มาตรฐาน"ชาดี"ของชาผูเอ๋อร์
เป็นที่ทราบและยอมรับกันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีความสลับซับซ้อนมากกว่าชาขนิดอื่นๆ เนื่องจากคุณภาพของชาขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วยกัน เช่น
- แหล่งที่ปลูกของต้นชา สภาพภูมิประเทศ สภาวะอากาศ ระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติหรือแบบชาไร่
- พันธุ์และอายุของต้นชา เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มเตี้ย เป็นไม้ต้นโบราณ ไม้ต้นใหญ่ ไม้ต้นเล็ก
- พันธุ์ใบชา เป็นใบใหญ่ ใบกลาง ใบเล็ก เป็นยอดใบชาอ่อนหรือใบชาแก่
- ฤดูกาลเด็ดเก็บใบชา ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง
- กระบวนการและกรรมวิธีการผลิต
- สูตรใบชาผสม หรือ สูตรเนื้อเดียว
- สภาวะแวดล้อมและวิธีการจัดเก็บ(ขบวนพัฒนาการ)
ชาผูเอ๋อร์จะต้องมีมาตรฐานและคูณลักษณะเฉพาะอย่างไรจึงถือเป็น"ชาดี"? "ชาดี"ของแต่ละบุคคลอาจตัดสินจากความรู้สึกที่รับรู้ทางนามธรรมเป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้ ขอเสนอ 7 คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ"ชาดี" มาให้เพื่อพิจารณา
1. คุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้
คือ เป็นระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติ ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งมีเพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่จากชาไม้ต้นที่ขึ้นตามไร่ชาดั้งเดิมจึงปรากฏคุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้ ส่วนชาจากไม้พุ่มหรือชาไร่หลีกหนีไม่พ้นการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกาย และมีผลต่อรสชาติของชา คือทำให้เกิดรสขมและรู้สึกฝาดแบบไม่ละลายแล้วค้างอยู่ในปากนาน ทำให้รู้สึกอาการคันแสบคอ
2. รสชาติธรรมชาติ
การดื่มชาก็เพื่อการได้เสพรสชาติที่อร่อย จึงต้องไม่มีรสแปลกปลอมและกลิ่นที่ไม่ดีที่ทำให้ดื่มแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่สบายทั้งกายและใจ เป็นชาที่ไม่เกิดเชื้อราและปนเปื้อนสารมลพิษจากาภาวะแวดล้อม
3. คุณสมบัติทางกระตุ้นน้ำลายลื่นคอ(生津润喉性强)
จุดประสงค์ของการดื่มชาก็เพื่อกระตุ้นให้น้ำลายสอ ทำให้ชุ่มปากลื่นคอ เกิดความรู้สึกสดชื่น เบิกบาน
4. รสขมฝาดเมื่อเข้าปากจะต้องละลายหายไปเร็ว
ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าความหนักเบาของรสขมฝาดเป็นระดับของ"ฉาชี่(茶气)" แล้วยกย่องชาที่มีรสขมฝาดหนักมี"พลังดุดัน(霸气)" ชาทั่วไปหลีกหนีไม่พ้นที่มีรสขมฝาด ความรู้สึกทางรสชาติของมนุษย์สามารถกระทบรสขมฝาดได้ในระดับที่เหมาะสม น้อยคนมากที่สามารถทนต่อรสขมฝาดที่หนักเกินไปแล้วค้างอยู่ในลำคอเป็นระยะเวาลานาน ผู้คนดื่มชาก็เพื่อชิมลิ้มและเสพสิ่งที่เป็นเฉพาะจาก"รสชาติของชา" รสชาติที่แท้จริงของชาไม่ใช่รสขมฝาด แต่เป็นสิ่งที่แฝงซ่อนอยู่ข้างหลังของรสขมฝาด โดย ขม ฝาด หวาน สามรสนี้ผสมกลมกลืนกันก่อให้เกิดรสชาติหวานนุ่มที่เข้มข้นชุ่มปากและความรู้สึกที่เฉพาะจากชานั้นๆ โดยทั่วไปเมื่อรสขมฝาดละลายในปากจะเกิด"หุยกาน(回甘)"ตามมา ซึ่งจะช้าจะเร็าขึ้นกับคุณภาพของชา
5. รสชาติชาหนานุ่ม
