วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ๋อร์

ความรู้เรื่องชาผูเอ๋อร์ ตอน...
3 คุณลักษณะเด่นของชาผูเอ่อร์


     ผู้คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มหันมาดื่มชาผูเอ๋อร์ มักจะประสบอุปสรรคเล็กน้อย

     อุปสรรคนี้มาจากการเปรียบเทียบ โดยไปเปรียบเทียบกับผู้ยิ่งใหญ่...ชาเขียว

     ชาเขียวคุณภาพดีๆแก้วหนึ่ง กลิ่นหอมใสอันทรงพลัง(浩荡清香)สามารถฟุ้งขจรกระจายระหว่างริมฝีปากและฟัน ใบชาที่ยังดำรงไว้สีเขียว ตั้งตรงและคลี่แผ่ออกเริงระบำท่วงทำนองลอยและจมอย่างช้าๆภายในน้ำอุ่นๆ เป็นภาพที่ตราตรึงใจเป็นยิ่งนัก เมื่อได้จิบดื่มสักคำ รสฝาดเล็กน้อยแบบสมุมไพร ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหอมกรุ่นของกลิ่นฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ความสดใหม่ดั่งเช่นได้ยินเสียงนกร้องในขณะที่ยืนอยู่ที่ราบบนภูเขาที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก

     หลงจิ่ง(龙井) หรือ เหาขุย(猴魁) ล้วนเป็นชาเขียวที่มีเวทมนตร์ ภายหลังเมื่อได้มาดื่มชาอูหลง "เถี่ยกวนอิน(铁观音)" และเหยียนฉา"ต้าหงผาว(大红袍)"แล้ว มีความรู้สึกว่าชาเขียวแม้จะดีแต่ค่อนไปทาง"อ่อนนุ่ม(轻盈)" ขณะกำลังชิมลิ้มได้รสชาติออกมาแล้วก็ต้องจืดจางหายไป รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มจนหาเงาไม่เจอ
     ชาอูหลงมีความหนาลึกมากกว่า แม้จะไม่มีความสดหอมใสแบบชาเขียว แต่เป็นการซ่อนกลิ่นอยู่ภายใน ทำให้ผู้ที่เสพดื่มอายุมั่นขวัญยืน(年岁陡长) ภายใต้การเทียบเคียง "เถี่ยกวนอิน"---เข้มข้นดึงดูด(浓郁清奇) "ต้าหงผาว"---อิ่มเอิบสงบนิ่ง(饱满沉着) ผู้เขียนจะชอบตัวหลังมากกว่า แล้วมีชาแดงที่มาจากแหล่งใกล้ๆกัน "จินจวิ้นใหม(金骏眉)" ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมันเอง วันเดือนปีที่ผ่านมาดื่มไปไม่น้อยเช่นกัน

     ในขณะที่ชิมดื่มทำนองนี้ ได้มาเจอะเจอชาผูเอ๋อร์อย่างปัจจุบันทันด่วน เห็นรูปลักษณ์แลัวรู้สึกแปลก ก้อนดำๆ"ใบใหญ่ก้านหยาบ(粗枝大叶)" อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นอย่างยุ่งเหยิง เมื่อนำมาดมใกล้จมูกก็ไม่รู้สึกมีกลิ่นหอมใส แซะออกมาชงด้วยน้ำเดือด น้ำกระเพื่อมออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จิบดื่มหนึ่งคำ ความรู้สึกมีรสชาติที่เก่าเก็บ
     คนเรากับอาหารการกิน มักคุ้นที่จะเลือกความสดใหม่ ดังนั้น สำหรับรสชาติที่เก่าเก็บจะทำให้รู้สึกหวาดระแวงเสมอ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่มีชาผูเอ๋อร์ผลิตแบบคุณภาพต่ำ และที่จัดเก็บไม่ดีซึ่งมีกลิ่นใกล้เคียงกับ"อาหารบูด(霉锅盖)"วางขายในท้องตลาด ทำให้นักดื่มชาที่คิดจะลองเข้ามาต้องเมินหน้าหนีจากไป

