วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

ชุดอุปกรณ์ชาพระราชวังราชวงศ์ถังอันวิลิศมาหรา

 

        ปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกช่วงรัชสมัยฮวน-หลิง(ปี146-189)ได้ริเริ่มสถาปนา “วัดพระเจ้าอโศก/阿育王寺” โดยก่อสร้างพระเจดีย์ไม้ 4 ชั้นเพื่อเป็นแห่งที่ห้าใน 19 วัดของจีนที่ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย 

佛指舍利/พระบรมสารีริกธาตุข้อนิ้วพระหัตถ์องค์จริง (องค์ที่ ๓) บรรจุในกล่องหยกขาว---บนศิลาจารึกได้พรรณนาว่า : “ยาวหนึ่งนิ้วสองหุน บนเรียบล่างเว้า สูงไม่สม่ำเสมอ สามด้านเรียบเสมอ หนึ่งด้านค่อนทางสูง สีขาวดั่งหยก...”


        ราชวงศ์ซีเว่ยได้ขยับขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางใหญ่โตมากยิ่งขึ้นในปี 555 ล่วงมาถึงรัชสมัยถังเกาจู่ ปฐมกษัตร์ราชวงศ์ถัง(ปี566-635) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดฝ่าเหมินซื่อประตูสู่พระธรรม” ในยุคถังนี้เองที่วัดฝ่าเหมินซื่อเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด 

法门寺/พุทธสถานฝ่าเหมินซื่อ---ตั้งอยู่ที่อำเภอฝูเฟิงเมืองเป่าจีมณฑลส่านซี ห่างจากนครซีอานประมาณ 110 กม. มีประวัติความเป็นมากว่า 1700 ปี

        รัชศกว่านลี่ปีที่ 7 ราชวงศ์หมิง(ปี 1579) ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่โดยการก่ออิฐแทนไม้ทรง 8 เหลี่ยม 13 ชั้น สูง 47 เมตร ครั้นล่วงมาถึงวันที่ 24 ส.ค. 1981 ได้เกิดฝนตกหนัก เป็นเหตุให้ซีกฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระเจดีย์เกิดแตกร้าวพังทลายลงมา ส่วนซีกด้านตะวันตกเฉียงเฉียงใต้ เกิดการเอียงตัวแต่ยังสามารถตั้งอยู่ได้ เหตุเภทภัยครั้งนี้นำไปสู่การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในวงการโบราณคดี 

法门寺塔/พระเจดีย์วัดฝ่าเหมินซื่อ---ก่อสร้างในปี 1579 พังครืนลงในปี 1981 อายุกว่า 400 ปี
 

        รัฐบาลจีนได้ตัดสินใจสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งจำเป็นต้องทำการปรับฐานรากใหม่ และแล้วในวันที่ 3 เม.ย. 1987 ได้ค้นพบวังใต้ดินที่ใต้ฐานพระเจดีย์องค์เก่าโดยบังเอิญ เมื่อทำการขุดค้นทางโบราณคดี ได้ขุดพบสมบัติล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่งของยุคถังเป็นจำนวนมาก ล้วนถือเป็นตัวแทนบนยอดปิรามิดของวัฒนธรรมยุคถัง 

法门寺塔基/ฐานรากพระเจดีย์วัดฝ่าเหมินซื่อ---ทางเข้าวังใต้ดินอยู่ด้านทิศใต้ บันไดทางเข้ามีทั้งหมด 19 ขั้น

法门寺地宫剖面图/แผ่นที่หน้าตัดวังใต้ดินวัดฝ่าเหมินซื่อ---บันไดลง 19 ขั้น→ประตูที่หนึ่งหินสลักอักษรเร้นลับ→อุโมงค์ทางเดินที่โรยเต็มไปด้วยเหรียญอีแปะ→ประตูที่สองศิลาจารึก 2 แผ่นวางซ้อน→ห้องที่หนึ่ง(ห้องหน้า)→ประตูที่สามหินเขียนสีรูปเทพ→ห้องที่สอง(ห้องกลาง)→ประตูหินที่สี่→ห้องสุดท้าย(ห้องหลัง)

隧道/อุโมงค์---ยาว 21.2 เมตร กว้าง 2-2.55 เมตร แผนผังของวังใต้ดินวัดฝ่าเหมินซื่อ เป็นรูปแบบลักษณะตัวอักษร “甲”

