วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การชื่นชมคุณค่าของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (ตอนที่1)

เจี้ยนจ่าน---อุปกรณ์ชาที่มีเรื่องราว





        ๑. คิดที่จะชื่นชมคุณค่าย้าวเบี้ยนต้องทำความเข้าใจเจี้ยนจ่านเสียก่อน !

        1. เจี้ยนจ่าน เริ่มต้นจากเตาเจี้ยน(建窑)เมืองเจี้ยนหนิง[建宁: ปัจจุบันคือเมืองเจี้ยนหยาง(建阳)]ยุคสมัยซ่ง

        เจี้ยนจ่านริเริ่มเมื่อเตาเผาที่มีชื่อเสียงผุดขึ้นมากมายในยุคสมัยซ่ง เป็นการใช้ดินเหนียวแดงที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบค่อนข้างสูงที่มีอยู่ทางแถบสุ่ยจี๋(水吉)เมืองเจี้ยนหยางในฝูเจี้ยนมาเป็นเนื้อดินดิบ ใช้น้ำเคลือบธรรมชาติที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูงมาเป็นสารสี เป็นถ้วยชาชนิดเคลือบสีดำที่ผ่านการเผาผนึกแบบรีดักชั่นที่อุณหภูมิสูง โบราณเรียกว่าเจี้ยนจ่าน(建盏)

▲โบราณสถานที่ตั้งเตาเจี้ยน(建窑)ยุคสมัยซ่ง

        2. เจี้ยนจ่านเป็นอุปกรณ์ชาใช้ในพระราชสำนักยุคสมัยซ่ง

        เจี้นนจ่าน(ญี่ปุ่นเรียกว่าเทียนมู่ ออกเสียงว่าเทนโมกุ) เป็นตัวแทนของเครื่องเคลือบสีดำ เป็นอุปกรณ์ใช้ในพระราชสำนักเมื่อยุคสมัยซ่ง เป็น1ใน8เครื่องเคลือบชื่อดังยุคสมัยซ่งของเมืองจีน “โยเฮนเทนกุ” ระดับสมบัติแห่งชาติ3ใบและ “จ่านหยดน้ำมัน” ระดับสมบัติแห่งชาติ1ใบที่เก็บรักษาไว้ในญี่ปุ่นเป็นสมบัติล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่งที่ตกทอดจากสมัยโบราณที่ทั่วโลกต่างแซ่ซ้องสรรเสริญ ในบรรดาของสะสมระดับสมบัติแห่งชาติ10ชิ้นที่เก็บรักษาอยู่ตามพิพิธภัณฑ์สถานใหญ่หลายแห่งในญี่ปุ่น เจี้ยนจ่านก็มีถึง4ชิ้นอยู่ในนั้นแล้ว

▲โยเฮนเทนโมกุสมบัติชาติยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum ญี่ปุ่น

        3. ชนิดของเจี้ยนจ่าน

        เตาเจี้ยนเป็นที่เลื่องลือโดยจากการเผาผลิตถ้วยชาเคลือบสีดำ(ทั่วไปเรียกว่าเจี้ยนจ่าน) ซึ่งชนิดที่มีชื่อเสียงก็มี ขนกระต่าย ลายนกกระทา(ก็คือเจี้ยนจ่านหยดน้ำมัน) ย้าวเบี้ยน[ก็คือหาวเบี้ยน(毫变)]

▲เจี้ยนจ่าน-อุปกรณ์เทพของการดวลชายุคสมัยซ่ง

        3.1 ลักษณะพิเศษของจ่านขนกระต่าย

        จ่านขนกระต่ายเป็นผลิตภัณฑ์ตัวหลักของเตาจี้ยน ลักษณะพิเศษที่สำคัญของมันคือบนผิวเคลือบสีดำมีลายผลึกเกิดใหม่เป็นลักษณะลายเส้นดั่งสายฝนกระจายไปทั่ว เสมือนกับขนกระต่ายจึงเป็นที่มาของชื่อ