     แต่ถึงอย่างไร นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อจะจากไปต้องชะงักและลังเลใจ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ในโลกนี้มีผู้คนที่นิยมชมชอบชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี หรืออาจเป็นเพราะว่า พวกเขาทั้งหลายนิยมชมชอบ"อาหารบูด"อย่างไม่ลืมหูลืมตากระนั้นหรือ? ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มีอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จของตนเอง ไม่ได้ดำรงจาก"การปั่น(炒作)"และ"เล่ห์เหลี่ยม(忽悠)"เพื่อมาขับเคลื่อนชาผูเอ๋อร์ ดังนั้น นักดื่มชาที่หันตัวเพื่อตีจากไปเริ่มสงสัยตัวเอง แล้วกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ ลองคบหาผู้คนที่เข้าใจ และชิมดื่มชาผูเอ๋อร์ที่มีมาตรฐาน

     การกลับมาใหม่ครั้งนี้ เดิมพันถึงชีวิต ถ้าหากพวกเขายังพร้อมที่จะเปิดใจรับความยืดหยุ่นทางสรีระของอุปนิสัยการกินการดื่มของตนเอง ถ้าหากพวกเขายังคงไว้ซึ่งความตื่นเต้นของชีวิตในการได้ค้นพบความรู้สึกทางลิ้นและปากที่เหนือชั้น ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว สถานการณ์จะเปลี่ยนมาทางค่อนข้างรุนแรง นักดื่มชาที่มีความลังเลใจเหล่านี้จะดื่มขึ้นมาทันที แล้วจะวางไม่ลงอีกต่อไป

     นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?

     ลำดับแรก คือ คุณประโยชน์ (功效)

     นักดื่มชาเกือบทุกคนจะมีประสบการณ์เช่นนี้ : หลังดื่มชาผูเอ๋อร์ชั้นยอดไปหลายจอก ความรู้สึกทางรสชาติยังพูดออกมาไม่ถูกเลย แต่ด้านหลังกายจะมีเหงื่อซึมออกมาเล็กน้อย แล้วช่องท้องเกิดการบีบตัว ทรวงอกจะรู้สึกเบิกบาน ใต้ลิ้นเกิดการน้ำลายสอ(生津) เคยใช้คำ"อ่อนนุ่ม"มาอธิบายชาเขียว สำหรับชาผูเอ๋อร์แล้ว แม้รูปลักษณ์จะดูไม่อ่อนนุ่ม แต่สิ่งที่ได้ทดแทนกลับมาคือทำให้ร่างกายนักดื่มชา"อ่อนนุ่ม"

     นี้เป็นสิ่งสุดยอด คิดย้อนกลับไปประวัติศาสตร์สมัยราชวงค์ชิง ฮ่องเต้ทั้งหลายลงจากหลังอานม้ามาเสพชีวิตในพระราชวัง พระราชกรณียกิจที่หนักที่สุดก็คือพระวรกายที่ยิ่งมายิ่งอ้วน ดังนั้น เมื่อพระองค์ท่านได้มาดื่มชาผูเอ๋อร์โดยไม่ตั้งใจ ทรงชื่นพระราชหฤทัยเป็นยิ่งนัก
     รัชกาลยุงเจิ้น(雍正)ชาผูเอ๋อร์จำนวนไม่น้อยเป็นเครื่องบรรณาการถวายเข้าไปในพระราชวังแล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลง(乾隆)เมื่อได้ดื่มก้านใบสีน้ำตาลทำให้พระองค์ทรงรู้สึกผ่อนคลาย จึงไปค้นหาในคัมภีร์ชา(茶经)》แต่ไม่พบอะไร จึงได้หัวเราะเยาะเย้ยลู่หยี่(陆羽)ก็"เด๋อ(拙)"เช่นกัน พระองค์จึงได้เขียนบทกลอนท่อนหนึ่งว่า : "点成一碗金茎露,品泉陆羽应惭拙" ปกติพระองค์จะเขียนกลอนได้ไม่ดีนัก จะไม่ไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ถ้าใช้"หยดน้ำก้านใบทอง(金茎露)"แทนชาผูเอ๋อร์ ถือว่าใช้ได้ทีเดียว