        โบราณวัตถุที่ขุดพบในวังใต้ดินวัดฝ่าเหมินซื่อ นอกจากพระบรมสารีริกธาตุ 4 องค์(1 องค์แท้ 3 องค์จำลอง)แล้ว ยังมี : เครื่องเงินชุบทอง 121 ชิ้น เครื่องแก้ว 20 ใบ เครื่องเคลือบ 17 ใบ เพชรนิลจินดา 400 เม็ด โบราณวัตถุหิน 12 ชิ้น เครื่องเขินและจิปาถะ 19 รายการ เสื้อผ้าอาภรณ์และสิ่งทอผ้าไหม 700 กว่าชิ้น และเงินอีแปะทองแดงหลายหมื่นเหรียญ ซึ่งชื่อเรียก เจ้าของ ขนาด วัสดุของโบราณวัตถุเหล่านี้ แต่ละรายการล้วนถูกบันทึกอย่างละเอียดลงบน《ศิลาจารึกบัญชีรายการวัตถุ

《物账碑》/《ศิลาจารึกบัญชีรายการวัตถุ》

        ในบรรดาโบราณวัตถุที่ถูกฝังเก็บกว่าพันปีภายในวังใต้ดินวัด ในนั้นมีอุปกรณ์ชาราชสำนักยุคถังที่สวยเลอเลิศในปฐพีอยู่ชุดนึง ประกอบด้วยเครื่องเคลือบมี่สื้อ เครื่องแก้ว เครื่องเงินชุบทอง เป็นต้นที่ได้โผล่ขึ้นมารับแสงตะวันอีกครั้ง 

一套唐代宫廷茶具/ชุดอุปกรณ์ชาพระราชวังราชวงศ์ถัง---ที่ถูกฝังเก็บภายในวังใต้ดินวัดฝ่าเหมินซื่อเป็นระยะเวลาพันกว่าปี

        เครื่องเคลือบมี่สื้อ มีจำนวนทั้งหมด 14 ชิ้นที่มีหลักฐานระบุแน่ชัดบน《ศิลาจารึกบัญชีรายการวัตถุ》ถือเป็นเครื่องเคลือบศิลาดลชนิดหนึ่งจากเตาเผาเย่ว เป็นเครื่องเคลือบที่เผาผลิตเพื่อราชสำนักโดยเฉพาะ จำนวนผลิตมีน้อยมากๆ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครได้พบเห็นของจริง เพียงแต่มีการกล่าวถึงและเขียนพรรณนาถึง การขุดพบครั้งนี้จึงเป็นการไขรหัสสิ่งเร้นลับกว่าพันปีในประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบดินเผาของจีน 

唐代五瓣葵口大凹底秘色瓷盘/จานเครื่องเคลือบมี่สื้อห้ากลีบทานตะวันปากกว้างก้นบุ๋ม ยุคถัง---อันชื่อว่า “秘色/มี่สื้อ” มีการตีความไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเนื่องเพราะเผาผลิตเพื่อราชสำนักโดยเฉพาะ สูตรการผลิตจึงต้องเก็บเป็น “秘密(ความลับ)” บ้างเชื่อว่านี่เป็นสิ่ง “神秘(เร้นลับ)” นักศึกษาวิจัยเครื่องเคลือบดินเผาโบราณชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า “秘色/มี่สื้อ” ก็คือ “碧色/ปี้สื้อ” ซึ่งหมายถึง “翠色(สีหยก)” 

        เครื่องแก้ว เนื่องจากเมืองจีนในช่วงสมัยนั้นยังขาดทักษะในการเผาผลิตเครื่องแก้ว กรรมวิธีการผลิตได้รับอิทธิพลจากทางแถบเอเชียตะวันตก ส่วนใหญ่จึงมีเอกลักษณ์ตามรูปแบบของเปอร์เซีย เนื่องจากเป็นของหายาก เครื่องแก้วจึงมีความล้ำค่าดั่งทองหยก ที่ขุดพบครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาม จาน ถ้วยและจานรอง มีจำนวนทั้งสิ้น 20 กว่าชิ้น 

素面淡黄色琉璃茶盏和茶托/ถ้วยแก้วพร้อมจานรองแก้วสีเหลืองอ่อน---คนยุคถังใช้อุปกรณ์ชาลักษณะแบบนี้ดื่มชา เพื่อความแปลกใหม่ของการสัมผัสแสงเงาแห่งน้ำสีหยก