▲จ่านขนกระต่ายยุคสมัยซ่ง-เก็บอยู่ที่ Kyoto National Museum ญี่ปุ่น

        3.2 ลักษณะพิเศษของจ่านหยดน้ำมัน

        ลักษณะพิเศษที่สำคัญของจ่านหยดน้ำมันคือลายบนผิวเคลือบเป็นลักษณะลายจุด เสมือนกับหยดน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ และมันก็เหมือนกับลายจุดขาวพื้นดำบนขนหน้าอกของนกกระทาที่อาศัยอยู่ตามเตาเจี้ยน จึงถูกเรียกขานว่าลายนกกระทา

▲เจี้ยนจ่านลายนกกระทา-เก็บอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum ญี่ปุ่น

        3.3 ลักษณะพิเศษของจ่านย้าวเบี้ยน

        ลักษณะพิเศษแบบคลาสสิคของจ่านย้าวเบี้ยนก็คือลายจุดลักษณะวงแหวนล้อมรอบด้วยรัศมีพระอาทิตย์ทรงกลดสี1วง ภายใต้แสงแรงกล้าสาดส่องลงมาจะสำแดงสีน้ำเงิน/เหลือง/ม่วงเป็นต้นที่แสงสีแตกต่างกัน และสีก็จะเปลี่ยนไปตามมุมมอง

▲โยเฮนเทนโมกุ-เก็บอยู่ที่ Fujita Art Museum

        4. ลักษณะพิเศษทางศิลปกรรมของเจี้ยนจ่าน

        I. ชิ้นงานที่ดีเลิศหายากมาก ก็เป็นเพราะยากต่อการผลิต ปริมาณการผลิตไม่สามารถกำหนดได้ ซึ่งงานศิลปกรรมที่ทั้งน้อยทั้งยากจึงมีคุณค่า
        II. เจี้ยนจ่านที่ดีเลิศจะมีลายเฉพาะอันเป็นอัตลักษณ์ ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
        III. เจี้ยนจ่านที่มีคุณภาพสูงจะมีความสวยงามอย่างธรรมชาติ โดดเด่น ล้ำลึก ว่างเปล่า สงบ เลิศเลอกว่ากล้วยไม้ที่เลื่องลือ มีความหมายโดยนัยเช่นเดียวกันกับจิตวิญญาณแห่งชา

        ๒. เจี้ยนจ่านเป็นอุปกรณ์ชาที่มีเรื่องราวซึ่งเป็นตำนาน

        1. เจี้ยนจ่าน มันมี「เรื่องราว

        มันผ่านประสบการณ์จาก「ไม่มีใครรู้จัก」จนถึง「เป็นที่รู้จักกันทุกคน」ต่อมาก็ได้รับการยกย่องจากพระราชสำนัก กลายเป็นของใช้สำหรับจักรพรรดิ เป็นที่โปรดปรานของจักพรรดิโดยเฉพาะ และก็มีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างประเทศ แล้วก็เป็นเพราะการผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชวงศ์จึงค่อยๆ「ตกต่ำ」หลุดออกจากวงโคจร โชคดีที่มีศิลปินช่างปั้นดินเผาติดๆกันมาที่สืบเสาะแสวงหาสมบัติล้ำค่าของชาติ โดยผ่านวิธีการต่างๆนานาเพื่อฟื้นฟูอารยธรรมเมืองจีนที่สูญหายไปกลับคืนมา จึงค่อยๆกลับคืนมาสู่สายตาของสาธารณชน เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนก็เป็นหนึ่งในนั้น และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่น้ำเคลือบและอุณหภูมิสูงภายใต้ภาวะบรรยากาศที่เฉพาะเจาะจง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมายาอย่างยิ่งยวด เป็นที่หายากและล้ำค่ายิ่ง

▲[บางส่วนของภาพการดวลชา] งานวาดของหลิวซุงเหนียน(刘松年)

