วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 1/3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 1/3 : GABA  คืออะไร?

     

     สรรพคุณของชาผูเอ๋อร์ในการบำรุงสุขภาพยังมีข้อโต้เถียงกันมากมาย โดยเฉพาะข้อโต้แย้งที่ร้อนแรงที่สุดที่กล่าวว่าชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิตได้ สำหรับผู้คนที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เกิดจากประสบการณ์เป็นหลัก อาจได้จากข้อมูลข่าวสาร(ไม่ว่าแบบละเอียดลึกหรือแบบผ่านๆ) ส่วนใหญ่จะได้จากการรับรู้โดยตนเองแล้วแปรนำไปกล่าวอ้างจนคุ้นเคย ส่วนผู้คนที่ไม่เห็นด้วยมีความคิดเห็นว่า ที่กล่าวกันว่าชาผูเอ๋อร์สามารถลดความดันโลหิตยังขาดหลักฐานทางวิทยาสาสตร์ เพียงแค่ผ่านการรับรู้ได้จากตนเองแล้วคิดว่าชาผูเอ๋อร์มีสรรพคุณลดความดันโลหิตได้เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เพราะหากจะพิสูจน์ชาผูเอ๋อร์ลดความดันโลหิตได้จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ 1. สารประกอบทางเคมีชนิดใดบ้างในชาผูเอ๋อร์มีผลต่อการลดความดันโลหิต 2. สารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดกลไกการลดความดันโลหิตได้อย่างไร แน่นอนยังต้องประกอบด้วยกระบวนการทดสอบได้ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่ใช่ครบถ้วนแค่ “คืออะไร”? สิ่งสำคัญคือ “เพราะอะไร”?

     มีนักศึกษาวิจัยจำนวนมากมาวังวนกับโจทย์ข้างต้นแล้วเสนอผลงานวิจัยออกมามากมาย ได้ให้คำตอบออกมาบ้าง แต่มี 2 สมมุติฐานที่น่าสนใจ คือ

     1. ไม่ว่าชาสุกหรือชาดิบเก่าผูเอ๋อร์(หมายถึงผ่านพัฒนาการ 20 ปีขึ้นไป)จะพบเห็นกลุ่มสาร Statin เช่น Lovastatin, Simvastatin เป็นต้น สารประกอบเคมีเหล่านี้มีสรรพคุณในการลดไขมันในเลือด เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปจะมีลักษณะของโรคไขมันในเลือดสูงด้วย ถือเป็น”ผู้ร้ายตัวจริง(原凶)”สาเหตุของความดันโลหิตสูง กรณีทั่วไป การรักษาโรคความดันโลหิตสูงก่อนอื่นจะมาลดไขมันในเลือด แต่ข้อเท็จจริงนี้เป็นไปได้ยาก เพราะจากการตรวจสอบชาผูเอ๋อร์ สามารถตรวจหาสารประกอบเคมีเหล่านี้มีปริมาณน้อยมากประกอบอยู่ ซึ่งจะไม่มีความหมายด้าน”สรรพคุณทางยา(药效)” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในบรรดาอาหารจากการหมักส่วนใหญ่ เมื่อศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์โมเลกุล(分子学)สามารถตรวพบกลุ่มสาร Statin ประกอบอยู่ อย่างเช่น นมเปรี้ยว ขนมปัง แม้แต่เหล้า จะพบสารอนุพันธ์นี้ที่ได้จากกลไกการหมักอาจมีชนิดเดียวหรือหลายชนิด แต่มีปริมาณน้อยมาก ไม่มีสรรพคุณของ”คุณสมบัติทางยา(药性)” ดังนั้น ที่กล่าวว่าสารนี้ในชาผูเอ๋อร์สามารถลดไขมันในเลือดแล้วเกิดผลทางอ้อมในการลดความดันโลหิตนี้โอกาศเป็นไปได้น้อยมาก หรืออาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อ

     2. การขับปัสสาวะเพื่อลดความดัน นี้เป็นข้อคิดเห็นทางวิชาการของผู้เขียนที่ได้เขียนเผยแพร่เมื่อหลายปีก่อน(ปี2008) ตอนนั้นผู้เขียนเห็นว่า คาเฟอีนในชาผูเอ๋อร์สามารถแยกประจุโซเดียมในเลือดได้ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง และคาเฟอีนยังไปกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะเกิดผลทางขับปัสสาวะได้ แล้วทำให้มีผลลดความดันโลหิตได้ในที่สุด เพราะยาที่ใช้รักษาลดความดันโลหิตทางตรงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องทางขับปัสสาวะ แต่ว่า ข้อคิดเห็นนี้ ณ วันนี้ดูไปดูมาเป็นเรื่องเหลือเชื่อ สาเหตุสำคัญคือสารที่เป็นข้อโต้แย้ง---คาเฟอีน เพราะเราสามารถตั้งข้อสงสัยอีกด้านได้ว่า : ชาผูเอ๋อร์มีคาเฟอีนเหลือประกอบอยู่อีกหรือไม่ หรือจะกล่าวว่า อาหารที่มีคาเฟอีนประกอบอยู่มากก็จะมีผลต่อกลไกการลดความดันโลหิตเช่นกัน แน่นอนคำตอบคือ ไม่

