องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของปั้นจื่อซาก็คือฝาปั้น ไม่เพียงแค่มีผลในการปกป้องฝุ่นละอองและรักษาอุณหภูมิ แต่ยังเกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้นต่อความสามารถในการปล่อยน้ำออก เป็นเพราะว่าบนฝาปั้นมีการเจาะรูระบายอากาศ ลักษณะเช่นนี้ทำให้อากาศสามารถเข้าไปในโพรงท้องปั้น ง่ายต่อการเทน้ำออกอย่างราบรื่น และยังเป็นการป้องกันน้ำพุ่งทะลุออกจากปากพวยเนื่องจากความดันอากาศในตัวปั้นในขณะที่ทำการปิดฝาปั้น
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจฝาปั้นสักนิด
๑. ฝาปั้นจากลักษณะทิศทางการวาง แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด :
(1) ปั้นทรงกลมฝาทรงกลมหมุนได้รอบทิศทาง วางได้อย่างอิสระเสรี
▲ฝากลมหมุนซ้ายขวาได้อย่างอิสระเสรี [ภาพประกอบ : ปั้นผาวจุน(匏尊壶)]
(2) ฝาปั้นลายซี่โครงวางแนวสันกลีบดอกให้ตรงกันโดยสามารถหมุนรอบปากปั้น วางได้อย่างถูกต้อง
▲ฝาลายซี่โครง [ภาพประกอบ : ปั้นพาน(潘壶)]
(3) ฝาปั้นพิเศษเฉพาะที่ต้องวางให้ตรงจุดยึดทั้งแบบเปิดเผยหรืออำพราง วางได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น
▲ฝาปั้นออกแบบจุดยึดแบบเปิดเผย [ภาพประกอบ : ปั้นฟักทอง(南瓜壶)]
๒. ฝาปั้นตามรูปลักษณะ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด :
(1) ฝาเรียบ (平盖)
▲ฝาเรียบ [ภาพประกอบ : ปั้นจู่ฉู่(柱础壶)]
(2) ฝานูน (盈盖)
▲ฝานูน [ภาพประกอบ : ปั้นเต๋อจง(德钟壶)]
(3) ฝาเว้า (凹盖)
▲ฝาเว้า [ภาพประกอบ : ปั้นต้านเปา(蛋包壶)]
๓. ฝาปั้นตามรูปแบบการประกบกับตัวปั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท :
(1) รูปแบบฝากด (压盖式) คือรูปแบบของการประกบขอบฝากดบนริมปากปั้น ซึ่งขอบฝากับริมปากปั้นจะต้องสอดคล้องกันทั้งบนล่าง ในนี้มีอยู่รูปแบบหนึ่งที่ผู้คนเรียกขานกันว่า “รูปแบบฝาเรียบ” (平盖式) ซึ่งโดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกของฝาปั้นจะใหญ่กว่าของปากปั้นเล็กน้อย ภาษาเฉพาะวงการปั้นเรียกว่า “ฟ้าเหยียบดิน” (天压地) เพื่อเหมาะแก่ความต้องการทางประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพ
▲รูปแบบฝากด : ขอบฝากดบนริมปากปั้น
▲ฝากด : ขอบฝากับริมปากปั้นสอดคล้องกัน [ภาพประกอบ : ปั้นฝางกู่(仿古壶)]
▲ฝากด “ฟ้าเหยียบดิน” : เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกของฝาปั้นจะใหญ่กว่าของปากปั้นเล็กน้อย [ภาพประกอบ : ปั้นสือเผียว(石瓢壶)]
(2) รูปแบบฝาตัด (截盖式) เป็นรูปแบบฝาปั้นที่มีเฉพาะในปั้นจื่อซา คือการตัดส่วนบนโค้งมนของตัวปั้นออกบางส่วนเพื่อทำเป็นฝา ช่องโหว่ของตัวปั้นกลายเป็นปากปั้น เมื่อทำการตกแต่งเสร็จแล้วนำฝาประกบกับตัวปั้น ไม่เพียงแค่ขนาดใหญ่เล็กที่สมทรงกันแล้ว เส้นขอบนอกยังติดแนบสนิท กลายเป็นเส้นสายที่สมบูรณ์แบบ แต่เนื่องจากเทคนิคการผลิตมีความยากลำบากมาก ก็มีเพียงปั้นจื่อซาระดับกลางบนจึงจะออกแบบใช้ฝาตัด
