วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณค่าที่ 1 : คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (3)

คุณค่าที่ 1 ใน 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : 
คุณค่าทางภูมิศาสตร์ (3)
普洱茶的四大价值之一 : 地理价值 (三)


 ๒.เนื้อหาที่ครอบคลุมคุณค่าทางภูมิศาสตร์ของชาผูเอ๋อร์ (普洱茶地理价值包含的内容)

        (1) ใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่(乔木大叶种)คือของขวัญอันล้ำค่าจากลักษณะพิเศษเฉพาะทางภูมิศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพของหยินหนาน

        บนโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้  จะมีปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดปรากฏเสมอ ภายใต้อิทธิพลของภูมิประเทศที่พิเศษเฉพาะและสภาพภูมิอากาศ จะทำให้ชีวภาพและพืชพรรณที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะปรากฏขึ้น ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ก็ปรากฏจากลักษณะเช่นนี้

        ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่(乔木大叶种茶树)เป็นพรรณไม้ที่ชอบความเป็นกรด จะมีความอ่อนไหวสูงต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน มันจะเจริญเติบโตบนดินที่มีค่า pH 4.5-6.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 20-25ºC ทั่วไปจะดำรงอยู่ที่ความสูงระดับน้ำทะเลระหว่าง 800-1800 m. เจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมบนภูเขาสูงหมอกจัด ปริมาณน้ำฝนมาก 1300-1800 mm. ระบบนิเวศที่สมบูรณ์และมีลักษณะพิเศษ

        I. ใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่ปรากฏอยู่บนหลายเขตพื้นที่แบบแผ่นดินผืนใหญ่ที่มีเฉพาะในหยินหนาน

        เกี่ยวข้องโดยตรงจากที่หยินหนานตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และชีวภาพมีความเชื่อมโยงและต่างมีผลซึ่งกันและกัน ปรากฏการณ์ที่เป็นผลจากปัจจัยตามธรรมชาติ ไม่สามารถทดแทนด้วยปัจจัยจากมนุษย์ จากประสบการณ์ที่ยาวนานของมนุษย์ยืนยันได้ว่า สภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศตามธรรมชาติที่ดีก็จะมีสภาพอากาศที่ดีตามมาด้วย แล้วก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ตรงกันข้าม สภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศตามธรรมชาติที่เลวร้ายก็จะมีสภาพอากาศที่เลวร้ายตามมา แล้วก็เกิดความขาดแคลนทางชีวภาพอย่างแน่นอน

        ต้นชาในหยินหนานและพืชพรรณอื่นๆอยู่ร่วมกัน ไม่เพียงเป็นจุดเด่นของปรากฏการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ยังเป็นปรากฏการณ์แบบดั้งเดิมที่เรณูเกสรดอกไม้ผสมข้ามพันธุ์กัน(异花授粉) ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ท่ามกลางการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก่อให้เกิดเป็นประชาคมต้นชา(ต้นชาป่าหรือจากการเพาะปลูก)ที่ภายนอกดูสูงใหญ่และอ้วนท้วน กระจายอยู่ตามหลายเขตพื้นที่ที่ติดต่อกันเป็นแผ่นดินผืนใหญ่ ภายในเขตพื้นที่เดียวกันก็ปรากฏเป็นคุณลักษณะทางพันธุกรรมที่สลับซับซ้อนและความหลากหลาย ไม่เฉพาะที่ประเทศจีน แม้แต่ในโลกนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สุดยอดที่สุด

        แม้ว่าพื้นที่อื่นในประเทศจีน(เช่นหูหนาน กว่างซี ไห่หนาน)ก็มีไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ แต่ต้นชาโบราณที่ต้องผ่าน “การทดสอบ”(考验) หลายร้อยปี แม้กระทั่งกว่าพันปีมาได้นั้นแทบจะไม่มี มากที่สุดคงแค่กว่าร้อยปี(百年沧桑) ลักษณะรูปลักษณ์ภายนอกของต้นชากับไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานจะแตกต่างกัน องค์ประกอบในใบชายิ่งแตกต่างกันมาก

        II. สารอาหารที่เป็นองค์ประกอบในใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่เปรียบเทียบแล้วจะสูงกว่าและสมบูรณ์กว่าใบชาจากพื้นที่อื่น

        นี้เป็นลักษณะพิเศษที่เด่นชัดสุดที่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานเมื่อเปรียบเทียบกับต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของพื้นที่อื่น ไม่เฉพาะสารประกอบกลุ่มฟีนอลส์มีมากกว่า สารสี กรดอะมิโน พิวรีน(Purine) กลุ่มน้ำตาล ซาโปนิน(Saponin) วิตามิน เป็นต้น สารประกอบทางเคมีเหล่านี้ก็สูงกว่าต้นชาของพื้นที่อื่น แม้แต่ปริมาณและคุณภาพของธาตุโลหะที่พื้นที่อื่นจะมาทัดเทียมไม่ได้