     ความเป็นจริง ในชาผูเอ๋อร์มีสารชนิดหนึ่งที่เราได้มองข้ามไป มันก็คือ GABA (Gramma AminoButyric Acid ;γ-氨基丁酸) ถ้าหากจะกล่าวว่าในชาผูเอ๋อร์ประกอบด้วยสารประกอบเคมีต่างๆอาจมากหรือน้อยที่มีสรรพคุณทางอ้อมต่อการลดความดันโลหิตแล้ว ถ้าเช่นนั้น สารที่มีผลทางตรงและแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ก็คือ สารอนุพันธ์ที่ได้จากกลไกการหมักของชาผูเอ๋อร์ : GABA

     ผู้เขียนเริ่มมาให้ความสนใจ GABA เนื่องจาก”ภารกิจ(公案)”หนึ่งเกี่ยวข้องกับชาผูเอ๋อร์ ที่เมื่อดื่มชาผูเอ๋อร์แล้วทำไมไม่เกิดผลทำให้นอนไม่หลับ นี้เป็นปริศนาที่ยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่า ชาผูเอ๋อร์เมื่อผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนแล้ว คาเฟอีน...”ฆาตกร(凶手)”ที่ทำให้นอนไม่หลับจะค่อยๆหมดไป แต่จากการวิเคราะห์ทางเคมีในชาผูเอ๋อร์กลับพบว่าข้อสรุปนี้ไม่ถูกต้อง ในชาผูเอ๋อร์นอกจากจะมีคาเฟอีนประกอบอยู่แล้วยังมีปริมาณสูงกว่าชาเขียวและชาอูหลง ฉาเกาผูเอ๋อร์ที่ผลิตจาก Mountain Tea Products (Kunming) Co., Ltd. (蒙顿茶制品(昆明)有限公司) ตรวจสอบโดย The Ministry of Agriculture Tea Quality Supervision and Testing Center(农业部茶叶质监督检测中心) พบว่ามีคาเฟอีนประกอบอยู่สูงถึง 8.46% ถือเป็นชาที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงที่สุดในบรรดาชาทั้งหมด แต่หลังการดื่มไม่มีผลต่อการนอนหลับ นี้เป็นเพราะสาเหตุใด?

     คำตอบคือ GABA เพราะศักยภาพทางชีวภาพพื้นฐานที่สุดของ GABA คือ ลดการออกฤทธิ์ของเซลล์ประสาท(神经元活性) ป้องกันไม่ให้เซลล์ประสาทร้อนเกินไป เกิดผลทำให้รู้สึกสงบ เป็นผลที่ตรงกันข้ามกับคาเฟอีน พูดอีกนัยหนึ่ง  GABA จะไปลบล้างคาเฟอีนที่ไปกระตุ้นระบบศูนย์ประสาทให้มีผลน้อยลงหรือหมดไป ข้อคิดเห็นนี้ ในปี 2008 ผู้เขียนได้เสนอออกมาครั้งแรกแล้วในบทความ4 คุณค่าของชาผูเอ๋อร์คุณค่าที่ 3 : คุณค่าทางพัฒนาการ

     เมื่อมีการศึกษาวิจัยชาผูเอ๋อร์ต่อจากนั้นมา ได้ค้นพบอีกว่า  GABA ในชาผูเอ๋อร์นอกจากสรรพคุณทำให้รู้สึกสงบลงแล้ว ยังมีสรรพคุณที่เหนือกว่าก็คือลดความดันโลหิต

     GABA คืออะไร?

     ชื่อทางภาอังกฤษ : γ- Aminobutyric Acid ชื่อทางเคมี : 4-Aminobutyric Acid สูตรโมเลกุล : C4H9NO2 น้ำหนักโมเลกุล : 103.1 ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพืชและสัตว์ พวกพืชอย่างเช่น ต้นไม้ใบใหญ่ ตระกูลถั่ว ตระกูลโสม เมล็ด รากและของเหลวในเนื้อเยื่อของสมุนไพรจีนก็จะมี GABA ประกอบอยู่

     GABA เป็นกรดอะมิโนที่ไม่ใช่ประเภทโปรตีน(非蛋白质氨基酸) ตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 เริ่มมีการศึกษาวิจัย GABA เพิ่มมากขึ้น จนถึงทศวรรษที่ 90 ถือเป็นจุดสูงสุด ผลงานวิจัยได้ถูกเสนอออกมามากมาย โดยเฉพาะการมีฤทธิ์ทางชีวภาพของ GABA มีการค้นพบสิ่งที่สำคัญหลายด้าน :

