วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"เล่าเรื่องใหม่" การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 2/3)

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์  ตอน...
“เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์
ตอนที่ 2/3 : ชา GABA  คืออะไร?




     ในปี 1987 Dr.Tsushida Tojiro นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นกำลังศึกษาวิจัยการปฏิรูปกรรมวิธีการผลิตชาเขียวอยู่นั้น ได้ค้นพบว่าเมื่อใบชาสดอยู่ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจนแล้วจะเกิดสาร  GABA เป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาทดลองกับสัตว์ได้ผลยืนยันในการลดความดันโลหิตได้เด่นชัดมาก หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้มาทำการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มปริมาณ GABA ในใบชาได้อย่างไร ผลลัพธ์ได้เทคโนโลยีและวิธีการอันมีประสิทธิภาพหลายๆวิธีด้วยกัน ที่กล่าวมาเพื่อจะขอนำเข้าสู่แนวคิดของชา GABA

     ชา GABA เรียกรวมในชื่อ Gabaron Tea หมายถึง ใบชาที่ต้องมี GABA ประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงอย่างต่ำ 150 mg/100 g ใบชา สมญานามของชา GABA จะแตกต่างจากชาเขียวและชาอูหลง เพราะเป็นชาเพื่อสุขภาพ ในญี่ปุ่นมีการเรียกชื่อต่างๆกัน เช่น ชาลดความดันโลหิต, Gabalong Tea, ชา γ-ลดความดัน เป็นต้น

     การพัฒนาชา GABA เพื่อสรรพคุณในการลดความดันโลหิต ความเป็นจริงจุดเริ่มต้นจากนักวิทยสศาสตร์ชาวสหรัฐ M.C. Stanton ในปี 1963 ได้ทำการทดลองใช้สาร GABA ฉีดเข้าไปในสัตว์หลายชนิด แล้วตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต ผลลัพธ์ : หมา(ปริมาณฉีด 11 µg/kg) และ กระต่าย(ปริมาณฉีด 19 µg/kg) มีความดันโลหิตลดลงเฉลี่ย 20%

     นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้อาศัยแนวทางนี้ จากมุมมองทางด้านเภสัชวิทยา(药理学)และโภชนศาสตร์คลินิก(临床营养学) ได้ค้นพบว่า GABA สามารถทำให้เอนไซม์ Glucose Phosphoesterase (葡萄糖磷酸酯酶)มีฤทธิ์มากขึ้น สามารถลดความดันโลหิตและลดปริมาณแอมโมเนียในเลือดได้ ดังนั้น พวกเขาจึงได้ทำการทดลองใหม่ที่โด่งดังต่อมา การทดลองครั้งนี้จะใช้ชา GABA โดยตรงและชาเขียวมาทำการกับหนูทดลอง โดยใช้หนูทดลองเพศผู้ 8 ขวบและมีความดันโลหิตสูงเบื้องต้น แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะไม่ใช้ NaCl(เกลือแกง) ส่วนอีกกลุ่มจะใช้ NaCl เพื่อทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แล้วแบ่งแยกโดยฉีดของเหลวของชา GABA และชาเขียวทั่วไป หลังผ่านไป 4 สัปดาห์ทำการตรวจเช็คการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและองค์ประกอบในน้ำเลือด ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า : ชา GABA และชาเขียวทั่วไปทั้งสองสามารถลดความดันโลหิตสูงที่เกิดจาก NaCl แต่ผลของชา GABA มีมากกว่า คือมีผลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด : ทำให้มีมุมมองใหม่เกิดตามมา คือ ถ้าดื่มชา GABA เป็นประจำ จะมีผลในการลดความดันโลหิตและบำรุงสุขภาพ ต่อจากนั้นมาถึงปลายทศวรรษที่ 90 นักวิทยาสาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ทำการทดลองทางคลินิกเป็นจำนวนมาก จนสรุปยืนยันว่า ชา GABA มีผลในการลดความดันโลหิตต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างเด่นชัด 

     ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็ได้มาทำการศึกษาความเป็นพิษของ GABA ที่มีต่อร่างกาย เพราะว่าสารยาทั่วๆไปจะเกิดผลข้างเคียง เมื่อผ่านการศึกษาจำนวนมากแล้วยืนยันได้ว่า ผลข้างเคียงของ GABA เป็นผลชั่วคราว จาการตรวจเช็คร่างกายทางคลินิกไม่ปรากฏมีสิ่งผิดปกติใดๆ เนื่องจากภายในร่างกายมีเส้นทางเมตาบอลิซึมของ GABA ปริมาณของ GABA ที่เกินความต้องการจะไม่เกิดการสะสมภายในร่างกาย เพราะจะถูกเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่อันตรายและไม่เกิดผลข้างเคียง สรุป ชา GABA มีความปลอดภัย

     ณ ที่นี้ ขอทำความเข้าก่อนว่า เทคนิคกรรมวิธีการผลิตชา GABA ที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นมา ไม่ใช่สิ่ง”เร้นลับ(神秘)” ที่แท้ชา GABA และชาเขียวทั่วไปหรือชาอูหลงไม่แตกต่างกันมาก เพียงแค่มี GABA ในปริมาณสูงกว่าอีกหน่อย เมื่อเทีบเคียงกับชาเขียวหรือชาอูหลง กระบวนการผลิตแบบเดียวกันของชาเขียวหรือชาอูหลงเพียงแต่เพิ่มขั้นตอน”การบ่มใบชาสดภายใต้สภาวะไม่มีก๊าซออกซิเจน(鲜叶厌氧处理)” ชา GABA ที่ผลิตได้จะอยู่ในรูปแบบของ ชาเขียว ชาอูหลง ชาแดง เป็นต้น ชา GABA ยังประกอบด้วยสารทีโพลิฟีนอล คาเฟอีน และสารอาหารสำคัญๆในปริมาณเช่นเดียวกับใบชาพื้นฐานทั่วไป ยังไม่หลุดพ้นจากคุณสมบัติเดิมของใบชา และลักษณะรูปภายนอกก็ไม่แตกต่างจากใบชาทั่วไป

     ชา GABA ที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นมาถือเป็นชะตากรรมที่มีมลทิน เพราะจากการบ่มใบชาสดโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิด Fatty Acid Ester (脂肪酸酯) ที่ทำให้ใบชามีรสกลิ่นแปลกปลอมของเปรี้ยวหวาน ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นยังสังเกตเห็นว่า ถ้าหากคัดแยกกิ่งก้านของใบชาออกแล้วชา GABA ที่ผลิตได้จะมีปริมาณ GABA ลดลง เพราะ GABA ส่วนใหญ่จะอยู่ในกิ่งก้านของใบชา แต่ถ้าใบชามีกิ่งก้านมากก็จะไม่เหมาะกับชาเขียวที่ต้องการความรู้สึกสัมผัสแบบดั้งเดิม

     ยังมีอีกจุด ต้นทุนของการบ่มใบชาสดภายใต้สภาวะไม่มีก๊าซออกซิเจนจะสูงมาก ธุรกิจการผลิตชา GABA ในญี่ปุ่นนิยมใช้วิธีแบบ Anaerobic (嫌气处理) โดย : นำใบชาสดที่เด็ดเก็บมาบรรจุในภาชนะ อัดก๊าซไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่อากาศ หรือใส่ใบชาลงในถุงแล้วดูดอากาศออกแล้วอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไป ปิดปากถุงให้แน่นสองชั้น แน่นอน พันธุ์ใบชา ฤดูการเด็ดเก็บ อุณหภูมิความชื้นและเวลาในการบ่มภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน ล้วนมีผลต่อการผลิตชา GABA ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ง่ายดายนัก

