“การระบายโคลน/泥绘” เป็นจิตรกรรมที่ริเริ่มในยุคปลายหมิงต้นชิง ในรัชสมัยเฉียนหลงที่โปรดปรานการดื่มชาเป็นยิ่งนัก และโปรดปรานอุปกรณ์จื่อซาที่ตกแต่งด้วยบทกวีทิวทัศน์ ทางเตาเผาหยีซิงจึงได้ทำปั้นจื่อซาถวายเข้าวังหลากหลายรูปแบบ ได้นำบทกวีพรรณนาชาที่ประพันธ์โดยจักรพรรดิเฉียนหลงจารึกบนปั้นจื่อซาโดยเทคนิค “การระบายโคลน”
“การระบายโคลน” เป็นศิลปกรรมที่ “ใช้ปั้นแทนกระดาษ ใช้โคลนแทนหมึก” เป็นศิลปะการตกแต่งมีเฉพาะในปั้นจื่อซา คือหลังจากการขึ้นรูปปั้นจื่อซาเสร็จแล้ว ในขณะที่เนื้อดินปั้นยังมีความชื้นที่พอเหมาะ นำดินจื่อซาที่บดละเอียดทำเป็นโคลนสี ใช้พู่กันจุ่มโคลนสีแทนน้ำหมึกหรือสี โดยใช้เทคนิคศิลป์หลากวิธีเช่น การพอก(堆) การปั้น(塑) การป้าย(抹) การตวัด(捺) ColorWash(染) มาระบายภาพหรือจารึกตัวหนังสือบนตัวปั้น
หลังการระบายโคลนเสร็จ ปล่อยทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปเผาผนึกจนเสร็จ ผลงานระบายโคลนจะมีทัศนศิลป์ที่มีมิติเหมือนภาพวาดสีน้ำมัน หรือประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas-Relief)---“ใช้โคลนดินสร้างขอบเขต ใช้ขอบเขตถ่ายทอดจิตวิญญาณ”
อ้างอิงจากโคลนสีที่ทำจากดินที่ใช้ทำตัวปั้นหรือจากดินสีอื่นๆ สามารถแบ่ง “การระบายโคลน” ออกได้เป็น 2 รูปแบบ
1. การระบายโคลนสีตัวมันเอง คือนำโคลนสีมันเองมาระบายภาพ บนหลักการใช้ความหยาบละเอียดและสั้นยาวของลายเส้น ขนาดใหญ่เล็กและหนาบางของพื้นผิว ทำให้วัตถุภาพแสดงถึงเทคเจอร์ที่ดูมีระยะใกล้-ไกล เสมือนจริง
2. การระบายโคลนสีที่แตกต่าง คือใช้โคลนสีที่ตัดกันกับสีของตัวปั้น ใช้สีเดียวหรือหลากสี ทั่วไปโดยสีหนึ่งเป็นสีหลัก สีอื่นๆเป็นตัวเสิรม เป็นการตกแต่งที่ให้ความรู้สึกการตัดกันอย่างรุนแรง
ในศิลปะการตกแต่งปั้นจื่อซา “การแกะสลัก” และ “การระบายโคลน” ต่างก็เป็นการตกแต่งโดยการนำภาพและตัวหนังสือเป็นเทคเจอร์บนปั้นจื่อซา แต่หนึ่งเป็นการใช้ใบมีดในการแกะสลักออกเป็นภาพหรือตัวหนังสือ อีกหนึ่งเป็นการใช้พู่กันในการระบายโคลนออกเป็นภาพหรือตัวหนังสือ
• เทคเจอร์ของ “การแกะสลัก” แสดงออกถึงพลังความงามอย่าง “สง่าผ่าเผย/金石气” ดุจเทคเจอร์ที่แกะสลักบนแผ่นศิลา (碑)
• เทคเจอร์ของ “การระบายโคลน” แสดงออกถึงพลังความงามอย่าง “สละสลวย/书卷气” ดุจปลายพู่กันที่เขียนวาดบนเที่ย (帖 : กระดาษหรือผ้า)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น