    ในบันทึกช่วยจำของพระราชวังได้กล่าวไว้ว่า : "การต้อรรับด้วยชาควรต้อนรับด้วยชาผูเอ๋อร์หนึ่งจอกก่อน เพราะว่ามันทั้งอุ่นและละลายไขมันได้" จากเมืองหลวงคิดย้อนกลับไปเส้นทางชา-ม้าโบราณ เส้นทางแต่ละเส้นเริ่มจากเมืองผูเอ๋อร์แล้วทอดยาวออกไป ส่วนใหญ่มุ่งสู่ไปพื้นที่สูงอันหนาวเหน็บที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักพืชผักจะน้อย พื้นที่เหล่านี้น่าจะเกิดโรคภัยทางระบบการย่อยอาหารและระบบหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้คนได้ค้นพบสาเหตุจากแผ่นชาผูเอ๋อร์ที่ลำเลียงบนหลังม้าในกองคาราวานม้า
     ทุกวันนี้พวกเรายังสามารถค้นหาตัวหนังสือบันทึกที่เกี่ยวข้องจากพงศาวดาร อาทิเช่น : "ชาผูเอ๋อร์รสจะขมชั่วครู่ ละลายไขมัน แก้พิษวัวแพะ" ; "ชาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ธิเบตชนเผ่าเร่ร่อนทิศตะวันตก ทานเนื้อเป็นอาหาร ขาดชาแล้วจะไม่เกิดการย่อย" ; "ขาดชาวันเดียวจะท้องเสีย ขาดชาสามวันจะเป็นไข้" ........

     ปัจจุบันประเทศจีน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไขมันเกินความต้องการ ผู้คนยิ่งมายิ่งมากที่ประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับพระราชวังชิงและคนพื้นเมืองที่ราบสูง โดยเฉพาะ วิธีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้รับรองและยืนยันแล้วว่า ชาผูเอ๋อร์มีคุณประโยชน์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างเด่นชัดมาก ดังนั้น กรแสนิยมดื่มชาผูเอ๋อร์ มีเหตุผลที่พิสูจน์ให้เห็นแล้ว

     ไม่เพียงแค่นี้ ชาผูเอ๋อร์ยังมีอีกหนึ่งจุดเด่น ก็คือดื่มแล้วไม่มีผลกระทบต่อการนอนหลับ แม้จะดื่มในช่วงเวลากลางคืน ก็ยังสามารถล้มหมอนนอนหลับฝันดี ข้อดีเช่นนี้ มีเฉพาะหนึ่งเดียวในผลิตภัณฑ์ชาทุกชนิด
     ลองคิดดู ชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ต้องดำเนินอย่างเร่งรีบ จึงมักเป็นช่วงเวลากลางคืนที่คิดจะดื่มชาในบรรยากาศที่สร้างความรู้สึกสุขสบายผ่อนคลาย ชาชนิดอื่น เป็นการยากที่จะดื่มได้อย่างสบายใจในช่วงกลางคืน ดังนั้น ชาผูเอ๋อร์จึงเป็นเจ้าพ่อในยามราตรีกาล ใครคิดที่จะมาท้าทายอำนาจ ก็คงได้แค่แหกปากร้องตะโกนในช่วงกลางวัน เมื่อถึงยามพลบค่ำ การตะเบ็งเสียงต้องหยุดลง
(ต่อ...คลิก "อ่านเพิ่มเติม")

     ลำดับรอง คือ รสชาติ (口味)

     ถ้าหากชาผูเอ๋อร์มีด้านดีเฉพาะทำให้ร่างกายมีสุขภาพอ่อนนุ่ม นั่นมันก็เป็นเพียงยาบำรงร่างกาย แต่ด้านที่มันดึงดูดนักดื่มชามากที่สุด ก็ยังเป็นเพราะความรู้สึกทางรสชาติ เป็นการยากที่จะเขียนความรู้สึกทางรสชาติของชาผูเอ๋อร์ ที่พูดกันทั่วไปว่าหอมกลิ่นการบูร หอมกลิ่นกล้วยไม้ หอมกลิ่นบัว เป็นต้น นั่นเป็นเพียงการอุปมาอุปไมยแบบหนึ่ง และเป็นการยืมใช้ความรู้สึกทางกลิ่น(嗅觉)มาเทียบเคียงกับความรู้สึกทางรส(味觉)

