วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติของชาผูเอ๋อร์

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
ประวัติของชาผูเอ๋อร์



     ประวิติศาสตร์ของชาจีนมีความเป็นมาอย่างยาวนาน มีหนังสือมากมายที่ได้บันทึกไว้แล้ว แต่ชาผูเอ๋อร์ที่ได้จากการหมักของจุลินทรีย์ถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อไร และเข้าสู่ทำเนียบประวัติศาสตร์เมื่อไร? เคยเห็นตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างกล่าวเสียมิได้ บังเอิญไม่สนใจมาบันทึกทางชายแดน จึงได้ละเลยปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ของความจริงที่ได้อุบัติขึ้นมา

     ดังนั้น ขออนุญาตเล่าเรื่องประวัติของชาผูเอ๋อร์อย่างสรุปโดยย่อสักนิด

     โบราณกาลของเมืองจีน จะมุ่งเน้นสนใจแต่ประวัติความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลายของราชวงค์ ละเลยประวัตินิเวศของพลเมือง ยิ่งไม่ต้องมาพูดถึงหยินหนาน(云南)ที่อยู่ไกลปืนเที่ยงแถวชายแดน แทบไม่มีนักปราชญ์สำคัญท่านใดมาบันทึกความเป็นไปของชาผูเอ๋อร์ได้อย่างทันการ หนังสือบันทึกในยุคสมัยถัง(唐代) ซ่ง(宋代) หมิง(明代) ต่างได้เอ่ยถึงพื้นที่ผูเอ๋อร์ผลิตชา แต่ดูจากการบันทึก วิธีการเด็ดและการต้มดื่มใบชายังโบราณมาก เชิงกล่าวโดยไม่มีรายละเอียด(语焉不详) ซึ่งไม่สามารถถือเป็นชาผูเอ๋อร์ที่เราพูดถึงทุกวันนี้ได้ ทำนองเดียวกันกับ ไม่ใช่อาหารการกินทุกอย่างในเขตกวางตุ้งแล้วสามารถเรียกเป็นอาหารกวางตุ้งได้ ชาผูเอ๋อร์ถูกจัดเข้าไปในระนาบของประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในยุคสมัยชิง(清代)

     เป็นความโชคดีที่เป็นสมัยชิง วันเดือนปีเวลาช่วงนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ ปัญญาชนมีไม่มาก ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถรอดพ้นกับดักจากการการบันทึกเป็นตัวหนังสือได้ จาก"วัฒนธรรมเรื่องราว(文本文化)"ยกระดับเป็น"วัฒนธรรมนิเวศ(生态文化)" ตลอกระยะเวลาที่ผ่านมาชาผูเอ๋อร์ถูกนักปราชญ์ว่ากล่าวนินทาถึงน้อยมาก เริ่มแรกเสมือนเป็นเรื่องร้าย ที่แท้เป็นเรื่องดี จากจุดนี้ชาผูเอ๋อร์จึงสามารถเข้าไปในประวัติศาสตร์อย่างสะอาดสดใสโดยไม่ถูกพวกบทกวีตื้นๆมาทำให้สับสนวุ่นวาย กินก็คือกิน ดื่มก็คือดื่ม ถ้าให้ความสนใจกับตัวหนังสือมากเกินไป(咬文嚼字) ทำให้ภาพความจริงหายไป