        เครื่องเงินชุบทองอุปกรณ์ชา นี่เป็นชุดอุปกรณ์ชาพระราชวังที่วิจิตรประณีตที่สุด ตราบจนถึงทุกวันนี้ถือเป็นชุดที่เก่าแก่ที่สุด องค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด และเกรดระดับสูงสุดของโลก ประกอบด้วยตะกร้า เครื่องบด เครื่องกรอง ช้อน จาน ถ้วย  ภาชนะที่เก็บและใส่เครื่องปรุง เป็นต้น 

套唐代宫廷金银茶具/ชุดเครื่องเงินชุบทองอุปกรณ์ชาพระราชวังราชวงศ์ถัง---อ้างอิงจาก《การบันทึกประวัติศาสตร์/资治通鉴》ได้บันทึกไว้ว่า อุปกรณ์ชาชุดนี้ถูกเก็บปิดผนึกเมื่อปลายปี 873
  

        อุปกรณ์ชาพระราชวังอันสุดวิลิศมาหราชุดนี้ ซึ่งใช้ใน「พิธีชงชา/茶道」ในพระราชวังราชวงศ์ถัง ไม่เพียงเป็นอุปกรณ์ชาใช้ในวิถีการดื่มชาแบบ “การเคี่ยวชา/煎茶法” ยังมีอุปกรณ์หลายชิ้นที่ใช้การได้กับวิถีการดื่มชาแบบ “การตีชา/点茶法” บนตัวอุปกรณ์ชาเหล่านี้สามารถที่จะเห็นต้นกำเนิด “การตีชา” ของยุคซ่ง หรือกล่าวได้ว่า “การตีชา” ได้เริ่มขึ้นในปลายยุคถังแล้ว


        วิถีการดื่มชาในราชวงศ์ถัง ก็เป็นไปตามที่ ลู่หยี่/陆羽 ยุคถังที่ได้กล่าวถึงใน《คัมภีร์ชา/茶经》นั่นก็คือ “การเคี่ยวชา” ซึ่งมีกระบวนการอันประกอบด้วย 6 ขั้นตอน : 


        1. การปิ้งชา/炙茶

        การดื่มชาในยุคถังโดยนำ “ใบชา” ผ่านกระบวนการแล้วอัดขึ้นรูปเป็นชาแผ่นกลมหรือเหลี่ยม เก็บแผ่นชาในตะกร้าชา แขวนไว้ในที่สูงให้ลมพัดระบายความชื้น เมื่อต้องการนำมาต้มดื่ม ถ้าหากแผ่นชายังมีความชื้นอยู่ ก็นำไปปิ้งอังไฟไล่ความชื้นพร้อมตะกร้าชาได้อย่างสะดวกง่ายดาย 

鎏金镂空飞鸿球路纹银笼子/ตะกร้าเงินชุบทองฉลุลายกากบาทแปะห่านฟ้าโบยบิน---สูง 17.8 ซม. ขาสูง 2.4 ซม. หนัก 654 กรัม

金银丝结条笼子/ตะกร้าสานเส้นลวดทองเงิน---สูง 15 ซม. กว้าง 20 ซม.หนัก 355 กรัม

        2. การบดชา/碾茶

        แผ่นชาหลังผ่านการปิ้งให้แห้งแล้ว นำมาบดให้เป็นผงละเอียดโดยใช้เครื่องบด 

鎏金壶门座茶碾子/เครื่องบดชาเงินชุบทองลายฉลุหูเหมิน---สูง 7.1 ซม. ยาว 27.4 ซม. หนัก 1168 กรัม

        3. การกรองชา/筛茶

        ใบชาที่ผ่านการบดจะมีผงเหยาบและละเอียด จึงจำเป็นต้องคัดกรองโดยผ่านเครื่องกรอง เมื่อได้ผงชาละเอียดที่ผ่านการกรองแล้ว ก็นำไปเก็บใส่ในภาชนะเก็บ  

鎏金飞天仙鹤纹壶门座银茶罗子/เครื่องกรองชาเงินชุบทองสลักนกกระเรียนเหินฟ้าลายฉลุหูเหมิน---สูง 9.5 ซม. กว้าง 8.4 ซม. ยาว 13.4 ซม.หนัก 1472 กรัม