     (1) ช่วยทำให้รู้สึกสงบ (镇静神经)  ลดอาการวิตกกังวล (抗焦虑)
ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่า GABA เป็นสาร Inhibitory Neurotransmitter (抑制性神经递质) ทำให้ Sympathetic Nervous System (交感神经) ออกฤทธิ์น้อยลง แล้วฟื้นฟู Parasympathetic Nervous System (副交感神经) มีฤทธิ์กลับคืนมา GABA receptors (受体) จะออกฤทธิ์เพื่อไปลดหรือหยุดการรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นสื่อผ่านประสาทไปยังสมองส่วนกลาง

     (2) ลดความดันโลหิต (降低血压)
GABA สามารถทำให้หลอดเลือดส่วนกลางในไขสันหลังเกิดการขยายตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้

     (3) รักษาโรคภัยไข้เจ็บ (治疗疾病)
ในปี 1997 ผลงานวิจัยของ Okuma Makototaro ได้แสดงให้เห็นว่า GABA และโรคบางชนิดมีความสัมพันธ์กัน คนที่ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันจะมีความเข้มข้นของ GABA ในไขสันหลังต่ำ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคลมบ้าหมูก็มีความเข้มข้นของ GABA ในไขสันหลังต่ำกว่าปกติทั่วไป ผลงานวิจัยของภาควิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า GABA มีผลในการบำบัดรักษากลุ่มของอาการโรค(Syndrome) นอกจากนั้น ถ้า GABA ในระบบประสาทลดลงมีส่วนเกี่ยวข้องของการเกิดโรค Huntington อัลไซเมอร์ และโรคประสาท

     (4) ลดแอมโมเนียในเลือด (降低血氨)
นักศึกษาวิจัยทางเวชศาสตร์คลินิกของจีนและญี่ปุ่นมีข้อคิดเห็นเหมือนกันว่า GABA สามารถยับยั้งการเกิด Glutamate Acid Decarboxylic Reaction (谷氨酸脱羧反应) ทำให้แอมโมเนียในเลือดต่ำลง  Glutamate Acid จำนวนมากจะไปรวมตัวกับแอมโมเนียแล้วไปอยู่ในน้ำปัสสาวะแล้วถูกขับออกไป เป็นการขับสารพิษแอมโมเนีย เป็นการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของตับ เมื่อ GABA เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เอนไซม์ Phosphoesterase (磷酸酯酶) มีฤทธิ์มากขึ้น ทำให้เซลล์สมองมีพลังมากขึ้น ไปเร่งเมตาบอลิซีมของระบบสมองและฟื้นฟูสมรรถภาพของเซลล์สมอง และปรับปรุงศักยภาพของระบบประสาท

     GABA สามารถผลิตโดยวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีหรือวิธีการสังเคราะห์ทางชีววิทยา วิธีการสังเคราะห์ทางเคมีรายงานไว้ในสิทธิบัตร จะมีต้นทุนสูงแต่ประสิทธิผลต่ำ และในกรรมวิธีการผลิตจะต้องใช้สารละลายที่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษ ดังนั้น GABA ที่ผลิตโดยวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีไม่เหมาะที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร และไม่ถือเป็นสารปรุงแต่งอาหารจากธรรมชาติ

     การสังเคราะห์ทางชีววิทยาเมื่อเปรียบเทียบแล้วเป็นวิธีที่ปลอดภัยและต้นทุนต่ำ การศึกษาช่วงแรกจะใช้แบคทีเรีย E.Coli (大肠肝菌) เป็นเชื้อในการหมักเพื่อให้ได้ GABA ในกลไกการหมัก เอนไซม์ E.Coli Decarboxylase (大肠肝脱羧酶) จะทำการสลาย L-Glutamate Acid แปรเปลี่ยนเป็น  GABA แล้วผ่านการแยกและทำ GABA ให้บริสุทธิ์ จากผลงานวิจัยและสิทธิ์บัตรล่าสุด จะใช้ Lactobacillus (乳酸菌) Yeast (酵母菌) Aspergillus (曲霉菌) เป็นต้น ถือเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงมาผลิต GABA สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร GABA จากชีววิทยามีสรรพคุณดีเลิศใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารบำรุงสุขภาพ

     GABA จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ในกลางทศวรรษที่ 90 ORYZA Oil & Fat Chemical Co., Ltd. ของญี่ปุ่นได้พัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนี่งชื่อว่า GABA Rice Germ หลังจากนั้นไม่นาน สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารแห่งญี่ปุ่นได้มีการรายงานว่า ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ช่วยลดอาการซึมเศร้าและอาการโรคต่างๆได้ผลอย่างเด่นชัด เป็นการยืนยันได้ว่า GABA สามารถทำให้เกิดผลทางชีวภาพหลายๆด้านได้ และชี้ให้เห็นว่าอาหารที่ประกอบด้วย GABA ปริมาณสูงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วมีการผสม GABA เป็นองค์ประกอบในอาหารหลายชนิด เช่น ขนมปัง เครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา เป็นต้น

     สิ่งที่สำคัญในนี้ คือ ในทศวรรษที่ 80 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเครื่องดื่มชาที่สามารถขายได้เป็นเทน้ำเทท่า คือ ชา GABA ...

(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ ”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 03 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

อ่านตอนต่อไป : “เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2/3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น