เจี้ยนจ่านคือเครื่องดินเผาหรือเครื่องเคลือบ ?
ผู้คนมักนำเครื่องเคลือบและเครื่องดินเผามารวมเรียกเป็น “เครื่องเคลือบดินเผา” วิธีการเรียกเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าเครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบล้วนเป็น “ศิลปะแห่งไฟกับดิน” เนื่องจากการคิดประดิษฐ์เครื่องดินเผามาก่อน การคิดประดิษฐ์เครื่องเคลือบมาทีหลัง ดังนั้นการคิดประดิษฐ์ของเครื่องเคลือบในหลายๆด้านได้รับอิทธิพลจากการทำเครื่องดินเผา เช่นจากความรู้ของคนต่อการควบคุมความสามารถของไฟและต่อดินเหนียว เป็นต้น แต่เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบไม่ว่าจะเป็นทางด้านสมรรถนะทางกายภาพหรือทางด้านองค์ประกอบทางเคมี ล้วนมีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือ :
⑴ เนื้อดินปั้นของเครื่องดินเผาทำจากดินเหนียว วัตถุดิบเนื้อดินของเครื่องเคลือบเป็นดินขาวเกาลิน(ชื่อที่ได้จากการค้นพบดินขาวนี้ครั้งแรกในตำบลเกาหลิ่ง(高嶺村)เมืองจิ่งเต๋อเจิ้นในมณฑลเจียงซี)
⑵ เนื้อดินปั้นประกอบด้วยแร่เหล็กโดยทั่วไปสูงกว่า3% เนื้อดินเกาลินประกอบด้วยแร่เหล็กโดยทั่วไปต่ำกว่า3%
⑶ เครื่องดินเผาโดยทั่วไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ900°C ส่วนเครื่องเคลือบโดยทั่วไปต้องเผาที่อุณหภูมิ1300°C จึงจะสามารถเผาผนึกออกมาได้
⑷ เครื่องดินเผาส่วนใหญ่ไม่ชุบเคลือบ หรือชุบเคลือบเผาที่อุณหภูมิต่ำ เครื่องเคลือบส่วนใหญ่จะชุบเคลือบ
⑸ ลักษณะเนื้อดินของเครื่องดินเผาจะหยาบไม่ประณีต อัตราการดูดซึมน้ำของพื้นที่หน้าตัดจะสูง เครื่องเคลือบหลังผ่านการเผาผนึกแล้ว ลักษณะของเนื้อดินจะหนาแน่นแข็งแกร่ง โดยพื้นฐานของพื้นที่หน้าตัดไม่ดูดซึมน้ำ เสียงจากการกระเทาะจะสะท้อนก้องดังกังวานดั่งเสียงโลหะ
ตามการวิเคราะห์จากข้อมูลข้างต้นสามารถที่จะเชื่อได้ว่าศิลปการเผาของผลิตภัณฑ์เจี้ยนจ่านจากเตาเจี้ยน(建窑)สามารถนับเป็น “เครื่องเคลือบ”
คนจำนวนบางส่วนเชื่อว่าน่าจะถือเป็น “เครื่องดินเผา” จากจุดสำคัญที่เป็นเนื้อดินปั้น[เนื้อดินของเจี้ยนจ่านประกอบด้วยแร่เหล็กอย่างดี จะปรากฏออกเป็นสีดำภายใต้การเผาในภาวะบรรยากาศแบบรีดิวซิง(Reducing Atmosphere) ทั่วไปเรียกว่า “ดินดำ”]มาเป็นข้อโต้แย้ง
ศาสดาจารย์หลิว ถังเซิ้น(刘唐慎) ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการฟื้นฟูศิลปการเผาของเตาเจี้ยน โดยจากการพิจารณาทางลักษณะพิเศษของเจี้ยนจ่านแล้ว อันที่จริงเป็นชนิดที่อยู่ระหว่างเครื่องดินเผากับเครื่องเคลือบ---“สโตนแวร์”(炻器) หลักสำคัญคือตัดสินจากอัตราการดูดซึมของน้ำ ลักษณะพิเศษหนึ่งของเครื่องเคลือบคืออัตราการดูดซึมน้ำที่ต่ำมาก(อัตราการดูดซึมน้ำของเครื่องเคลือบยุคปัจจุบันจะต่ำกว่า0.5%) อัตราการดูดซึมน้ำของเจี้ยนจ่านต่ำเท่ากับ5% ดังนั้นอ้างอิงตามมาตรฐานของเครื่องเคลือบดินเผาแล้วจะยิ่งเข้าใกล้สโตนแวร์
ศาสดาจารย์หลิวยังเชื่อว่าปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเจี้ยนจ่านว่าถือเป็นเครื่องดินเผาหรือเครื่องเคลือบก็ยังดำรงการโต้เถียงกันอยู่ จากด้านที่แตกต่างกันทางลักษณะพิเศษของเจี้ยนจ่านที่แยกออกเป็นของเครื่องดินเผา เครื่องเคลือบ สโตนแวร์ ทุกวันนี้การกล่าวที่ผู้คนจำนวนมากยอมรับคือถือเป็น “ชนิดเครื่องเคลือบสีดำ”(黒瓷类) หลักสำคัญเป็นไปตามด้านต่างๆดังข้างล่างนี้ :
1. ผิวเคลือบ เจี้ยนจ่านเป็นเครื่องเคลือบที่ชุบเคลือบดำเผาที่อุณหภูมิสูง เครื่องเคลือบสีดำพัฒนาขึ้นมาบนพื้นฐานของเครื่องเคลือบสีเขียวอ่อน(青瓷)