     ความรู้สึกทางรสขั้นพื้นฐานที่สุดที่มีอยู่หลายประเภทบนโลกนี้ จะไม่ตรงกับชาผูเอ่อร์เลย แม้แต่ภายในอาณาจักรชา ความรู้สึกทางรสที่ค่อนข้างคงที่และได้รับการยอมรับแล้ว อาทิเช่น ชาเขียว ชาอูหลง ชาแดง ชาดอกไม้ รสชาติที่ปรากฏเด่นชัดออกมา แต่สำหรับชาผูเอ๋อร์เป็นคนละแนวทาง

     มนุษย์เป็นสัตว์"รูปแบบนิยม(类型化)"ที่สุดขั้ว เมื่อขาดจากรูปแบบแล้วก็จะมีความรู้สึกที่จะวางตัวไม่ถูก สังเกตเห็นได้จากนักวิชาการบางท่านที่ใช้คำ"ชาดีจืดชืด(好茶至淡)" "ชาจริงไร้รส(真茶无味)"มาพรรณาชาผูเอ๋อร์ ความจริงคือเป็นการหลงผิดทางความรู้สึกแล้วคิดว่าเป็นหลักปรัชญา ทำให้ผู้คนเข้าใจผิด ไม่ว่าจะกล่าวอย่างไร ชาผูเอ๋อร์จะไม่ใช่"จืดชืด" "ไร้รส" แต่มันจะมี"รสยิ่งใหญ่(大味)" ถ้าหากจะต้องใช้ตัวอักษรจีนมาอธิบายให้ชัดเจนแล้ว คำที่ค่อนข้างเหมาะสมมีอยู่ 2 คำ คือ "แก่เข้ม(陈酽)" และ "อ่อนลื่น(暖润)"

     ชาผูเอ๋อร์ในความเป็นแก่เข้มและอ่อนลื่นเป็นท่วงทำนองทางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด ทุกสิ่งจากการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจะเข้าไปในความรู้สึกการทรงจำของนักดื่มชา ค่อยๆสะสมรวบรวมอยู่ใน"คลังทางจิตวิทยา(心理仓贮)"อันสงบ

     ภายใน"คลังทางจิตวิทยา" รสชาติต่างๆของชาผูเอ๋อร์ได้รับการจัดวาง แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาพรรณาให้ชัดเจนได้ เพียงแต่สามาถนำมาอุปมาและเชื่อมโยง(比喻和联想)เพื่อกำหนดสถานะ ผู้เขียนได้เคยทำการทดลองเชิงวรรณกรรม(文学性)เพื่อดูว่าจะสามารถใช้การอุปมาและเชื่อมโยงแบบไหน และเพื่อที่จะนำรสชาติที่ไม่เหมือนกันของชาผูเอ๋อร์ที่เก็บไว้ในใจตนเองกล้ำกลืนฝืนใจที่จะเบ่งกล่าวออกมา

     สุดท้ายได้ออกมาดังนี้ครับ :

     รสชาติแบบนี้ คือ การได้สูบอากาศอันแสนสดชื่นหลังจากถูกแดดแผดเผามานานครึ่งเดือนในวันแห่งฤดูใบไม่ร่วงแล้วได้ล้มนอนพักอยู่ข้างกอตะไคร้ มีสายลมโชยอ่อนๆพัดมาจากสวนผลไม้ข้างกำแพงดิน

     รสชาติแบบนั้น คือ กลิ่นยาจีนของรากชะเอม 3 ส่วน ไม้หอมกฤษณาจีน 3 ส่วน ตังกุย 2 ส่วน พุทราจีน 2 ส่วน หลังตุ่นด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมงกลิ่นโชยมาจากระยะไกล 1 คันธนู คนที่ได้กลิ่นนี้กำลังท่องบทสวดเบาๆภายใต้เสียงขิมที่ก้องกังวาน

     รสชาติเช่นนี้ คือ กลิ่นหอมของไม้สนที่ฟุ้งกระจายจากหน้าต่างและฝาผนังไม้ของกระท่อมเล็กๆบนภูเขาอันหนาวเหน็บที่ได้ก่อไฟเตาผิงต่อเนื่องมาแล้วหลายฤดูหนาวกาล คันธนูและอานม้าแขวนอยู่ข้างฝาผนังไม้ เต็มไปด้วยความก้าวร้าวแห่งท้องทุ่งหญ้า

