การหมักชาสุกลึกลับมาก?
ในกระบวนการหมัก การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์เหลือคณานับ สิ่งที่พวกเรารู้มีเพียงน้อยนิด เมื่อหวนนึกถึงนมเปรี้ยว แฮม โยเกิร์ตที่ทานเป็นประจำ ก็แทบจะไม่มาสนใจกับมัน
การหมักชาสุกสกปรกมาก?
ห้องหมักที่มืดสลัวดูเหมือนไม่ค่อยเย็นสดชื่น ดูการหมักเหล้าขาวและไวน์แล้ว ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ทำไมพวกเราถึงมีความรู้สึกว่ากระบวนการเหล่านั้นมีความสละสลวยมาก?
1) การหมักคืออะไร?
การหมักก็คือกระบวนการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์ แปรสารประกอบเดิมในวัตถุดิบโดยการย่อยสลายเปลี่ยนเป็นสารประกอบใหม่ การหมักเกิดขึ้นทั่วทุกมุมของโลก และก็เกิดขึ้นภายในร่างกายของพวกเรา และก็เกิดขึ้นทุกๆวัน
ต่างเป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ ล้วนทำให้อาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดกลิ่นแปลกปลอม การหมักและเปื่อยเน่ามีความแตกต่างอย่างไงกันแน่? ความเป็นจริง จากมุมมองของจุลินทรีย์ พวกมันถือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มองจากมนุษย์แล้ว ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์จึงถือเป็นการหมัก ที่มีโทษก็คือเปื่อยเน่า___食帖《腐的品格》
2) แก่นสารของขั้นตอนการหมัก : การเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและการแปรเปลี่ยน
การหมักของชาสุก อธิบายง่ายๆ ก็คือ :
นำเหมาฉาตากเขียว(ชาเส้น/ชาดิบผูเอ่อร์)มากองรวมกัน รดน้ำ การหมัก (ดั้งเดิม 1 กองใหญ่ก็คือ 5-10 ตันใบชา ปัจจุบันมีคนทดลองทำการการหมักใบชาในปริมาณน้อยๆ)
ในกระบวนการนี้ ภายในชากองใหญ่จะเกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์จำนวนมาก อุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น เป็นไปตามสภาพการณ์ของการหมักใบชา ประมาณ 7 วัน จะทำการพลิกกอง 1 ครั้ง หลังจากการพลิกกอง 4 ครั้ง การหมักก็เป็นอันเสร็จสิ้น
หลังการหมักเสร็จสิ้น จำเป็นต้อง “เปิดร่อง/开沟” เพื่อการผึ่งให้แห้งอย่างช้าๆจนจบกระบวนการหมัก ระยะเวลาของกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและสถานที่ สภาพอากาศดีก็แห้งเร็ว ช่วงหน้าฝนก็จะแห้งช้าหน่อย
พูดตามหลักการ กระบวนการการหมักชาสุกจะเหมือนเหล้าขาวและไวน์มากที่สุด เป็นกระบวนการหมักซ้ำซ้อนที่ “การเปลี่ยนเป็นน้ำตาล/糖化” และ”การหมัก/发酵” เกิดขึ้นพร้อมกัน
การหมักส่วนใหญ่ก็คือกระบวนการที่ยีสต์กินน้ำตาล แล้วก่อเกิดเป็นสารชนิดอื่นๆ อย่างเช่นไวน์
การหมักเหล้าขาวจะใช้ข้าวสาร อาหารแป้งไม่สามารถถูกยีสต์ใช้ได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนหน้าการหมักจึงต้องเตรียม “การเปลี่ยนเป็นน้ำตาล” ล่วงหน้า___จุลินทรีย์บางชนิด(ทั่วไปเป็นเชื้อรากลุ่ม Aspergillus)นำน้ำตาลกลูโคสในแป้งปลดปล่อยออกมา
การหมักชาสุกก็ทำนองเดียวกัน ช่วงก่อนหน้าการหมักต้องให้จุลินทรีย์นำน้ำตาลกลูโคสในชาปลดปล่อยออกมา ก็คือ “การเปลี่ยนเป็นน้ำตาล” ต่อจากนั้นยีสต์ก็กินน้ำตาลแล้วเกิดการหมัก
“การเปลี่ยนเป็นน้ำตาล” ในช่วงก่อนหน้าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของจุลินทรีย์ ช่วงหลังเป็น “การหมักโดยยีสต์” กระบวนการนี้มีลำดับก่อนหลัง แต่ก็มีการเกิดเคียงคู่กัน
แล้วทำไมถึงต้องทำการพลิกกอง?
