ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (7)
古茶树之谜 (七)
ความหมายทางอายุยืนของต้นชาโบราณ
สิ่งที่ทำให้พวกเราต้องมาโฟกัสปรากฏการณ์อายุยืนของต้นชาโบราณนั้น ความจริงกี่ยวโยงกับเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติ(天然药物)ที่ประกอบอยู่ในพืชพรรณเหล่านี้ พืชพรรณอายุยืนส่วนใหญ่ล้วนมีคุญสมบัติพิเศษของพืชสมุนไพร เช่น โสม(人参) ต้นสนเนื้อไม้แดง(红杉树) ต้นแปะก๊วย(银杏树) เป็นต้น พื้นฐานของสารในพืชสมุนไพรที่สามารถรักษาและป้องกันโรคขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ทางยา แต่องค์ประกอบที่มีฤทธิ์ทางยาในพืชส่วนใหญ่มีปริมาณน้อยมาก เช่น Paclitaxel(紫衫醇) Harringtonine(三尖杉酯醇) Ginsenoside Rh2(人参皂苷Rh2) เป็นต้น ปริมาณองค์ประกอบอยู่ที่หน่วยในร้อยหรือน้อยกว่า เนื่องจากพวกมันเป็นผลิตผลทางธรรมชาติ มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก จะประดิษฐ์สังเคราะห์ขึ้นมาจะยากลำบากมาก
จากทศวรรตที่ 60 ศตวรรตที่แล้ว ชีวการแพทย์ได้เริ่มทดลองเทคโนโลยี่การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติ คือใช้ระบบการเพาะเลี้ยงเซลล์พืช ระบบทางชีวภาพของจุลินทรีย์หรือเอนไซม์เกิดการสังเคราะห์หรือตัดแต่งโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากการเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติโดยจุลินทรีย์ การเปลี่ยนแปลงของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติโดยวิธีทางชีวภาพของเอนไซม์ และการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเซลล์พืชของเภสัชภัณฑ์ทางธรรมชาติทั้ง 3 ด้านนี้ปรากฏเป็นผลการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่
เป็นเพราะว่ามีเทคโนโลยี่ที่เกิดผลการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพจึงค้นพบสาร Diterpenes(二萜类) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกโดยเฉพาะจากต้นสนเนื้อสีแดง และเพราะว่าเป็นโครงสร้างใหม่จึงตั้งชื่อว่า Paclitaxel กลายเป็นยาต่อต้านเนื้องอกที่มีชื่อมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง
ยังมีการค้นพบสาร Harringtonine ที่นักเคมีชาวสหรัฐ Wall และ Wani ในปี 1966 ได้ทำการแยกสารแอลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์แรงทางต่อต้านเชื้อไวรัสและเนื้องอกจากต้น Camptotheca Acuminate เหมาะที่จะใช้ในการรักษามะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหารและลูคีเมีย(Leukaemia) เป็นต้น
ดังนั้น วงการชีววิทยานานาชาติมีความเชื่อโดยทั่วไปว่า พืชพรรณชนิดอายุยืนจะต้องประกอบด้วยหนึ่งหรือหลายองค์ประกอบอันทรงคุณค่าที่มีฤทธิ์ทางยา ก่อนอื่นอายุยืนได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ต่อมาด้วยปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง มันเหมือนเป็นขุมทรัพย์สมบัติ เมื่อถูกค้นพบแล้วจะมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เฉกเช่นต้นชาโบราณก็ทำนองเดียวกัน
แน่นอนครับว่า กล่าวถึงด้านต้นชาโบราณแล้ว ยังมีความหมายถึงการเพาะปลูกพันธุ์ชาที่ดีและการสร้างสวนชาที่มีความหลากหลายทางลักษณะของพืชตามหลักทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ทางใบชาของหยินหนานได้ทำการศึกษาวิจัยทางด้านนี้ในหลายหัวข้อด้วยกัน และก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ไม่จำเป็นที่นำมากล่าวซ้ำซาก ณ ที่นี้
กล่าวทางด้านนักธุรกิจและผู้บริโภคด้านใบชาแล้ว ขายชาที่ดีที่สุดและดื่มชาที่ดีที่สุดคือความปราถนาร่วมกันของพ่อค้าและผู้บริโภค...
แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ》 ตอนที่ 7---เขียนโดย เฉินเจี๋ย
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ
(6)
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)
โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ปริศนาแห่งต้นชาโบราณ (8)
โพสต์นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2559 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย
https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น