วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

การพัฒนาและทางเลือกของชาสุก (ตอนที่1)



        ภายใต้ข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่อิ่มตัวในธุรกิจชาผูเอ่อร์ คนชาที่พิถีพิถันเมื่อดื่มชาสุกแต่ละชนิดล้วนต้องสอบถามถึงเทคโนโลยีและอายุปีของการหมัก เป็นไปตามความมากมายของผลิตภัณฑ์และการพัฒนาของตลาด เทคโนโลยีการหมักชาสุกจำนวนมากก็ค่อยๆก่อเกิดเป็นระบบทฤษฎีขึ้นมา เช่น : เทคโนโลยีการหมักกองใหญ่แบบดั้งเดิม เทคโนโลยีการหมักกองเล็ก เทคโนโลยีการหมักเติมกล้าเชื้อจุลินทรีย์ เทคโนโลยีของกฎวิวัฒนาการใบชา.....


        1)  จุดประสงค์ของการหมัก


        การหมักชาสุกก็คือผ่านการปรับตัวจุลินทรีย์ไปเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะประจำตัวของใบชา

        เดิมสสารที่ไม่ละลายในน้ำถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายออกมาละลายในน้ำ ทำให้โครงสร้างของสารมีฤทธิ์เกิดการเปลี่ยนแปลง นำพาใบชาเปลี่ยนเป็นบุคลิคที่อบอุ่นและหนานุ่ม นี่ก็คือจุดประสงค์ของการหมัก

▲บุคลิคที่อบอุ่นและหนานุ่ม-จุดประสงค์ของการหมักชาสุก


        2)  การหมักลักษณะแบบไหนถือเป็นการหมักที่ดี?


        ก่อนอื่นขอบัญญัติคำอรรถาธิบายก่อน

        คุณภาพชาสุกที่พวกเราแสวงหาคือมวลน้ำชาหนานุ่ม ซึ่งในน้ำชาที่ตัดสินความหนานุ่มคือปริมาณองค์ประกอบของโพลิแซคคาไรด์ที่ละลายในน้ำ

        จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเจริญเติบโตยิ่งมาก ยีสต์เจริญเติบโตยิ่งมาก โพลิแซคคาไรด์ที่ละลายในน้ำก็จะเกิดขึ้นมาก ปริมาณองค์ประกอบของโพลิแซคคาไรด์ที่ละลายในน้ำยิ่งสูง ความหนานุ่มของชาสุกจะยิ่งสูง

▲มวลน้ำชาหนานุ่ม-คุณภาพชาผูเอ่อร์หลังการแปรเปลี่ยนของจุลินทรีย์
 

        ในนี้มีปัญหาของประสิทธิภาพของการหมักดำรงอยู่ จุลินทรีย์มิใช่ไปเพิ่มความหนานุ่มของน้ำชาอย่างไม่มีเหตุมีผล มันก็มีต้นทุนของการทำลาย ต้องใช้น้ำตาลในใบชาเป็นพลังงานป้อนให้แก่จุลินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าจุลินทรีย์สุดท้ายจะทำลายน้ำตาลเชิงเดี่ยวในใบชาจนหมดสิ้น ขณะเดียวกันสารไกลโคไซด์ที่สามารถสลายด้วยน้ำออกมาเป็นน้ำตาลก็จะมลายในอัตราส่วนจำนวนหนึ่ง 


        จุลินทรีย์ด้านหนึ่งเป็นตัวทำลาย อาศัยสารพลังงานในตัวใบชา อีกด้านหนึ่งมันก็ทำให้เกิดสารที่บรรลุความรู้สึกหนานุ่ม ก็คือโพลิแซคคาไรด์ที่ละลายในน้ำ

        มองจากสองด้านนี้ จะทำเทคโนโลยีการหมักให้มีความสมดุลได้อย่างไร?