鎏金银龟盒/ตลับเต่าเงินชุบทอง---สูง 13 ซม. ยาว 28 ซม. กว้าง 15 ซม.หนัก 819 กรัม ใช้สำหรับเก็บชาผง กระดองเต่าทำเป็นฝา ตรงส่วนท้องจะเป็นช่องใส่เก็บชาผง เวลาจะใช้ โดยการเปิดฝา(กระดอง)ตักออกด้วยช้อน หรือเทออกจากปากเต่าก็ได้อย่างสะดวกง่ายดาย

        4. การต้มน้ำ/煮水

        เมื่อทำการตระเตรียมผงชาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ก่อไฟต้มน้ำ การต้มน้ำของคนยุคถัง จะให้ความสำคัญต่อ “สามเดือด/三沸” : “เดือดแรก/一沸” คือเริ่มมีฟองอากาศเล็กๆของน้ำเดือดปุดขึ้นมา พร้อมส่งเสียงเบาๆ ; “เดือดสอง/二沸” คือฟองอากาศเม็ดใหญ่เดือดปุดออกมาจากตรงริมขอบหม้อต้ม ; “เดือดสาม/三沸” คือเกิดคลื่นน้ำเดือดแปรปรวน  

壶门高圈足座银风炉/เตาถ่านเงินทรงกรวยขาสูงลายฉลุหูเหมิน---สูง 56.0 ซม. ฝาสูง 31.3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 17.7 ซม. ตัวเตาสูง 25.2 ซม. หนักรวม 3920 กรัม

系链银火筋长/ที่คีบถ่านยาวทำด้วยเงินคล้องโซ่---ยาว 27.6 ซม. หนัก 765 กรัม

        5. การปรุงแต่งชา/调茶

        เมื่อต้มน้ำถึงจุด “เดือดสาม” ก็เป็นเวลาอันควรในการตักตวงผงชาใส่ลงไปต้มเคี่ยว อาจทำการปรุงแต่งรสโดยการเติมเกลือ หัวหอม ขิง เปลือกส้ม เป็นต้น ใช้ทัพพีคนให้ทั่วแล้วต้มเคี่ยวจนเป็นซุปชา

鎏金银摩羯纹蕾纽三足架银盐台/แท่นเกลือสามขาเงินชุบทองลายราศีมังกรหัวเม็ดดอกตูม---สูง 27.9 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก 16.1 ซม. หนัก 564 กรัม เป็นภาชนะใส่เกลือหรือเครื่องปรุง

鎏金飞鸿纹银则/ช้อนเงินชุบทองลายห่านหงส์---ความยาวทั้งหมด 19.2 ซม. ตัวช้อนยาว 4.5 ซม. กว้าง 2.6 ซม. ใช้ในการตักตวงผงชาและเครื่องปรุง

鎏金流雲纹长柄银匙/ทัพพีด้ามยาวเงินชุบทองลายเมฆลอย---ความยาวทั้งหมด 35.9 ซม. ตัวช้อนยาว 4.3 ซม. กว้าง 2.7 ซม. ใช้ในการคนชาและตักฟองชาออกเวลาต้มเคี่ยวชา

        6. การทานชา/吃茶

        ตักน้ำซุปชาใส่ถ้วยแก้วที่มีจานรอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ เชิญ “ทานชา” ได้นะครับในขณะที่ยังร้อนอยู่

玻璃茶盏与茶托分置/ถ้วยแก้วแยกส่วนจากจานรองแก้ว---ถ้วยชาสูง 5.2 ซม. จานรองสูง 3.8 ซม.


        นอกเหนือจากอุปกรณ์ชาที่ได้กล่าวถึงใน 6 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ยังมีอุปกรณ์ชาที่เป็นภาชนะใช้ในการเก็บ ภาชนะใช้ในการชงและดื่ม และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ซึ่งบางชิ้นใช้การได้ในวิถี “การตีชา”

鎏金双狮纹菱弧形圈足银盒/กล่องตลับเงินชุบทองขากลมทรงกระจับโค้งมนลายสิงห์คู่---สูง 12.0 ซม. ยาว 17.3 ซม. กว้าง 16.8 ซม. ใช้เป็นภาชนะในการเก็บชาแผ่น

鎏金人物画银坛子/โถเงินชุบทองลายรูปคน---สูง 24.7 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 13.2 ซม. ท้องลึก 11.2 ซม. หนัก 883.5 กรัม ใช้เป็นภาชนะที่เก็บ