     รสชาติเช่นนั้น คือ ไม่มีกลิ่น เป็นรอยยิ้มที่ใสบริสุทธิ์และภาษาที่ยากจะเข้าใจของท่านผู้เฒ่าที่มีสายตาเปี่ยมด้วยเมตตา แม้จะไม่เข้าใจความหมายแต่ก็ทำให้ทั้งกายและใจของคุณได้ที่พักพิงอย่างสงบ ตัดขาดจากความโกลาหลวุ่นวาย ไม่ต้องเร่ร่อนพเนจรอีกต่อไป

     รสชาติอย่างนี้ คือ สองสาวสุภาพสตรีด้วยใบหน้าธรรมชาติค่อยๆทำการเปิดประตูของห้องโถงไม้จันทร์ที่สะอาดโอ่โถง ต้นหญินซิ่ง(银杏)ที่สุกสกาวบนเฉลียงข้างนอกกำลังเริ่มเปลี่ยนสีจากเหลืองเป็นน้ำตาล

     ........

     การอุปมาและเชื่อมโยงข้างต้นดูจะออกไปทาง"mo lei tau" (无里头 : เป็นคำภาษากวางตุ้งที่คนฮ่องกงใช้พูดแทนความหมาย---ไม่ได้เรื่อง) แต่ทว่า นักดื่มชาอาวุโสที่มีความรู้สึกทางวรรณกรรมเมื่อได้ยินคำดังกล่าวจะพยักหน้าแล้วอมยิ้ม ขอเพียงแต่เมื่อได้พบสัญญาณที่ใกล้เคียงแล้ว ก็จะสามารถเรียกคืนกลับมาได้ทันที แล้วทำการเชื่อมติดได้สำเร็จ

     "คลังทางจิตวิทยา"ของชาผูเอ๋อร์เมื่อได้ทำการติดตั้งแล้ว อาณาเขตพื้นที่ก็ไม่มีเหลือสำหรับผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำอีกต่อไป นี้อาจเป็นความยุ่งยากของชีวิต อย่างเช่นผู้เขียนถือเป็นคนที่มีใจกว้าง เมื่อออกไปสถานที่ข้างนอกแทบจะยอมรับเครื่องดื่มชนิดใดๆก็ได้ แต่จะไม่สามารถยอมรับชาผูเอ๋อร์อย่างง่ายๆเสียแล้ว
     บ่อยครั้งที่ได้พบกับเพื่อนฝูงใจดีและกระตือรือร้นที่ชวนไปดื่มชาผูเอ๋อร์ตามร้านน้ำชา เมื่อผ่านประตูเข้าไป เครื่องไม้เครื่อมือและผู้ชำนาญการชงชามีอย่างเพียบพร้อม ก็จะเกิดกระอักกระอ่วนขึ้นมาเป็นอย่างมาก ความเป็นมืออาชีพที่ฝึกฝนและสะสมมามักจะทำให้ขอบเขตที่ยอมรับในพื้นที่ของบุคคลยิ่งเปลี่ยนยิ่งเล็กลงอย่างง่ายดาย ยิ่งมายิ่งรุนแรง เป็นความจริงที่เกิดอย่างช่วยไม่ได้ "คลังทางจิตวิทยา"ของผู้เขียนได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวแบบเฉียบพลันตลอดเวลา ดื่มผิดไปสักคำ เปรียบเหมือนไปทำโทษทั้งระบบที่ซ่อนเร้น ทำให้ทั่วทั้งกายและใจเกิดความไม่พอใจ

     การปฏิเสธเช่นนี้ พูดให้เสียงดังขึ้นอีกหน่อย ก็คือเส้นแบ่งโครงสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล(人品)แพร่กระจายออกเป็นโครงสร้างเล็กๆของ"เอกลักษณ์ชา(茶品)" และจากรูปแบบลักษณะเฉพาะตัว(人格)ถูกลากออกเป็นรูปแบบเล็กๆของ"ลักษณะเฉพาะชา(茶格)" ไม่ว่าจะเป็น"เอกลักษณ์(品)" หรือ "ลักษณะเฉพาะ(格)" ล้วนผ่านการถูกปฏิเสธและลบทิ้ง เพื่อเป็นการรักษาทางระดับไว้ กล่าวสำหรับเรื่องชาแล้ว แม้ไม่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางจิตวิญญาณ แต่จะมีผลถึงคุณภาพชีวิต