        2. เจี้ยนจ่าน อุปกรณ์เครื่องเคลือบที่กำเนิดเพราะชา

        เมืองจีนเป็นถิ่นกำเนิดของชา ยังเป็นแหล่งของเครื่องเคลือบ วัฒนธรรมชาและวัฒนธรรมเครื่องเคลือบต่างช่วยเสริมซึ่งกันและกัน หนึ่งเดียวที่เป็นตัวแทนที่ไม่สามารถตัดออกได้ก็คือเจี้ยนจ่าน เจี้ยนจ่านก็คืออุปกรณ์เครื่องเคลือบที่กำเนิดเพราะชา

▲เจี้ยนจ่านและชาแนบแน่นจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

        พวกเราขอเริ่มต้นโดยการกล่าวถึงการตีชา(点茶) วัฒนธรรมการดวลชา(斗茶) การนิยมแพร่หลายของศิลปวัฒนธรรมการดวลชายุคสมัยซ่ง เป็นเหตุผลพื้นฐานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเจี้ยนจ่าน ประวัติศาสตร์ของเจี้ยนจ่านและประวัติศาสตร์การดวลชามีการเชื่อโยงกันอย่างแนบแน่น

        ราชวงศ์ซ่ง เป็นยุคสมัยที่ปัญญาชนยุคสมัยใหม่มีความพิสมัยอย่างมาก ช่วงสมัยนั้นสุภาพชนและเพื่อนๆจะมาร่วมชิมดื่มชาเสวนาธรรม ร่วมทำกิจกรรมด้านวรรณกรรม7สิ่ง(ขิม-หมากรุก-หนังสือ-วาดรูป-บทกวี-เหล้า-เพลง) เป็นไปอย่างอิสระเสรียิ่งนัก แม้กระทั่งซ่งฮุยจง(宋徽宗)ผู้ที่ไม่มีความมุ่งมั่นจะเป็นจักรพรรดิ แต่ลุ่มหลงอยู่กับการละเล่นทางศิลปกรรม ซ้ำละเล่นออกมาอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว ไม่เพียงแค่คิดประดิษฐ์ตัวอักษรแบบผอมแกร่ง(瘦金体)ที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของอักษรวิจิตรจีน ยิ่งเป็นเพราะที่ชื่นชอบชา ได้ทำการศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อวิถีแห่งชา สุดท้ายได้นำสิ่งที่ได้ศึกษามาพระราชนิพนธ์ลงใน《เรื่องราวชา(大观茶论)》ซึ่งในบทหนึ่ง「การตีชา」ทำให้สัมผัสได้ถึง การอธิบายที่เพริศพริ้ง วิธีการตีชาที่ให้มนุษย์คนหนึ่งสามารถใช้คำประดิดประดอยออกมาที่มีมาตรฐานที่สุด ที่มีอรรถรสมากที่สุด

▲ภาพ “ละครชา” (茶百戏 : คือการใช้เฉพาะชาและน้ำโดยไม่ใช้วุตถุดิบอื่นๆทำให้ผิวน้ำชาปรากฏเป็นภาพต่างๆ เป็นวิถีชาโบราณ)-เลียบแบบการดวลชา

        ประเพณีการดื่มชาของเมืองจีนในกลางยุคสมัยถังได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วๆไปแล้ว และเป็นผู้บุกเบิกศิลปกรรมทางการชิมดื่ม แต่รูปแบบที่สำคัญของการดื่มชาคือวิธีการต้มชา(煮茶法) การต้มชาก็โดยการต้มน้ำก่อน หลังจากนั้นนำชาที่ต้มเสร็จแล้วมาแบ่งใส่ลงในถ้วยชา เวลาดื่มต้องนำฟองชาสีขาว น้ำชาที่รสเค็มและผงชาที่ละเอียดอ่อนมาดื่มพร้อมกัน มาถึงช่วงยุคสมัยซ่ง เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของการชิมดื่มชาจาก “การต้มดื่ม”(煎饮) มาถึง “การตีดื่ม”(点饮) ประเพณีการดวลชาก็ปรากฏขึ้นมา ซึ่ง「การตีชา」มีความพิถีพิถันมากว่าการต้มชา