รสชาติหนานุ่มของชาประกอบด้วยรสชาติที่เฉพาะและกลิ่นหอมเข้มแรง เมื่อกลืนน้ำชาลงลำคอ ขม ฝาด หวาน สามรสประสานกันเกิดความรู้สึกกลมกล่อมลึกลงไปในลำคอ เป็นสัญลักษณ์แรกที่สำคัญของรสชาติหนานุ่มของชา "รสหวาน"ในที่นี้ ไม่ใช่"หุยกาน"ที่สะท้อนออกมาหลังรสขมฝาดของน้ำชาละลายหายไปเมื่อดื่มเข้าปาก แต่เป็นรสหวานที่รูสึกได้เมื่อน้ำชาอยู่ในโพรงปากและลำคอ
6. ชงทน
ชาที่มีคุณสมบุัติสามารถชงทน ซึ่งก็หมายถึงชานั้นมีคุณลักษณะ"รสหนา"
7. มีคุณค่าในการเก็บ
ชาผูเอ๋อร์แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ ไม่มีระยะเวลาการรับประกันคุณภาพ สามารถจัดเก็บได้ ยิ่งนานยิ่งดี เพราะดำรงไว้ซึ่ง"ยิ่งเก่ายิ่งหอม"
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
คือ เป็นระบบนิเวศแบบป่าธรรมชาติ ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งมีเพียงใบชาพันธุ์ใบใหญ่จากชาไม้ต้นที่ขึ้นตามไร่ชาดั้งเดิมจึงปรากฏคุณลักษณะทางระบบนิเวศแท้ ส่วนชาจากไม้พุ่มหรือชาไร่หลีกหนีไม่พ้นการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกาย และมีผลต่อรสชาติของชา คือทำให้เกิดรสขมและรู้สึกฝาดแบบไม่ละลายแล้วค้างอยู่ในปากนาน ทำให้รู้สึกอาการคันแสบคอ
2. รสชาติธรรมชาติ
การดื่มชาก็เพื่อการได้เสพรสชาติที่อร่อย จึงต้องไม่มีรสแปลกปลอมและกลิ่นที่ไม่ดีที่ทำให้ดื่มแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่สบายทั้งกายและใจ เป็นชาที่ไม่เกิดเชื้อราและปนเปื้อนสารมลพิษจากาภาวะแวดล้อม
3. คุณสมบัติทางกระตุ้นน้ำลายลื่นคอ(生津润喉性强)
จุดประสงค์ของการดื่มชาก็เพื่อกระตุ้นให้น้ำลายสอ ทำให้ชุ่มปากลื่นคอ เกิดความรู้สึกสดชื่น เบิกบาน
4. รสขมฝาดเมื่อเข้าปากจะต้องละลายหายไปเร็ว
ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าความหนักเบาของรสขมฝาดเป็นระดับของ"ฉาชี่(茶气)" แล้วยกย่องชาที่มีรสขมฝาดหนักมี"พลังดุดัน(霸气)" ชาทั่วไปหลีกหนีไม่พ้นที่มีรสขมฝาด ความรู้สึกทางรสชาติของมนุษย์สามารถกระทบรสขมฝาดได้ในระดับที่เหมาะสม น้อยคนมากที่สามารถทนต่อรสขมฝาดที่หนักเกินไปแล้วค้างอยู่ในลำคอเป็นระยะเวาลานาน ผู้คนดื่มชาก็เพื่อชิมลิ้มและเสพสิ่งที่เป็นเฉพาะจาก"รสชาติของชา" รสชาติที่แท้จริงของชาไม่ใช่รสขมฝาด แต่เป็นสิ่งที่แฝงซ่อนอยู่ข้างหลังของรสขมฝาด โดย ขม ฝาด หวาน สามรสนี้ผสมกลมกลืนกันก่อให้เกิดรสชาติหวานนุ่มที่เข้มข้นชุ่มปากและความรู้สึกที่เฉพาะจากชานั้นๆ โดยทั่วไปเมื่อรสขมฝาดละลายในปากจะเกิด"หุยกาน(回甘)"ตามมา ซึ่งจะช้าจะเร็าขึ้นกับคุณภาพของชา
5. รสชาติชาหนานุ่ม
รสชาติหนานุ่มของชาประกอบด้วยรสชาติที่เฉพาะและกลิ่นหอมเข้มแรง เมื่อกลืนน้ำชาลงลำคอ ขม ฝาด หวาน สามรสประสานกันเกิดความรู้สึกกลมกล่อมลึกลงไปในลำคอ เป็นสัญลักษณ์แรกที่สำคัญของรสชาติหนานุ่มของชา "รสหวาน"ในที่นี้ ไม่ใช่"หุยกาน"ที่สะท้อนออกมาหลังรสขมฝาดของน้ำชาละลายหายไปเมื่อดื่มเข้าปาก แต่เป็นรสหวานที่รูสึกได้เมื่อน้ำชาอยู่ในโพรงปากและลำคอ
6. ชงทน
ชาที่มีคุณสมบุัติสามารถชงทน ซึ่งก็หมายถึงชานั้นมีคุณลักษณะ"รสหนา"
7. มีคุณค่าในการเก็บ
ชาผูเอ๋อร์แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ ไม่มีระยะเวลาการรับประกันคุณภาพ สามารถจัดเก็บได้ ยิ่งนานยิ่งดี เพราะดำรงไว้ซึ่ง"ยิ่งเก่ายิ่งหอม"
โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2557 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น