     ลำดับสาม คือ ลึกล้ำ (深度)

     จะแตกต่างกับความทรงจำที่ดีของผู้คนที่มีต่ออาหารการกินชนิดอื่นๆ "คลังทางจิตวิทยา"ของชาผูเอ๋อร์ ช่องว่างทางลึกที่สงบนิ่ง(空间幽深) ช่องทางอันคดเคี้ยวอย่างหนาแน่(曲巷繁密) รสชาติพิเศษเฉพาะอย่างลึกซึ้ง(风味精微) ลักษณะเช่นนี้จึงปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไม่รีบร้อน เพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่ที่เหลือ มีเพื่อนร่วมทางที่มารับฟังพันคำพูดหมื่นถ้อยคำที่จะระบายออกมา มีความเป็นไปได้ที่สามารถเล่นต่อไป
     ภายใต้การเทียบเคียง บนโลกนี้มีอาหารทานดื่มมากมาย ส่วนใหญ่จะใช้ได้ แต่ชนิดจะค่อนข้างสามัญ ขาดช่องว่างที่จะลากยาวออกไปได้ กินผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สามารถแสดงออกถึงความเป็นสังคมใหญ่ นั่นต้องขอแสดงการขอโทษ ในเมื่อไม่สามารถแสดงถึงความเป็นสังคมใหญ่ก็ไม่ถือเป็นวัฒนธรรมที่เป็นรูปเป็นร่างได้ จากมุมมองของผู้เขียน ความหลากหลายและสลับซับซ้อนของชาผูเอ๋อร์ ระดับทางความรู้ที่ก่อเกิดขึ้นมาเอง บนโลกใบนี้ มีเพียงไวน์แดงจากฝรั่งเศสจึงจะเทียบเคียงได้

     ท่านโปรดสังเกตดู ในการจัดแยกกลุ่มใหญ่ของชาผูเอ๋อร์ : "ชาเกรดห้าง(号级茶)" "ชาเกรดพิมพ์(印级茶)" "มัด 7 แผ่น(七子饼)" เป็นต้นที่จัดแบ่งตามยุคสมัย ชาเก่า ชาสุก ชาดิบ เป็นต้นที่จัดแบ่งตามวิธีการผลิตและจัดเก็บ ชาพันธุ์ใบใหญ่ ชาต้นโบราณ ชาไร่ เป็นต้นที่จัดแบ่งตามวัตถุดิบ แล้วยังมี ขุนเขายี่หวู่ ขุนเขาจิ่งหม้าย ขุนเขาหนานนั้ว เป็นต้นที่จัดแบ่งตามเขตพื้นที่ผลิต ท่ามกลางนี้ เพียงแค่นำ"ชาเกรดห้าง"ออกมา ในกลุ่มนี้แอบซ่อนด้วยผลิตภัณฑ์ชั้นยอดของห้างต่างๆมากมาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ชั้นยอดตัวเดียวกันจากห้างเดียวกัน ยังประกอบด้วยสิ่งที่มีความแตกต่างอย่างมาก ใครก็ไม่สามารถที่จะสาธยายได้หมด

     ในท่ามกลางที่มีปฏิสัมพันธ์กัน บุคคลแรกที่บุกเบิกอย่างยืนหยัดทรหดที่ลองใช้ตัวอักษรมาเขียนถึงความแตกต่างเหล่านี้ คือชาวใต้หวัน : เติ้งสือไห่(邓时海) บุคคลแรกที่นำผลิตภัณฑ์ชาตัวแท้มาชงให้ดื่มคืนแล้วคืนเล่าจนเกิดการรับรู้และเข้าใจชาเก่าผูเอ๋อร์สุดยอดเป็นอย่างไร คือชาวฟิลิปปินส์ : เหอจั้วหยู(何作如) บุคคคลแรกที่นำประสบการณ์ทางการค้าชาผูเอ๋อร์หลายสิบปีมาถ่ายทอดให้รู้ถึงวิธีการต่างๆที่มาพิเคราะห์แยกแยะ คือชาวฮ่องกง : บ๋ายสุ่ยชิง(白水清) ระหว่างเรากับพวกเขาเหล่านี้ ได้มาร่วมกันดื่มชาจนนับครั้งไม่ถ้วน ปีแล้วปีเล่าชิมดื่มและวิจารณ์อยู่ข้างโต๊ะชา ทำให้ทุกคนต่างต้องแซ่ซ้องครั้งแล้วครั้งเล่าถึงความลึกที่ไม่สิ้นสุดของโลกระหว่างจอกและป้าน