▲แผนภูมิขั้นตอนการตีชา(点茶)ยุคสมัยซ่ง

        3. การตีชายุคสมัยซ่งได้ไตร่ระดับถึงจุดสูงสุด

        การตีชายุคสมัยซ่งใช้ชาแผ่นกลม นำแผ่นชามากลิ้งบดให้เป็นผงก่อน แล้วกรองด้วยตะแกรงไม้ไผ่ ผงชายิ่งละเอียดยิ่งดี ต่อจากนั้นทำการต้มน้ำ หลังใช้น้ำเดือดชงล้างจ่านแล้ว นำผงชาในปริมาณที่เหมาะสมใส่ลงในจ่านชา เติมน้ำร้อนเล็กน้อยก่อน คนผงชาให้ทั่วกัน เรียกว่าปรับครีม(调膏) แล้วเทน้ำลงไปทั้งสี่ด้าน ขณะทำการเทน้ำพร้อมกับใช้แปรงไม้ไผ่ตีให้ของเหลวลอยฟ่อง ฟองออกสีขาว ไม่มีร่องรอยน้ำตรงขอบจ่านถือเป็นคุณภาพดี หลังจากนั้นนำน้ำชาที่มีผงชามาดื่มพร้อมกัน

▲การปรับครีม(调膏)ของการตีชา

        การใช้วิธีของการตีชามาแข่งขันทางคุณภาพของชาและน้ำชา เรียกว่า「การดวลชา」หรือเรียกว่า「สงครามชา

        กลางยุคสมัยซ่งเหนือ ใช่เซียง(蔡襄)ที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการผลิตชาเครื่องราชบรรณาการประจำฝูเจี้ยนได้นำประเพณีการดวลชาในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาทำการสรุปรวบยอดเพื่อทำให้แพร่หลาย ได้เลือกเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง《บันทึกชา(茶录)》(ปี1054) ที่มีความหมายซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ศิลปชา เป็นการยืนยันสถานะของเจี้ยนจ่านที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเหลือล้น

▲《บันทึกชา(茶录)》ของใช่เซียง(蔡襄)ยุคสมัยซ่ง

        การเผยแพร่ของ《บันทึกชา》เป็นการเติมเชื้อเพลิงเข้าไปในกองไฟของวัฒนธรรมการดวลชา ทำให้การดวลชาแพร่หลายอย่างรวดเร็วในสังคมทุกระดับชนชั้น เจี้ยนจ่านที่โดดเด่นอันเป็นอุปกรณ์เทพของการดวลชาก็กลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่พระราชวงศ์และผู้มีสกุลรุนชาติยอมทุ่มเท่าไรไม่ว่าเพื่อให้ได้มาครอบครอง กลายเป็นของสูงค่าในสมัยที่นักกวีช่างฝีมือรุ่งเรืองที่สุด เจี้ยนจ่านนับจากนี้ไปก็เข้าไปอยู่ในยุคแห่งความเจริญรุ่งโรจน์ โครงสร้างการผลิตขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตามังกรมีมากถึงสิบกว่าเส้น และทำการผลิตเจี้ยนจ่านที่ใต้ฐานสลักคำว่า「供御」「進盏」เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการถวายเข้าวัง

▲เจี้ยนจ่านเครื่องราชบรรณาการ「供御」อุปกรณ์เทพเพื่อการดวลชาสำหรับพระราชสำนักยุคสมัยซ่ง

        ปลายยุคสมัยซ่งเหนือ จ้าวจี๋(赵佶)จักรพรรดิซ่งฮุยจงที่เชี่ยวชาญศิลปชาได้พระราชนิพนธ์《เรื่องราวชา(大观茶论)》พระองค์ทรงเชื่อว่าจ่านชาที่ใช้ในการดวลชา : 「สีจ่านออกดำเขียว เส้นขนหยกถือเป็นเลิศ」เจี้ยนจ่านก็เพราะด้วยเหตุประการฉะนี้ จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตั้งแต่จักรพรรดิ ขุนนาง ผู้มีสกุลรุนชาติ สุภาพปัญญาชนจนถึงประชาชนพลเมืองทั่วไป ได้ทำการผลักดันให้วัฒนธรรมการดวลชาไปสู่จุดสูงสุด

