Such certainty is beautiful,
but uncertainty is more beautiful still.
ความงามคือสัจธรรมอันเที่ยงแท้
แต่ความไม่เที่ยงแท้ยิ่งงดงามกว่า
……..Wislawa Szymborska (วิสวาวา ซิมบอร์สกา กวีหญิงชาวโปแลนด์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ. 1996)
สีเคลือบของเจี้ยนจ่านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าหัศจรรย์ นำเจี้ยนจ่านไปสู่สถานะที่มีแบบลักษณ์จำเพาะตัวในบรรดาเครื่องเคลือบดำ
▲建盏 เจี้ยนจ่านที่มาจากเตาเผาเดียวกันและศิลปกรรมการผลิตเหมือนกัน : ขนกระต่าย (兔毫) หยดน้ำมัน (油滴) ย้าวเบี้ยน (曜变) ต่างมีแบบลักษณ์ของตนเอง
สุนทรียศิลป์ของเคลือบเจี้ยนจ่านหลักใหญ่เกิดจากความไม่มีแบบแผนของการเกิดผลึก-แยกเฟสอย่างธรรมชาติ ซึ่งเป็นริ้วลายที่มนุษย์ไม่สามารถวาดภาพออกมาได้ ความงามอย่างไม่เที่ยงแท้เช่นนี้ที่แท้เป็นแบบไม่บันยะบันยัง---อำนาจการตัดสินใจที่จะให้ชิ้นผลงานออกมาดีหรือเลวเกือบทั้งหมดที่ช่างผีมือต้องมอบให้เป็นประกาศิตของสวรรค์
▲เจี้ยนจ่านแบ่งตามการเพี้ยนในเตา(窑变)และสีเคลือบออกเป็น 13 ชนิด : 1. ย้าวเบี้ยน (曜变) 2. หยดขาว (白斑) 3. หยดทอง (金斑) 4. หยดเงิน (银斑) 5. หยดขนนก (羽斑) 5. ริ้วขน (斑毫) 7. ขนทอง (金毫)
▲เจี้ยนจ่านแบ่งตามการเพี้ยนในเตา(窑变)และสีเคลือบออกเป็น 13 ชนิด : 8. ขนเงิน (银毫) 9. เส้นขน (丝毫) 10. สีทอง (金彩) 11. สีทองคำดำ (乌金) 12. สีเขียว (绿彩) 13. สีลูกพลับ (柿彩)
เจี้ยนจ่าน (建盏) เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า เคลือบสีดำของเตาเจี้ยน (建窑) เป็นเคลือบตกผลึกของเหล็ก เป็นน้ำเคลือบปูนขาวที่มีแร่เหล็กประกอบอยู่ในปริมาณที่สูง ดังนั้น “เคลือบตกผลึกของเหล็ก” มีความหมายอย่างไร ?
เคลือบตกผลึกของเหล็ก (铁系结晶釉) เป็นการใช้ในการพรรณนาทั่วๆไปต่อเจี้ยนจ่านที่มีกรรมวิธีที่พิเศษเฉพาะตัว แต่ทางวิชาการศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผาจะเรียกเคลือบของเจี้ยนจ่านว่า “เคลือบเกิดผลึกแยก-เฟส” (分相-析晶釉)
การเกิดผลึก (析晶) หมายถึงอะไร
การเกิดผลึกก็คือสัณฐานผลึกเกิดขึ้นมา จะกล่าวว่าเป็นการตกผลึกก็ไม่ผิด ซึ่งสัณฐานผลึกคือการบ่งชี้ถึงอนุภาคไอออน อะตอม หรือโมเลกุลที่เป็นไปตามโคจรในการก่อตัวเป็นของแข็งที่เรียงตัวอย่างมีระเบียบแบบแผนในโครงสร้างแบบเรขาคณิตเฉพาะตัว ถ้าอนุภาคชนิดเดียวแต่จัดเรียงตัวในโครงสร้างที่แตกต่างกัน นั่นก็คือมีสัญฐานผลึกแตกต่างกัน
▲โครงสร้างผลึกของเกลือ (NaCl)
▲五水硫酸铜晶体 ผลึกจุนสี (คอปเปอร์ซัลเฟต มีน้ำอยู่ในโมเลกุลจะมีสีน้ำเงิน)