     เนื่องจากฮ่องเต้และบรรดาอ๋องทั้งหลายในยุคสมัยชิง นิยมชมชอบดื่มชาผูเอ๋อร์เพื่อช่วยในระบบการย่อย ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเครื่องบรรณาการต้องถวายเข้าพระราชวัง ทำให้พวกขุนนางทั้งใหญ่เล็กต้องเสาะแสวงหาชาที่ถูกปากพระราชวงค์ ทำใเกิดกระแสนิยมชาผูเอ๋อร์ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงตามมา ขุนนางฝ่ายจัดหาในพระราชวัง  ต้องรีบปล่อยม้าเร็ววิ่งพันลี้ ลุยน้ำข้ามเขา ร่วมกับขุนนางท้องถิ่นภายใต้ความเกรงกลัวต่อพระบารมี ทุกๆปีจะทำการคัดเลือกชาคุณภาพและห้างชาอย่างพิถีพิถันเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ใครก็ไม่กล้าที่จะละเลยและเลินเล่อในหน้าที่นี้ นับจากนี้ไป ชาผูเอ๋อร์ก็กลายเป็นสิ่งประกอบชั้นสูงของชีวิต

     ตั้งแต่ คังซี(康熙) ยุงเจิ้น(雍正) เฉียนหลง(乾隆) มาถึง เจียชิ่ง(嘉庆) ต้าวกวง(道光) เสียนฟง(咸丰) ในรัชกาลสมัยเหล่านี้เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของชาแล้ว แต่จะมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ในรัชกาลสมัยกวงซี่ว(光绪 : 1875-1909) เพราะมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ "ชาเกรดห้าง(号级茶)"ทั้งหลายได้ปรากฏตัวขึ้น

     "ชาเกรดห้าง" คือ รุ่นชาที่มีตราสินค้าจากห้างชาเพื่อถวายเข้าพระราชวังและขายส่งออก การกระตุ้นเตือนให้ตระหนักรู้ถึงตราสินค้า ทำให้ชาผูเอ๋อร์ตั้งแต่เริ่มต้นก็เข้าสู่"ยุคคลาสสิค(经典时代)" นับจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างก็ขับเคลื่อนด้วยมาตรฐาน

     ก่อนรัชกาลสมัยกวงซี่ว ในรัชกาลสมัยเฉียนหลงก็มีห้างถงชิ่ง(同庆号) รัชกาลสมัยต้าวกวงมีห้างเฌอซุ้น(车顺号) รัชกาลสมัยถงเจื้อ(同治)มีห้างฝูชาง(福昌号) เป็นปรากฏการณ์แห่งการบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา แต่ผู้เขียนไม่มีวาสนาที่ได้ชิมลิ้มลองผลิตภัณฑ์ชายุคสมัยนั้นของห้างเหล่านี้ ทุกวันนี้ห้างชายุคคลาสสิคที่เรายังสามารถ"เรียกหาดื่มสะใจ"ได้ เช่น ห้างซ่งหยิน(宋云号) ห้างเหยียนชาง(元昌号) และห้างซ่งพิ้น(宋聘号)ที่มีชื่ออันโด่งดัง ล้วนก่อตั้งในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่ว

     ต่อจากนี้ก็ผลักดันให้หมู่บ้านชา ห้างชา เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด ถือเป็นสิ่งที่ไม่แปลก

     ห้างเหยียนชางหลังก่อตั้งในในต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วแล้ว พอถึงกลางรัชกาลสมัยกวงซี่วได้ไปเปิดสาขาห้างที่ถนนสายหลักในเมืองยี่หวู่(易武)ก่อตั้งห้างฝูเหยียนชาง(福元昌号) ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงและต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 20 กลายเป็น"ตระกุลราชัน(王者一族)"แห่งชาผูเอ๋อร์ หมู่บ้านชานี้ภายหลังมีหัวหน้าที่มีชื่อเสียงคือ หยี่ฝู(余福) ซึ่งเป็นผู้ได้ใช้"ฉลากใน(内票)"ในแผ่นชาผูเอ๋อร์ เพื่อประกาศข้อความป้องกันการปลอมแปลงสินค้า