鎏金伎乐纹银调达子/ถ้วยปรุงเงินชุบทองลายมหรสพ---สูง 11.7 ซม. ถ้วยสูง 5.8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.4 ซม. ใช้เป็นภาชนะใน “การตีชา” โดยใส่ผงชา เครื่องปรุง(เกลือ ขิง หัวหอม)  เติมน้ำเดือดลงในถ้วยปรุงแล้วตีออกมาเป็นชาข้น เติมน้ำร้อนอีกครั้งปรุงออกมาเป็นน้ำชาเพื่อดื่มต่อไป

鎏金银羹碗子/ถ้วยซุปเงินชุบทอง------สูง 9.8 ซม. ฝาสูง 4.5 ซม. ฝาเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.6 ซม. ท้องลึก 2.4 ซม. ขาสูง 2.7 ซม. หนัก 213.5 กรัม เป็นถ้วยใส่ซุปชาที่ต้มเคี่ยวเสร็จแล้ว

鎏金银波罗子/ปิ่นโตเงินชุบทอง---สูง 3.8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 11.2 ซม. หนัก 250 กรัม ใช้เป็นภาชนะในการจัดเก็บชา ซ้อนกันเป็นชั้นๆได้

鎏金十字折枝花纹葵口小银碟/จานเล็กเงินชุบทองปากกลีบทานตะวัน---สูง 1.3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 11.3 ซม. หนัก 113 กรัม มีทั้งหมด 10 ใบ เป็นจานรองขนมขบเคี้ยว

鎏金团花纹葵口圈足小银碟/จานเล็กเงินชุบทองปากกลีบทานตะวันขาวงแหวน---สูง 1.9 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 10.0 ซม. เป็นจานเตรียมชาผงใช้ใน “การตีชา”



เอกสารอ้างอิง :

1. 一套唐代宫廷茶具 : https://3g.163.com/dy/article/FUD1V2SV05339P7A.html?spss=adap_pc

2. 极致奢华的唐代宫廷茶具 : http://www.gg-art.com/article/index/read/aid/27746

3. 法门寺_百度百科 : https://baike.baidu.com/item/%E6%B3%95%E9%97%A8%E5%AF%BA/55080

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

เคลือบสีฟ้าขนนกยูง---สุนทรียภาพที่ลึกลับภูมิฐาน

 

        ในท่ามกลางความหลากหลายของเคลือบสี มีเคลือบสีชนิดหนึ่ง ลึกลับแต่ไม่ขาดซึ่งความหรูหรา นิ่งสงบดั่งน้ำแต่ก็สุกสกาว นั่นก็คือสีสันอันเจิดจรัสในภาวะการณ์ของฟ้าหลังฝน มันก็คือ---“ฟ้าขนนกยูง” 

▲“ฟ้าขนนกยูง”---นำมาซึ่งความรู้สึกราวกับฤดูร้อน ทำให้ผู้คนอดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงหาดทรายที่ขาวสะอาด ลมเย็นๆที่โชยมา และบรรยากาศรุ่งอรุณที่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น


        เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2004 บริษัทจัดประมูลคริสตีส์(Christie’s)ในฮ่องกง ได้จัดงานประมูลศิลปกรรมภาคฤดูใบไม้ผลิ ไฮไลท์ของงานคือ Lot0286「จานเคลือบสีฟ้าขนนกยูงรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิง」ราคาที่ประมูลได้ไป 12.3824 ล้านHKD กลายเป็นเครื่องเคลือบสีโดดที่สร้างสถิติราคาประมูลสูงที่สุด

明宣德 孔雀蓝釉盘/จานเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิง---เคลือบที่สำแดงสีฟ้าสุกสกาวอย่างสม่ำเสมอ บนมาตรฐานการเผาผลิตภาชนะเครื่องเคลือบของต้นยุคหมิงแล้ว ผลิตภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ที่ยังหลงเหลืออยู่มีไม่เกิน 10 ชิ้น ถือเป็นของล้ำค่าแห่งยุค
    


      【จำแนกจัดแบ่งประเภท


        “เคลือบสีฟ้าขนนกยูง/孔雀蓝釉” คือเคลือบสีอุณหภูมิต่ำที่มีทองแดงเป็นสารให้สี หลังผ่านการเผาผลิตแล้ว เคลือบจะมันเงาสำแดงสีฟ้าสว่างไสว เหมือนสีสันอันสวยงามในขณะที่นกยูงรำแพน จึงตั้งชื่อเรียกตามสีของขนนกยูง เคลือบสีที่ค่อนข้างฟ้าจะเรียกเป็น “ฟ้าขนนกยูง” ที่ค่อนข้างเขียวจะเรียกว่า “เขียวขนนกยูง” 