หน่วยพื้นฐานที่มีรูปแบบทางเรขาคณิตที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างผลึกเรียกว่า “หน่วยเซลล์” (Unit Cell) สสารที่มีส่วนประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน แต่มีโครงสร้างผลึกแตกต่างกัน ก็จะมีคุณลักษณะทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างกัน
▲โครงสร้างผลึกที่ประกอบด้วยหน่วยเซลล์ (Unit cell) หลายๆหน่วยเซลล์รวมตัวกัน
▲กราไฟต์กับเพชร ต่างมีธาตุคาร์บอนเป็นสารประกอบเหมือนกัน แต่การเรียงตัวของอนุภาคคาร์บอนในโครงสร้างผลึกแตกต่างกัน ฉะนั้นมูลค่าก็แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
ในกระบวนการเผาผลิตเจี้ยนจ่าน อาจก่อเกิดผลึกที่มีสารประกอบและโครงสร้างที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งกลุ่มผลึกเหลือคณานับ แล้วเป็นเหตุให้สีเคลือบของเจี้ยนจ่านปรากฏออกมาอย่างหลากหลาย ถ้าหากรูปแบบที่ก่อเกิดสีเคลือบของเจี้ยนจ่านมีเพียงการเกิดผลึกแล้วไซร์ ใยต้องมากล่าวถึงเคลือบเกิดผลึก-แยกเฟสอีกเล่า
การเผาผลิตเจี้ยนจ่าน จะก่อเกิดธาตุเหล็กและสารเหล็กออกไซด์ในรูปของผลึก และก็ก่อเกิดธาตุเหล็กและสารเหล็กออกไซด์ในรูปของอสัณฐานที่ไม่ใช่ผลึก
เมื่อไอออน/อะตอม/โมเลกุลเกิดการเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบแบบโครงสร้างอสัณฐาน ไม่มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน จะไม่ถือเป็นสัณฐานผลึก เช่น แก้ว
เคลือบสีดำที่เป็นพื้นเคลือบของเจี้ยนจ่านก็คือแก้ว แต่ริ้วลายต่างๆเช่นขนกระต่าย หยดน้ำมันเป็นต้น มีบ้างที่อาจเป็นแก้ว ตรงจุดนี้จะถูกมองข้ามไปบ่อยๆ ในเมื่อการก่อเกิดริ้วลายขึ้นมาไม่เพียงเป็นแค่รูปผลึก งั้นก็ต้องนำแนวความคิดของการแยกเฟสมาอธิบายเพิ่มเติมเข้าไป เป็นที่น่าสนใจว่า ปรากฏการณ์การแยกเฟสและการเกิดผลึกเกิดขึ้นบนจ่านใบเดียวกัน นำมาซึ่งกลุ่มสีเคลือบที่มีมากยิ่งขึ้น ทำให้เจี้ยนจ่านเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้น
▲分相与析晶出同时出现在兔毫盏上 ปรากฏการณ์การแยกเฟสและการเกิดผลึกเกิดขึ้นพร้อมกันบนจ่านขนกระต่าย
▲ภาพขยายริ้วลายขนกระต่ายโดยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
การแยกเฟส (分相) หมายถึงอะไร
นัยสำคัญของเจี้ยนจ่านที่ปรากฏสีเคลือบเหลือคณานับ ก็เป็นเพราะธาตุเหล็กและสารเหล็กออกไซด์แยกตัวออกมาจากเคลือบพื้นฐาน แร่เหล็กที่เป็นวัตถุดิบอยู่ในน้ำเคลือบของเจี้ยนจ่าน อาจอยู่ในรูปของเฟอร์ริค (Ferric : Fe+3) เฟอร์รัส (Ferrous : Fe+2) กระทั่งเป็นธาตุเหล็กบริสุทธิ์ (Fe) ที่แยกตัวออกมาจากเคลือบแก้ว แต่ทว่ารูปแบบของการแยกตัวไม่จำเป็นต้องเกิดผลึก อาจเป็นการแยกเฟส ก็คือการแยกตัวออกมาในรูปอสัญฐาน
「เฟส」Phase) คือการบ่งชี้ถึงสถานะของสสาร เช่น สถานะที่เป็นของแข็ง(Solid) สถานะที่เป็นของเหลว(Liquid) สถานะที่เป็นของก๊าซ(Gas) ล้วนเป็นเฟสรูปแบบหนึ่ง