▲ภาพเหตุการณ์การดวลชาของผู้มีสกุลรุนชาติยุคสมัยซ่ง-วาดโดยจักรพรรดิซ่งฮุยจง(宋徽宗)

▲ภาพเหตุการณ์การดวลชาของปัญญาชนยุคสมัยซ่ง

▲ภาพเหตุการณ์การดวลชาของคนพื้นเมืองชนบทยุคสมัยซ่ง

        4. เจี้ยนจ่านและการดวลชาต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน

        เจี้ยนจ่านและวัฒนธรรมการดวลชายุคสมัยซ่งเป็นความต่อเนื่องกัน เป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน การดวลชาไม่เพียงเป็นการตัดสินคุณภาพดีเลวของชาออกมา ยังเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของงานชาเชิงศิลปะเพื่อความสนุกสนาน ในกระบวนการผลักดันศิลปการดวลชาให้ไปในทิศทางที่ขอบเขตสูงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพของอุปการณ์ชาก็ต้องยกระดับให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตาม จึงจะสามารถเข้ากันกับความต้องการ การปรากฏขึ้นของเจี้ยนจ่าน สะท้อนถึงความพิถีพิถันของอุปกรณ์ชาในศิลปการชิมดื่มชายุคสมัยซ่งที่ได้ยกระดับให้สูงขึ้นอีกระดับที่ใหม่

▲รูปที่18 : จ่านหยดน้ำมัน-อุปกรณ์เทพของการดวลชายุคสมัยซ่ง

        เหตุที่เจี้ยนจ่านได้รับความนิยมอย่างมาก ก่อนอื่นคือสมรรถนะของมันที่เป็นไปอย่างที่《เรื่องราวชา(大观茶论)》ของซ่งฮุยจงและ《บันทึกชา(茶录)》ของใช่เซียงที่ได้บันทึกไว้ แต่นี่เป็นเพียงปัญหาผิวเผิน สิ่งที่สำคัญกว่าคือคุณภาพงานศิลปกรรมของเจี้ยนจ่าน ในกิจกรรมงานชาเชิงศิลปะเพื่อการไตร่ระดับให้ถึงจุดสุดยอดในยุคสมัยซ่ง จะต้องมีจ่านชาที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางศิลปะอย่างยิ่งยวดจึงสามารถเข้ากันได้กับอารมณ์สุนทรีย์ของผู้มีสกุลรุนชาติและสุภาพปัญญาชนที่ทำการดวลชา

▲จ่านย้าวเบี้ยน-อุปกรณ์เทพของการดวลชายุคสมันซ่ง

▲ย้าวเบี้ยน-ผลงานของลู่จินสี่(陆金喜) ผู้ที่สามารถฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนยุคสมัยซ่งคนแรกของโลก

聚德勤守逸  , 贤道义维馨 !
曜变弥珍贵  , 一盏永流传 !


เอกสารอ้างอิง :


[หมายเหตุ] : คุณเคยคิดหรือสงสัยบ้างไหมว่า : ทำไมเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่สภาพยังสมบูรณ์หลงเหลืออยู่เพียงแค่3ใบบนโลกนี้ล้วนอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยเรียกขานว่าโยเฮนเทนโมกุ ? เคยเป็นสมบัติประจำตระกูลของโชกุนโด่งดัง เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการกุมอำนาจทางทหารของประเทศ และเป็นมรดกตกทอดต่อๆกันมาจนสุดท้ายกลายเป็นสมบัติประจำชาติ แต่เมืองจีนมีเพียงเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนพิการครึ่งใบซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ถูกขุดค้นพบในเมืองหางโจวปี2009นี่เอง 

        อาจเป็นเพราะว่า คนยุคสมัยซ่งมีความเชื่อว่าย้าวเบี้ยนเป็น “ปีศาจชั่วร้าย” หรือ “เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์” ? นี่เป็นเพราะ “ความเชื่อ” หรือ “ฟ้าลิขิต” ? สนใจโปรดติดตามบทความ《ย้าวเบี้ยน---สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงค่าในบรรดาเจี้ยนจ่าน》ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น