孔雀蓝/ฟ้าขนนกยูง

孔雀绿/เขียวขนนกยูง

        ประเภทของฟ้าขนนกยูงในช่วงเริ่มต้นยังไม่หลากหลาย เมื่อค่อยๆพัฒนาจนสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆเช่น สีที่สำแดง การเข้ากันได้ของดินกับน้ำเคลือบ เป็นต้น ก็ค่อยๆเป็นที่แพร่หลายในวงการเครื่องเคลือบดินเผา อ้างอิงตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์ สามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท


        (1) เคลือบสีโดดฟ้าขนนกยูง/孔雀蓝单色釉 วิธีการจะค่อนข้างเรียบง่าย โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่เข้มงวดระดับความวิจิตรประณีตของผลิตภัณฑ์ดินเผา สามารถทำการชุบน้ำเคลือบบนภาชนะดินดิบแล้วผ่านการเผาผลิตครั้งเดียว ต่อมาเตาเผาหลวงที่มีความต้องการความวิจิตรประณีตในการผลิตอย่างเข้มงวด จึงทำการเผาดิบที่อุณหภูมิสูงก่อน ต่อจากนั้นทำการชุบเคลือบสีฟ้าขนนกยูงแล้วนำเข้าเตาเผาเป็นครั้งที่สองจนเป็นภาชนะสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้เคลือบสีโดดๆดูราบเรียบเกินไป อาจดำเนินการตกแต่งโดยการแกะสลักลายบุ๋ม เขียนสีลงทองบนผิวเคลือบ เป็นต้น 

宣德 孔雀蓝釉高足碗/ถ้วยขาสูงเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเซวียนเต๋อ---ขุดพบที่โบราณสถานโรงงานราชสำนักเขาจูซานจิ่งเต๋อเจิ้นในเดือน พ.ย. 1988
 

        (2) ลายครามฟ้าขนนกยูง/孔雀蓝青花 เป็นการรวมเคลือบสีฟ้าขนนกยูงอุณหภูมิต่ำกับลายครามใต้เคลือบอยู่บนร่างเดียว โดยการชุบผิวที่เขียนสีลายครามแล้วด้วยเคลือบสีฟ้าขนนกยูง แล้วทำการการเผาผลิตครั้งเดียว ก่อนยุคหยวนที่ยังขาดทักษะในการควบคุมการเผาผลิตได้ดีพอ ผลิตภัณฑ์ทั่วไปจะออกมาเป็น “ลายดำฟ้าขนนกยูง” ตราบจนถึงรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิงภายใต้ระบบของเตาเผาหลวงจึงประสบความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ ผลิตออกมาเป็น “ลายคราม” สมชื่อ 

宣德 孔雀蓝青花莲塘鱼藻纹碗/ถ้วยลายครามสระบัวปลาสาหร่ายเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเซวียนเต๋อ---ขุดพบที่โบราณสถานโรงงานราชสำนักเขาจูซานจิ่งเต๋อเจิ้นในเดือน พ.ย. 1988 ; ถ้วยใบนี้สำแดง “ลายคราม/青花” ได้สมชื่อ

        (3) เครื่องเคลือบเขียนสีคละที่เกี่ยวข้องกับฟ้าขนนกยูง/与孔雀蓝有关的混和彩瓷 หลังจากการเผาผลิตเคลือบสีโดด ลายครามใต้เคลือบได้รับการพัฒนาจนเข้าที่แล้ว ช่างโรงงานราชสำนักจึงได้ทดลองโดยการนำฟ้าขนนกยูงมาผสมผสานกับเคลือบสีอุณหภูมิต่ำเช่น เหลือง น้ำตาล เป็นต้นมาร่วมกันตกแต่งเครื่องเคลือบพื้นสามสี/素三彩瓷 กระทั่งใช้เป็นสีบนเคลือบอุณหภูมิต่ำในภาชนะเบญจรงค์/五彩器 เป็นการเพิ่มเติมลงในช่องว่างของสีฟ้าบนเคลือบในช่วงเวลานั้น 