น้ำที่ความดันปกติ ในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 0°C จะกลายเป็นของแข็ง ในช่วงอุณหภูมิ 1-100°C จะมีสถานะเป็นของเหลว และถ้าอุณหภูมิสุงกว่า 100°C น้ำจะกลายเป็นไอน้ำซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ นี่ก็คือตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลง3เฟสที่สุดคลาสสิค
เฟสที่แตกต่างกันเมื่อผสมรวมกัน ถ้าหากสามารถเติมเต็มและกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ก็จะกลายเป็นเฟสที่เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous Phase) อย่างเช่นเกลือหรือน้ำตาลละลายในน้ำ สุดท้ายกลายเป็นของเหลวที่เป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าไม่สามารถหลอมเข้าด้วยกัน มีเส้นแบ่งเขตเห็นอย่างชัดเจน อย่างเช่นหยดน้ำมันในน้ำ ไม่ว่าจะทำการคนอย่างไงก็แยกออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน นี่ก็คือการแยกเฟส
กลไกจอกแหนลอยอยู่บนผิวน้ำ
แร่เหล็กภายใต้อุณหภูมิสูงจะล้นออกมาจากเคลือบหลัก จับตัวเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อทำการเผาถึงอุณหภูมิประมาณ1300°C ภายใต้สภาวะทางเคมีเชิงฟิสิกส์ที่จำเพาะ เคลือบเริ่มเปลี่ยนโครงสร้างสถานะที่เป็นของเหลว เฟสเคลือบหลักจะแยกออกเป็นอีกเฟสหนึ่งที่อุดมด้วยแร่เหล็ก
ภายใต้ผลของแรงโน้มถ่วงและแรงตรึงผิว เฟสที่อุดมด้วยแร่เหล็กจะลอยอยู่บนชั้นผิวของเคลือบได้ง่าย เป็นไปตามที่กระบวนการล่วงเลยไป เฟสที่อุดมด้วยแร่เหล็กจะยิ่งมายิ่งมาก จนเฟสที่อุดมด้วยแร่เหล็กก่อตัวเป็นเฟสของเหลวหยดเล็กๆลอยอยู่บนผิวของเฟสเคลือบเหลวเหมือนกับใบจอกแหนที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ พวกมันจะจับตัวเกาะกันเป็นกลุ่มๆตามสภาวะการ รวมตัวเกิดเป็นเกรน (Grain) ที่มีขนาดใหญ่เล็กไม่เหมือนกัน
เกรนยิ่งใหญ่ หยดเล็กของเฟสของเหลวก็ยิ่งมาก แต่หยดเล็กของเฟสของเหลวเหล่านี้จะเกาะติดกัน ไม่หลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ก็เหมือนใบจอกแหนแต่ละใบลอยชิดติดกัน เมื่อดำเนินการเผาถึงระดับหนึ่งแล้วให้เย็นตัวลง เมื่อเกิดรูปผลึกหรืออสัณฐานของธาตุเหล็กและสารเหล็กออกไซด์ภายในเกรนตามแต่สภาวะแวดล้อม(ประกาศิตของสวรรค์) ก็จะปรากฏเป็นริ้วลายและสีสันต่างๆออกมา
▲浮萍机理 กลไกจอกแหนลอยอยู่บนผิวน้ำ
▲建盏中的油滴似浮萍 หยดน้ำมันบนเจี้ยนจ่านเสมือนจอกแหนลอยอยู่บนผิวน้ำ
▲ภาพขยายริ้วลายหยดน้ำมัน---เกรน(หยดน้ำมัน)ขนาดต่างๆใหญ่เล็กไม่เท่ากัน
▲ภาพขยายริ้วลายหยดน้ำมันโดยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง---ผลึก(หยดเล็กของเฟสที่อุดมด้วยแร่เหล็ก)จับตัวเกาะกัน(มีเส้นแบ่งเขตเห็นอย่างชัดเจน)เป็นเกรน