▲รูปแบบฝาตัด : ริมขอบฝาปั้นกับริมปากปั้นหลงเหลือเป็นเส้นตะเข็บ ฝาปั้นประกอบตัวปั้นปรากฏเป็นรูปร่างเพรียวลม
▲ฝาตัด [ภาพประกอบ : ปั้นซีซือ(西施壶)]
▲ฝาตัด [ภาพประกอบ : ปั้นฉินเฉียน(秦权壶)]
(3) รูปแบบฝาฝัง (嵌盖式) เป็นรูปแบบการประกบที่ขอบฝาฝังในริมปากปั้น ฝากับตัวปั้นกลมกลืนเป็นร่างเดียวกัน ภาษาเฉพาะวงการปั้นเรียกว่า “ดินหุ้มฟ้า” (地包天) แนวตะเข็บมีช่องห่างเท่ากระดาษหรือเส้นผม ถือเป็นชิ้นผลงานขั้นสุดยอด แยกแยะได้เป็น : ฝาฝังเรียบ (平嵌盖) ซึ่งผิวหน้าจะอยู่ในระนาบเดียวกันกับปากปั้น ซึ่งตัดออกจากเนื้อดินแผ่นเดียวกัน และ ฝาฝังนูน (虚嵌盖) ซึ่งผิวหน้ารูปโค้งมนหรือรูปลักษณะอื่นๆที่สูงกว่าปากปั้น
▲รูปแบบฝาฝัง : ฝาปั้นคว่ำลงโอบล้อมโดยปากปั้น ขอบฝาปั้นฝังในริมปากปั้น
▲ฝาฝังเรียบ [ภาพประกอบ : ปั้นจิ่งหลาน(井栏壶)]
▲ฝาฝังนูน
ปั้นจื่อซาที่ดีเลิศใบหนึ่ง ฝาปั้นควรมีมาตรฐานอย่างไร?
โดยทั่วไปปั้นจื่อซาหลังการเผาผนึกแล้ว การประกอบเข้าด้วยกันของฝากับปากควรตรงตามมาตรฐาน 4 ประการ
แน่น (紧) คือช่องว่างระหว่างฝากับปากจะต้องน้อยที่สุด ฝาปั้นกับปากปั้นต้องแนบสนิท
ตรง (直) คือขาฝาตรงสอดใส่ลงคอปั้นได้ลึก ฝาปั้นไม่หล่นตกลงมาตอนเทน้ำชา
พ้อง (通) คือฝาของปั้นทรงกลมต้องกลมอย่างมีแบบแผน ฝาเปิดได้ง่าย ปิดฝาแล้วหมุนได้อย่างอิสระเสรี ลื่นไหลโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ รอยต่อเชื่อมของขาฝากับฝาจะต้องตกแต่งอย่างปราณีต มันขลับ
หมุน (转) คือฝาแบบสี่เหลี่ยมหรือลายซี่โครงต้องไม่ตายตัว ไม่ว่าจะปิดฝาในทิศทางไหนล้วนลงรอยกันได้
ปั้นจื่อซาใบหนึ่งจะดีหรือเลวสามารถนำฝาปั้นมาจำแนกความแตกต่างได้ ฝาปั้นฟิตลงตัว สัญฐานทรงกลมบริบูรณ์ ถึงมิใช่ผลงานของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แต่ก็เป็นปั้นที่ดีอย่างแน่นอน
มีคำพังเพยในวงการจื่อซากล่าวว่า : ยินยอมจัดทำปั้น3ใบ ไม่ขอประกอบฝาใบเดียว (宁做三把壶 ,不配一只盖)
จากคำพูดดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า การประกอบฝาเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก การหดตัวและสีขลับของเนื้อดินในการเผาผนึกแต่ละครั้งยากต่อการควบคุมอย่างยิ่ง
-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----…..-----
เอกสารอ้างอิง :
1. 紫砂壶壶盖的样式,你知道几种?: http://k.sina.cn/article_6369903978_17bad056a001001p76.html?kfrome=cul&local=&subch=0&vt=4
2. 紫砂壶有几种壶盖 : https://kknews.cc/collect/ka4alqb.html
3. 紫砂壶,壶盖越严越好?: https://zhuanlan.zhihu.com/p/33271782