วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กาน้ำเหล็กหล่อญี่ปุ่น



        เมื่อตอนที่พวกเราไปชมนิทรรศการเครื่องวัตถุโบราณ พวกเราจะพบเห็นสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกต มีอักษรจีน 2 ตัวซึ่งมีวิธีการใช้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะตรงกันข้ามกับวิธีการใช้แบบดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง อักษรตัวหนึ่งที่เรียกว่า『/หู』(แปลว่ากา)  อีกตัวหนึ่งที่เรียกเป็น『/ผิง』(แปลว่าโถ)  ซึ่งในสมัยโบราณพวกมันจะใช้กลับกัน ญี่ปุ่นยังใช้วิธีการเรียกแบบสมัยจีนโบราณอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงเรียกขาน『กาน้ำเหล็กหล่อ/铁壶』เป็น『Tetsubin/铁瓶

▲แหล่งผลิตกาน้ำเหล็กหล่อญี่ปุ่นแยกออกเป็น 2 เขตพื้นที่ : (ซ้าย)「Nanbu Tekki/南部铁器」และ「Kyoto Tetsubin/京都铁瓶」(ขวา)

        ทำไมถึงเรียกเป็นเทสึบิน ?

        เนื่องจากในสมัยโบราณพวยกาเรียกว่า『/หลิว』เป็นตัวอักษรหลิวที่แปลว่าไหลนั่นก็คือส่วนที่น้ำไหลออกมา ไม่ว่าในเมืองจีน หรือประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองจีน ที่มี『/หลิว』เรียกว่า『/ผิง』ไม่มี『/หลิว』จะเรียกเป็น『/หู

        ประวัติความเป็นมาของเทสึบิน

        ในสมัยราชวงศ์ถังและซ่งได้เจริญสัมพันธไมตรีในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับญี่ปุ่นด้วยดีเสมอมา กรรมวิธีการผลิต『/ฝู』(หม้อต้มเหล็ก) พร้อมทั้งพันธุ์ต้นชา วิธีการผลิตชา และพิธีชงชาได้ถูกนักบวชชาวญี่ปุ่นนำกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น รูปลักษณะเริ่มแรกของหม้อต้มเหล็กเพื่อเป็นเครื่องใช้ในพิธีชงชา เนื่องจากมันไม่มีที่จับและพวยกา ต้องใช้กระบวยไม้ไผ่ในการตักน้ำร้อน ดูจะไม่ค่อยสะดวกมากนัก ต่อมาจึงมีคนทำพวยกาเพื่อการรินน้ำออกและสายหูหิ้วเพื่อการยกขึ้นได้สะดวกเพิ่มเติมลงบนหม้อต้มเหล็ก แล้วจึงค่อยๆวิวัฒนาการกลายเป็นกาน้ำเหล็กหล่อ ซึ่งก็คือ『Tetsubin/铁瓶』ที่พวกเรากล่าวขานถึง

▲หม้อต้มเหล็กสมัยราชวงศ์ถังที่ขุดค้นพบที่ “โบราณสถานชิงหลงเจิ้น (青龙镇遗址)” ปี 2012 

▲หม้อต้มเหล็กที่มีห่วงหูจับของญี่ปุ่นปรากฏขึ้นครั้งแรกในยุคนาระ (ปี 645-781) 

▲ต้นกำเนิดของกาน้ำเหล็กหล่อ : จากมุมมองทั่วไปในปัจจุบันเชื่อว่า บรรพบุรุษของกาน้ำเหล็กหล่อก็คือ「หม้อต้มเหล็กมือจับ/手取釜」แน่นอน จุดเหมือนของหม้อต้มเหล็กมือจับกับกาน้ำเหล็กหล่อไม่จำกัดเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ทางวัตถุดิบ เหล็กหล่อและเทคโนโลยีการผลิตแทบจะมีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน

        ภายหลังจากหม้อต้มเหล็กได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่น เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร คนญี่ปุ่นไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหม้อต้มเหล็ก ก็ยังคงเจริญรอยตามวิธีการผลิต รูปแบบการใช้ที่พวกเขาได้เรียนรู้จากเมืองจีนตลอดต่อเนื่องกันมายาวนาน

        ในยุคมูโรมาชิ (Muromachi Era ปี1394-1573) สืบเนื่องการดื่มชาได้กลายเป็นกิจวัตรหนึ่งที่นิยมแพร่หลาย เครื่องมือในการชงชาก็ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก ในท้องตลาดได้ปรากฏหม้อต้มเหล็กที่ใช้เฉพาะสำหรับการชงชา(茶釜) มาถึงยุคอาซูชิ-โมโมยามะ (Azuchi-Momoyama Era ปี1573-1603) พิธีชงชา(มัทฉะ)ก็ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยพระเซนโนะริคิว ในช่วงสมัยนั้นก็ปรากฏ『ช่างฝีมือ/釜师』ที่ทำการผลิตหม้อต้มเหล็กโดยเฉพาะ ช่างฝีมือเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในละแวกเกียวโต  และหม้อต้มเหล็กนี้ก็คือผู้เบิกทางของกาน้ำเหล็กหล่อ