     การปลอมแปลงห้างชา แสดงให้เห็นถึงตลาดใหญ่โตมาก การแข่งขันรุนแรง ห้างชามีมากมาย ตราสินค้ามีค่า ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า โดยหลักการแล้วควรมาจากคุณภาพเป็นตัวตัดสิน แต่เนื่องจากคุณภาพของชาผูเอ๋อกว่าครึ่งเป็นผลมาจากระบบนิเวศของกลุ่มจุลินทรีย์ ประจวบเหมาะเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงต้องสงสารพวกที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลงไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอยืมใช้วิธี"โฆษณาภาพพจน์(好茶印象)"มาละเลงตราสินค้าของตัวเอง

     เหตุการณ์เช่นนี้ เข้าทำนองที่ว่า เห็ด Truffle(松露) ที่บ้านถูกขโมยไป แต่ไม่รู้จะอธิบาย Truffle คืออะไร? จึงต้องบอกว่าเห็ด Mushroom(蘑菇) ของที่บ้านหายไปเป็นเห็ดที่ดีกว่าของชาวบ้าน ผลลัพธ์กลายเป็น Mushroom ถูกขโมยไป พวกหัวหน้าหมู่บ้านชาผูเอ๋อร์ได้พยายที่ยืนยันชาของพวกตนมีคุณภาพดีที่ผู้อื่นไม่สามารถผลิตลอกเลียนแบบได้ แต่ไปใช้มาตรฐานของชาเขียว
      อย่างเช่น เจ้านี้บอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดขาวอ่อนนุ่มใต้แสงแดดฤดูใบไม้ผลิ" เจ้านั้นบอกว่าชาตัวเองคือ "ยอดชาอ่อนนุ่มผลิตปราณีต" ต่างๆนานา การยืมเอามาตรฐานแบบนี้มานิยามชาผูเอ๋อร์ กลับเป็นการ "จำกัดตนเองให้แคบลง แสดงจุดด้อยตนเองให้เด่น(扬已之短 , 避已之长)" ผิดที่ผิดทางไปหมด

     จากเรื่องดังกล่าวสามารถยืนยันได้ว่า จนถึงก่อนหน้าร้อยปีที่แล้ว ชาผูเอ๋อร์ยังไม่รู้วิธีที่จะอธิบายตัวเองได้อย่างไร ปรากฏการณ์เช่นนี้ กล่าวเชิงทางวิชาการได้ว่า มันยังขาด"การตระหนักรู้ทางเหตุผลต่อความเป็นตัวตนของตัวเอง"

     คุณภาพของชาผูเอ๋อร์เป็นความลับของฟ้าดิน ก่อนที่จะได้รับการตระหนักรู้ทางเหตุผล ต้องอาศัยการรับรู้ทางลิ้นปาก กายใจ กาลเวลา เวลาช่วงนั้น พ่อค้าชาแม้รู้ความลับนี้อย่างลึกซึ้งแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ แต่พวกเขารู้ว่า รสชาติที่ตนเองสร้างขึ้นมาเป็นไปตามขบวนพัฒนาการของกาลเวลาวันแล้ววันเล่าผ่านไปจึงจะเสร็จสวยงาม แล้วเสร็จสวยงามในระดับขั้นไหน พวกเขายังไม่สารถยืนยันได้ในช่วงตอนนั้น การได้เสพสิ่งสวยงามแบบนี้ เป็นเรื่องของคนรุ่นหลัง

     ถ้าจะกล่าวว่า ต้นรัชกาลสมัยกวงซี่วเป็นปีที่ห้างชาคลาสสิคในหยินหนานก่อตั้งขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น ปลายรัชกาลสมัยกวงซี่วก็เป็นปีที่ห้างชาทั้งหมดในหยินหนานเกิดการล่มสลาย เป็นเพราะโจรผู้ร้ายชุกชุมและเกิดโรคระบาด ห้างชาเกือบทั้งหมดต้องปิดตัวลง การเปิดและปิดเกิดขึ้นในต้นและปลายของรัชกาลสมัยเดียวกัน ทำให้ต้องมาให้ความสนใจชะตาชีวิตของกวงซี่วและธุรกิจชา
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")

