“การประดับลาย/贴花” เป็นหนึ่งในการเสกสรรค์ปั้นแต่งปั้นจื่อซา ส่วนใหญ่จะใช้ในปั้นตลก ทั่วไปจะประดับบนลำตัวปั้น พวยปั้น ฝาปั้น หูปั้นและคอปั้น วัสดุตกแต่งทั่วไปจะใช้ดินจื่อซาชนิดสีเดียวกันกับตัวปั้นหรือชนิดสีแตกต่างกัน เป็นศิลปะการตกแต่งที่มีมาแต่โบราณกาล
《ปั้นสายหวูจิง》ยุคหมิง ที่ถือเป็นปั้นจื่อซาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการขุดพบทางโบราณคดี ตรงรอยต่อของพวยปั้นกับท้องปั้นจะแปะติดด้วย「ลวดลายกลีบเลี้ยงลูกพลับสี่กลีบ/四瓣柿蒂形纹叶片」นี่น่าจะเป็นการประดับลายปั้นจื่อซาที่พบเห็นครั้งแรก
จากกรรมวิธีของ
“การประดับลาย” โดยทั่วไปจัดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
(1) “การประดับโดยการพิมพ์ลาย/模印贴花” ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็น ๓ วิธีการ
๑. การปั้มลาย/印花 เป็นการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ตกแต่งเป็นลวดลายมากดประทับบนผิวชิ้นงานที่เนื้อดินยังหมาดๆ (เหมือนการปั้มตราประทับ) ทั่วไปจะปั้มลวดลายเรขาคณิตหรือประแจจีน บนส่วนของคอปั้น วงขาปั้น ขอบฝาปั้น เป็นต้น
๒. การแปะลาย/贴塑 เป็นการนำลวดลายจากแม่พิมพ์หรือปั้นด้วยมือเป็นชิ้นๆ มาแปะติดบนตัวปั้นโดยใช้น้ำดินข้นเป็นตัวประสาน หัวข้อการตกแต่งของการแปะลายส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายสัญลักษณ์มงคล(ลายเมฆ ลายหยูอี้) ต้นไม้(ต้นไผ่ ต้นสน) ผลไม้(ลูกท้อ ทับทิม องุ่น) ดอกไม้(ดอกเหมย ดอกโบตั๋น ดอกบัว ดอกเก๊กฮวย) สัตว์ธรรมชาติ(กระรอก เต่า ปลา ค้างคาว) สัตว์ในจินตนาการ(มังกร หงส์ สิงห์)
๓. การอัดลาย/模印 เป็นการนำแม่พิมพ์ที่มีลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาอัดบนดินแผ่นตามขนาดของตัวปั้น แล้วนำดินแผ่นที่มีลวดลายมาประกอบขึ้นรูปเป็นตัวปั้นโดยเชื่อมติดด้วยน้ำดินข้น
(2) “การขึ้นลายโดยการนวดปั้น/捏塑成型” เป็นการนำดินจื่อซาพอกบนตัวปั้น ใช้มือนวดปั้นดินให้เป็นโครงร่าง แล้วใช้เครื่องมือตกแต่งรายละเอียดจนเสร็จสมบูรณ์---ภาพซีรีส์(บางภาพ)ของ “กระบวนการทำปั้นจื่อซา《ปลาแปลงมังกร》ด้วยมือล้วน”
• การประดับลายทั้ง
2 รูปแบบต่างก็มีข้อดีของตนเอง
• รูปแบบที่1 สามารถอาศัยแม่พิมพ์ในการทำลวดลายที่สลับซับซ้อนอย่างหลากหลาย
• รูปแบบที่2 ช่างศิลปินสามารถสร้างสรรค์ คิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆได้อย่างอิสระเสรี
เอกสารอ้างอิง :
1. 紫砂装饰工艺—贴花 :
https://m.sohu.com/a/137088103_554865/?pvid=000115_3w_a
2. 谈工艺 : 什么是紫砂贴塑? :
https://wemp.app/posts/b0c8595a-68d5-42cc-8296-dcc155e623b3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น