▲หม้อต้มเหล็กมือจับโบราณผลิตปีเท็นเม (เส้นผ่าศูนย์กลางปาก 147 mm , ความกว้างกา 249 mm , ความสูงกา 179 mm) : จากเอกสารประวัติศาตร์บันทึกว่า「หม้อต้มเหล็กมือจับ/手取釜」ปรากฏขึ้นครั้งแรกในเอนเกียวปีที่ 2 ยุคมูโรมาชิ (ปี 1309) ที่ก้นหม้อจะมี 3 ขาค้ำยันอยู่ ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการต้มยา

        จนถึงยุคเอโดะ (Edo Era ปี 1603-1868) ช่วงกลางได้ปรากฏ『พิธีชงชาเซนฉะ』ก่อตั้งโดย “คนแก่ขายชา/Baisaō (ปี1675-1763)” ซึ่งพิธีชงชารูปแบบนี้เป็นพิธีชงชาที่เป็นการชงชาอย่างสบายๆอิสระ เพื่อให้สามารถรินน้ำได้สะดวกง่ายดาย ช่างฝีมือจึงนำหม้อต้มเหล็กขนาดเล็กโดยการเสริมพวยกาและติดตั้งสายหูหิ้วเข้าไปกลายเป็นรูปแบบเบื้องต้นของ『กาน้ำเหล็กหล่อ/铁壶

▲คนแก่ขายชา/Baisaō (ปี1675-1763) : ผู้ริเริ่มก่อตั้ง「พิธีชงชาเซนฉะ」ในกลางยุคเอโดะ

      『Tetsubin/铁瓶』คำๆนี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปีเท็นเมยุคเอโดะของญี่ปุ่น(ปี 1780s) ซึ่งตรงกับรัชสมัยเฉียนหลงราชวงศ์ชิงของจีน ตรงจุดนี้ก็จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาการก่อเกิดของกาน้ำเหล็กหล่อญี่ปุ่นก็คงจะประมาณในช่วงระยะเวลานี้ จากหนังสือ《สุดยอดแห่งกาน้ำเหล็กหล่อ/鐵壺之最》ที่ได้บันทึกไว้ว่า บุคคลแรกที่คิดประดิษฐ์กาน้ำเหล็กหล่อญี่ปุ่นน่าจะเป็นช่างฝีมือ Koizumi Nizaemon รุ่นที่ 3 (第三代仁左卫门) ในช่วงเวลานั้นเขาได้นำหม้อต้มเหล็กมาย่อส่วนให้ขนาดเล็กลงและนำไปใช้ในพิธีชงชา แล้วนำสายหูหิ้วและพวยกามาเสริมลงบนหม้อต้มเหล็ก และเป็นเพราะการปรับปรุงดัดแปลงลักษณะแบบนี้ ทำให้เขากลายเป็นคนแรกในการคิดประดิษฐ์กาน้ำเหล็กหล่อ

▲Tetsubin ทำมือโดย Koizumi Nizaemon รุ่นที่ 6 ในปี 1860 ปลายยุคเอโดะ : ผลงานชิ้นนี้ถูกออกแบบพิเศษเฉพาะเจาะจงขายให้กับร้านค้า ร้านค้าต่างก็ประเมินคุณค่าผลงานชิ้นนี้สูงมาก แล้วนำผลงานทั้งหมดของ Koizumi Nizaemon รุ่นที่ 6 มารวมเรียกเป็น「Nanbu Tetsubin」นับต่อจากนี้ไป Nanbu Tetsubin ก็มีชื่อเสียงขจรขจาย

▲แผนภูมิกระบวนการผลิตของนัมบุเทสึบิน : วิธีการผลิตยังเป็นวิธีเดิมที่สืบต่อกันมาจนถึงวันนี้ มี 65 ขั้นตอนในการผลิตกาน้ำเหล็กหล่อ และแทบจะทุกขั้นตอนเป็นขั้นตอนที่ต้องทำมือ ว่ากันว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 ปี ก่อนที่จะมีฝีมือพอที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นช่างได้ 

        อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับใครคือ “บุคคลหมายเลขหนึ่ง” ของกาน้ำเหล็กหล่อญี่ปุ่น ก็ยังไม่สามารถสรุปและต้องสืบเสาะหาข้อเท็จจริงกันต่อไป...

▲“Ryubundo/龙文堂” : ถูกยกย่องให้เป็นห้างอันดับ 1 ของห้างทำกาน้ำเหล็กหล่อของญี่ปุ่น ก่อตั้งโดย Shikata Ryubun (ปี1735-1798) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจการทำเหล็กหล่อและคิดประดิษฐ์วิธีการทำกาน้ำเหล็กหล่อโดย Lost-wax Casting ในกรุงเกียวโต ต่อมาสู่รุ่นที่ 2 คือ Yasunosuke เป็นนักผลิตกาน้ำเหล็กหล่อเกียวโตให้เป็นเชิงอุตสาหกรรมเข้าสู่เวทีศิลปะหัตถกรรม ผลงานจัดอยู่ในระดับสุดยอดขั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น


เอกสารอ้างอิง :
1. 论起源 , 中国是日本铁壶的祖宗https://kknews.cc/culture/v9oqqq.html
2. 铁瓶的起源与发展https://kknews.cc/zh-sg/culture/2qxv8yr.html
3. 壶说丨五分钟了解铁壶的历史 , 堂号 , 铸法https://kknews.cc/culture/p58rvjz.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น