เนื่องจากการหมักใบชาเป็นที่ตายตัว การพลิกกองจึงจะสามารถทำให้การหมักถัวเฉลี่ยเท่ากันได้
3) ผลลัพธ์ของการหมักคืออัตราการเปลี่ยนแปลง : ทะลุกอง
จะทำความเข้าใจกับกรรมวิธีการผลิตชาสุกได้อย่างไร?
ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นเทคโนโลยีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกองใหญ่ กองเล็ก ห่างพื้น ติดพื้น เพาะกล้าเชื้อ หลักการสำคัญคือต้อง “ทะลุกอง/透”
นี่ก็เหมือนกับการนึ่งแป้งหมักหมั่นโถว เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า แป้งหมักต้องขนาดใหญ่พอสมควร จึงนึ่งแป้งออกมาได้หมั่นโถวที่ฟูทะลุแป้งได้ง่าย จึงมีเนื้อที่นุ่มฟูอร่อย___นี่ก็เปรียบเสมือนการเข้าสู่ขั้นตอนการหมักกองใหญ่
หลังจากนั้น สมาชิกในครอบครัวมีน้อยลง ต้องลดขนาดของแป้งหมักลงจนใหญ่ไม่เพียงพอ ดังนั้น รสชาติที่ได้ออกมารู้สึกเป็นรสที่ผิดเพี้ยน ไม่มี “รสชาติสมัยเป็นเด็ก”___นี่ก็เหมือนกับการหมักกองเล็ก ซึ่งอาจหมักไม่ทะลุกอง ไม่มีความเสถียร
คนทางเหนือบางส่วนจะรู้จักทำหมั่นโถวแป้งเก่า ซึ่ง “แป้งเก่า/老面” ก็คือ “แป้งหัวเชื้อ/面种子” มีผลเหมือนกับยีสต์ เป็นก้อนแป้งหมักที่เหลือจากการทำหมั้นโถววันก่อน นำมาเป็นเชื้อหมักผสมกับแป้งใหม่
มีคนเริ่มทดลองเติมเชื้อยีสต์ นี่มิใช่หรือ แนวคิดที่ขนมปังทุกวันนี้ล้วนตีตราว่าเชื้อยีสต์นำเข้า?
นี่ก็เหมือนกับแนวคิด “การหมักกล้าเชื้อ/菌种发酵” ที่เป็นกระแสในช่วงเวลานึง
แต่เทคโนโลยีการเติมกล้าเชื้อไม่เหมือนกับแป้งหมัก สภาพแวดล้อมของชาผูเอ่อร์จะสลับซับซ้อนกว่าแป้งหมักพอสมควร
ยีสต์จะต้องมีน้ำตาลที่เพียงพอจึงสามารถทำงานได้ น้ำตาลในตัวแป้งและองุ่น(ไวน์)มีเพียงพอแล้ว ส่วนการหมักของชาผูเอ่อร์ ซึ่งช่วงก่อนหน้าจะต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มอื่นนำน้ำตาลในชาสลายออกมาจึงใช้ได้
การเติมสะเปะสะปะ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์จะดำรงอยู่รอดได้ยาก หลักสำคัญก็ยังต้องชี้นำสภาพแวดล้อมการหมัก---เพื่อให้จุลินทรีย์ที่คุณต้องการมี “สนาม” ที่ดี
ชาผูเอ่อร์ในอนาคตอาจจะยังมีความเป็นไปได้อีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการหรือเครื่องมือใดๆ หลักการสำคัญคือทำชาให้หมัก “ทะลุกอง”
ชาที่หมักทะลุกอง ก็เหมือนหมั่นโถวที่ฟูทะลุแป้ง เนื้อนุ่มฟูอร่อยจ้า...
เอกสารอ้างอิง :
这样理解熟茶发酵 , 你会比99%的人更清晰 : https://m.puercn.com/show-13-199494.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น