วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวทมนตร์ของเนื้อผสม (2)

เวทมนตร์ของเนื้อผสม (2)
ตอน---เนื้อผสมของชาผูเอ๋อร์กำเนิดจากระบบทฤษฎี “การรวมเข้ากัน” ของยาจีน
拼配的魔力(一)---普洱茶的拼配源于中药”配伍”的理论体系



        เนื้อผสมของชาผูเอ๋อร์กำเนิดจากระบบทฤษฎี “การรวมเข้ากัน” ของยาจีน

        ในทฤษฎีทางการแพทย์จีน สำหรับโรคภัยไข้เจ็บธรรมดา โดยทั่วไปใช้วิธีการรักษาแบบ “ด้านเดียว”(单方) คือใช้ยาจีนรสเดียว(一味中药)เพื่อทำการรักษา แต่สำหรับโรคที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทั่วๆไปจะใช้ยาจีนตั้งแต่สองรสขึ้นไป ก็คือวิธีการรักษาแบบ “การรวมเข้ากัน”(配伍) ของยาจีน สูตรยาจีนจำนวนมากสูงถึงยี่สิบกว่ารส ชาผูเอ๋อร์ในโบราณกาลจนถึงราชวงค์ชิงและการแพทย์จีนมีจุดกำเนิดที่ลึกซึ้งมาก เหตุผลเป็นเพราะ :

        1. ทฤษฎีการแพทย์จีนของเมืองจีนมีคำกล่าวที่ว่า “ยาอาหารแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(药食同源) พวกเขาเชื่อว่าชาผูเอ๋อร์ไม่เพียงเป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ดับกระหายน้ำ ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องดื่มพิเศษเฉพาะที่สามารถ “ลดไขมัน ส่างเมา” ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดสรรพคุณทางบำรงร่างกาย นักเภสัชวิทยาที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยชิง จ้าวเสหมิ่น(赵学敏) ในหนังสือที่เขียนขึ้น《A Supplement of the Compendium of Materia Medica (本草纲目拾遗)》ได้จัดชาผูอ๋อร์ในนามของวัตถุยาเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย

        2. นักผลิตชาผูเอ๋อร์ยุคโบราณส่วนใหญ่มีภูมิหลังที่เชี่ยวชาญด้านวัตถุยาทางการแพทย์จีน หยินหนานตัวมันเองไม่เพียงเป็นเขตพื้นที่ผลิตใบชา ยังเป็นพื้นที่ผลิตและศูนย์กลางการกระจายวัตถุยา ชาผูเอ๋อร์ได้รับอิทธิผล “การรวมเข้ากัน” ของการแพทย์จีนจากพื้นฐานทางสภาพแวดล้อมที่จำเพาะและผู้ชำนาญการ ดังนั้น “เนื้อผสม” ของชาผูเอ๋อร์ต้องมีพื้นฐานของทฤษฎีเภสัชวิทยาทางยาจีน มิใช่ความคิดพิศดารที่บังเกิดขึ้นมา

        3. เนื้อผสมของชาผูเอ๋อร์หลักสำคัญคือ ”เติมเต็มจุดเด่น”(优势互补) ขององค์ประกอบในใบชา เป็นที่ทราบกันแล้วว่า เหมาฉาตากเขียวที่ผลิตจากต่างขุนเขา ต่างพื่นที่ก็จะไม่เหมือนกัน รสชาติก็แตกต่างกันมาก ความแตกต่างเช่นนี้นอกจากแสดงถึงปริมาณของสารกลิ่นหอมในใบชาไม่เหมือนกันแล้ว ยังแสดงว่าองค์ประกอบมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย จะแยกแยะข้อแตกต่างนี้ได้อย่างไร และนำข้อแตกต่างลักษณะนี้มาทำการ ”รวมกลุ่มใหม่”(重组) และ ”ผสม”(融合) อย่างเหมาะสมเชิงประสิทธิผล สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชาผูเอ๋อร์ที่มีคุณภาพเด่นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความฝันที่คนชาผูเอ๋อร์ตามล่าหาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

        อย่างเช่นชายอดม่าง(紫芽茶) หนังสือ《คัมภีร์ชา (茶经)》ของลู่หยี่(陆羽) ยุคสมัยราชวงค์ถังได้บันทึกไว้ว่า “ตัวชา ตัวม่วงคือบน”(茶者, 紫者为上) ตัวที่บ่งชี้ก็คือชายอดม่วง ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่มอะมิโน ฟลาโวนอยส์ เป็นต้นสูงกว่าเหมาฉาตากเขียวจากเขตพื้นที่หลายๆเขตของหยินหนาน ในนั้นมี Anthocyanin(花青素) ประกอบอยู่สูงสุด Anthocyanin คืออะไร? อธิบายง่ายๆ Anthocyanin คือสารประกอบทุติยภูมิจาก Secondary Metabolism ของพืช เป็นสารสีชนิดหนึ่งที่ละลายน้ำ มันมีประโยชน์หลายๆด้านต่อร่างกายมนุษย์ สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดในร่างกายคนเรา ปรับปรุงระบบการหมุนเวียนและเพิ่มระดับความเงางามของผิว และสามารถยับหยั้งการอักเสบและภูมิแพ้ ปรับปรุงความยืดหยุ่นของข้อต่อกระดูก แต่กระนั้น ถ้าหากผลิตเฉพาะชายอดม่วง คือเนื้อเดียวหรือเนื้อรสเดียวจากการเลือกใช้วัตถุดิบ ผลลัพธ์ออกมาจะแย่มาก รสขมฝาดหนักมาก ผู้คนภายหลังจากการดื่ม อันเนื่องจาก “ลักษณะทางยาแรงเกินไป” จะทำให้ร่างกายปรากฏอาการของโรคต่างๆนานา  แต่ถ้านำมันมาผสมในวัตถุดิบอื่นๆ หรือใช้เหมาฉาเป็นตัวหลัก ใช้มันเป็นตัวส่วนประกอบ ควบคุมปริมาณส่วนประกอบภายใน 1 ใน 5 แล้วสีน้ำชา รสชาติ องค์ประกอบมีการยกระดับขึ้นมาอย่างมาก ถ้าจะกล่าวว่าชายอดม่วงสำแดงออกถึงคุณค่าทางยาของใบชาแล้ว ความสำคัญอยู่ที่การผสมที่เหมาะสม เพราะว่าทฤษฎีของยาจีนโดยตัวมันเองยืดหยัดบนหลักการของการผสมที่เหมาะสม มิใช่ปริมาณมากแล้วจะดี ขนาดยาที่ให้มากทำให้เกิดการเบี่ยงเบนได้ง่าย

........ยังมีต่อ........


แปล-เรียบเรียง จากบทความ 《เวทมนตร์ของเนื้อผสม》 ตอนที่ 2---เขียนโดย เฉินเจี๋ย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น