万历 黄地三彩龙纹盘/จานพื้นเหลืองเขียนลายมังกรสามสี รัชสมัยว่านลี่---ลายมังกรบางส่วนตกแต่งด้วยเคลือบสีฟ้าขนนกยูง
  

      【ต้นกำเนิดและการพัฒนาในยุคแรก


        “เคลือบสีฟ้าขนนกยูง” เป็นสีเคลือบดั้งเดิมในแถบเปอร์เซีย ได้เผยแพร่โดยผ่านทางการค้าเข้าสู่เมืองจีนในยุคถัง จากการขุดทางโบราณคดีได้ขุดพบ “แจกันดินเผาเคลือบสีฟ้าขนนกยูง” 3 ใบในสุสานของนางสนม หลิวหัว/刘华 ของรัฐหมิ่น(ปัจจุบันคือมณฑลฝูเจี้ยน)ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ 

▲1 ใน 3 ใบของ “五代波斯孔雀绿釉陶瓶/แจกันดินเผาเคลือบสีฟ้าขนนกยูงจากเปอร์เซีย ยุคห้าวงศ์” (พิพิธภัณฑสถานฝูเจี้ยน)---ผ่านช่องการค้าทางทะเลเข้าสู่เมืองฝูโจวในช่วงสมัย หวังเสิ่นจือ/王审知 เป็นผู้มีอำนาจปกครองสูงสุดในรัฐหมิ่นยุคห้าวงศ์สิบรัฐ

伊朗孔雀兰釉黑彩花纹钵/ชามอ่างอิหร่านเขียนสีดำเคลือบสีฟ้าขนนกยูง---ผลิตขึ้นในปลายศตวรรษที่ 15 (The Metropolitan Museum of Art)


        ในยุคจินและต้นยุคหยวน เตาเผาสามัญชนทางเหนือเช่น เตาเผาฉือโจวได้เริ่มทำการเผาผลิตภาชนะเคลือบสีฟ้าขนนกยูง ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานกับสีลายครามใต้เคลือบ แต่ทว่ายังขาดทักษะด้านเทคนิคการเผา ทั่วไปชิ้นงานออกมาเป็น “ลายดำฟ้าขนนกยูง” 

元磁州窑 孔雀蓝釉罐/โอ่งเคลือบสีฟ้าขนนกยูง เตาเผาฉือโจวยุคหยวน

元 孔雀蓝釉黑花梅瓶/ไหลายดำเคลือบสีฟ้าขนนกยูง ยุคหยวน---ทำการเผาผลิต “ลายคราม” และ “เคลือบสีฟ้าขนนกยูง” พร้อมกันในครั้งเดียว เนื่องจากยังขาดทักษะในการเผาผลิต ทำให้ “ลายคราม” เพี้ยนกลายเป็น “ลายดำ”


        ในช่วงยุคหยวน เตาเผาหลวงในจิ่งเต๋อเจิ้นก็ได้ทำการเผาผลิตภาชนะเคลือบสีฟ้าขนนกยูงขึ้นมาบ้างแล้ว แต่จากการขุดพบทางโบราณคดีมีจำนวนไม่มาก บ่งบอกถึงโรงงานราชสำนักผลิตเคลือบสีฟ้าขนนกยูงในช่วงนั้นยังมีขนาดไม่ใหญ่มาก 

元 孔雀绿釉大罐/โอ่งเคลือบสีฟ้าขนนกยูง ยุคหยวน---โอ่งใบนี้มีพิมพ์ตัวอักษร “内府/นั่ยฝู่(ท้องพระคลัง)” เป็นภาชนะคลาสสิกในยุคหยวน (British Museum)

元磁州窑 翠蓝釉黑花梅瓶/เหมยผิงลายดำเคลือบสีฟ้าขนนกยูง เตาเผาฉือโจวยุคหยวน (พิพิธภัณฑสถานกู้กงไทเป)


      【การผลิตและการพัฒนาในยุคหมิงและชิง


        การผลิตเครื่องเคลือบในรัชสมัยเซวียนเต๋อราชวงศ์หมิงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ฟ้าขนนกยูงก็มีความรุดหน้าเป็นอย่างมาก เครื่องเคลือบสีฟ้าขนนกยูงจากเตาเผาหลวงยุคหมิง ถือเป็นของขึ้นชื่อและทรงคุณค่าในช่วงขณะนั้นแล้ว แต่ผลงานที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนไม่มาก ที่สามารถเก็บรักษาในสภาพสมบูรณ์ได้จนถึงทุกวันนี้ยิ่งเป็นของล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่ง 