        สารมีฤทธิ์ที่จุลินทรีย์ทำลายยิ่งน้อย โพลิแซคคาไรด์ที่เกิดขึ้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นยิ่งมาก การหมักลักษณะนี้ก็คือการหมักที่ดี 


        ลำดับต่อไป ขอยกตัวอย่างลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีการหมักในหลายรูปแบบ---


        3)  การหมักกองใหญ่แบบดั้งเดิม 


▲การหมักกองใหญ่แบบดั้งเดิม

        ลักษณะเฉพาะของการหมักกองใหญ่ : กองจะใหญ่ สภาพแวดล้อมคงที่ หมักทะลุกอง แต่เกิดกลิ่นหมักได้ง่าย


        ยกตัวอย่าง ส่วนผสมของแป้ง(ขนมปัง)ถ้าหากไม่เติมเชื้อยีสต์จากการเพาะเชื้อ โดยให้มันเกิดการหมักตามธรรมชาติ แป้งผสมก้อนเล็กจะฟูตัวได้ไม่ง่าย แป้งผสมก้อนใหญ่โดยเทียบเคียงจะฟูตัวได้ง่าย เพราะเหตุใด? เนื่องจากขนาดยิ่งใหญ่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ก็ยิ่งเสถียร จุลินทรีย์ก็ยิ่งเจริญเติบโตได้ง่าย


        การหมักกองใหญ่โดยเปรียบเทียบกับการหมักกองเล็ก ปริมาณเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สะสมขึ้นมาได้ง่าย นี่เพราะขนาดเป็นตัวกำหนด และนี่ก็เป็นจุดเด่นของกองใหญ่ ประกอบกับมันเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการมากที่สุดในชาสุกผูเอ่อร์ยุคปัจจุบัน สะสมประสบการณ์เริ่มต้นจากปี 1973 จนถึงปัจจุบันรวมเกือบ 50 ปี 

▲การหมักกองใหญ่แบบดั้งเดิม-สะสมประสบการณ์เริ่มต้นจากปี 1973 จนถึงปัจจุบันรวมเกือบ 50 ปี


        เทคโนโลยีรูปแบบนี้มีข้อเสียอะไรบ้าง?

        ข้อจำกัดมาก เริ่มต้นก็ต้องใช้วัตถุดิบ 5-10 ตันไปทำการหมัก โดยทั่วไปธุรกิจขนาดเล็กให้นำวัตถุดิบ 5 ตันออกมาจะค่อนข้างลำบากมาก ไม่เพียงแค่นำออกมาทำ ตลอดกระบวนการจนถึงสุดท้ายกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชาสุกก็ต้องอาศัยระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ระยะสั้นก็ครึ่งปีระยะยาวก็หลายปี นี่ล้วนเป็นข้อจำกัดที่สูงมาก


        ข้อจำกัดมากเป็นข้อเสียหรือไม่?

        จากมุมมองการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ใช่ ถ้าหากมีการหมักกองใหญ่เพียงเทคโนโลยีเดียว จะนำพาคนที่สามารถเข้ามามีน้อยมาก คนที่สามารถทำการศึกษาวิจัยยิ่งมีน้อยมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะยิ่งช้า


        ยังมีอีกจุดหนึ่งก็คือกองขนาดใหญ่ จำนวนของจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตก็จะมาก ขนาดของจุลินทรีย์ปนเปื้อนในกลุ่มจุลินทรีย์ก็จะมีจำนวนค่อนข้างมาก ก็เป็นเหตุให้ชาใหม่มีกลิ่นจุลินทรีย์ปนเปื้อน ซึ่งก็คือกลิ่นหมักกอง ที่ต้องอาศัยเก็บไว้ช่วงเวลาหนึ่งเพื่อกำจัดกลิ่นหมักกอง (ในสถานที่ทำการหมักที่สะอาด ถ้าโชคดีก็สามารถพบเห็นชาหมักที่ไม่มีกลิ่นหมักกอง)


เอกสารอ้างอิง :

2021发酵技术大盘点 : 熟茶的发展与选择https://m.ipucha.com/show-167-6833.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น