     เมื่อภัยพิบัติผ่านพ้นไป กลิ่นหอมของชาก็โชยขึ้นมา ขอเพียงมีจอกชาอยู่ในมือ วันเวลาจะทุกข์ยากแสนเข็ญเพียงใดก็จะอดทนสู้ฟันฝ่า ในเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 จึงมีผู้คนก่อสร้างโรงงานชาตามแบบแปลนอุตสาหกรรมยุคใหม่ ปี 1923 ทำการวางแผนก่อสร้างโรงงานที่เมืองเมิ้งไห่(勐海) จนปี 1940 โรงงานชาฝอไห่(佛海茶厂)ก่อสร้างเสร็จอยู่ในเมืองเมิ้งไห่ โดยฝ้านเหอจิน(范和钧)ที่กลับมาจากยุโรป อาศัยความได้เปรียบของบริษัทธุรกิจชาจีนมาหนุนหลัง เริ่มทำการทดลองผลิตและการบรรจุหีบห่อโดยวิธีการสมัยใหม่ น่าเสียดายที่ต้องอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามและเหตุการณ์ที่สับสนอลหม่าน จึงไม่รู้ว่ามีทำการผลิตจริงหรือไม่? ผลผลิตออกมาได้เท่าไร? ขายไปที่ไหนบ้าง? ยังเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ เราเพียงแต่รู้ว่า 10 ปีไล่หลังสงครามได้ยุติลง สถานการณ์การเมืองมั่นคง โรงงานชาที่่ก่อสร้างใหม่บางส่วนจึงเริ่มทำการผลิตเชิงปริมาณยุคสมัยใหม่

     ผลผลิตจากการผลิตเชิงปริมาณมากยุคสมัยใหม่ครั้งนี้ จะไม่เหมือนกับยุคก่อน เริ่มจากบัดนี้ ส่วนใหญ่ชื่อจะตั้งตามสีตัวหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษห่อ เช่นตราสินค้า "พิมพ์แดง(红印)" "พิมพ์เขียว(绿印)" "พิมพ์น้ำเงิน(蓝印)" "พิมพ์เหลือง(黄印)" เป็นต้น ทยอยเข้าสู่ตลาด เป็นเรื่องที่ตลก ก็คือสีเหล่านี้ที่บังเอิญพิมพ์ขึ้นมา กลับกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาผูเอ๋อร์ สีสรรเพริศแพร้วเข้าสู่ยุคสมัยของ"ชาเกรดพิมพ์(印级茶)"

     ความอึกทึกครึกโครม ธงทิวพลิ้วไหว กลับมาสู่ความมีชีวิตชีวาของเหล่าจอมยุทธทั้งหลายอีกครั้ง "ชาเกรดห้าง"ต่อจากนี้ไปจะไม่ได้ยืนอยู่ในแถวหน้า ถอยมาอยู่ข้างหลัง ชื่นชมเกียรติยศตนเอง ถ้ากล่าวว่า "ชาเกรดห้าง"คือท่านผู้อาวุโสยากที่จะเจอะเจอได้ในทุกวันนี้ ถ้าเช่นนั้น "ชาเกรดพิมพ์"ยังมีสุขภาพแข็งแรง สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ

      หากคุณรำลึกย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 20 ทศวรรษที่ 50 และ 60 พลังชีวิตหลังได้รอดพ้นจากสงครามแล้วแผ่นดินถูกปลดปล่อยผ่อนคลาย ความภาคภูมิและมั่นคงของพลังชีวิตแบบนี้หลังจากที่ต้องตกตะกอนมาหลายสิบปี งั้นก็ขอเชิญจุดไฟเตาชา ดื่ม"ชาพิมพ์แดง"สักหลายจอก ดื่มแล้ว คุณก็จะเหมือนกับข้าที่เชื่อว่า ยุคสมัยก็มีรสชาติ อย่างน้อยส่วนนึง แอบซ่อนอยู่ภายในชาผูเอ๋อร์