        ใบชาโดยทั่วไปจะประกอบด้วยธาตุโลหะประมาณ 30 ชนิด แต่ใบชาต้นพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานที่ถูกค้นพบแล้วมีกว่า 40 ชนิด อย่างไรก็ตาม ยังมีธาตุโลหะที่เรายังไม่ตรวจค้นพบเหลืออยู่

        III. ลักษณะพิเศษเฉพาะของ “ยีนอายุยืนยาว”(长寿基因)

        นี้เป็นลักษณะพิเศษที่เด่นชัดที่สุดของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน หยินหนานไม่เพียงแต่มีต้นชาที่อายุยืนยาวที่สุดที่ทั่วโลกยอมรับแล้ว(อายุ 2700 ปี) ต้นชาหลายร้อยปี แม้กว่าพันปีก็มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก สวนชาโบราณ(古茶园)ที่กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างมีอยู่ในหลายเขตพื้นที่และติดต่อกันเป็นแผ่นพื้นที่ผืนใหญ่

       ในที่นี้แอบซ่อนความลับหนึ่งไว้ที่ยังไม่เฉลย คือ ปริศนา “อายุยืน” ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนาน

        ต่างทราบกันดีแล้วว่า ไม่ว่าเขตพื้นที่ใดและพืชพรรรใดหลีกหนีไม่พ้นที่จะถูกรุกรานจากภัยธรรมชาติ เช่น โรคพืชจากแมลง มันจะต้องเกิดขึ้นตามปกติ ชนิดพันธุ์จำนวนมากที่ต้องสูญพันธุ์หรือเหลือจำนวนน้อยลงจะเกี่ยวข้องกับมัน แต่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานไม่ว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(ชาป่า)หรือจากการเพาะปลูก สามารถที่มีชีวิตยืนต้นมากว่าร้อยปี แม้กว่าพันปี มีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากมายที่ผ่านการทดสอบจากกาลเวลาที่เนิ่นนานจวบจนทุกวันนี้ยังแสดงออกถึงความมีชีวิตชีวา ความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรมแบบนี้สื่อให้เรารู้ว่า ต้นชาโบราณเหล่านี้อย่างน้อยจะต้องมี “ยีน” ชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดที่เรายังไม่ทราบที่สามารถต่อต้านโรคจากแมลงได้

        พวกเราเคยพยายามที่จะค้นหาธาตุโลหะที่มีปริมาณมากในใบชาที่อาจเป็นสาเหตุของ “อายุยืน” แต่รู้สึกว่าหลักฐานยังไม่เพียงพอ

       อย่างเช่นธาตุแมงกานีส(Mn ; 锰) ใบชาทั่วไปจะมีปริมาณประมาณ 30 mg/100g Mn เป็นสารที่กระตุ้นให้เอนไซม์หลายชนิดของพืชมีฤทธิ์ ถ้าหากต้นชาขาด Mn จะเกิดอาการ “โรคเหี่ยวแห้ง”(立枯病) โดยใบจะออกเหลือง เส้นใบจะออกเขียว ปลายยอดห้อยย้อยลงมา เจริญต่อก็จะเหี่ยวเฉาตายไป ใบชาของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่จะมีปริมาณของ Mn สูงกว่าใบชาชนิดอื่น ซึ่งมีถึง 400-600 mg/100g นี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานมี “อายุยืน”

        ยังมีธาตุสังกะสี(Zn ; 锌) เป็นสารที่จำเป็นสำหรับต้นชาแม้จะมีเพียงปริมาณน้อยมาก เป็นองค์ประกอบหนึ่งในเอนไซม์หลายชนิด ถ้าหากขาด Zn แล้ว ทำให้สารทริปโตเฟน(色氨酸)ถูกยับยั้ง ต้นชาจะเจริญเติบโตช้า ลำต้นจะเล็กเตี้ย ใบจะมีขนาดเล็กและปรากฏเป็นดวงๆเรียกว่าโรคโมเสค(花叶病) รากจะออกดำแล้วจะเหี่ยวเฉาตายได้ ในไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ค้นพบว่ามีปริมาณ Zn ถึง 3-6 mg/100g และนี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่ของหยินหนานมี “อายุยืน”

        แน่นอน ยังมีตัวอย่างอีกมากมายจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่ว่า ประเด็นในการที่จะถอดรหัส “ยีนอายุยืน”ของไม้ต้นชาพันธุ์ใบใหญ่นี้ การศึกษาเหล่านี้ยังห่างไกลอีกมาก

........ยังมีต่อ........


(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ 4 คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ --- คุณค่าที่ 1 : “คุณค่าทางภูมิศาสตร์”...เขียนโดย เฉินเจี๋ย)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น