2. วิธีการเผา ผิวด้านในเจี้ยนจ่านจะชุบเคลือบเต็มหมด ด้านนอกชุบเคลือบเพียงครึ่งเดียว(ก็คือชุบเคลือบไม่ถึงฐานวง) เป็นเพราะใช้วิธีการเผาแบบหงายขึ้น( 沿口正烧法:TurnFace Up Firing) ก็เพื่อต้องการปรับให้เข้ากับภาวะบรรยากาศรีดิวซิง ขณะเดียวกันถ้าหากด้านนอกชุบเต็มแล้วฐานถ้วยจะติดกับเครื่องกั้นแบบกล่อง กล่องกั้นและถ้วยจ่านจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ปัจจุบันอุณหภูมิการเผาเจี้ยนจ่านล้วนอยู่ที่1300°Cขึ้นไป เมื่อหยดน้ำหนึ่งหยดบนฐานของถ้วยจ่าน(ส่วนที่ไม่เคลือบ) ไม่มีอาการบ่งชี้ถึงการดูดซึมน้ำสักนิด เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่ามันได้กลายเป็นแก้ว(Vitrification)อย่างดีแล้ว
3. โครงสร้างอนุภาค เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบดำรงความแตกต่างอย่างชัดเจนบนรูปลักษณ์ภายนอกและโครงสร้างอนุภาค ถึงแม้ว่าทั้งสองล้วนประกอบขึ้นจากสารที่อยู่ในสถานะผลึก สารที่อยู่ในสถานะแก้วและฟองอากาศ แต่ความหยาบละเอียด ระดับความหนาแน่นและความพรุนที่ไม่เหมือนกัน หลักสำคัญของการทำเครื่องดินเผาคือใช้วัตถุดิบดินเหนียว กรรมวิธีการทำอย่างเรียบง่าย อุณหภูมิการเผาค่อนไปทางต่ำ(ทั่วไปประมาณที่1000°C ความหนาแน่นต่ำ ความพรุนสูง ความสามารถในการดูดซึมน้ำสูง) การพัฒนาของเครื่องเคลือบก็คือใช้วัตถุดิบของพื้นที่ เจี้ยนจ่านก็โดยการใช้สารเคลือบของท้องถิ่นที่มีแร่เหล็กประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ขณะเดียวกันสารเคลือบของเจี้ยนจ่านถือเป็นเคลือบหินปูนชนิดหนึ่ง(石灰釉:เคลือบของผลึกเหล็กแคลเซียม) มาตรฐานที่สำคัญมากในการตัดสินเครื่องเคลือบคืออัตราส่วนองค์ประกอบของซิลิคอนออกไซด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในน้ำเคลือบทั้งหลายของเครื่องเคลือบ
4. ระดับความยากของการเผา การเผาผนึกของเจี้ยนจ่านอันเนื่องจากขอบเขตอันจำกัดของปัจจัยหลายๆประการ สามารถกล่าวได้ว่าเจี้ยนจ่านเป็นเครื่องเคลือบสีเชิงเดี่ยวที่เผายากมากที่สุด อัตราผลผลิตต่ำมาก
▲เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนผลงานของลู่ จินสี่(陆金喜) ที่ถูกยกย่องจากวงการเจี้ยนจ่านทั่วโลกว่า ณ ปัจจุบันถือเป็นเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่ใกล้เคียงโยเฮนเทนโมกุที่บนโลกนี้เหลืออยู่3ชิ้นสมบูรณ์ที่เก็บรักษาอยู่ในญี่ปุ่น และอีกหนึ่งเศษชิ้นงานของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยนที่ถูกขุดพบในเมืองจีนมากที่สุด
▲ยุคสมัยใหม่ เจี้ยนจ่านจัดแบ่งตาม “ลายสีของผิวเคลือบธรรมชาติ” ออกเป็น 5 ชนิด
▲เจี้ยนจ่านขนกระต่าย (兔毫建盏)
▲เจี้ยนจ่านหยดน้ำมัน (油滴建盏)
▲เจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน (曜变建盏:โยเฮนเทนโมกุ)
▲เจี้ยนจ่านทองดำ (乌金建盏)
▲เจี้ยนจ่านหลากสี (杂色建盏)
▲ผิวด้านนอกเจี้ยนจ่านชุบเคลือบเพียงครึ่งเดียว
▲วิธีการเผาแบบหงายขึ้น(正烧法)และคว่ำลง(复烧法)
หมายเหตุ : ท่านทราบหรือไม่ว่า บริบททางความหมายหรือแนวความคิดของ “เจี้ยนจ่าน” และ “เทียนมู่”[ญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เทนโมกุ"] จะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? สนใจโปรดติดตามบทความ《เจี้ยนจ่านVSเทียนมู่》ถือเป็นปฐมบทเพื่อที่จะนำท่านเข้าสู่ชุดบทความที่กล่าวถึง “คุณค่าและความดื่มด่ำขั้นเทพของเจี้ยนจ่านย้าวเบี้ยน” เป็นการเฉพาะ ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับต่อไป !!
เอกสารอ้างอิง :
建盞是陶還是瓷?https://kknews.cc/culture/om2yzv5.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น