     ไม่มีทางเลือกที่ความต้องการทั้งภายในและภายนอกยิ่งมายิ่งมาก "ชาเกรดพิมพ์"ก็ไม่สามารถรองรับได้ จำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตชาผูเอ๋อร์ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ลดเวลาของการหมัก นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยเริ่มจากความผิดพลาดโดยบังเอิญ

     จากการบอกเล่า หลูจู้ซิน(卢铸勋)ได้ทำการผลิตชาแดงที่ฮ่องกง จากการที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ดี ชาเกิดเสียไป ค้นพบสิ่งแปลกพิเศษบางอย่างจากผลของการหมัก พวกพ่อค้าชาที่อยากรีบเร่งลดเวลาการหมักของชาผูเอ๋อร์ได้เห็นเงื่อนงำเล็กน้อยออกมา จึงได้ทำการทดลองบางอย่างที่ฮ่องกงและกวางตุ้ง ผลสุดท้าย ปี 1973 จากการนำของผู้จัดการโรงงานชาคุนหมิง(昆明茶厂) : หวูฉียิง(吴启英) จากพื้นฐานการทดลองข้างต้น แล้วใช้วิธี"พรมน้ำหมักกอง(发水渥堆)"ผลิตชาสุกออกมาได้สำเร็จ ท่ามกลางชาสุก ตราสินค้าจำนวนมากก็ทยอยปรากฏออกมาอย่างน่าชื่นชม

     แน่นอน ก็ยังมีคนชาจำนวนไม่น้อยที่ยังอาลัยอาวรณ์ชาดิบที่หมักตามธรรมชาติ ฉะนั้น ชาสุกที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็กระตุ้นให้ชาดิบเกิดการพัฒนา ซึ่งภายหลังเรียกรวมกันว่า"หยินหนาน 7 แผ่น(云南七子饼)" คือ เป็นชาผูเอ๋อร์ประเภทยุคสมัยใหม่ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ชาดิบจำนวนมากมีคุณภาพเยี่ยมยอด นับจากนี้ไป ชาดิบและชาสุกก็เคลื่อนเคียงข้างไปด้วยกัน

     จวบจนถึงทุกวันนี้ ชาผูเอ๋อร์ยังขาดแคลนอย่างมากด้านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ชีวเคมีวิเคราะห์ การรับประกันตราสินค้า การกำหนดคุณภาพมาตรฐาน แม้ว่าได้รับความนิยมทั่วโลก ฐานของการอยู่รอดยังบอบบางมาก จะต้านทานไม่ไหวกับสินค้าจำนวนมากที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน สถานการณ์ตลาดที่กลับตาลปัตร ข้อกังขาและทัศนคติของสังคม เมื่อ 20 ปีก่อนที่ญี่ปุ่นจากนิยมหลงไหลแล้วกลายมาเป็นเสื่อมถอยปฏิเสธ ปี 2007 ราคาที่ขึ้นแรงแล้วลงอย่างบ้าระห่ำที่ประเทศจีน ล้วนสะท้อนออกมาชัดเจนถึงจุดนี้ ดังนั้น  ปี 2008 เซิ่นไผผิง(沈培平)ได้รวบรวมบรรดานักชีววิทยาศาสตร์และสาขาอื่นๆเพื่อทำการศึกษาวิจัยร่วมกัน เป็นการเริ่มต้นยุคสมัยของ"วิทยาศาสตร์ผูเอ๋อร์(科学普洱)"


(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความตอนที่ 4 ในชิมดื่มประเมินชาผูเอ๋อร์...เขียนโดย หยีชิวหยี่)

โพสต์นี้เคยแบ่งออกเป็น 2 ตอนย่อยเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 และ 21 พ.ย. 2557 ตามลำดับลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/             
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น