     ความเป็นจริง การชงชายังมีความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ ปริมาณชา ปริมาณน้ำ ความเร็ว ความร้อน จังหวะและลีลาประกอบเป็นท่วงทำนองหนึ่ง เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล

     ความแตกต่างที่สลับซับซ้อน ที่ได้เชื่อมโยงรูปแบบชีวิตของเพื่อนแต่ละคน ขุนเขา ห้างชา อาจารย์ใหญ่ กาลเวลา ที่แอบซ่อนอยู่ด้านหลังมาเชื่อมติดต่อกัน กลิ่นหอมชาที่อยู่ไกลเป็นพันลี้ ภาษาชามาเชื่อมโยงติดกัน ก่อเกิดเป็นโครงสร้าง"ไวยกรณ์นิเวศ(生态语法)"ที่พิเศษเฉพาะ เมื่อได้เข้าสู่ภายใน ทุกๆที่จะสามารถ เข้าใจซึ่งกันและกันอย่างรู้อยู่แก่ใจ(心照不宣) ไม่ต้องกล่าวคำวาจาใด(不言而喻) เห็นป้านนั่งลงทันที(见壶即坐) โทษฐานที่รู้จักสายเกินไป(相见恨晚) อาณาจักรที่มีลักษณะเช่นนี้แล้วไซร้ แน่นอนเป็นความลึกล้ำทางมนุษยธรรม(人文深度)ที่ทำให้ผู้คนไม่อยากที่จะจากออกมา

     จาก 3  คุณลัษณะเด่นของชาผูเอ๋อร์ เป็นข้อสรุปหลักของสาเหตุที่ชาผูเอ๋อร์ดึงดูดให้ผู้คนมาหลงไหล แต่ถ้าจะให้พูดถึงชาผูเอ๋อร์อย่างถ่องแท้แล้ว ไม่ใช่แค่หยุดที่บริบทของความรู้สึก "ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์ ควรที่จะอยู่นอกเหนือจากความรู้สึกของผู้คน...

     หมายเหตู : บทความตอนต่อไป ตอนที่ 3 ในชิมดื่มประเมินชาผูเอ๋อร์ : "ความลับสุดยอด"ของชาผูเอ๋อร์...ซึ่งผู้แปลเคยได้ทำการแปล(จากบทความที่หาอ่านจากเน็ต)แล้วแบ่งออกเป็น 2 ตอนย่อยโพสต์ลงในเฟสเพจนี้เมื่อวันที่ 18 และ 19 ก.ย. 57 ตามลำดับ แต่เนื่องจากผู้เขียนได้นำบทความนี้มาแก้ไขและเขียนเรียบเรียงใหม่เพื่อตีพิมพ์ลงในหนังสืความงามขั้นสุดยอด ผู้แปลจึงได้นำบทความแก้ไขฯนี้มา แปล-เรียบเรียง-เขียน ใหม่ แม้ว่าเนื้อหาใจความยังใกล้เคียงกับบทความเก่า แต่รายละเอียดและอรรถรสในการอ่านแตกต่างกัน จึงขอแนะนำท่านที่เคยอ่านบทความแปลเก่าและหรือท่านที่ยังไม่ได้อ่านติดตามอ่านบทความแปลใหม่นี้ได้...เร็วๆนี้


(แปล-เรียบเรียง-เขียน จากบทความตอนที่ 2 ในชิมดื่มประเมินชาผูเอ๋อร์ ...เขียนโดย หยีชิวหยี่)

โพสต์นี้เคยเผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2558 ลงในเฟสเพจสมาคมผู้รักชาผูเอ่อร์แห่งประเทศไทย  https://www.facebook.com/groups/1465523990337272/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น