ผลึกของธาตุเหล็กและสารเหล็กออกไซด์เป็นตัวหลักที่ก่อเกิดริ้วลายขนกระต่าย หยดน้ำมันเป็นต้น แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก ในเมื่อสารเหล็กออกไซด์ในริ้วลาย(อย่าง Fe₂O₃) มิใช่จะต้องเกิดในรูปผลึกเสมอไป อาจอยู่ในรูปอสัณฐานที่แยกเฟสออกจากเคลือบแก้วดำที่เป็นเคลือบพื้น นี่จึงจะถือว่าสมบูรณ์ครบถ้วน ดั่งที่นักวิชาการทางวัสดุศาสตร์ที่กล่าวว่าเป็นเคลือบเกิดผลึก-แยกเฟส
เคลือบของเครื่องเคลือบโดยส่วนใหญ่ล้วนเป็นแก้ว เจี้ยนจ่านจะพิเศษเฉพาะกว่า ไม่เพียงมีแก้ว ยังมีผลึกของเหล็ก การประดับตกแต่งรูปแบนี้ ทำให้เจี้ยนจ่านสามารถผงาดอย่างโดดเด่น อยู่บนระดับสูงสุดของศิลปกรรมเครื่องเคลือบดินเผาที่มีการพัฒนาอย่างเฟื่องฟูในยุคสมัยซ่ง
▲宋代·曜变天目 โยเฮนเทนโมกุ·ยุคสมัยซ่ง หลงเหลืออยู่บนโลกนี้ในสภาพสมบูรณ์เพียงแค่3ใบกับอีกซากพิการครึ่งใบ---(บนซ้าย) เก็บรักษาอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum,Tokyo (บนขวา) เก็บรักษาอยู่ที่ Fujita Art Museum,Osaka (ล่างซ้าย) เก็บรักษาอยู่ที่ Daitokuji Temple,Kyoto (ล่างขวา) ประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆที่ถูกขุดค้นพบที่เมืองหางโจวปี 2009
▲曜变天目·东京静嘉堂美术馆藏 โยเฮนเทนโมกุ·เก็บรักษาอยู่ที่ Seikado Bunko Art Museum,Tokyo
▲曜变天目·大阪藤田美术馆藏 โยเฮนเทนโมกุ·เก็บรักษาอยู่ที่ Fujita Art Museum,Osaka
▲曜变天目·京都大德寺龙光院藏 โยเฮนเทนโมกุ·เก็บรักษาอยู่ที่ Daitokuji Temple,Kyoto
▲曜变天目·杭州建兰中学出土(残) โยเฮนเทนโมกุ(ซาก)·ขุดค้นพบที่เมืองหางโจว
▲陆金喜·第八代曜变新作品 ย้าวเบี้ยนผลงานชิ้นล่าสุดยุค8.0ของลู่จินสี่---เป็นบุคคลแรกของโลกที่สามารถฟื้นฟูเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน(โยเฮนเทนมุกุ ที่ขาดการสืบสานประมาณ800ปีตั้งแต่ปลายยุคสมัยซ่ง) โดยการขึ้นเคลือบครั้งเดียว เผาผลิตครั้งเดียว ผลงานออกมาได้ใกล้เคียงยุคสมัยซ่งมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ จากประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี่ที่สะสมมากว่า20ปีจนตกผลึก ผลงานย้าวเบี้ยนตั้งแต่ปี2010ยุค1.0จนถึงปี2017ยุค8.0 ชิ้นงานจะยิ่งขยับเข้าใกล้ยุคสมัยซ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นว่า ก็เพียงแค่รอวันเวลาที่จะมาถึงเท่านั้น ลู่จินสี่สามารถสร้างสรรค์ผลงานย้าวเบี้ยนที่ก้าวล้ำนำหน้าโยเฮนเทนมุกุที่เก็บรักษาอยู่ที่ญี่ปุ่น
▲陆金喜 ลู่จินสี่---ฟื้นฟูและสืบสานเจี้ยนจ่าน “ย้าวเบี้ยน” ศิลปกรรมเครื่องเคลือบแห่งยุคพันปี
เอกสารอ้างอิง :
1. 建盏的釉究竟特别在哪里? : https://kknews.cc/collect/zga6pgg.html
2. 行業泰斗-李達談建盞燒制 : https://kknews.cc/collect/3amb3o.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น