宣德 孔雀蓝青花莲塘鱼藻纹盘/จานลายครามสระบัวปลาสาหร่ายเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเซวียนเต๋อ---ขุดพบที่โบราณสถานโรงงานราชสำนักเขาจูซานจิ่งเต๋อเจิ้นในเดือน พ.ย. 1988

明成化 孔雀蓝釉海兽纹盖罐/โอ่งฝาปิดลายสัตว์ทะเลเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเฉิงฮั่วราชวงศ์หมิง

明正德 孔雀蓝釉龙纹兽耳蒜头瓶/แจกันหัวกระเทียมหูสัตว์ลายมังกรเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเจิ้งเต๋อราชวงศ์หมิง

        ในยุคชิงถือเป็นยุคโชติช่วงชัชวาลของการผลิตเครื่องเคลือบจีน โดยเฉพาะในช่วงต้นถึงกลางยุคชิง เป็นยุคจุดสุดยอดในประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบดินเผาของเมืองจีน ซึ่งผลผลิตของเคลือบสีฟ้าขนนกยูงชนิดนี้ได้ตกต่ำลงในช่วงปลายยุคหมิง แทบจะได้เลือนหายไป แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยคางซีราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบสีฟ้าขนนกยูงก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา แล้วค่อยๆยกระดับจนถึงขั้นสูงสุดของประวัติศาสตร์เคลือบสีฟ้าขนนกยูง แต่ภายหลังตั้งแต่กลางยุคชิง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเคลือบสีฟ้าขนนกยูงก็ค่อยๆอัสดง

清初 孔雀蓝锥拱蕉叶夔纹觚/จอกเหล้าขาสูงลายใบกล้วยและเทพขุยเคลือบสีฟ้าขนนกยูง ต้นยุคชิง

清康熙 孔雀蓝釉爵杯/จอกพระราชาเคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยคางซีราชวงศ์ชิง

乾隆 孔雀蓝釉剔花扁盒/ชามแบนสลักลายดอกไม้เคลือบสีฟ้าขนนกยูง รัชสมัยเฉียนหลง


      【การพัฒนาและการชุบชีวิตในยุคจีนใหม่


        หลังการสถาปนาประเทศจีนใหม่(ปี1949) ทางโรงงานเครื่องเคลือบแห่งชาติและโรงงานเครื่องเคลือบแกะสลักได้ทำการพัฒนายกระดับเคลือบสีฟ้าขนนกยูงอีกครั้ง

50年代 孔雀蓝釉剔刻缠枝牡丹纹瓶/แจกันสลักลายดอกโบตั๋นรอบไหล่เคลือบสีฟ้าขนนกยูง ผลิตที่จิ่งเต๋อเจิ้นในปี 1954

        ล่าสุด ทางเฟซเพจของ “China Xinhua News” ในวันที่ 7 มี.ค. ศกนี้ ได้นำเสนอเก๋อหยวนเซิง คุณปู่วัย 81 ปี ผู้ซึ่งได้ทำการทดลองเครื่องเคลือบสีฟ้าขนนกยูงที่เคยเลือนหายจากหน้าประวัติศาตร์ถึงเกือบ 1000 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาและชุบชีวิตเครื่องเคลือบสีฟ้าขนนกยูงกลับมาให้โดดเด่นยิ่งขึ้น (ข่าวซินหัว : https://www.xinhuathai.com/china/183452_20210307)

葛原生/เก๋อหยวนเซิง---เป็นผู้สืบทอด “ศิลปะการเผาเคลือบสี” ที่ถูกบรรจุอยู่ในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติในปี 2008

▲หนึ่งในผลงานเคลือบสีฟ้าขนนกยูงของ เก๋อหยวนเซิง




เอกสารอ้างอิง :
1. 高贵冷艳 , 低调神秘-孔雀蓝釉 : https://3g.163.com/dy/article/EMCCSGJT05416IC5.html?spss=adap_pc

2. 孔雀蓝釉 : 那一抹雨过天晴的惊艳 : https://collection.sina.cn/taoci/2016-08-26/detail-ifxvixeq0505654.d.html?from=wap

3. 孔雀蓝釉瓷器怎么鉴定 , 诀窍有几点 : https://m.sohu.com/a/165994482_99893171/?pvid=000115_3w_a