คือจุดกำเนิดของ “พิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น” และอุปกรณ์ชาโดยเฉพาะ “เจี้ยนจ่าน” ก็กลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในพิธีชงชาแห่งญี่ปุ่น

        พิธีชงชามีอิทธิพลต่อญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวง และเจี้ยนจ่านก็เป็นสิ่งที่เคารพบูชาแห่งพิธีชงชา ทำไมคนญี่ปุ่นถึงหลงใหลเจี้ยนจ่านเปรียบดั่งการเทิดทูนบูชา สนใจโปรดติดตามบทความ《อิทธิพลของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่มีต่อสังคมญี่ปุ่น》ซึ่งเป็นบทความสุดท้ายใน “ซีรีย์เจี้ยนจ่าน” โดยจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!