     เพราะฉะนั้น วิธีการแบบใหม่เพื่อมาทดแทนก็ปรากฏตัวขึ้นมา คือใช้วิธีการแบบผสม GABA ทางวิศวกรรมชีววิทยามีวิธีการหนี่งที่ใช้ของเหลวมาหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้โปรตีนถั่วเหลือง ผงกรดอะมิโนหรือกรดกลูตาเมตในการเพาะเชื้อ Lactobacillus (乳酸菌) แล้วนำ GABA ที่ผลิตได้ไปปรับให้มีความเข้มข้นในระดับที่กำหนดไปผสมในใบชาตอนขั้นตอนการนวดของกระบวนการผลิต ชา GABA ที่ผลิตได้จากวิธีนี้นอกจากต้นทุนต่ำแล้ว สามารถรับประกันปริมาณ GABA ระดัยสูงประกอบอยู่ และจะไม่มีกลิ่นรสชาติแปลกปลอมด้วย หลายปีมานี้มีบางองค์กรธุรกิจในฮกเกี้ยนและเจ้อเจียงของเมืองจีนได้เริ่มผลิตชา GABA อกกมาจำหน่ายแล้วด้วย และใช้วิธีการผลิตแบบนี้เช่นเดียวกัน แต่บังเอิญวิธีนี้กลับกลายเป็นแผลฉกรรจ์ของชา GABA นี้เป็นสาเหตุชา GABA ในญี่ปุ่นเคยรุ่งเรืองในทศวรรษที่ 80 หลังจากนั้นมา ไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาในญี่ปุ่น และไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดยุโรปและสหรัฐเช่นกัน

     เพราะการก่อกำเนิดของ GABA จะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่อแรงกดดัน(应激反应)ของพืช ปฏิกิริยานี้ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก เมื่อใบชาถูกบังคับให้อยู่ในภาวะไม่มีออกซิเจน ก็เป็นการเร่งให้เอนไซม์ Peroxidase (过氧化酶) ในใบชามีฤทธิ์มากขึ้น สารกลุ่มอะมิโนในใบชา เช่น Glutamic Acid (GA ;谷氨酸) และ Aspartic Acid (天冬氨酸) จะมีปริมาณน้อยลงภายใต้ปฏิกิริยาของเอนไซม์จะแปรเปลี่ยนเป็น GABA นี้เป็นการกำเนิดของ GABA ตามธรรมชาติ ข้อเท็จจริงเป็นกระบวนการที่จัดเรียงและประกอบรวมตัวไหม่ของสารอาหารในใบชา แต่เมื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน เพียงแค่ใช้วิธีผสม GABA ผิวเผินดูแล้วเรียบง่ายดีและสามารถสนองตอบความต้องการตามเป้าหมายซึ่งตรวจสอบทางเคมีได้ แต่มันถือเป็นการเติมเต็มจากภายนอก ไม่มีการละลายและสลายของสารประกอบอื่นๆในใบชา ลักษณะเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า ชา GABA ที่ไม่ผ่านกระบวนการไม่ใช้ออกซิเจน เป็นรอยมลทินจุดหนี่ง กล่าวให้ถูกต้อง นี้ไม่ถือเป็นชา GABA ก็เหมือนแตงโมที่ไม่มีรสหวานแต่ฉีดน้ำหวานเข้าไป แม้จะใช้น้ำอ้อยแท้ๆที่แตกต่างจากสารหวานในแตงโม ยังถือว่า”แตงโมฉีดน้ำหวาน”เป็นสินค้าของปลอม

หมายเหตุ : เดิมตั้งใจว่าจะให้บทความฯนี้จบในตอนที่ ๒ นี้ แต่เนื่องจากเนื้อหายาว ประกอบกับในการแปลไม่อยากย่อมากจนเนื้อหาใจความไม่ครบถ้วน และเพื่อแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆเน้นเนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น จึงขอแบ่งออกมาอีกตอน คือ ตอนที่ ๓ : ชาผูเอ๋อร์ คือ ชา GABA ที่บริสุทธิ์ที่สุด เป็นตอนจบ...แน่นอนครับ

(แปล-เรียบเรียง-ย่อ จากบทความ ”เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย เฉินเจี๋ย ปี 2011)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มี.ค. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/

อ่านตอนต่อไป : “เล่าเรื่องใหม่” การลดความดันโลหิตของชาผูเอ๋อร์ (ตอนที่ 3/3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น